www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุตรดิตถ์ >> วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

 วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อยู่ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีตำนานเกี่ยวพันกับอีก 2 วัด ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ประกอบด้วยวิหารแบบล้านนาซึ่งอยู่ด้านหน้า ถัดไปเป็นพระบรมธาตุทุ่งยั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์เก่าแก่แบบลังกาทรงกลมฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ฐานล่างมีเจดีย์องค์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่ 4 มุม ฐานชั้นที่ 3 มีซุ้มคูหา 4 ด้าน สันนิษฐานว่าได้บูรณะขึ้นภายหลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานแพร่ 0 5452 1118-9, 0 5452 1127
http://www.tourismthailand.org/phrae

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 14381

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
เขตเมืองเก่าทุ่งยั้ง

เขตเมืองเก่าทุ่งยั้ง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ประมาณ 3 กิโลเมตร การเดินทางของผมในวันนี้ไม่ได้มาจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ แต่ผมมาจากศรีสัชนาลัย ก่อนจะมาถึงวัดพระบรมธาตุ ก็ผ่านวัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ ตามลำดับ แล้วมุ่งหน้าเข้าเมืองอุตรดิตถ์ จนมาถึงวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

บริเวณนี้มีถนนสายเล็กๆ ที่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถขยายออกไปได้อีก 2 ข้างทางเป็นเหมือนลานจอดรถสำหรับคนที่จะมาวัด รวมถึงคนที่จะมาตลาด บางทีการจะหาที่จอดว่างๆ ก็ดูจะต้องใช้เวลามากหน่อย

ภายในกำแพงแก้ว

ภายในกำแพงแก้ว ในบริเวณวัดไม่ได้มีกำแพงวัดล้อมรอบไปหมดทุกด้าน บางช่วงเปิดโล่ง มีเพียงซุ้มประตุวัด จากนั้นด้านในจะมีพื้นที่เขตพุทธาวาส อันเป็นที่ตั้งของโบสถ์ วิหารหลวง พระบรมธาตุเจดีย์ หอระฆัง อยู่ในกำแพงแก้วกว้างมาก มีซุ้มประตูด้านละ 2 แห่ง

โบสถ์

โบสถ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะไปวัดไหนๆ ในอุตรดิตถ์ ที่มีวิหารหลวงหลังใหญ่ ด้านหลังมีพระธาตุเจดีย์ มักจะมีโบสถ์หลังเล็กๆ แบบนี้ ขนาดของโบสถ์ที่สร้างอยู่ข้างวิหารหลวง ช่างแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ใบเสมาสร้างให้เล็กเข้ากับขนาดของโบสถ์ โบสถ์หลังนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชม ประชาชนที่เดินทางมายังวัดจะมุ่งหน้าไปสักการะหลวงพ่อหลักเมือง พระประธานในวิหารหลวง และสักการะองค์พระธาตุด้านหลังวิหาร

มาถึงตรงนี้อยากจะเล่าประวัติของวัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) เพิ่มเติมสักนิดนะครับ

วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในคูเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านตะวันออกสมัยสุโขทัย ดังปรากฏชื่อเมืองทุ่งยั้ง ในศิลาจารึกหลักที่ 4 ของพระมหาธรรมราชาลิไท วัดนี้ไม่มีหลักฐานว่าสร้างในปีใด สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไท แห่งกรุงสุโขทัย ชื่อวัดเคยเรียกต่างกันไป ได้แก่ วัดมหาธาตุ วัดหน้าพระธาตุ วัดบรมธาตุ วัดกัมโพชนคร วัดอุตรคาม วัดชัยบุรี วัดชัยปราการ วัดใน และวัดทุ่งยั้ง กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการว่า "วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง)"

หลวงพ่อหลักเมือง

หลวงพ่อหลักเมือง องค์พระประธานประดิษฐานในพระวิหารหลวง สร้างใน พ.ศ. 2283 พระเจ้าบรมโกศทรงให้สร้างในคราวที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดบรมธาตุเมืองทุ่งยั้ง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอู่ทองหน้าตักกว้าง 2 วา 11 นิ้ว สูง 3 วา 10 นิ้ว ชาวบ้านนิยมเรียกชื่อหลวงพ่อหลักเมืองว่าหลวงพ่อประธานเฒ่า หลวงพ่อหลักเมืองประธานเฒ่า และหลวงพ่อโต เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน เพราะได้รับสิ่งพึงปรารถนาตามอธิษฐาน

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนมารผจญ เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มักจะใช้บนผนังด้านหน้าอุโบสถหรือวิหาร โดยมีแม่พระธรณีบีบมวยผม

พระวิหารหลวงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย แต่เดิมพระวิหารคงมีลักษณะเป็นอาคารโถงก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ โครงหลังคาทำด้วยไม้ ยกพื้นสูงกว่าระดับพื้นดินเล็กน้อย บนพื้นรอบตัววิหารอาคารไม่กั้นฝา คงมีแต่เสารายรอบตั้งขึ้นค้ำหลังคา แต่เมื่อได้ผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้ง จึงทำให้วิหารมีรูปลักษณ์ดังปัจจุบัน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ว่าพระวิหารหลวงเป็นของเก่า ที่หน้าบรรณจำหลักเรื่องรามเกียรติ์ แต่สึกกร่อนไปมาก เห็นจะบูรณะในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ.2283) ฝาผนังข้างในวิหารเขียนภาพเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา) ปรากฏอยู่ เพราะมีคำปรัมปราเมืองเหนือเล่าว่า เมืองทุ่งยั้งคือเมืองท้าวสามลในเรื่องสังข์ทอง ในครั้งนี้พระเจ้าบรมโกศทรงให้สร้างพระประธานประดิษฐานในพระวิหารด้วย

