www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) อยู่ที่ถนนสนามไชย ข้างพระบรมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย

    เดินทางสู่วัดโพธิ์ สำหรับการเข้าไหว้พระหรือเยี่ยมชมวัดสำคัญๆ ต่างๆ ในกรุงเทพฯ การเดินทางนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรถสาธารณะ หรือไม่ก็เดินไหว้พระแบบวันเดียว 9 วัดก็แล้วแต่ การนำรถส่วนตัวมาเองนั้นจะไม่สะดวกตอนที่ต้องหาที่จอด เพราะพื้นที่รอบๆ วัด บางครั้งก็เป็นพื้นที่ห้ามจอด ในทริปนี้เราเดินทางมาไหว้พระที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้วมรกต แล้วเดินมาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ประตูวัดโพธิ์มีหลายด้าน หากเดินตามเส้นทาง 9 สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ ก็จะต้องเข้าประตูถนนท้ายวัง ใกล้ๆ แยกถนนมหาราช พอเข้ามาจะได้พบวิหารพระนอนก่อน เพราะวิหารพระนอนนับเป็น๙ สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ อันดับแรก

    เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00 – 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชมสำหรับชาวไทย ชาวต่างชาติคนละ 50 บาท ต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2222 5910, 0 2226 2942, 0 2226 1743, 0 2225 9595

    ในวันที่ 31 มีนาคม 2551 จารึกวัดโพธิ์ จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองให้เป็น "มรดกแห่งความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World)" จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ องค์การยูเนสโก (UNESCO)

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ http://www.tourismthailand.org/bangkok

แก้ไขล่าสุด 2017-09-27 07:22:11 ผู้ชม 74142

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ภายในวิหารพระนอนหรือพระไสยาสน์

ภายในวิหารพระนอนหรือพระไสยาสน์ ทางเดินด้านหลังองค์พระนอนเป็นทางเดินตรงเหมือนด้านหน้าขององค์พระ ผนังด้านในของพระวิหารพระไสยาสน์มีภาพจิตรกรรมที่งดงามมากมาย สำหรับช่วงเทศกาลจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเยอะมากจนบางครั้งไม่สามารถจะหยุดเดิน หรือถ่ายรูปแบบใช้ขาตั้งได้ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น พื้นที่บริเวณวิหารพระพุทธไสยาสน์ปัจจุบันยังมิได้อยู่ในเขตของวัด แต่เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าน้องนางเธอพระองค์เจ้ากุ หรือที่เรียกกันว่า เจ้าครอกวัดโพธิ์ (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี) ต่อมาเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ลงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างวังใหม่ประทานแก่ลูกหลาน รวมพื้นที่ดังกล่าวเข้ากับวัดโพธิ์ แล้วสถาปนาวิหารพระพุทธไสยาสน์

มหัศจรรย์พระพุทธไสยาสน์

มหัศจรรย์พระพุทธไสยาสน์ 9 สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์ อันดับที่ 1 มหัศจรรย์พระพุทธไสยาสน์ วิหารพระพุทธไสยาสน์สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ โดยมีลักษณะพิเศษ คือ มีการประดับมุกภาพมงคล 108 ประการที่บริเวณฝ่าพระบาท

หอระฆังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

หอระฆังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ตั้งอยู่ใกล้ๆ พระวิหารพระไสยาสน์ มีลักษณะการก่อสร้างที่สวยงามปราณีต ประดับด้วยกระเบื้องสีสันสวยงาม

ซุ้มประตูภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ซุ้มประตูภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซุ้มประตูนี้เป็นทางเดินระหว่างวิหารพระไสยาสน์ไปยังพระอุโบสถ มียักษ์ยืนเฝ้าประตูที่เรียกว่ายักษ์ทวารบาล ด้านหนึ่งเป็นลักษณะทางตะวันตก อีกด้านหนึ่งเป็นแบบจีน (คนละซุ้มประตูกันครับแต่เอามาเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ) ผ่านจากซุ้มประตูนี้ไปแล้วจะเป็นสิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 2

สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 2

สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 2 มหัศจรรย์ตำราเวชเชตุพน ศาลาจารึกตำรานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมลายเส้นบอกตำแหน่งนวด นับเป็นบันทึกที่รวบรวมสรรพวิชาทั้งการแพทย์ การเมือง การปกครอง ประวัติการสร้างวัด และ วรรณคดี นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นสิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 3 ด้านหลังพระอุโบสถ ปรากฏพระมหาเจดีย์ 4 องค์ เรียกกันโดยรวมว่า "พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล" โดยที่เจดีย์ที่เรียงกัน 3 องค์นั้น เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-3 อันได้แก่พระเจดีย์ศรีสรรเพชญ์ดาญาณ เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 เป็นเจดีย์องค์กลาง เจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 เป็นเจดีย์องค์เหนือ และเจดีย์มุนีปัตตปริกขาร เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 เป็นเจดีย์องค์ใต้ ทางตะวันตก ปรากฏเจดีย์อีกองค์หนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในแถวเจดีย์ 3 องค์ เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ในภาพนี้จะมองเห็นองค์กลาง(องค์สูงที่สุดในภาพ) พระเจดีย์ศรีสรรเพชญ์ดาญาณ เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1 องค์ใต้เจดีย์มุนีปัตตปริกขาร เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 และองค์ตะวันตก จำลองแบบมาจากเจดีย์ศรีสุริโยทัย มีเรือนธาตุเข้าไปภายในได้ ซึ่งจากในรูปนี้จะเห็นความแตกต่างของเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ซึ่งต่างจากเจดีย์อีก 2 องค์ได้อย่างชัดเจน

    เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-3 นั้น มีลักษณะเป็น "เจดีย์ทรงเครื่อง" อันเป็นเจดีย์แบบหนึ่งในสองแบบที่เป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 1-3 กล่าวคือ เป็นเจดีย์ที่มีแผนผังย่อมุมไม้ 20 ฐานเป็นฐานสิงห์ 3 ฐาน รองรับบัวคลุ่มซึ่งรองรับองค์ระฆังอีกทีหนึ่ง องค์ระฆังมีลักษณะยืดสูงหรือที่เรียกกันว่า "ทรงจอมแห" ยอดด้านบนมีลักษณะเป็น "บัวคลุ่มเถา" คือเป็นดอกบัวทรงคลุ่มหรือทรงบาตรซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ ปลียอดมีลักษณะเล็กเรียวแหลม หรือที่เรียกกันว่า "ไม้เรียวหวดฟ้า"

    เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 นั้น กลับเป็นเจดีย์ที่จำลองมาจากเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์ หรือที่รู้จักกันว่าเจดีย์ศรีสุริโยทัยมาสร้าง ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าพระองค์ทรงมีพระราชนิยมในการจำลองเจดีย์ในศิลปะอยุธยามาสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจดีย์ทรงกลม ดังปรากฏอยู่ในวัดที่ทรงสร้างโดยทั่วไป เช่น วัดมกุฏกษัตริยารามและวัดโสมนัสวิหาร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเจดีย์ที่ปรากฏอยู่เดิมในวัดพระเชตุพนฯ นั้นเป็นเจดีย์ในผังย่อมุมไม้ 20 การออกแบบให้เจดีย์ประจำรัชกาลของพระองค์เป็นเจดีย์ทรงกลมนั้นอาจทำให้ขัดแย้งทางด้านสุนทรียภาพได้ จึงเป็นไปได้ที่มีการค้นคว้าเกี่ยวกับเจดีย์ในศิลปะอยุธยาที่มีผังย่อมุม ยังผลให้เกิดการจำลองเจดีย์ศรีสุริโยทัยในที่สุด

    เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 เป็นเจดีย์ที่มี "เรือนธาตุ" ที่เข้าไปภายในได้ อันเป็นลักษณะเดียวกับเจดีย์ศรีสุริโยทัยในกรุงศรีอยุธยา ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วในผังย่อมุมไม้ 12 ซ้อนกันรองรับองค์ระฆังซึ่งอยู่ในผังเดียวกัน ที่ยอดมีลักษณะเป็น "ปล้องไฉน" ซึ่งเป็นรูปแบบของศิลปะอยุธยาที่แตกต่างไปจาก "บัวคลุ่ม" ในส่วนเดียวกันของเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1-3

    เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 เป็นเจดีย์ประจำรัชกาลองค์สุดท้าย เนื่องจากทรงมีพระราชดำริให้เลิกสร้างเจดีย์ประจำรัชกาล อันเนื่องมาจากเกรงว่าวัดพระเชตุพนจะมีพื้นที่คับแคบ อนึ่ง ทรงมีพระราชดำริว่า ด้วยพระเจ้าแผ่นดินทั้ง 4 พระองค์นี้ "เคยเห็นทันกัน" จึงมีเจดีย์ประจำรัชกาลเพียง 4 รัชกาลเท่านั้นในวัดพระเชตุพนฯ

หอพระไตรปิฎก

หอพระไตรปิฎก สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 4​ มหัศจรรย์ต้นตำนานสงกรานต์ไทย เป็นการจัดแสดงวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสงกรานต์ของไทย นางสงรานต์ ตามคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดให้จารึกลงในแผ่นศิลาติดไว้ที่วัดโพธิ์เป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์โดยสมมุติผ่านเรื่องราวธรรมบาลกุมารและนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ การจัดแสดงวิดีทัศน์จัดในอาคารด้านตะวันตกของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล อาคารหลังนี้เป็นอาคารที่อยู่รอบหอพระไตรปิฎก (อยู่ด้านในกำแพงใกล้เจดีย์ 4 รัชกาล) มี 4 หลัง 4 ทิศ หอพระไตรปิฎกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งจากรูปแบบทางศิลปกรรมก็แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 อย่างชัดเจน กล่าวคือ การที่อาคารเป็นอาคารก่อนอิฐถือปูนขึ้นไปถึงหน้าบัน อาคารประดับกระเบื้องและมียอดเป็นทรงมงกุฎซึ่งลักษณะหลังนั้นเป็นลักษณะที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในรัชกาลนี้

สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 6

สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 6 มหัศจรรย์ตำนานยักษ์วัดโพธิ์ บอกเล่าเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นยักษ์ทวารบาลประจำซุ้มประตูทางเข้าออกบริเวณหอพระไตรปิฎก สำหรับหลายคนที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้ คงเข้าใจว่ายักษ์วัดโพธิ์นั้นมีลักษณะศิลปะแบบจีน เพราะเป็นยักษ์ที่พบเห็นได้ที่ซุ้มประตูกำแพงวัดโพธิ์ เฉพาะยักษ์วัดโพธิ์ตนเล็กๆ ที่เห็นอยู่นี้เท่านั้นที่อยู่ในกรอบมีบานประตูทำเป็นช่องใสพอมองเห็นได้อยู่ ณ ซุ้มประตูนี้เท่านั้น

พระพุทธเทวปฏิมากร

พระพุทธเทวปฏิมากร สิ่งมหัศจรรย์วัดโพธิ์อันดับที่ 8 มหัศจรรย์วิจิตรพระพุทธเทวปฏิมากร ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร รัชกาลที่ 1 โปรดให้ย้ายมาจากวัดคูหาสวรรค์หรือวัดศาลาสี่หน้าในฝั่งธนบุรี พระพุทธรูปองค์นี้จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินร์เป็นราชธานี พระพุทธรูปองค์นี้ตั้งอยู่บนฐานสูงที่ซ้อนกันถึง 3 ชั้น โดยรอบปรากฏพระสาวกนั่งคุกเข่าประนมกรไหว้ โดยพระสาวกที่ชั้นบน 2 องค์นั้น น่าจะหมายถึงพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร อัครสาวก 2 องค์ ส่วนฐานชั้นล่างยังปรากฏพระสาวกอีก 8 องค์ ภายใต้ฐานนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ การที่พระพุทธรูปองค์นี้ประทับบนฐานที่สูงมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธรูปประธานของวัดในสมัยเดียวกันนั้น อาจเนื่องมาจากขนาดของพระพุทธเทวปฏิมากรซึ่งมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระอุโบสถ ถ้าตั้งอยู่บนฐานเตี้ยแล้วพระพุทธรูปจะไม่สง่างาม จึงต้องสร้างฐานสูงถึง 3 ชั้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป อนึ่ง ต้องไม่ควรลืมว่าพระพุทธรูปองค์นี้ เดิมหล่อขึ้นเพื่ออุโบสถวัดคูหาสวรรค์ซึ่งมีขนาดเล็ก เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายขึ้น พระพุทธรูปจึงมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ

    ที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งก็คือ จิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ เขียนเป็นเรื่องประวัติของพระสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์อรรถกถาของอังคุตตรนิกาย เช่นประวัติของพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าที่บานประตู ปรากฏจิตรกรรมเรื่องพัดยศของพระราชาคณะ ทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญญวาสี บานหน้าต่าง เขียนลายรดนํ้าเป็นตราเจ้าคณะสงฆ์ น่าสนใจว่า ทุกเรื่องที่เขียนบนฝาผนังและประตูหน้าต่าง ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสงฆ์ทั้งสิ้น ดังนั้น การประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากรไว้กลางพระอุโบสถนั้น จึงมีความหมายหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธานแห่งหมู่สงฆ์ทั้งมวล อนึ่ง การที่พระพุทธเทวปฏิมากรถูกแวดล้อมด้วยประติมากรรมพระสาวก 10 องค์ และการปรากฏเครื่องบริขารจำลองด้านหน้า ย่อมรับกับคตินี้ได้เป็นอย่างดี

รีวิว วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)


 ""

Preechaya Parijchat
2018-04-16 21:05:30

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)


 "พระพุทธไสยาส"

Preechaya Parijchat
2018-04-16 21:04:15

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)


 ""

Preechaya Parijchat
2018-04-16 21:00:29

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)


 "สรงน้ำพระที่วัดโพธิ์..เทศกาลสงกรานต์
เป็นวัดประจำรัชกาลที่1"

Preechaya Parijchat
2018-04-16 20:59:45

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)


14/15 จาก 3 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
อารมณ์ดี โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
เชตุพน เกท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
โพธิ์ โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลาอรุณ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.41 km | แผนที่ | เส้นทาง
อินน์ อะ เดย์
  0.41 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ รอยัล ท่าเตียน วิลเลจ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
อรุณเรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
ริว่า อรุณ กรุงเทพ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลารัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
จักรพงษ์วิลล่า เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ กรุงเทพมหานคร
  0.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  0.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
  0.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
  0.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
  0.86 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร
  0.86 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีเดินเทียน ตักบาตรดอกไม้ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
  0.87 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
  0.89 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต)
  0.93 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ กรุงเทพมหานคร
  1.02 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com