www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุตรดิตถ์ >> วัดธรรมาธิปไตย

วัดธรรมาธิปไตย

 ประวัติวัดธรรมาธิปไตย ตั้งอยู่เลขที่ 7 ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ประเภทวัดราษฎร์ นิกายมหานิกาย ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัดตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี 2345 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485

 วัดธรรมาธิปไตยเดิมชื่อว่า "ท่าทราย" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน (ท่าอิฐล่าง) หรือบ้านบางโพเหนือ เนื่องจากน้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงที่ตั้ง วัดจึงย้ายหนีน้ำขึ้นมาห่างจากที่เดิมประมาณสองกิโลเมตรเศษ จากสภาพทำเลที่ตั้งวัดใหม่มีต้นไม้ร่มรื่นมากมาย โดยเฉพาะต้นมะขามขนาดใหญ่อยู่บริเวณวัด จึงได้ให้ชื่อว่า "วัดต้นมะขาม" ในปี พ.ศ. 2345

 ต่อมาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ส่งพระสุธรรมเมธี (พระมหาบันลือ ธมฺมธโช) ป.ธ.๘ เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดต้นมะขาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 พระสุธรรมเมธีจึงได้ดำเนินการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดธรรมาธิปไตย" ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ 19 ไร่ 24 ตารางวา ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบตั้งอยู่ใจกลางชุมชน

 ติดต่อวัดธรรมาธิปไตย โทร. 055-411050

 ภายในวัดเป็นที่เก็บบานประตูของวิหารหลังใหญ่ และเก่าแก่มากของวัดพระฝาง บานประตูทำจากไม้ปรูขนาดกว้าง 1.1 เมตร สูง 5.3 เมตร และหนา 16 เซนติเมตร แกะสลักในสมัยอยุธยาเป็นลายกนกก้านขด มีลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มมีกนกใบเทศขนาบสองด้าน กล่าวกันว่า เป็นบานประตูไม้แกะสลักที่มีความงามเป็นที่สองรองลงมาจากประตูวิหารวัดสุทัศน์ที่กรุงเทพฯ

ข้อมูลเพิ่มเติม:ติดต่อวัดธรรมาธิปไตย โทร. 055-411050

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 14065

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ธรรมสภา

ธรรมสภา ตึกธรรมสภา อาคารกว้าง 19 เมตร ยาว 40.30 เมตร หลังนี้ดูเหมือนเป็นอาคารสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ความจริงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นอาคารเสริมเหล็ก 2 ชั้น ออกแบบมาให้ใช้ประโยชน์ได้ 7 ประการ อยู่ในที่เดียวกัน คือ เป็นอุโบสถ วิหาร ศาลา โรงเรียน หอสวดมนต์ หอไตร ซึ่งมีพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมาธิปไตย เป็นผู้ริเริ่มสร้างตึกธรรมสภา และเมื่อเทคอนกรีตชั้นที่ 2 เสร็จแล้ว จึงทำพิธีฝังลูกนิมิต โดยมีสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงปิดทองลูกนิมิตเอกของธรรมสภา เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492

ความสูงใหญ่ของอาคารธรรมสภาที่มองเห็นได้แต่ไกล ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเพียง 2 ชั้นเท่านั้น ผมออกเดินทางจากวัดท่าถนน มุ่งหน้าไปตามถนนสำราญรื่น (เส้นทางไปอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก) จนมาถึงทางแยกถนนอินใจมี มองเข้ามาในวัดธรรมาธิปไตย ก็เห็นอาคารหลังนี้สูงใหญ่อยู่กลางวัด รายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เขตสังฆาวาสอยู่ทางซ้ายมือ เดิมทีธรรมสภาจะปิดอยู่ตลอดวัน ถ้าอยากจะชมบานประตูไม้แกะสลัก ต้องติดต่อพระภิกษุผู้ดูแลอาคารธรรมสภาก่อน

