www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สมุทรสงคราม >> โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์

 โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลอัมพวา ใกล้ตลาดน้ำอัมพวา เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนานำที่ดินที่คุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ชาวอัมพวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย มาดำเนินการพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอัมพวา เพื่อสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านและอนุรักษ์วิถีการดำเนินชีวิตของชาวอัมพวา และด้วยที่ "ชุมชนอัมพวา" เป็นชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติไทย ซึ่งอนุชนรุ่นหลังสามารถหวนรำลึกและมองย้อนเห็นภาพอดีตอันรุ่งเรืองถึงความเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม และประเพณีที่งดงามที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

 โครงการ "อัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์" แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย ภูมิสังคมและพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สวนสาธิตการเกษตรเพื่อการเรียนรู้ อาทิ สวนมะพร้าวและพืชต่าง ๆ ร้านค้าชุมชน ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ ลานสำหรับจัดกิจกรรมและจำหน่ายของที่ระลึกจากชาวอัมพวา ร้านกาแฟอายุกว่า 200 ปี พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอัมพวา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงสิ่งของเครื่องใช้สมัยโบราณที่ค้นพบในอำเภออัมพวา ร้านชานชาลา จำหน่ายเครื่องดื่มและของว่าง บ้านครูเอื้อ แสดงนิทรรศการประวัติและผลงาน รวมทั้งข้าวของเครืองใช้ของครูเอื้อ สุนทรสนานหรือสุนทราภรณ์

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักประชาสัมพันธ์มูลนิธิชัยพัฒนา โทร. 0 2282 4425 ต่อ 116, 117, 0 2252 9881 หรือ www.chaipat.or.th

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม โทร. 0 3475 2847-8
http://www.tourismthailand.org/samutsongkhram

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 33860

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
มุมสงบแห่งอัมพวา

มุมสงบแห่งอัมพวา ตลาดน้ำอัมพวาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักกันอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง แต่ละสัปดาห์มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวที่นี่จำนวนมาก ทำให้มีคนหนาแน่นตั้งแต่เย็นจนถึงหัวค่ำ แต่สถานที่ที่อยู่ใกล้ๆ กับตลาดน้ำอัมพวากลับมีนักท่องเที่ยวบางตา แม้ว่าในปัจจุบันจะเริ่มมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากกว่าเมื่อก่อนแต่ก็ยังน้อยมากหากเทียบกับคนในตลาดน้ำ บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของมูลนิธิชัยพัฒนา ในชื่อ อัมพวา-ชัยพัฒนานุรักษ์ มีที่พักหลายแห่งที่นี่สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตชาวอัมพวา ให้เลือกหลายแบบหลายราคา ที่พักแต่ละแห่งก็สร้างจุดเด่นให้กับตัวเอง อย่างที่นั่งพักผ่อนหน้าบ้านริมน้ำอัมพวา และการตกแต่งแบบสมัยก่อน

อีกด้านหนึ่งของอัมพวา

อีกด้านหนึ่งของอัมพวา มูลนิธิชัยพัฒนาอยู่ห่างจากตลาดน้ำอัมพวาไม่มาก มีสะพานคอนกรีตข้ามคลองเหมือนกับในตลาดน้ำ แต่ที่ต่างกันคือจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งบนสะพานและทางเดินริมน้ำ สะพานแห่งนี้มองเห็นตลาดน้ำอัมพวาและมีเรือที่แล่นไปมานำนักท่องเที่ยวล่องชมหิ่งห้อยเป็นประจำ บรรยากาศที่เงียบสงบของที่นี่ทำให้เป็นที่พักที่น่าอยู่ และไม่ไกลจากตลาดน้ำจนเกินไปนัก เดินชมสินค้าต่างๆ ริมคลองเดี๋ยวก็ถึง

