×

ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา

ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
สงขลา
คำว่า ลากพระเป็นภาษาถิ่นทางใต้ เมื่อออกเสียงตามภาษากลาง ทำให้มีความหมายเพี้ยนไป จึงได้มีการเรียกประเพณีนี้ว่าชักพระ เป็นประเพณีของการแห่พระด้วยขบวนแห่ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม เดิมทีเดียวจะแห่พระทางน้ำ แล้วก็เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการแห่ทางบก การแห่พระในประเพณีลากพระหรือชักพระทางน้ำ จะไปชมกันได้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจากการชักพระทางเรือ เปลี่ยนมาเป็นทางบก การตกแต่งขบวนแห่พระจึงยังคงยึดรูปแบบของเรือเอาไว้มากที่สุด

ชักพระเป็นพิธีบุญอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดภาคใต้หรือชาวปักษ์ใต้ที่กระทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล จนกระทั่งปัจจุบันนี้ มีหลายจังหวัดในภาคใต้ที่มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ที่เคยได้ยินข่าวการจัดงานได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี เป็นต้น ถือว่า ประเพณีนี้มีความสำคัญและยิ่งใหญ่กว่าหลายๆ ประเพณี ที่จัดขึ้นในจังหวัด โดยเฉพาะที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จะมีชักพระบกและพระน้ำ กำหนดการชักพระ คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปีเป็นวันที่พระสงฆ์ ออกพรรษา หรือที่เรียกว่า "วันปวารณา"

ก่อนการชักพระ ๑๐-๑๕ วัน ชาวบ้านและชาววัดจะช่วยกันจัดเตรียมทำเรือพระสำหรับที่จะลากกันอย่างหรูหรา ข้างบนทำเป็นบุษบกสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ในช่วงเวลาก่อนถึงวันชักพระนี้จะมีการ "คุมโพน" หรือ "คุมพระ" คือการประโคม ฆ้อง กลอง ตะโพน เพื่อเป็นการซ้อมหรืออุ่นเครื่อง และเป็นการสร้างบรรยากาศอันคึกคักให้ชาวบ้านได้เตรียมตัวสำหรับกาลอันสำคัญนี้

เรือพระบกแต่เดิมจะมีตัวไม้ใหญ่ ๒ อัน วางรองเป็นที่สร้างบุษบก การชักพระจึงเป็นการลากจริง ๆ ปัจจุบันใช้รถยนต์แทน การชักพระบกจะลากผ่านหมู่บ้าน จากวัดหนึ่งไปยังอีกวัดหนึ่ง หรือไปยังที่ชุมนุมเรือพระ ส่วนเรือพระน้ำจะทำเป็นแพโดยใช้เรือ ๑-๓ ลำ เป็นที่ตั้งของแพสำหรับลากไปในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล

ในวันชักพระ คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตอนเช้าตรู่ชาวบ้านจะพากันไปทำบุญตักบาตรหน้าเรือพระเมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารแล้วจะเริ่มชักพระไปสู่ที่ชุมนุมเรือพระ ในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีเรือพระจะมาชุมนุมกันที่ที่กำหนดไว้ อย่างเช่นที่สุราษฎร์ธานี จะทำที่ริมแม่น้ำตาปี บริเวณท่าเรือเกาะสมุย เมื่อพระสงฆ์ฉันเพลแล้วจะมีการ "ซัดต้ม" ซึ่งเป็นเกมการแข่งขันปากันด้วยต้ม นอกจากนั้นในจังหวัดนี้ยังมีการ "แข่งเรือ" ตามปกติเรือพระจะกลับวัดในตอนเย็นของวันชักพระ แต่สำหรับในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังจากมีการสมโภช ๑ คืนแล้ว เรือพระจะยังคงอยู่เพื่อให้ชาวบ้านไปทำบุญ ๓-๔ วัน จึงจะกลับวัด
สอบถามข้อมูล กำหนดจัดงานได้ที่ สายด่วน ททท. 1672

พิกัด GPS ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา:
7.211009267214535,100.59089385054017
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 1863 ครั้ง
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา
ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา

แผนที่ ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลาคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ ประเพณีชักพระ (ลากพระ) สงขลา

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)