×

อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี

อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลู ในท้องที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเดิมเป็นวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง วนอุทยานเตรียมการตะเพิ่นคี่และพื้นที่ป่าไม้ข้างเคียง ที่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน สัตว์ป่าชุกชุม รวมไปถึงสภาพธรรมชาติที่โดดเด่น ประกอบด้วย น้ำตก ถ้ำและป่าสนสองใบ ที่สวยงาม เหมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ สมควรที่จะอนุรักษ์ไว้มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง กรมป่าไม้จึงได้พิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติพุเตย ได้รับประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 84 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 67 ก ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2541 รวมเนื้อที่ 198,422 ไร่ หรือประมาณ 317 ตารางกิโลเมตร ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติพุเตย

อาณาเขต : ที่ทำการอุทยานพุเตย ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยม่วงแป ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ใกล้สถานีวิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์สุพรรณบุรี และสถานีควบคุมไฟป่าสุพรรณบุรี ห่างจากอำเภอด่านช้าง ประมาณ 80 กิโลเมตร
อาณาเขตทิศเหนือ ติดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (มรดกโลก) อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
อาณาเขตทิศใต้ ติดกับลำห้วยน้ำเขียว อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
อาณาเขตทิศตะวันออก ติดห้วยปลาซับกัง ห้วยชะลอม ห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
อาณาเขตทิศตะวันตก ติดเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงชัน ติดต่อกันสลับซับซ้อน มีจุดสูงสุด คือ ยอดเขาเทวดา มีระดับความสูง 1,123 เมตร อุทยานแห่งชาติพุเตย จึงเป็นพื้นที่ต้นน้ำสำคัญของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยตะเพิน ห้วยใหญ่ ห้วยองค์พระ ห้วยขนุน ห้วยชลอม ห้วยขมิ้น ซึ่งเป็นสายน้ำหลักของชาวสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ทั้งยังเป็นต้นน้ำเขื่อนกระเสียว อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน

สภาพภูมิอากาศ มีมรสุมพัดผ่านตามฤดูกาล 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติพุเตย ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าสนสองใบ กระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของอุทยานตามลักษณะภูมิประเทศ ที่เหมาะแก่การกระจายพันธุ์ของป่า ชนิดนั้นๆ โดยเฉลี่ยมีความหนาแน่นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ พระเจ้าห้าพระองค์ ต้นผึ้ง ยางนา ยางน่อง ประดู่ ประดู่ชิงชัน และพันธุ์ไม้สนสองใบ สัตว์ป่า ที่มีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่อุทยาน ฯ เช่น หมูป่า เก้ง ลิง ชะมด อีเห็น เสือโคร่งเสือดาว เสือดำ ไก่ป่า นกเขาเขียว นกกางเขนดง แซงแซวหางม่วง เหยี่ยวรุ้ง นกเงือก ฯลฯ

บ้านห้วยหินดำจากที่ทำการอุทยาน 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปประมาณ 3 กิโลเมตร ในหมู่บ้านมีการผลิตผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ จากกลุ่มแม่บ้านห้วยหินดำ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม การท่องเที่ยวแบบธรรมยาตรา สำหรับผู้รักความสงบและรักธรรมชาติ เป็นการศึกษาธรรมชาติและธรรมะโดยการเดินทางดำรงชีวิตและพักแรมในป่า สามารถเลือกพักแรมเวลา 2 วัน 1 คืน หรือ 3 วัน 2 คืน รายได้ส่วนหนึ่งสมทบทุนกองทุนป่าชุมชนบ้านห้วยหินดำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเฝ้าระวังและเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของป่า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติพุเตย โทร. 0 3544 6237, 08 1934 2240

น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพิ่นคี่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งลำธารสายนี้เกิดจากผืนป่าตะเพิ่นคี่อันอุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความเป็นธรรมชาติ ควรเดินทางท่องเที่ยวในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม

หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ ตั้งอยู่บนสันเขาสูงประมาณ 900 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตยประมาณ 28 กิโลเมตร มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 4 องศาเซลเซียส หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ เป็นหมู่บ้านปลอดอบายมุข มีวิถีชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ประกอบอาชีพ เกษตรเป็นหลัก ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวบริเวณหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ เช่น ยอดเขาเทวดา ถ้ำตะเพินเงิน ถ้ำตะเพินทอง ถ้ำตะเพินเพชร และน้ำตกตะเพินคี่น้อย หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ เป็นกะเหรี่ยงด้ายเหลือง นับถือศาสนาพุทธ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีตลอด 3 วัน 3 คืน จะมีงานพิธีไหว้จุฬามณี ซึ่งนับถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำจากไม้ไผ่เหลาแหลมปักไว้ที่ลานหมู่บ้าน