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

หลักศิลาจารึก

หลักศิลาจารึก

พระบรมธาตุเจดีย์

พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา อันเป็นคติในพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เรียกว่า อุรังคธาตุ คืออัฐิส่วนหน้าอก องค์มหาธาตุเจดีย์มีความสูงประมาณ 1 เส้น (20 วา) ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างยาวด้านละ 10 วา 3 ศอก พระเจดีย์ผ่านการบูรณะซ่อมแซมมาหลายครั้ง ทำให้รูปลักษณ์ของพระเจดีย์แบบทรงลังกาเดิมได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการบูรณะซ่อมแซมภายหลังเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2451 ทำให้องค์พระเจดีย์หักพังลง พญาตะก่า ชนชาติพม่า ขออนุญาตทำการซ่อมแซม ผู้บูรณะซ่อมแซมได้ดัดแปลงฐานองค์ระฆัง (ส่วนของเจดีย์ที่เป็นรูประฆังคว่ำ) และเจดีย์สี่ทิศให้มีรูปร่างคล้ายเจดีย์พม่า แล้วทำฉัตรส่วนยอดมหาธาตุเจดีย์และเจดีย์องค์เล็ก (ปัจจุบันฉัตรหักพังลงแล้ว) รูปลักษณ์ของมหาธาตุเจดีย์ที่แสดงว่าเป็นเจดีย์ทรงกลามแบบลังกา คงเหลืออยู่แต่ช่วงบนขององค์พระเจดีย์เท่านั้น

ด้านหลังพระวิหารหลวง

ด้านหลังพระวิหารหลวง พระวิหารหลวงได้รับการบูรณะซ่อมแซมอีกใน พ.ศ. 2442 โดยหลวงพ่อแก้วเจ้าอาวาส หลังจากประกาศขึ้นทะเบียนวัดเป็นโบราณสถานแล้ว กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2502 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานการยกช่อฟ้า

วิหารหลวงวัดพระบรมธาตุ (ทุ้งยั้ง) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้ประกอบพิธี "ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา" ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชกาลที่ ๕ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งยกเลิกไปหลังจากการปฏิรูปการปกครอง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

ด้านข้างของพระวิหารหลวง

ด้านข้างของพระวิหารหลวง

เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ปกติเวลาสร้างพระพุทธรูปปางนี้มักจะสร้างเฉพาะองค์พระพุทธรูป สำหรับที่วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) สร้างเหล่าสาวกที่มาชุมนุมกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานด้วย

สังข์ทอง

สังข์ทอง ด้านหลังของวัดห่างจากกำแพงแก้วที่ล้อมรอบพระเจดีย์และพระวิหารหลวงออกมาจนดูเหมือนว่าพื้นที่ส่วนนี้อยู่นอกวัด เป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมกันมากไม่น้อยกว่าองค์พระธาตุเจดีย์ เพราะเชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นลานแข่งสกาของพระสังข์ ในวรรณคดี นั่นเอง สิ่งที่เราได้พบที่บริเวณนี้ก็คือหลุมประหลาดที่เกิดบนก้อนหิน ชาวบ้านเล่าว่าปู่ย่าตายายเล่าต่อกันมาเชื่อว่าหลุมนี้เกิดจากลูกคลีไฟ ที่ตีแข่งกันนั่นเอง เดี๋ยวไปดูที่หลุมกันเลยครับ

หลุมจากการตีคลีของพระสังข์

หลุมจากการตีคลีของพระสังข์ เป็นหลุมรูปวงกลมลึกพอสมควร แต่ละหลุมก็มีขนาดและความลึกต่างกันไป ในตำนานเชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองของท้าวสามล ในเรื่องสังข์ทอง ก็นำมาผูกเข้ากับหลุมประหลาดเหล่านี้ว่าเป็นหลุมจากการแข่งตีคลีไฟมาตกบริเวณนี้

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

นอกเหนือจากภาพที่เอามาให้ชมกันก็ยังมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือสระน้ำของวัดที่มีอยู่ 2 สระ ว่ากันว่าก้นสระมีถ้ำอยู่ เป็นถ้ำที่ไปทะลุกับอีกเมืองหนึ่งเลยทีเดียว แต่หลังจากกาลเวลาผ่านไป สระก็ตื้นเขินจนเหมือนบ่อเล็กๆ เท่านั้น ส่วนถ้ำก็หายไปด้วย วัดพระบรมธาตุ (ทุ่งยั้ง) มีงานประจำปีคือ งานอัฐมีบูชา เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถืงแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี วันอัฐมีบูชาคือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือตรงกับวันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง เป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช และระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล ชมรีวิว งานอัฐมีบูชา  http://goo.gl/UmLJbD

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
โรงแรมมาลาดี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.33 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมฟรายเดย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.78 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมสีหราช เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.80 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุนี บูทีก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.94 km | แผนที่ | เส้นทาง
O.U.M.HOTEL เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  7.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
ล้อมรัก รีสอร์ต อุตรดิตถ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  7.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
Good Room เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  9.62 km | แผนที่ | เส้นทาง
จงรักษ์พักดี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  9.85 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไลท์เฮาท์รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  9.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
JUTHAMANSION HAPPINESS เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  10.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีวันอัฐมีบูชา อุตรดิตถ์
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ อุตรดิตถ์
  1.48 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อุตรดิตถ์
  1.66 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
  2.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดกลาง อุตรดิตถ์
  6.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์
  8.09 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์
  8.56 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์
  9.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดธรรมาธิปไตย อุตรดิตถ์
  9.76 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com