www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุบลราชธานี >> วัดมหาวนาราม

วัดมหาวนาราม

 วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง ถนนสรรพสิทธิ์ ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า วัดป่าใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ เดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานตั้งขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างเมืองอุบลราชธานี ต่อมาในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์(ท้าวทิศพรหม) ได้ยกฐานะเป็นวัดและถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองด้วย จึงให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติ

แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพังหรือหนองสระพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามสมัยนิยมเป็นวัดมหาวนาราม จากหลักฐานศิลาจารึกที่ตั้งอยู่ด้านหลังพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดระบุปีที่สร้างวัดนี้ตรงกับพ.ศ. 2350 โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป พระอินทร์แปง หรือพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะศิลปะแบบลาว

ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานอุบลราชธานี โทร. 0 4524 3770, 0 4525 0714
http://www.tourismthailand.org/ubonratchathani

แก้ไขล่าสุด 2016-04-23 13:20:33 ผู้ชม 17611

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ภายในวัดมหาวนาราม

ภายในวัดมหาวนาราม เป็นวัดขนาดใหญ่ห่างจากทุ่งศรีเมืองไม่มากนัก เดินทางมาได้หลายทางปกติผมจะใช้ถนนอุปราชจากทุ่งศรีเมืองมุ่งหน้าไปทางเหนือ ผ่านแยกไฟแดง 2 แยกแล้วเลี้ยวขวาถนนสรรสิทธิ์ จากนั้นตรงอย่างเดียวผ่านหน้าสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานีเลี้ยวเข้าวัดมหาวนาราม ในวัดคนเยอะมากที่จอดต้องรอคิวกัน ขนาดว่าไม่ใช่วันหยุดก็ยังมีคนมาไหว้พระใหญ่อินทร์แปลงกันเยอะ ปัจจุบันวิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อใหญ่กำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ ทางวัดกางเต็นท์เชิญชวนพุทธศาสนิกชนมาทำบุญร่วมสร้างวิหาร ซื้อแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ผมยังไม่มีจังหวะดีๆ ในการเก็บภาพวิหารเพราะคนเข้า-ออกกันเยอะก็เลยเดินเก็บภาพสวนหย่อมสวยๆ หน้าวิหารมีต้นไม้หลายชนิด แปลงดอกไม้สวยๆ ด้วยครับ

วัดมหาวนาราม

วิหารหลวงวัดมหาวนาราม

วิหารหลวงวัดมหาวนาราม นี่ละครับที่บอกว่ากำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ ส่วนยอดของหลังคายังไม่เสร็จ แต่ที่เห็นตอนนี้ก็มีความงดงามมากหลังคาลดหลั่นลงมาหลายชั้นผู้คนที่เดินทางมานมัสการองค์พระก็พากันยืนถ่ายรูปหน้าวิหารผมต้องรออยู่นานกว่าจะได้ภาพที่โล่งๆ แบบนี้ เอาละได้เวลาเข้าไปในวิหารกันแล้วครับ

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง

พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาวนาราม เป็นพระพุทธรูปที่สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2350 (200 ปีแล้วครับ) สร้างโดยเจ้าอาวาสรูปแรก เดี๋ยวขอเล่าประวัติแบบละเอียดอีกทีนึงดังนี้ครับ

