×

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
ชลบุรี
เมื่อปี 2519 นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธีวดี อันตระการ พร้อมด้วยบุตรธิดา ได้ถวายที่ดินแด่สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 2 ครั้งเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่เศษ ต่อมา คณะผู้ริเริ่มสร้างวัดได้ร่วมกันจัดซื้อที่ดินที่ติดต่อเขตวัดถวายเพิ่มเติมอีกประมาณ 60 ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ดินทั้งหมด 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา เพื่อขอให้สร้างวัด และขอใช้ชื่อว่า "วัดญาณสังวราราม" สมเด็จพระญาณสังวรได้รับถวายที่ดินแล้ว ก็ได้ดำเนินการสร้างวัดมาโดยลำดับวัดญาณสังวราราม ได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ญาณสังวรารามเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นวัดญาณสังวรารามโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2523 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 25 มีนาคม 2525 (พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 43) ในปี พ.ศ. 2529

วัดญาณสังวราราม มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 366 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวาไม่รวมถึงพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประมาณ 2,500 ไร่ มีพระภิกษุจำพรรษา 47 รูป สามเณร 10 รูป อุบาสกอุบาสิกา 15 คน โดยมี พระอรรถกิจโกศล (อภิพล อภิพโล) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าอาวาสและมีพระครูนิเทศธรรมจักษ์ (ทอง จาครโต) ฐานานุกรมในสมเด็จพระญาณสังวรเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส มีหม่อมราชวงศ์จำลอง นพวงศ์ เป็นไวยาวัจกร การสร้างวัดญาณสังวราราม มีจุดมุ่งหมายให้เป็นสำนักปฏิบัติ คือ เน้นทางด้านสมถะและวิปัสสนาและเพื่อให้เป็นที่ประโยชน์แก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ ในทางการศึกษาอบรมพระธรรมวินัย รวมทั้ง เพื่อให้เป็นที่ยังประโยชน์ในการบำเพ็ญอเนกกุศลต่างๆ ด้วยการวางผังแผนที่และรูปแบบในการสร้างวัดนั้นได้กำหนดพื้นที่เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยแบ่งออกเป็น 4 เขต คือ

เขตที่ 1 เขตพุทธาวาส เป็นสถานที่ตั้งปูชนียสถานโบราณวัตถุ มีอุโบสถพระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ มหามณฑปพระพุทธบาท ภปร.สก. ศาลาอเนกกุศล สว.กว. และมวก.สธ. เป็นต้น
เขตที่ 2 เขตสังฆาวาส แบ่งเป็นสองพื้นที่ คือพื้นที่ส่วนล่างและพื้นที่ส่วนบน ประกอบด้วยพื้นที่เขาชีโอนและเขาชีจรรย์ และทั้ง 2 พื้นที่ ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างเสนาสนะกุฏิน้อยใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ สงฆ์ สามเณร เป็นต้น
เขตที่ 3 เขตราชาวาส เป็นสถานที่โครงการพระราชดำริ มี เรือนรับรอง อ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรรมโรงพยาบาล ศูนย์การฝึกอบรมพิเศษ วนอุทยาน บริเวณอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ เป็นต้น
เขตที่ 4 เขตอุบาสกอุบาสิกาวาส เป็นสถานที่ตั้งศาลาโรงธรรม ที่พักอาศัยของบรรดาพุทธศาสนิกชน ผู้มาอยู่ประพฤติธรรม รักษาศีลฟังธรรม ปฏิบัติจิตภาวนาเป็นต้น

เนื่องจากวัดญาณสังวราราม สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นสมัยที่ยอมรับทั่วไปว่า ความร่มเย็นเป็นสุขของไทย เกิดแต่พระบุญญาธิการแห่งองค์สมเด็จพระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแท้และสืบเนื่องต่อขึ้นไปถึงพระมหากรุณาธิคุณยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ สมเด็จบุรพบรมกษัตริยาธิราชเจ้าอีกสองพระองค์ พระผู้ทรงไทยให้กลับเป็นไท สมัยที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราช ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทั้งสามพระองค์ ตลอดทั้งสมเด็จบุรพบรมกษัตริยาธิราชเจ้า แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกองค์ คณะผู้สร้างวัดญาณสังวราราม ในความอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวรจึงร่วมกับประชาชนชาวไทยสรรสร้างสิ่งอันเป็นปูชนีย์ที่สำคัญที่สุดของวัดญาณสังวราราม ขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นส่วนเพิ่มพูนพระราชกุศลราศีและเพื่อน้อมเกล้าฯ เทิดพระเกียรติ ดังนี้

