www.touronthai.com

หน้าหลัก >> น่าน
ตราประจำจังหวัด น่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดํา จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

คลิกดูข้อมูลจังหวัด

น่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7 ล้านไร่เศษ อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย

  ความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขา อีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝน หรือ เหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยว ยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วย ป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือเทือกเขาผีปันน้ำและหลวงพระบาง

  พื้นที่ป่าของเมืองน่านมีประมาณ 5 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งจังหวัดประมาณ 7 ล้านไร่ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจึงไม่สามารถฝืนกฎของธรรมชาติได้ พวกเขาจะไม่ตัดไม้ หรือถางป่าทำไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ พวกเขาดูแลรักษาภูเขาและป่าไม้ด้วยความเคารพ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น ขมุ ลัวะ และเมี่ยน เชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่รักษาป่า

  พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำของจังหวัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่เฝ้าดูแลรักษาป่า

  แม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา

  ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกันทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะยู่กับความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงตระหนักถึงความเป็นตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน

  หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น

  ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981

  เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน

  ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310

  ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง

  ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน

  ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง

  หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง

  นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

รู้จักคน รู้จักชุมชน

  น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่

  ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

  ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนะธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ "เอ็ดนาเมืองลุ่ม" หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า "เกา" หรือ "ล้วง"

  ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า "ถิ่น" เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆหมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธี "โสลด" (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี "กิ๋นดอกแดง" เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง

  ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ "ข่าลาว" อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก "ข่าแคว้น"ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม

  ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต

  เย้า (เมี่ยน) ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง

  มลาบรี (ผีตองเหลือง) สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบันมลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
ท่าอากาศยานจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0270
บริษัทการบินไทย จำกัด ถ.มหาพรหม โทร. 0 5471 0377
โรงพยาบาลจังหวัดน่าน ถ.วรวิชัย โทร. 0 5471 0138
สถานีตำรวจภูธร ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5475 1681
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ถ.น่าน-ทุ่งช้าง อ.ทุ่งช้าง โทร. 0 5479 5009
สำนักงานจังหวัดน่าน ถ.สุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0341
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด ถ.สุริยพงษ์ โทร. 0 5477 3047
หอการค้าจังหวัดน่าน โทร. 0 5477 4499
ททท. สำนักงานแพร่ โทร.0 5452 1118

Link ที่น่าสนใจ
สำนักงานจังหวัดน่าน http://www.nan.go.th
http://www.tourismthailand.org/phrae

ที่เที่ยวใน น่าน

ที่เที่ยวทุ่งช้าง

อนุสาวรีย์วีรกรรม
อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร
อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ พิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภา...

ที่เที่ยวท่าวังผา

หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัวอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม เรียกว่า "ผ้าลายน้ำไหล" ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถ...
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 8.4 องศาเซลเซียส สูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่...