วัดมหาวนาราม เดิมเรียกกันว่า "วัดป่าใหญ่" เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นวัดคู่บ้านคูเมืองของอุบลราชธานี มีมูลเหตุการสร้างคือ เมื่อพระปทุมวรราชสริยวงศ์ (ท้าวคำแพง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานี บริวเณริมฝั่งแม่น้ำมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ก่อสร้างวัดขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลตั้งชื่อว่า "วัดหลวง" เพื่อให้เป็นสถานที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลแก่ประชาชนทั่วไป วัดนี้จึงนับได้ว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี ภายหลังก่อสร้างวัดหลวงเสร็จแล้วได้นิมนต์ พระธรรมโชติวงศาซึ่งเป็นพระมหาเถระ และพระภิกษุสามเณร มาอยู่จำพรรษา เพื่อสนองศรัทธาของประชาชนแต่เมื่อพระมหาเถระได้เข้ามาอยู่จำพรรษาแล้ว เห็นว่าวัดนี้เป็นวัดบ้าน หรือ "ฝ่ายคามวาสี" ตั้งอยู่กลางใจเมือง ไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปันนสากรรมฐาน จึงได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานใหม่ โดยพิจารณาเห็นว่า "ป่าดงอู่ผึ้ง" ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เส้น มีหนองน้ำชื่อว่าหนองสะพัง เป็นสถานที่อันสงบวิเวก เหมาะแก่การตั้งเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หรือ "ฝ่ายอรัญญวาสี" จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ชื่อว่า "วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์" เพื่อให้คู่กับวัดหลวง แต่ก็ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้เรียบร้อยสมบูรณ์ เจ้าเมืองคือพระปทุมวรราชสริยวงศ์ ก็ได้ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน (พ.ศ.2338) ต่อมาสมัยเจ้าเมืองคนที่ 2 คือ พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) ได้ก่อสร้างวิหารอาฮามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ๋นี้ เมื่อ พ.ศ. 2348 หลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้ยกฐานะเป็นวัดและให้ถือเป็นวัดประจำเจ้าเมืององค์ที่ 2 ด้วย ให้ชื่อว่า วัดป่าหลวงมณีโชติ แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองตะพัง หรือหนองสะพัง ตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง (มีหลักฐานการสร้างวัดอยู่ที่ศิลาจารึกด้านหลังพระเจ้าอินทร์แปลง)

วัดมหาวนารามมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นผู้สร้างพระพุทธรูป "พระอินแปง" หรือพระเจ้าใหญ่อินแปง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดมหาวัน หรือ วัดป่าใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามมสมัยนิยมว่า "วัดมหาวนาราม" แต่ความหมายของวัดก็ยังคงเป็นเช่นเดิมคือแปลว่า ป่าใหญ่ นั่นเอง ปูชนียวัตถุสำคัญของวัดนี้คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง ลักษณะศิลปะแบบลาว ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตร สูงจากเรือนแท่านถึงเปลวพระโมลี 5 เมตร ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งตามตำนานมีเรื่องเล่าขานต่อๆ กันมาว่า มีอยู่ด้วยกัน 3 องค์ องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทร์แปลงมหาวิหาร นครเวียงจันทน์ ประเทศลาว มีอายุประมาณพันกว่าปี อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปลง อำเภอเมืองนครพนม มีอายุพันกว่าปีเช่นเดียวกัน องค์สุดท้ายคือ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี มีอายุประมาณ 200 กว่าปี ในวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลง ซึ่งถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้

ตามหลักศิลาจารึกกล่าวไว้ว่า สร้างเมื่อจุลศักราชได้ 155 ตัว (พ.ศ.2335) ปีวอก เจ้าพระพรหมวรราชสุริยะเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 ขึ้นเสวย เมืองอุบลได้ 15 ปี จุลศักราชได้ 167 ตัว (พ.ศ.2348) ปีระกา จึงได้มาสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อเป็นที่บำเพ็ญแก่พระพุทธรูป จุลศักราชได้ 169 ตัว (พ.ศ. 2350) ปีเถาะ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสรูปแรก จึงได้พาลูกศิษย์และศิษยานุศิษย์ทั้งหลายสร้างพระพุทธรูปพระอินทร์แปง และได้นำเอาดินทรายเข้าวัด เสร็จเมื่อเดินเมษายน วัดเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ วันอาทิตย์ ช่วงเวลาป่าย 3 โมง ในนักขัตฤกษ์ 12 ราศีกันย์ แล้วนั้นฯ ถือว่าเป็นอุดมมงคลที่มีจิตใจเบิกบานดีในเวลาใกล้จะค่ำมืดลง จึงแล้วเสร็จและได้รับความอุปถัมภ์จากเจ้าเมือง ข้าทาสบริวารและประชาชนทั้งใกล้และไกลให้การสนับสนุนมาโดยตลอดทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์ของคน ตามกำลังศรัทธา ได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาสาธุการด้วยกันทั้งฝ่ายวัดและฝ่ายบ้านเมือง