อุโบสถวัดธรรมาธิปไตย

อุโบสถวัดธรรมาธิปไตย ด้วยอาคารหลังใหญ่ ใช้ประโยชน์หลายอย่าง อย่างหนึ่งที่โดดเด่นก็คือการใช้เป็นอุโบสถและวิหาร เมื่อเราขึ้นมายังชั้นบน ก็จะเห็นพระประธานประดิษฐานอยู่ด้านในสุด ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นโถงที่โล่งกว้าง เพดานสูงมากๆ ด้วยเหตุนี้คงเป็นสาเหตุให้มีการยกบานประตูไม้แกะสลักล้ำค่า มาเก็บรักษาไว้บนนี้ บานประตูไม้แกะดังกล่าวนำมาตั้งไว้ที่ด้านข้างของพระประธานทั้ง 2 ข้าง

หลวงพ่อเชียงแสน

หลวงพ่อเชียงแสน หลวงพ่อเชียงแสน เป็นพระประธานในอุโบสถ หรือในตึกธรรมสภา ขนาดหน้าตักกว้าง 38 นิ้ว สูง 67 นิ้ว ได้นำมาจากวัดราชบูรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ) เพราะถูกระเบิดตอนสงครามโลก โบสถ์พังเสียหายหมด เป็นพระประธานปางมารวิชัย ที่ฐานพระระบุพ.ศ. 2491 ซึ่งนำเอาใส่ตู้รถไฟมาจากกรุงเทพฯ

หลวงพ่อเชียงแสน ศิลปะสุโขทัย องค์ที่ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในอุโบสถธรรมสภา ได้ถูกชะลอนำขึ้นมาอุตรดิตถ์ในคราวเดียวกันกับหลวงพ่อสุโขทัยวัดคุ้งตะเภา ซึ่งองค์หลวงพ่อเชียงแสนนั้นมีพุทธลักษณะเหมือนกับหลวงพ่อสุโขทัยทุกประการ เพียงแต่หลวงพ่อเชียงแสนไม่มีร่องรอยความชำรุดเสียหาย ซึ่งผู้ที่ได้เคยเห็นพระพุทธรูปทั้งสององค์ต่างกล่าวกันว่าสององค์นี้ น่าจะเป็นพระพี่น้องกันในสมัยโบราณ (พระร่วมวิหารเดียวกันและสร้างคราวเดียวกัน)

วัดในอุตรดิตถ์ที่ลงไปขอพระพุทธรูปจากวัดราชบูรณะราชวรวิหารในครั้งนี้มี 3 วัด คือวัดคุ้งตะเภา (นำพระสัมฤทธิ์ชำรุดกลับมา) วัดธรรมาธิปไตย (วัดเจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น นำพระสัมฤทธิ์สมบูรณ์กลับมา) และอีกวัดหนึ่งคือวัดคงสระแก้ว ซึ่งวัดที่ 3 นี้เองที่ได้นำพระปูนปั้นโบราณกลับไป แต่ปรากฏต่อมาว่าปูนที่หุ้มพระพุทธรูปโบราณที่วัดนั้นได้นำกลับไป เกิดกระเทาะออกและปรากฏเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหลังจากข่าวแพร่สะพัดไป พระพุทธรูปองค์นั้นก็ได้ถูกโจรกรรมไปอย่างน่าเสียดาย (ซึ่งผู้ที่ได้พบเห็นพระทองคำองค์นั้นเล่าว่ามีหน้าตักความสูงและพุทธลักษณะเหมือนหลวงพ่อสุโขทัยวัดคุ้งตะเภาและหลวงพ่อเชียงแสนวัดธรรมาธิปไตยมาก ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นพระพี่น้องร่วมกันมาในสมัยก่อน)