ที่เที่ยวนาน้อย

ดอยเสมอดาว
ดอยเสมอดาว
บริเวณจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา สามารถกางเต็นท์ได้ประมาณ 20-30 หลัง แต่ต้องมาจับจองพื้นที่ในตอนเช้า หากมาถึงบ่ายหรือเย็น พื้นที่ส่วนนี้อาจจะเต็มและต้องกางในชั้นที่ลดหลั่นลงมา เหมาะสำหรับการพักผ่อน ดูดาว ดูพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินในบริเวณเดียวกัน จุดนี้ม...
ผาชู้
ผาชู้ (ผาเชิดชู)
ที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่านอยู่ที่บริเวณเชิงผาชู้ ในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้ และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่า หากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคม จึงต้องเตรียมรองเ...
ผาหัวสิงห์
ผาหัวสิงห์
เป็นหน้าผามีรูปร่างเหมือนสิงโตนอนหมอบหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศา ทิศเหนือมองเห็นตัวอำเภอเวียงสา ทิศใต้ มองเห็นทิวเขาเป็นแนวยาว ทิศตะวันออกมองเห็นผาชู้ แม่น้ำน่าน ทิศตะวันตก มองเห็นตัวอำเภอนาน้อยเกือบทั้งหมด และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง...
วัดหนองบัว
วัดหนองบัว
วัดหนองบัว ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามเส้นทาง 1080 เลี้ยวซ้ายที่ กม.40 ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก 3 กิโลเมตร วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราวพ.ศ. 2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4) ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งน...
วัดใหม่
วัดใหม่
วัดใหม่ เป็นวัดเล็กๆ ซึ่งอยู่บนเส้นทางจากนาน้อย-อช.ศรีน่าน ปกติไม่บรรจุเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเว็บใดๆ แต่เนื่องจากทีมงานขับรถผ่านและเห็นศิลปะของพระอุโบสถมีความงดงามและแปลกตา จึงแวะเก็บภาพมาฝาก และเนื่องจากเป็นทางผ่านอยู่แล้ว จึงไม่เสียเวลามากมายที่จะได้แวะชมศิลปะที่งดงาม...
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ ในท้องที่ อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้ชนิดต่างๆ คือ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง สัตว์ที่พบเห็นได้แก่สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบก ครึ่ง...
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่านมีพื้นที่ครอบคลุมในท้องที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ครอบคลุมพื้นที่ตามแนวสองฟากฝั่งลำน้ำน่าน จนไปสิ้นสุดที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ สภาพป่าเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญของแม่น้ำน่าน ซึ่ง...
เสาดินนาน้อยและคอกเสือ
เสาดินนาน้อยและคอกเสือ
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีระยะทางห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 24 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอนาน้อยใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 ไปประมาณ 3 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร     เสาดินนาน้อย เกิดจากการกัดเซาะพังทะลายของดินเป็นบริเวณกว้างกว่า 20 ไร่ ลักษณะ...
แก่งหลวง
แก่งหลวง น่าน
แก่งหลวง เป็นคำที่มีความหมายตรงตัว คือแปลว่าแก่งน้ำขนาดใหญ่ ก็เลยมีหลายแม่น้ำที่อาจจะเรียกกันว่า แก่งหลวง ที่เรากำลังพูดถึงในนี้ แก่งหลวงนี้อยู่ที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ห่างจากดอยเสมอดาวไม่ไกลมาก เหมาะที่จะมาแวะเที่ยวเพิ่มอีกสักจุดเหมือนกัน ที่แก่งหลวงเป็นบริเวณที่สาม...

ที่เที่ยวนาหมื่น

สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน
สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน
    สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ในเขตพื้นที่ดูแลของอุทยานแห่งชาติขุนสถาน ในสมัยแรกๆ ที่คนไม่ค่อยรู้จักอุทยานแห่งชาตินี้แต่ก็มีบ้างที่รู้จักสถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถาน เพราะว่าที่สถานีมีบ้านไม้หลังหนึ่งสร้างท...
หมู่บ้านประมงปากนาย
หมู่บ้านประมงปากนาย
หมู่บ้านประมงปากนาย ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่าน หลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจี ชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่น ปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ป...

ที่เที่ยวบ่อเกลือ

บ่อเกลือสินเธาว์
บ่อเกลือสินเธาว์
    บ่อเกลือสินเธาว์ พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือ ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ และแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ชุมชนผลิตไม่ได้ ผ่านกองคาราวานจีนฮ่อจากยูนาน กวางสี และมณฑลอื่นๆ ในจีน โดย...
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
    อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา และป่าผาแดง บริเวณท้องที่ ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือใต้ และ ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีเนื้อที่ประมาณ 248.6 ตร.กม. หรือประมาณ 155,375 ไร่ มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่ง...