บางทีทำไมผมเขียนคำว่า อินทร์แปลง มีทั้ง อินแปง ทั้ง อินทร์แปง มีที่มาตอนหนึ่งจากการแสดงธรรมในวัดมหาวนารามว่า "...คำว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ถ้าพูดภาษาไทยกลาง “อินทร์แปลง” บ่แม่น “แปง” อินทร์แปลงมีตัว “ล” ตัวหนึ่งกล้ำ ถ้าไทยอีสาน “อินทร์แปง” แปง แปลว่า “เฮ็ด ว่าทำ” ก็หมายความว่า พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญสร้าง พระอินทร์เพิ่นเป็นผู้ประทานเฮ็ดไว้ให้เป็นมิ่งมงคล ..."

ตำนานการสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงอีกนัยหนึ่ง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ได้มีตำนานการก่อสร้างบอกเล่าขานกันต่อมาหลายอย่าง โดยอีกนัยหนึ่งว่า ขณะที่ก่อสร้างอยู่นั้น ก็ได้มีฝนตกฟ้าร้องอยู่ตลอดเวลา ใกล้จะแล้วเสร็จอยู่แล้วเพราะเหลือแต่การตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น พอถึงตอนดึกก็ได้มีแสงสว่างเต็มบริเวณวัดไปหมดและสูงขึ้นสู่อากาศ ผู้คนต่างก็ตื่นตกใจและมาดูก็ไม่เห็นมีอะไร ต่างก็กลับสู่บ้านเรือนของตน พอรุ่งเช้าก็ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่สร้างยังไม่เสร็จนั้นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยสวยงามเป็นอย่างยิ่ง พอเห็นเป็นอย่างนั้นชาวบ้านต่างก็พูดว่าเทวดามาสร้าง พระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างแปลงร่างลงมาเป็นตาผ้าขาวมาสร้างจึงได้สวยงามอย่างนี้ ถ้าเป็ฯคนธรรมดามาสร้างจะไม่สวยงามได้เพียงนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าพระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างเสริม รูปร่างหน้าตาของพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้สวยงดงามยิ่งนัก เหตุนั้นจึงได้ขนานนามว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” และต่อมาเรียกว่าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และก็ได้มีความเชื่อกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้

พระวิหารที่ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินทร์แปงที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ท่านพระครูวิจิตรธรรมภานี (พวง ธมฺมทีโป) เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม (ป่าน้อย) และพระครูนวกรรมโกวิทเจ้าอาวาสวัดมหาวนารามรูปที่ 8 ได้นำศิษยานุศิษย์ ประชาชนที่มีจิตศรัทธาสร้างและซ่อมแซมพระวิหาร มีความยาว 24.41 เมตร กว้าง 14.41 เมตร นับเป็นเจ้าอาวาสผู้มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้วัดมหาวนารามเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ ด้านข้างของวิหารพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและโต๊ะหมู่บูชา ให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะเป็นสิริมงคล ผนังด้านในของวิหารหลังนี้ เป็นสีขาว ตกแต่งด้วยภาพวาดสิมโบราณของจังหวัดอุบลราชธานี และหอไตรหนองขุหลุ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
โรงแรมยูโฮเทล อุบลราชธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
ที3 เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.67 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพนเฮ้าส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมลายทอง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
แผ่นดินทอง อพาร์ตเมนท์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมอีโค่ อินน์ อุบลราชธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
ล็อกอินน์ โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทวีสุข แกรนด์ แมนชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
patchy&PPraw family เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมบัว บูติค เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดแจ้ง อุบลราชธานี
  0.66 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี
  0.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี
  1.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ อุบลราชธานี
  1.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี
  1.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
  1.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดไชยมงคล อุบลราชธานี
  1.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) อุบลราชธานี
  1.85 km | แผนที่ | เส้นทาง
หาดวัดใต้ อุบลราชธานี
  1.89 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com