www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) และใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาล ภายในพระอุโบสถ และระเบียงรอบวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสวยงามมาก สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนครวัดจำลอง ปราสาทพระเทพบิดร ฯลฯ

 ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ และเหรียญกษาปณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวังด้านขวามือก่อนถึงทางเข้าพระราชวังส่วนใน จัดแสดงเหรียญกษาปณ์ และเงินตราที่ใช้ในประเทศไทยรวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสำนักฝ่ายใน

 เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30–16.00 น. ค่าเข้าชม 10 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ส่วนจัดแสดง โทร. 0 2222 5864 ต่อ 18

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ http://www.tourismthailand.org/bangkok

แก้ไขล่าสุด 2017-07-26 23:06:36 ผู้ชม 62691

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
มุมมหาชนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

มุมมหาชนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเดินทางมาเข้าชมและสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกตหากนำรถยนต์มาเองต้องหาสถานที่จอดรถ หรือสถานที่ใกล้เคียงที่อนุญาตให้จอดรถได้ จากนั้นก็ต้องเดินเข้ามาที่ประตูวิเศษไชยศรี เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูวิมานเทเวศร์และป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามณเฑียร ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูพิมานไชยศรี และหากมองผ่านประตูนี้เข้าไป จะเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในมุมที่สวยงามสง่า ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงประตูพระบรมมหาราชวังและประตูวัดพระศรีรัตนศาสดารามละเอียดมากนักนะครับ หากสนใจจริงๆ สามารถอ่าน *ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/ประตูพระบรมมหาราชวัง 

    ปล.การเดินทางเข้ามาเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หากเดินทางด้วยรถสาธารณะ รถเมล์ รถแทกซี่ จะสะดวกมากกว่าครับ

    เดินเข้าประตูวิเศษไชยศรีมาแล้วนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ความสนใจกับภาพที่เห็นนี้อยู่เป็นเวลานานกันแทบทุกคน เป็นมุมที่จะสามารถมองวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้กว้างมาก และปูชนียสถานที่สำคัญของวัดจะอยู่ในภาพนี้ด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวังอีกที การเข้าชมจึงต้องผ่านประตูพระบรมมหาราชวังชั้นนอกเข้ามา แล้วเดินไปยังบริเวณวัดซึ่งจะมีพระระเบียงคดรอบอีกชั้นหนึ่ง 

พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อเดินเข้ามาในเขตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางมาก ภายในประกอบด้วยสถานที่ซึ่งเป็นปูชนียสถานหลายอย่าง นักท่องเที่ยวหรือประชาชนก็สามารถที่จะเลือกเดินไปยังพระอุโบสถโดยตรง หรือจะเดินแบบเวียนขวาเหมือนอย่างที่เราทำ การเดินเวียนขวารอบบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผมจะเริ่มจากพระศรีรัตนเจดีย์ ก่อน พระศรีรัตนเจดีย์เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ สีทอง มองเห็นได้จากภายนอกวัด มีบันไดทางขึ้นอยู่บนฐานไพทีเช่นเดียวกันกับ ปราสาทพระเทพบิดร และพระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานไพทีทางทิศตะวันตก สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ โดยจำลองแบบมาจากเจดีย์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่พระราชวังกรุงศรีอยุธยา องค์เจดีย์มีความสูงประมาณ 40 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อสมัยแรกสร้างนั้นยังมิได้มิได้มีการประดับกระเบื้อง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) จึงได้มีการประดับกระเบื้องโมเสสสีทองทั้งองค์เจดีย์ http://th.wikipedia.org/wiki/พระศรีรัตนเจดีย์

สิงหพานร

สิงหพานร บนฐานไพทีด้านหน้า และรอบๆ ปราสาทพระเทพบิดรจะมีรูปหล่อโลหะเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ ซึ่งหล่อในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างเป็นคู่ ตัวผู้ตัวเมีย รวม ๗ คู่ ดังนี้