ที่เที่ยวปัว

ต้นดิกเดียมวัดปรางค์
ต้นดิกเดียมวัดปรางค์
ต้นดิกเดียมวัดปรางค์ ต้นดิกเดียม ต้นไม้อะไรใครรู้ดูประหลาดผิดธรรมชาติ พันธุ์พฤกษาน่าฉงน แค่เห็นเป็นต้นไม้หันหลังให้แดดหันหน้า เข้าวัดก็แปลกเหลือหลายอยู่แล้ว แต่ใครจะเชื่อว่าต้นไม้ ประหลาดต้นนี้เป็นต้นอารมณ์ขัน ใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้ง ที่ถูกคนสัมผัส วันเวลาที่แนะนำต้นดิกเดียม สามารถไปชมได้ทุกวัน แต่ไม...
ถ้ำผาฆ้อง
ถ้ำผาฆ้อง
ถ้ำผาฆ้อง เป็นถ้ำที่มีน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1256 สู่อำเภอปัวประมาณกิโลเมตรที่ 18 มีทางแยกสู่โรง...
ถ้ำผาแดง
ถ้ำผาแดง
ถ้ำผาแดง อยู่ที่บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ 11 ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วยในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงน...
น้ำตกภูฟ้า
น้ำตกภูฟ้า
น้ำตกภูฟ้า เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ 140 เมตร มีทั้งหมด 12 ชั้น ใช้เวลาไป-กลับ ชมน้ำตก 3 วัน 2 คืน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง     สิ่งอำนวยความสะดวก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และลานดูดา...
วัดต้นแหลง
วัดต้นแหลง
วัดต้นแหลง ตั้งอยู่ในตัวเมืองปัว จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1080 เมื่อเริ่มเข้าเขตตัวเมืองปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคาร ขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2127 วิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกั...
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
    วัดพระธาตุเบ็งสกัด ไปตามเส้นทาง 1256 ทางเข้าตรงข้าม โรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ 200 เมตร และแยกซ้ายอีก 200 เมตร ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรนครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรธรรมมาปกครอง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว   &nb...
วัดภูเก็ต
วัดภูเก็ต
วัดภูเก็ต ตั้งอยู่ที่บ้านเก็ต หมู่ 2 ต.วรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เริ่มที่ชุมชนบ้านเก็ตได้ย้ายถิ่นฐานมาจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว โดยการนำของหลวงแสนหาญยุทธ และหลวงแสนคำมูล สองผู้นำชุมชนซึ่งเป็นต้นตระกูล \"หาญยุทธ และมูลคำ\" ของชาวบ้านเก็ตในปัจจุบัน ท่านได้พาลูกบ้า...
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซ...
โรงเรียนชาวนา
โรงเรียนชาวนา ตำบลศิลาเพชร
ณ สถานที่แห่งนี้ อ.ปัว ใครจะรู้ละว่ามีโรงเรียนอยู่กลางทุ่งนาอันเขียนขจี แถมโรงเรียนแห่งนี้ยังเปิดขึ้นมาสอนการทำนาอีกด้วย อ้าว การทำนานี่ต้องเรียนในโรงเรียนกันเชียวเหรอ ข้อสงสัยของเราหลังจากที่ได้เดินทางมาที่นี่จึงได้ความกระจ่าง การจะทำนาไม่ต้องเรียนมากก็ทำได้ทำตามๆ ที่ปู่ย่าตายายสอนกันมา แต่จะได้...

ที่เที่ยวเฉลิมพระเกียรติ

ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋น ด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) อยู่ห่างจากเมืองน่าน 138 กิโลเมตร ตลาดจะมีทุกวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยง สินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อ จากบ้านเ...
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ ภูพยัคฆ์ เดิมชื่อ ภูผายักษ์ บนยอดภูเป็นหินผาสวยงาม มีสภาพเป็นป่าดิบและเป็นดงเสือ จึงได้ชื่อว่า ภูพยัคฆ์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตร เคยเป็นที่ปลูกฝิ่นของราษฎรชาวไทยภูเขา ก่อนปี 2523 เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างทหารไทยกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ...
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า เดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3 ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา มีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธ จุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมี ฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋...

ที่เที่ยวเมืองน่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
    พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อยู่ที่ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น \"หอคำ\" ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้...
วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด 12 กิโลเมตร บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่ 9-10 สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาลเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทร์ผาและเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณช่วงปลายฝน ทางเดินศึกษาธรรมชาติมีอยู่หล...
วัดพญาวัด
วัดพญาวัด
วัดพญาวัด ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัดตำบลดู่ใต้ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025 เข้าไปประมาณ 300 เมตรแต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน สถูปเจดีย์สร้างด้วยศิ...
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก \"วัดหลวง\" หรือ \"วัดหลวงกลางเวียง\" สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว...
วัดพระธาตุเขาน้อย
วัดพระธาตุเขาน้อย
องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ 2 สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ.2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบูรณะปฏ...
วัดพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง
เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ...
วัดภูมินทร์
วัดภูมินทร์
เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139 มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ\"วัดพรหมมิน...
วัดศรีพันต้น
วัดศรีพันต้น
เป็นวัดที่มีภาพเขียนภายในพระอุโบสถแสดงประวัติศาสตร์เมืองน่าน ภายนอกมีการตกแต่งงดงามและยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเพิ่มเติม และยังมีเรือจอดในโรงเรือบ้านศรีพันต้น เรือทุกลำมีลวดลายงดงาม อยู่ห่างจากศาลหลักเมืองไม่มากนัก และตั้งอยู่หัวมุมทางแยกเด่นสะดุดตา...
วัดสวนตาล
วัดสวนตาล
วัดสวนตาล อยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี เมื่อ พ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ จากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ (ตรงกับรัชกาลที่ 5) เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าว...
วัดหัวข่วง
วัดหัวข่วง
ตั้งอยู่เลขที่ 77 ถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน คำว่าข่วงหมายถึงลานกว้าง วัดหัวข่วงก็คือวัดที่อยู่หน้าลานกว้าง เป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในเขตหัวแหวน ย่านประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่านใกล้กับหอคำอันเป็นตำหนักของเจ้าผู้ครองนครน่าน (ปัจจุบันเป็น...
หอศิลป์ริมน่าน
หอศิลป์ริมน่าน
หอศิลป์ริมน่าน ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัย ปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กม.20) ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอ บ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิ...
เรือนจำจังหวัดน่าน
เรือนจำจังหวัดน่าน
ตัวเรือนจำจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองน่าน มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน จุดที่โดดเด่นที่สุดคืออาคารห้องสมุดพร้อมปัญญา ซึ่งเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 อายุกว่า 100 ปี แต่เดิมเป็นโรงนอน มี 12 ห้อง หลังจากย้ายโรงนอนไปอาคารหลังใหม่แล้วก็ได้ปรับปรุงตกแต่งเป็นอาคารอเนกประสงค์ สำหรับสมาชิก 500 ก...
เสาหลักเมือง
เสาหลักเมือง และ วัดมิ่งเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุ...
เฮือนปู่เข็งฮักนางปทุมมา
เฮือนปู่เข็งฮักนางปทุมมา
เฮือนไม้หลังนี้สร้างจากจินตสถาปัตย์ หมายความว่าจินตนาการว่าเฮือนนางปทุมมาสมัยก่อนนั้นน่าจะมีลักษณะคล้ายแบบนี้ นางปทุมมาเป็นสามัญชนชาวบ้านที่ได้เป็นมเหสีในพระญาปู่เข็งกษัตริย์แห่งนครรัฐน่านลำดับที่ 12 ในราชวงศ์พูคา เมื่อประมาณ 600 ปีก่อน ด้วยเหตุพระญาปู่เข็งเคยไสช้างเข้าชิดชานเฮือนแห่งนี้ตกหลุมรัก...
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล...