1. อุโบสถ
2. พระพุทธปฏิมาประธานประจำอุโบสถ ได้รับการถวายพระนามว่า "สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์"
3. พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
4. พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร.สก.
5. ศาลาอเนกกุศล สว.กว. สร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว กว้าง 17.00 เมตร ยาว 31.00 เมตร น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ และสมเด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2526 ใช้เป็นศาลาฉัน
6. พระพุทธปฏิมา อปร.มอ. ประจำศาลาอเนกกุศล สว.กว. สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 แห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ "อปร." ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระนามภิไธยย่อ "มอ." ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกนาถประดิษฐานที่ผ้าทิตย์ "อปร.มอ." เป็นพระปางสมาธิแบบพระ ภปร. หน้าพระเพลา 5 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2526 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
7. ศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. มีขนาดกว้าง 17.40 เมตร ยาว 21.00 เมตรเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นชั้นล่างแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 จัดเป็นห้องเก็บวัสดุ ตอนที่ 2 ซึ่งอยู่ใต้ฐานรุกซีพระพุทธไพรีพินาศ จัดเป็นถังเก็บน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค ตอนที่ 3 จัดเป็นห้องเรียนพระปริยัติธรรมและห้องสมุดวัด ชั้นบนพื้นปูหินอ่อนไทย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไพรีพินาศใช้เป็นที่สวดมนต์ทำวัตรค่ำ อบรมกัมมัฎฐานเจริญจิตภาวนา เป็นต้นสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อ 7 พฤษาคม 2527
8. พระพุทธไพรีพินาศ น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร ประจำศาลาอเนกกุศล มวก.สธ. หน้าพระเพลา 4 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว เป็นพระจำลองแบบพระพุทธไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ชั้นสามพระเจดีย์ไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2527 ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร และต่อมาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเททองหล่อพระพุทธรูปปางรำพึง มวก. และพระพุทธรูปปางนาคปรก สธ.ประดิษฐานไว้ที่ฐานชุกชีพระพุทธไพรีพินาศ ด้านขวา-ซ้าย ที่ศาลาอเนกกุศลด้วย
9. ศาลาท่านท้าวริรุฬหรมหาราชพุทธบัณฑิต กว้าง 14.00 เมตร ยาว 24.00 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สำหรับเป็นที่พักอาศัยของพุทธศาสนิกชน ผู้มาประพฤติปฏิบัติรักษาศีลฟังธรรมและเจริญจิตภาวนาระยะสั้น 3 - 7 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางพระสุหร่าย ทรงเจิมพระรูปท่านท้าววิรุฬหรมหาราชทั้งสองพระรูป แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่หน้าบันทั้งสองข้าง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 สร้างถวายกุศลท่านท้าววิรุฬหกมหาราชโลกบาล ผู้รักษาโลกทิศเบื้องใต้อันมีสยามประเทศรวมอยู่ด้วยนอกจากงานสรรสร้างสิ่งอันเป็นปูชนีย์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นส่วนอันเพิ่มพูนพระราชกุศลราศีและเป็นราชสักการะเทิดพระเกียรติดังกล่าว ยังได้ดำเนินการสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่บริการป้องกันโรค รวมทั้งการรักษาพยาบาล และเพิ่มพูนความรู้ทางการศึกษาของพระภิกษุสามเณร และประชาชนในบริเวณใกล้เคียง เช่น
1. สร้างโรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียงแบบชั้นเดียว ประกอบด้วยบ้านพักนายแพทย์และพยาบาล พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่แผนกต่าง ๆ รวม 4 หลัง และมีผู้มารับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องไม่ขาด นับตั้งแต่วันที่เสด็จพระราชดำเนินทางเปิดโรงพยาบาลเป็นต้นมา
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลารากฐานสร้างโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2526 ซึ่งเป็นวโรกาศที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุขึ้นปีที่ 84 ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527

2. สร้างอาคาร ญส. 72 (ญส. สมเด็จพระญาณสังวร) ขึ้นในโอกาสที่ สมเด็จพระญาณสังวร เจริญชนมายุครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2528 เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น 20 ห้อง สำหรับอาศัยอยู่เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมของฝ่ายอุบาสิกา และต่อมาได้ จัดสร้างอาคาร ญส. ตึกชาย ลักษณะเช่นเดียวกัน ขนาด 20 ห้อง เพื่ออยู่อาศัยประพฤติปฏิบัติธรรมฝ่ายอุบาสกขึ้นอีก 1 หลัง ที่เขตอุบาสกอุบาสิกาวาส สมเด็จพระญาณสังวร ประกอบพิธีเปิดอาคาร ญส. ตึกหญิง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2529 และในโอกาสเดียวกันนี้ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างอาคาร ญส. ตึกชาย เวลา 10.09 น. ด้วย

3. ศาลานานาชาติ หรือศาลามังกรเล่นน้ำ สร้างโดยพระราชปรารภของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยการบริจาคของพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มุ่งเทิดทูลพระบุญญาธิการแห่งสมเด็จพระภัทรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับทั้งเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพรต่อไปศาลานานาชาติ เป็นศาลาที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมประจำชาติของแต่ละชาติ ซึ่งต่างได้จัดสรรงบประมาณมาก่อสร้างศาลานานาชาติ และอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "ศาลามังกรเล่นน้ำ" ศาลาดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบ้านอำเภอ มีรูปมังกรเล่นน้ำเป็นสัญลักษณ์ประจำศาลาแต่ละชาติ ซึ่งมีความหมายว่าน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วย พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ศาลามังกรเล่นน้ำทั้งหมด 6 ชาติ รวม 7 ศาลา คือ