ชุมชนชาวอัมพวา

ชุมชนชาวอัมพวา บ้านเรือนที่ปลูกริมน้ำเป็นเอกลักษณ์ของอัมพวา ริมน้ำมีเรือสินค้าชนิดต่างๆ ทั้งเรือหางยาว และเรือพายผ่านไปมา สินค้าที่จำหน่ายจะเน้นของกินเป็นหลัก แต่ก็มีบางลำเป็นเรือขายสินค้าจำพวกของใช้และของที่ระลึก นักท่องเที่ยวที่พักที่นี่แทบจะไม่ต้องเดินไปไหน นั่งรอริมน้ำให้เรือมาขายให้เลือกกินได้ตามใจชอบ หรือจะเดินเล่นชมตลาดก็ได้ทุกเมื่อ วิวยามเย็นบนสะพานแห่งนี้เหมือนมีมนต์ขลัง หลายคนที่มาแห่งนี้แล้วมักจะกลับมาอีก

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิต

พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิต ตรงทางเข้ามูลนิธิชัยพัฒนา มีห้องๆ หนึ่งของอาคารสร้างเป็นสถานที่ให้ความรู้วิถีชีวิตชาวอัมพวา และนิทรรศการที่มีประโยชน์หลายๆ อย่าง ได้แก่ขนมไทย ขนมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อมารี กีมาร์ (Marie Gimard) ซึ่งคนไทยเรียก "ท้าวทองกีบม้า" ภรรยาของออกญาวิซ่า เยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) ซึ่งเข้ามารับราชการในสำนักอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้นำขนมแบบใหม่เข้ามาเผยแพร่ โดยมีส่วนผสมของ "ไข่" เข้ามาเผยแพร่ในหมู่ชาวอยุธยา ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมผิง ทองพลุ ทองโปร่ง ซึ่งเป็นขนมของชาวโปรตุเกสตามต้นตระกูลทางบิดาของเธอ ขนมเหล่านี้จึงได้รับความนิยมมากในหมู่ชาวราชสำนัก หากจะกล่าวถึงตำนานขนมไทย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากหลักฐานที่ปรากฎในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงชื่อ "ขนมต้ม" และหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด สมัยอยุธยา กล่าวถึงชื่อขนมไว้ตอนหนึ่งว่า "บ้านหม้อ ปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่ เล็ก และกระทะ เตาขนม ขนมเบื้อง" และอีกตอนหนึ่งกล่าว่า "ย่านป่าขนม ขายขนมชะมด กงเกวียน ต้มถั่ว สำปันนี" ขนมไทยสมัยโบราณ ทำจากข้าวที่ตำหรือบดละเอียดเป็นแป้ง แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลเพียงสองสิ่งเท่านั้น ต่อมามีการพัฒนาโดยเพิ่มมะพร้าวเข้าไปผสม ขนมไทยยุคแรกๆ จึงมีเพียงมะพร้าว แป้ง และน้ำตาล ซึ่งเป็นของพื้นที่ที่มีโดยทั่วไป อีกส่วนหนึ่งจำลองห้องครัวและห้องนอนของชาวอัมพวา เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันจำนวนมาก

ทางเข้ามูลนิธิชัยพัฒนา

ทางเข้ามูลนิธิชัยพัฒนา รูปแบบอักษรบนป้ายบอกทางที่ออกแบบได้สวยงาม เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายรูปกันไม่ได้ขาด ซอยระหว่างอาคารเป็นซอยเล็กๆ ไม่ลึกมากมองเห็นสวนของมูลนิธิชัยพัฒนา

เริ่มต้นในมูลนิธิชัยพัฒนา

เริ่มต้นในมูลนิธิชัยพัฒนา ภายในพื้นที่แบ่งให้ชาวบ้านได้มาเปิดร้านกันหลายร้านแต่ละร้านก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง สำหรับจักรยานให้ถ่ายรูปได้แต่ต้องเก็บตังค์กันบ้าง ตรงนี้มีห้องน้ำบริการด้วยครับเดินดูดีๆ จะเจอได้ไม่ยาก

ตะเกียก-ตะกาย

ตะเกียก-ตะกาย ชื่อร้านที่เก๋ไก๋ เป็นของร้านที่ออกแบบเสื้อและสินค้าอื่นๆ มีรูปแบบของตัวเองแล้วค่อยๆ ทำขยับขยายจนวันนี้มีหลายแบบหลายลายให้เลือกชมเลือกซื้อกัน หากได้เห็นเจ้าของผลงานมานั่งสกรีนเสื้อด้วยตนเองแล้วจะทึ่งในความคิดของคนอายุยังไม่มากที่เริ่มต้นธุรกิจของตนเอง