น้ำตกตะเพินคี่น้อย ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพิ่นคี่ เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่งดงาม สายน้ำไหลกระเซ็นเป็นละอองลงสู่โขดหินข้างล่าง น้ำตกแห่งนี้เป็นแหล่งรวมของเด็กๆ ชาวกะเหรี่ยงที่พามาเล่นน้ำ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ สามารถเที่ยวชมน้ำตกตะเพินคี่น้อยได้ตลอดเวลา

ยอดเขาเทวดา เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีความสูงถึง 1,123 เมตร จากระดับน้ำทะเล หากนักท่องเที่ยวต้องการสัมผัสธรรมชาติอันบริสุทธิ์บนยอดเขาคงจะต้องเหน็ดเหนื่อยไม่น้อยแต่คุ้มค่าเมื่อถึงยอดเขา สามารถมองเห็นทะเลหมอก ด้านและสภาพภูเขาที่สลับซับซ้อนไกลสุดสายตา และผืนป่าตะวันตกที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเที่ยวชมจุดชมวิวบนยอดเขาเทวดาได้ทุกฤดูกาล มีการแข่งขันขึ้นยอดเขาเทวดา

ถ้ำตะเพินเงิน แฝงตัวอยู่ในภูเขาหินปูนใกล้หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพิ่นคี่ มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากหินงอกหินย้อยที่ปะปนด้วยสายแร่ซิลิก้า หรือ ที่เรียกว่า หินประกายเพชร ส่องประกายเป็นสีเงินระยิบระยับเมื่อต้องแสงไฟ นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล

ถ้ำตะเพินทอง ตั้งอยู่ในบริเวณหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพิ่นคี่ เป็นโถงถ้ำขนาดใหญ่ ชาวกะเหรี่ยงได้ช่วยกันสร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่สักการบูชา และเป็นที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานของพระภิกษุสงฆ์ นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล ถ้ำตะเพินเพชร ซ่อนอยู่กลางภูเขาหินปูนปูนขนาดใหญ่ ทางเข้าค่อนข้างแคบ แต่ด้านในเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยที่ปะปนด้วยสายแร่ซิลิก้าเข้มข้น จึงทำให้ส่องประกายระยิบระยับเหมือนดั่งประกายเพชร เมื่อต้องแสงไฟ นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล

น้ำตกพุกระทิงตั้งอยู่บริเวณบ้านคลองเหล็กไหล ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตยที่ 2 (พุกระทิง) ประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีความงดงามมากอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเกิดจากผาหินที่มีความสูงถึง 30 เมตร บีบตัวเข้าหากันทำให้เกิดสายน้ำไหลผ่าน กระทบโขดหินลดหลั่นกระเซ็นเป็นละออง ลอดผ่านเกาะแก่งรวมเป็นสายธารลู่พื้นล่าง นักท่องเที่ยวที่ต้องการจะสัมผัสความงดงามของน้ำตกพุกระทิงควรเดินทางท่องเที่ยวในช่วง เดือน กันยายน – พฤศจิกายน จะเหมาะสมกับการเที่ยวชมน้ำตกแห่งนี้

ศาลเลาด้าห์ อยู่บนเทือกเขาพุเตย เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงผู้เสียชีวิต จากเครื่องบินเลาดาห์แอร์ตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 223 คน ห่างจากทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 12 กิโลเมตร

ต้นปรงยักษ์ อยู่บนเทือกเขาพุเตย เจริญเติบโตขึ้นผสมกับสนสองใบ อายุประมาณ 200–300 ปี สูง 6-8 เมตร

ป่าสนสองใบ ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ 9 กิโลเมตร เดินทางโดยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ไปทางหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติพุเตยที่ 1 (พุเตย) ประมาณ 5 กิโลเมตรจนถึงบริเวณศาลเลาด้าห์ มีทางแยกเข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร

กิจกรรมค่าย อุทยานแห่งชาติพุเตย เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในเขตภาคกลางซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ไกลนัก มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีอากาศเย็นตลอดปีด้วยเหตุนี้ อุทยานแห่งชาติพุเตยจึงมีความเหมาะสมแก่การจัดกิจกรรมค่ายต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทางอุทยานแห่งชาติพุเตย จึงเล็งเห็นว่าเพื่อเป็นการตอบสนองด้านการจัดกิจกรรมค่ายและเพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน อุทยานฯ จึงได้จัดห้องเรียนธรรมชาติ สถานที่เรียนสื่อความหมายธรรมชาติและที่สำคัญทางอุทยานแห่งชาติ ได้จัดสร้างฐานผจญภัยพิสูจน์พลังใจตามแบบการฝึกของทหาร มาใช้ในการทำกิจกรรมด้วย ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติพุเตย ได้ดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ให้มีความเหมาะสม และพัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีความพร้อมเพื่อตอบสนองต่อ กลุ่มโรงเรียน เยาวชน นิสิต และนักศึกษาที่เดินทางเข้ามาใช้สถานที่การทำกิจกรรม

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง คือ สายศาลเลาด้าห์ – ป่าสนสองใบ มีระยะทาง 7 กิโลเมตรและสายน้ำตกพุกระทิง ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นได้ทั้งเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเส้นทางเดินทางไกล สำหรับนักท่องเที่ยว

สิ่งอำนวยความสะดวก ลานกางเต็นท์ประจำหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ 1 พุเตย สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 100 – 200 คน มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำ พร้อมสถานที่ประกอบอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา Camping ลานกางเต็นท์แห่งนี้ ค่าใช้จ่ายประมาณ 250-500 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ทางอุทยานมีบ้านพักไว้รับรองเช่นกัน นักท่องเที่ยวจะได้ สัมผัสธรรมชาติที่แท้จริง ลักษณะภูมิประเทศเป็นช่องเขา จึงทำให้มีมวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านตลอดเวลา โดยช่วงเวลากลางวันกระแสลมจะพัดเข้าหาผืนป่า และในช่วงเวลากลางคืนกระแสลมจะพัดไอเย็นของผืนป่าออกมา ทำให้บริเวณลานกางเต็นท์ มีอากาศเย็นจัดในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวประมาณ 8 องศาเซลเซียส

- ลานกางเต็นท์จุดที่ 2 ประจำที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย (เขาสน) เป็นลานกางเต็นท์ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 100 – 200 คน มีห้องน้ำและห้องอาบน้ำ พร้อมสถานที่ประกอบอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางมา Camping และบ้านพักรับรองไว้ต้อนรับส่วนหนึ่ง และลานกางเต็นท์แห่งนี้เป็นจุดศูนย์กลางที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติพุเตย ได้อย่างสะดวก

การเดินทาง

ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 340 (บางบัวทอง– สุพรรณบุรี) ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เส้นทางสุพรรณบุรี– ดอนเจดีย์ – ด่านช้าง จากสี่แยกอำเภอด่านช้างสามารถเดินทางต่อไปได้ 2 เส้นทาง คือ

1. เส้นทางลาดยางตลอดสายจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย รวมระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร จากสี่แยกอำเภอด่านช้างไปตามทางหลวงหมายเลข 333 (ด่านช้าง-อู่ทอง) ไปทางอู่ทองประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 3086 เดินทางต่อไปอีกประมาณ 34 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกบ้านปลักประดู่ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3480 ไปอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงป้ายทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย เข้าไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย

2. เส้นทางลาดยางและทางลูกรังขึ้นเขา จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย รวมระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร จากสี่แยกอำเภอด่านช้างไปตามทางหลวงหมายเลข 333 (ด่านช้าง-บ้านวังคัน) ประมาณ 15 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 78 จะเห็นป้ายไปอุทยานแห่งชาติพุเตย เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางเป็นถนนลาดยาง จนถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ 1 (พุเตย) จากนั้นเส้นทางต่อไปเป็นถนนลูกรังข้ามสันเขาไปจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร (เส้นทางช่วงนี้ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ)

ข้อแนะนำ การเดินทางควรใช้รถยนต์กระบะหรือรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี 72180 โทร. 0 3544 6237, 08 1934 2240 โทรสาร 0 3544 6237


พิกัด GPS อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี:
14.946897,99.415674
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 2168 ครั้ง
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี
อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี

แผนที่ อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรีคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ อุทยานแห่งชาติพุเตย สุพรรณบุรี

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)