ที่เที่ยวเวียงสา

วัดบุญยืน
วัดบุญยืน น่าน
วัดบุญยืน เป็นวัดเก่าแก่ประจำอำเภอเวียงสาจังหวัดน่าน มีความเป็นมายาวนานที่ชาวเวียงสาศรัทธานับถือมาก ในวัดมีโบสถ์หลังใหญ่ข้างในมีพระประธานที่ไม่เหมือนที่อื่น คือเป็นพระยืนปางเปิดโลก แทนที่จะเป็นพระนั่งเหมือนที่วัดทั่วไปที่เราเคยเห็น เสาที่ใช้ในการสร้างเป็นเสาขนาดใหญ่ ชาวเวียงสาเล่าให้ฟังว่าในเสาปู...

ที่เที่ยวแม่จริม

ล่องแก่งลำน้ำว้า
ล่องแก่งลำน้ำว้า
ล่องแก่งลำน้ำว้า ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสไหลตลอดปีมีทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหิน เกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวง มีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแค้มป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ  &n...
วัดหนองแดง
วัดหนองแดง
วัดหนองแดง อำเภอเชียงกลาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2330 โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้างโดยครูบาสิทธิการ พระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. 2538 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่น ช่อฟ้าพระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (ศีรษะเป็นช้าง ตัวเป็นหงส์) ซึ่งช...
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า)
อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า) อยู่ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเข...

จุดเช็คอินห้ามพลาดใน น่าน

บล็อกท่องเที่ยวใน น่าน

เที่ยวน่าน เบิกบานใจไปกับกิจกรรมจากชุมชนแห่งภูมิปัญญา ที่ชุมชนบ่อสวก

เที่ยวน่าน เบิกบานใจไปกับกิจกรรมจากชุมชนแห่งภูมิปัญญา ที่ชุมชนบ่อสวก

    ชุมชนบ่อสวก ที่นี่เป็นชุมชนเงียบสงบกลางหุบเขา อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองน่าน แต่มีภูมิปัญญาที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ความเจริญทางศิลปะของคนในอดีตได้...

   15378    0

Akkasid Tom Wisesklin
24 พฤศจิกายน 2564 15:47:32

เวียงสา นาน้อย น่าน...ไง

เวียงสา นาน้อย น่าน...ไง

    เรื่องราวของการเดินทางทริปนี้ของเราเน้นเส้นทางสายธรรมชาติ ไปที่อำเภอเวียงสา ต่อด้วยนาน้อย ของจังหวัดน่าน เป็นทริปรับลมหนาวแรกของปี 2560 ก็ว่าได้ เ...

   11109    0

Akkasid Tom Wisesklin
10 พฤศจิกายน 2560 20:08:59

ดูบล็อกทั้งหมด

รวมร้านอาหารแนะนำ น่าน

Hot Bread

Hot Bread

Mug Coffee

Mug Coffee

ที่พักแนะนำใน น่าน

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com