www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุตรดิตถ์ >> หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

 หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำน่าน ถนนเกษมราษฎร์ ตำบลท่าอิฐ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน นั่งขัดสมาธิเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน

เปิดให้เข้าสักการะเวลา 07.00-17.00 น. ทุกวัน

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานแพร่ 0 5452 1118-9, 0 5452 1127
http://www.tourismthailand.org/phrae

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 19752

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ภายในวัดท่าถนน

ภายในวัดท่าถนน ทำเลที่ตั้งของวัดท่าถนน ด้านหนึ่งเป็นสถานีรถไฟ ด้านหนึ่งเป็นตลาด อีกด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำ จึงทำให้มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาแวะเวียนกราบไหว้สักการะหลวงพ่อเพชรอยู่เป็นประจำตลอดทั้งวัน แรกเริ่มเข้ามาภายในวัดสิ่งที่พบก็คือที่จอดรถที่ค่อนข้างหายาก เพราะมีคนมาจำนวนมาก บางคนก็มาอาศัยเป็นที่จอดรถเพื่อไปเดินตลาด ตรงกลางของพื้นที่วัดเว้นเป็นลานกว้างปลูกหญ้าเต็มพื้นที่ เพื่อสาธารณประโยชน์ อุโบสถกับวิหารหลวงพ่อเพชรอยู่เยื้องไปทางด้านหน้าของวัด ซึ่งหมายถึงด้านที่ติดแม่น้ำ เพราะเป็นด้านทิศตะวันออก และอุโบสถกับวิหาร หันไปทางนั้น

วิหารหลวงพ่อเพชร

วิหารหลวงพ่อเพชร อุโบสถหลังใหญ่ของวัดท่าถนนปกติไม่เปิดให้ประชาชนเข้าไปไหว้พระ นั่นก็เพราะว่า ที่วัดท่าถนนมีหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองอุตรดิตถ์อยู่แล้ว และหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังสีเหลืองหลังนี้ หน้าวิหารตรงกับประตูทางเข้าวัดพอดี ประชาชนที่มาไหว้พระจะไปที่วิหารหลังนี้ทันที

ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อยู่ตรงด้านข้างวิหารหลวงพ่อเพชร ระหว่างโบสถ์กับวิหารมีลานโล่งกว้างคั่นกลาง ในเวลากลางวัน ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้จึงเป็นสถานที่หลบแดดสำหรับคนที่มาไหว้พระทำบุญในวัดได้เป็นอย่างดี โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์มทางวัดจัดเต็นท์ไว้ให้สำหรับจุดเทียนธูปบูชาหลวงพ่อเพชรนอกวิหาร

ภายในวิหารหลวงพ่อเพชร

ภายในวิหารหลวงพ่อเพชร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรจำลอง สำหรับปิดทอง ส่วนองค์จริงอยู่ในห้องด้านในสุดของวิหาร ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเพชรที่ไม่เฉพาะประชาชนทั่วไปเท่านั้น พระภิกษุสงฆ์จากวัดอื่นๆ ในพื้นที่ เมื่อเดินทางมาเมืองอุตรดิตถ์ก็จะมาสักการะหลวงพ่อเพชรเสมอ

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชร ตามประวัติกล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2436 ขณะหลวงพ่อด้วงเจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ เดินทางกลับจากรับนิมนต์ที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล เมื่อผ่านวัดสะแกที่เป็นวัดร้าง ได้พบเนินดินเป็นจอมปลวกขนาดใหญ่มีเกศพระพุทธรูปโผล่ขึ้นมา เมื่อขุดดูพบว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางขัดสมาธิเพชร มีลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดท่าถนน สมัยนั้นมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาส ประกอบกับปางขององค์พระพุทธรูปที่นั่งขัดสมาธิเพชร จึงเรียกว่าหลวงพ่อเพชรนับแต่นั้นมา

บางตำราเขียนว่า "หลวงพ่อเพ็ชร์"

ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
อัญเชิญกลับมาจังหวัดอุตรดิตถ์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า

"พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล ( จะพันยา ) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน"

เหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น

เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการบูชาได้สะดวก

ปัจจุบันหลวงพ่อเพ็ชรประดิษฐานอยู่ในวิหารทางด้านทิศเหนือของอุโบสถ

พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก ที่เรียกกันว่าพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หล่อด้วยทองสำริดพระพุทธรูปปาง ปางมารวิชัย ชายสังฆาฎิสั้น ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 41 นิ้ว มีพุทธลักษณะงามมาก หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ชาวอุตรดิตถ์ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/วัดท่าถนน_(อุตรดิตถ์)