บานประตูไม้แกะสลักโบราณ

บานประตูไม้แกะสลักโบราณ บานประตูคู่นี้เดิมทีอยู่ที่วิหารหลวงของวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ เนื่องจากวิหารชำรุดทรุดโทรมลงมาก เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์จึงขออนุญาตกรมศิลปากรนำมาเก็บรักษาไว้ที่อาคารธรรมสภา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 บานประตูทำจากไม้ปรู ทำขึ้นในสมัยอยุธยา ขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 5.3 เมตร หนาถึง 16 เซนติเมตร แกะสลักเป็นลายกนกก้านขด ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ บานละ 7 พุ่ม ระหว่างพุ่มทรงข้าวบิณฑ์มีกนกใบเทศขนาบสองข้างขวามือด้านบนมีอกเลาประตูอยู่ตรงกลาง แกะสลักเป็นลายเทพพนม ตอนบนอกเลา 4 องค์ ตอนล่างอกเลา 4 องค์ กล่าวกันว่างดงามเป็นที่สองรองจากบานประตูวิหารวัดสุทัศน์ในกรุงเทพฯ

ลายแกะสลักแบบชั้นลึก

ลายแกะสลักแบบชั้นลึก ความหนาของบานประตูไม่ใช่ปัจจัยชี้วัดว่าบานประตูนั้นมีความงดงามล้ำค่า แต่ความหนาที่ใช้ฝีมืองานช่างแกะสลักลวดลายลงไปหลายชั้น จนดูเหมือนงานลวดลายเหล่านั้นลอยออกมาจากแผ่นไม้ เป็นความปราณีต ละเอียด และใช้เวลานาน

บานประตูไม้แกะสลัก

บานประตูไม้แกะสลัก

พิพิธภัณฑ์วัดธรรมาธิปไตย

พิพิธภัณฑ์วัดธรรมาธิปไตย โบราณวัตถุส่วนหนึ่งที่หายาก ถูกเก็บรักษาไว้ในธรรมสภา ต้องขออนุญาตในการเข้าชม ผมก็ขอนำรูปมาให้ชมเพียงรูปเดียวเท่านั้นนะครับ ปูชนียวัตถุหลายชิ้นที่นี่หาดูยากยิ่ง ประทับใจมากที่ได้เห็น เนื่องจากทางวัดไม่ได้เปิดให้เข้าชม ที่นี่จึงดูคล้ายกับเป็นห้องเก็บของธรรมดาเท่านั้น

  กุฏิทรงไทย

กุฏิทรงไทย กว้าง 23 เมตร ยาว 22.7 เมตร ก่อสร้างเมื่อพ.ศ. 2547 ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่วคลุมเชื่อมถึงกัน ตัวเรือนฝาปะกนตามประตูหน้าต่างและช่องลม และด้านในกุฏิประดับด้วยลวดลายสวยงาม จุดประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อเป็นกุฏิเจ้าอาวาส เรือนรับรองพระเถระและอาคันตุกะ สำนักงานเจ้าคณะอำเภอ และอนุรักษ์สืบสานศิลปกรรมไทย

บริเวณวัด

บริเวณวัด ปิดท้ายด้วยภาพนี้ครับ สรุปว่าบานประตูไม้แกะสลักที่งดงามที่สองรองจากวัดสุทัศน์ มีให้ชมกันที่นี่ เดี๋ยวจะพาไปที่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถต่อครับ ไปดูว่าวิหารที่บานประตูคู่นี้เคยอยู่เป็นยังไงกันบ้างในวันนี้

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดธรรมาธิปไตย อุตรดิตถ์
ไลท์เฮาท์รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.19 km | แผนที่ | เส้นทาง
จงรักษ์พักดี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
Good Room เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
สิริ อพาร์ตเมนต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
JUTHAMANSION HAPPINESS เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.57 km | แผนที่ | เส้นทาง
O.U.M.HOTEL เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุนี บูทีก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมฟรายเดย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมสีหราช เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
ล้อมรัก รีสอร์ต อุตรดิตถ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.12 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดธรรมาธิปไตย อุตรดิตถ์
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์
  0.88 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์
  1.82 km | แผนที่ | เส้นทาง
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์
  1.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์
  4.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดกลาง อุตรดิตถ์
  4.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีวันอัฐมีบูชา อุตรดิตถ์
  9.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
  9.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระนอนพุทธไสยาสน์ อุตรดิตถ์
  10.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล อุตรดิตถ์
  11.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ อุตรดิตถ์
  11.64 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com