บริเวณมูลนิธิชัยพัฒนา

บริเวณมูลนิธิชัยพัฒนา ในพื้นที่จัดแบ่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องมีสินค้าหลายรายการ ส่วนกลางมีซุ้มสำหรับขายอาหารและของกิน จำพวกของหวานก็เป็นสินค้าขายดีอย่างหนึ่ง มีทางเดินรอบๆ พื้นที่ไม่กว้างมากนักแต่ก็มีร้านค้าที่มีสินค้าน่าสนใจหลายอย่างมาเปิดขายล้วนแต่น่าแวะชมและซื้อหา

โชติกาปั้นจิ๋ว

โชติกาปั้นจิ๋ว เป็นร้านที่จำหน่าย ของขวัญ ของชำร่วย น้ำพริกปลาทู ขนมไทยจิ๋ว ผลไม้จิ๋ว และอีกหลายๆ อย่างนำมาทำขนาดเล็กๆ น่ารักๆ จัดวางอย่างสวยงามมีทั้งขายแยกและมีกรอบกระจกให้พร้อม ของจิ๋วๆ เหล่านี้ทำออกมาได้เหมือนทั้งรูปร่างและสีสัน มีเพียงขนาดที่เล็กลงเท่านั้น

ลายเสื้อเขียนมือ

ลายเสื้อเขียนมือ ร้านต่อมาที่จะแนะนำคือร้านขายเสื้อ โดยเสื้อที่วางขายอยู่นี้เป็นลายเสื้อเขียนมือ ทีละตัวๆ มีลวดลายสวยงามหลายแบบให้เลือก ค่อยๆ เขียน ค่อยๆ ขาย หลายลายหลายขนาด งานฝีมือเฉพาะตัวโดยแท้

ศาลาพักผ่อนในสวน

ศาลาพักผ่อนในสวน อาคารร้านค้าในมูลนิธิชัยพัฒนา มีช่องว่างระหว่างกันไม่มาก มีศาลาให้นั่งพัก ศาลาหลังนี้มีทางเดินทะลุร้านเครื่องดื่มไปริมคลองได้โดยผ่านร้านไป สำหรับผู้ที่ซื้อของกินในมูลนิธิชัยพัฒนา ก็เอามานั่งกินตรงนี้ให้หายเหนื่อยหรือหายหิวก่อนที่จะเดินต่อไป

หอศิลป์วัดประดู่

หอศิลป์วัดประดู่ สินค้าหลักๆ เป็นหัวโขน ศิลปะอีกชนิดหนึ่งอันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญๆ ของไทย ประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงามสมจริง

เรือนคุณปู่ทำมือ

เรือนคุณปู่ทำมือ คุณปู่ผู้สร้างสรรค์งานด้วยมือล้วนๆ สินค้าที่ประดิษฐ์ออกขายมีหลายแบบหลายชนิดแต่ส่วนใหญ่งานของคุณปู่ออกมาจะมีไม้และมีเชือกร้อย เป็นส่วนใหญ่ แต่บางชื้นที่ประดิษฐ์จากรากไผ่ ก็เป็นชิ้นเดียวเดี่ยวๆ งานของคุณปู่ที่ทำออกมามีวางขายอยู่ในตลาดน้ำอัมพวามาช้านาน เป็นซอกเล็กๆ ระหว่างตึกแถวที่พอจะให้คนเดินเข้าไปได้ สินค้าที่แขวนขายมีหลอดไฟส่องให้สว่างด้วยสีสันของชิ้นงานเองทำให้เกิดความสวยงาม แม้ว่าไม่ใช้ไฟ ก็ยังสวยในเวลากลางวัน เป็นของตกแต่งบ้านที่นิยมซื้อกลับหากได้ไปที่อัมพวา คุณปู่ตัวจริงนั่งทำงานอย่างไม่สนใจลูกค้าที่เดินเข้าเดินออก ใครจะเอาอะไรก็เอาแล้วมาจ่ายตังค์ แกถึงจะเงยหน้าขึ้นมาทีนึง