- ศาลาไทยล้านนา และศาลาไทยภาคกลางของชาติไทย
- ศาลาจีนนอก ของชาติสิงคโปร์
- ศาลาจีนใน ของพสกนิกรชาติไทย
- ศาลาญี่ปุ่น ของชาติญี่ปุ่น
- ศาลาฝรั่ง ของชาติสวิตเซอร์แลนด์
- ศาลาอินเดีย ของชาติอินเดีย

การก่อสร้างศาลานานาชาติ สมเด็จพระญาณสังวรได้วางศิลาฤกษ์สร้างศาลาไทยล้านนาเป็นหลังแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2529 และคาดว่าศาลามังกรเล่นน้ำทั้ง 7 หลัง จะแล้วเสร็จภายในปี 2530

4. สร้างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นโครงการอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริส่วนหนึ่ง ในจำนวนหลายโครงการของวัดญาณสังวราราม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจะใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม และให้การศึกษาด้านการเกษตรกรรมแก่เยาวชนผู้ยากไร้ โครงการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนฝึกอบรม คณะกรรมการสนองงานตามโครงการพระราชดำริ (กปร.) ก็ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเยาวชนดังกล่าว จำนวน 7 คน ตามพระราชดำริที่ทรงปรารภไว้ โดยขอใช้สถานีวิจัยศรีราชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ในความดูแลฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมการศึกษานอกโรงเรียนและ กปร. ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2529 แล้ว

5. แกะสลักพระพุทธรูปที่เขาชีจรรย์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศโดยรอบวัดญาณสังวราราม เป็นภูเขาสูงหลายลูกเช่น เขาชีโอน เขาชีจรรย์ เขาดิน เป็นต้นโดยเฉพาะเขาชีจรรย์ มีความสูงเด่นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ได้มีการขอสัมปทานทำการระเบิดหินเพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างมาแล้วช้านาน ในปัจจุบันเขาดังกล่าว ได้เสียสภาพความเป็นธรรมชาติไป เนื่องจากระเบิด เสียงระเบิดทำให้เสียบรรยากาศในการปฏิบัติสมาธิ แม้กระทั่งสัตว์ป่าต่าง ๆ และนกซึ่งเดิมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ต่างก็หลบหนีลี้ภัยไปอยู่ ณ ที่อื่น จึงได้มีพระราชดำริว่าควรจะหาทางระงับการระเบิดที่เขาชีจรรย์ และโปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักภูเขาด้านที่ถูกระเบิดเป็นพระพุทธรูปแทนเนื่องในวโรกาสที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ทางวัดญาณสังวรารามมหาวรวิหาร ในสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลสหาสังฆปรินายก ทรงพิจารณาเห็นว่าเหมาะสมที่จะสร้าง พระพุทธรูปแกะสลักที่หน้าผาเขาชีจรรย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในมหามงคลวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีนี้อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาและยังเป็นการอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงอยู่ในสภาพที่ควรเป็น
เขาชีจรรย์นี้ มีความสูงประมาณ 169 เมตร มีฐานกว้าง 255 เมตร อยู่ห่างจากวัดญาณสังวรารามฯ ไปทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพของเขาชีจรรย์เดิมทีมีการขอสัมปทานทำการระเบิดหินเพื่อนำไปใช้งานก่อสร้างมาแล้วช้านาน และส่วนที่เหลือจึงกลายเป็นหน้าผาหินสูงชันหลังจากที่วัดญาณสังวรารามฯ และคณะกรรมการโครงการจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ได้พิจารณาหาข้อมูลและนำขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แกะสลักพระพุทธรูปที่หน้าผาเขาชีจรรย์เป็นแบบลายเส้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารได้เสร็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธ์ก่อนเริ่มโครงการจัดการสร้างพระพุทธรูป ณ. เขาชีจรรย์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2538 พระพุทธรูปที่มีชื่อเรียกขานว่า "พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดความสูง 150 เมตร หน้าตักกว้าง 100 เมตร สามารถมองเห็นชัดแต่ไกลและมีความสวยงามกลมกลืนเข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดีและนอกจากนี้ วัดญาณสังวราราม โดยสมเด็จพระญาณสังวร ผู้อุปถัมภ์การสร้าง ได้ทำหนังสือขออนุญาตอธิบดีกรมที่ดิน และกรมป่าไม้ เพื่อขอใช้พื้นที่เขาชีโอนและเขาชีจรรย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริ ปลูกเสนาสนะกุฎิที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรอีกส่วนหนึ่ง โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของกรมที่ดิน และกรมป่าไม้ คือ จักไม่ตัดไม้ทำลายป่า และอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้เป็นไปตามธรรมชาติเดิมทุกประการ

.........................................................

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มา: วารสารการท่องเที่ยวและกีฬา
ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2552


พิกัด GPS วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี:
12.789754,100.959974
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 3714 ครั้ง
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

แผนที่ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรีคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)