อุโบสถวัดท่าถนน ด้านหน้า

อุโบสถวัดท่าถนน ด้านหน้า หลังจากที่ไหว้หลวงพ่อเพชรในวิหารแล้ว ตอนนี้จะเดินชมรอบๆ วัดท่าถนนกันครับ เริ่มจากมาที่อุโบสถขนาดใหญ่หลังนี้ มาที่ด้านหน้า แล้วเดี๋ยวก็จะเดินออกไปชมที่ท่าน้ำด้านหน้าวัดกัน ที่นี่มีคนเอาลูกปลา หอย นก มาขาย สำหรับคนที่อยากจะปล่อยนกปล่อยปลา

สิงห์คู่หน้าโบสถ์

สิงห์คู่หน้าโบสถ์

ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ออกมาจากประตูของวัดท่าถนน จะไปชมบริเวณที่เป้นท่าน้ำสักหน่อย เนื่องจากกำแพงวัดกับแม่น้ำน่านไม่ได้ติดกันเสียทีเดียว มีถนนกับลานกว้างๆ คั่นอยู่ถ้าเข้าวัดท่าถนนจากประตูด้านสถานีรถไฟ เดินมาหน้าวิหารหลวงพ่อเพชร ไม่รู้สึกเลยว่าจะมีแม่น้ำอยู่แถวนั้น จนกว่าจะเดินออกมาจากวัดนี่แหละ

บริเวณนี้จะเรียกกันว่าลานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงมีความเกี่ยวข้องกับวัดท่าถนนในอดีตตามประวัติที่เล่าไปแล้ว บริเวณรอบๆ ลานกว้างแห่งนี้เป็นร้านค้ามากมายหลายร้าน มีทั้งอาหารเครื่องดื่ม เมื่อเวลาเย็นก็จะมีคนมาออกกำลังกายกันเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองอุตรดิตถ์

ศาลาริมน้ำวัดท่าถนน

ศาลาริมน้ำวัดท่าถนน ถัดจากลานพระบรมรูปฯ เราก็จะเห็นศาลาสีเหลืองโดดเด่นอร่ามงามตาอยู่ริมตลิ่งแม่น้ำ สร้างแบบเป็นอาคารยื่นออกจากตลิ่ง เป็นสถานที่ชมวิวแม่น้ำน่านที่สวยงาม มีคนมานั่งพักผ่อนอ่านหนังสือไปจนถึงนอนเล่นที่ศาลาหลังนี้ก็มีครับ

ศาลาแปดเหลี่ยม

ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาที่อยู่ไกลออกไปด้านตรงข้ามของลานกว้างๆ

โรงเรียนนักธรรม-ภาษาบาลี

โรงเรียนนักธรรม-ภาษาบาลี เป็นอาคารที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2474 (ดูจากตัวหนังสือบนอาคาร) สถาปัตยกรรมที่ดูปุ๊บก็รู้ปั๊บว่าเป็นอาคารแบบเก่าที่หาได้ยากมากแล้วในประเทศไทย อาคารหลังนี้อยู่ด้านหลังของอุโบสถห่างกันประมาณ 50 เมตร ลองเดินชมรอบๆ แบบใกล้ๆ จะเห็นเอกลักษณ์หลายอย่างของสถาปัตยกรรมที่ผสมแบบตะวันตก โดยเฉพาะลักษณะของชองประตูและหน้าต่าง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าถนน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าถนน เป็นอาคารไม้ติดกับอาคารโรงเรียนนักธรรม-ภาษาบาลี แม้ว่ารูปแบบการก่อสร้างจะไม่เหมือนกัน แต่อาคารหลังนี้ก็คงจะมีอายุไม่น้อย ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเปิดให้เข้าชมได้

จบการนำเที่ยววัดท่าถนน ไหว้พระขอพรหลวงพ่อเพชรพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์กันเท่านี้ครับ เดี๋ยวไปต่อกันที่อนุสาวรีย์พระยาพิขัยดาบหักกันต่อ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์
O.U.M.HOTEL เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.04 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุนี บูทีก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมสีหราช เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมฟรายเดย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
จงรักษ์พักดี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.96 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไลท์เฮาท์รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.09 km | แผนที่ | เส้นทาง
Good Room เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
JUTHAMANSION HAPPINESS เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.91 km | แผนที่ | เส้นทาง
สิริ อพาร์ตเมนต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
ล้อมรัก รีสอร์ต อุตรดิตถ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์
  1.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดธรรมาธิปไตย อุตรดิตถ์
  1.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์
  2.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดกลาง อุตรดิตถ์
  2.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์
  6.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีวันอัฐมีบูชา อุตรดิตถ์
  8.09 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
  8.09 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ อุตรดิตถ์
  9.41 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อุตรดิตถ์
  9.65 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อุตรดิตถ์
  10.11 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com