โลชั่นสมุนไพรแท้

โลชั่นสมุนไพรแท้ อีกร้านหนึ่งที่น่าสนใจในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือน้ำหอม โลชั่นที่ทำจากสมุนไพรแท้ๆ ทุกขวด แต่แทนที่กลิ่นออกมาจะแรงเหมือนสมุนไพรจริงๆ กลับมีกลิ่นที่อ่อนลงและหอมน่าใช้มาก

กองสินธุ์ไข่วิจิตร

กองสินธุ์ไข่วิจิตร อีกร้านที่ชอบมากเป็นการส่วนตัวเลย การนำเอาเปลือกไข่มาประดิษฐ์เป็นของที่สวยงามมากๆ นี้ เปลือกต้องมีการคัดเลือกเป็นอย่างดี นำเอาไข่ออก เคลือบให้แข็ง แล้วก็ประดิษฐ์ออกมาเป็นผลงานแต่ละชิ้นใช้เวลานานทั้งสิ้นผลงานเหล่านี้เป็นที่นิยมชมชอบของชาวต่างชาติอย่างมาก

กองสินธุ์ไข่วิจิตร

กองสินธุ์ไข่วิจิตร ตัวอย่างผลงานที่คัดสรรเอามาให้เลือกชม ไข่วิจิตรเหล่านี้เป็นผลงานที่ปราณีตมากๆ

กองสินธุ์ไข่วิจิตร

กองสินธุ์ไข่วิจิตร ตัวอย่างอีกบางส่วนครับ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิกเข้าไปดูที่ www.siameggdesign.com หรือ โทร. 034711866 มีแบบซื้อมาทำเองที่บ้านได้ด้วยนะครับ

ละอองศิลป์

ละอองศิลป์ ร้านจำหน่ายสินค้าหลายชนิดต่างรูปแบบกันมีให้เลือกหลายอย่าง เสื้อลวดลายสวยงามแบบไทยๆ งานภาพเขียน

สุดพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา

สุดพื้นที่มูลนิธิชัยพัฒนา เดินสักพักใหญ่ๆ ก็รอบพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา หรือ อัมพวา-ชัยพัฒนานุรักษ์ อีกด้านหนึ่งมีลานจอดรถ นอกเหนือจากที่ถ่ายรูปมาให้ดูนี้ยังมีอีกมากมายหลายร้าน แต่ละอย่างต้องมาดูเองจึงจะเห็นความสวยงามที่แท้จริง

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน เดินกลับมาที่ริมน้ำมุ่งหน้าเข้าตลาดน้ำอัมพวา ผ่านร้านๆ หนึ่งมีข้าวของเครื่องใช้สมัยก่อนมากมายหลายอย่าง เป็นมุมที่จัดตกแต่งด้วยสีทึบ ทำให้รู้สึกถึงความเก่าได้เป็นอย่างดี เป็นอีกมุมที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาตลอดเวลา

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน

พิพิธภัณฑ์เมื่อวันก่อน จบการนำเที่ยวมูลนิธิชัยพัฒนาไว้เท่านี้ก่อนครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ สมุทรสงคราม
อาร์เดีย รีสอร์ต พูล วิลลา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
อัมพวาน่านอน โฮเต็ล แอนด์ สปา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
ริมระเบียง อัมพวา คาเฟ่ แอนด์ สวีท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
ฐณิชาฌ์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชบาบานฉ่ำ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.34 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านสราญรมย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านรัก อัมพวา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.58 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ คัลเลอร์ รีสอร์ท อัมพวา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านเบิร์ดแลนด์ รีสอร์ท แอท อัมพวา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
มีพวา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ สมุทรสงคราม
ตลาดน้ำอัมพวา สมุทรสงคราม
  0.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอัมพวันเจติยาราม สมุทรสงคราม
  0.34 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์ขนมไทยอัมพวา สมุทรสงคราม
  0.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยาน ร.๒ สมุทรสงคราม
  0.57 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดบางนางลี่ใหญ่
  0.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชูชัยบุรี ศรีอัมพวา
  0.89 km | แผนที่ | เส้นทาง
เรือนไม้ชายน้ำโชติกา
  1.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
ลอยกระทงกาบกล้วย สมุทรสงคราม
  1.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดภุมรินทร์กุฎีทอง สมุทรสงคราม
  1.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศูนย์อนุรักษ์แมวไทย สมุทรสงคราม
  1.65 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com