    สิงหพานร ท่อนบนเป็นพระยาวานร ท่อนล่างเป็นราชสีห์ สองมือถือกระบอง ตั้งอยู่ที่บันไดลานทักษิณด้านตะวันตก ส่วนอีก 6 คู่ได้แก่ อสูรวายุภักษ์ อัปสรสีห์ กินนร และ กินรี เทพปักษี เทพนรสิงห์ อสูรปักษี 

พระมณฑปและพระบรมราชสัญลักษณ์

พระมณฑปและพระบรมราชสัญลักษณ์ พระบรมราชสัญลักษณ์ทั้ง 9 รัชกาลนี้ ประดิษฐานบนบุษบก แต่เดิมเรียกว่า “บุษบกตราแผ่นดิน” นั้น มี 3 บุษบก ตั้งอยู่บนไพธี ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพระมณฑป 1 ด้านตะวันออกเฉียงใต้ 1 และด้านตะวันตกเฉียงใต้ 1 พระบุษบกทั้ง 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานหินอ่อนรูปสี่เหลี่ยม รอบฐานทั้ง 4 ด้านมีรูปช้างที่สำคัญที่คู่พระบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล แสดงให้เห็นว่า ในรัชกาลใดทรงได้ช้างสำคัญคู่พระบารมีกี่เชือกด้วย บุษบกทั้ง 3 องค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องแสดงถึงพระบรมราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 5 รัชกาล จึงได้ทรงสร้างพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระองค์ไว้เป็นพุทธบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

http://th.wikipedia.org/wiki/พระบรมราชสัญลักษณ์_9_รัชกาล

ปราสาทพระเทพบิดร

ปราสาทพระเทพบิดร ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทเพียงองค์เดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นปราสาทจตุรมุข ยอดปรางค์มีนภศูล และมงกุฎอยู่บนยอด ประดับกระเบื้องเคลือบ องค์เดียวในประเทศไทย

    ประวัติ ปราสาทพระเทพบิดร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๘ เดิมชื่อว่า พุทธปรางค์ปราสาท เมื่อแรกนั้นมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระแก้วมรกตมาไว้ แต่เมื่อสร้างเสร็จเห็นว่าคับแคบไม่เหมาะแก่การพระราชพิธี จึงมิได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานดังพระราชดำริ พระบรมรูปพระบูรพกษัตริยาธิราชภายในองค์ปราสาทพระเทพบิดร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้มีการซ่อมแซมแล้วให้เปลี่ยนนามเป็น ปราสาทพระเทพบิดร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบูรพกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๕ องค์มาไว้ ทั้งมีพระบรมราชโองการให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งทรงกำหนดให้เป็นวันจักรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นมา จากนั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการถวายบังคมพระบรมรูป เป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคล ปัจจุบันได้มีการประดิษฐานพระบรมรูปเพิ่มตามการเปลี่ยนรัชสมัย จนถึงรัชกาลที่ ๘ แล้ว

พระมณฑป

พระมณฑป พระมณฑป (ด้านข้างของปราสาทพระเทพบิดร) ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่บนฐานไพทีตรงกลางระหว่างปราสาทพระเทพบิดรและพระศรีรัตนเจดีย์ เป็นมณฑปยอดปราสาทเจ็ดชั้น ฝาผนังภายนอกประดับลวดลายนูนต่ำปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนมภายในกรอบสี่เหลี่ยม บานประตูทั้งสี่ทิศเป็นประตูลายมุก ส่วนของฐานนั้นทำเป็นชั้น โดยชั้นบนเป็นรูปเทพบุตรนั่งประนมกรเรียงระหว่างซุ้มประตู ส่วนด้านล่างเป็นรูปครุฑและคนธรรพ์นั่งสลับกัน ส่วนภายในเป็นที่ประดิษฐานตู้พระไตรปิฎกประดับมุก และปูพื้นด้วยเสื่อสานด้วยเส้นลวดที่ทำจากเงิน

อสูรวายุภักษ์

อสูรวายุภักษ์ ยักษ์ทวารบาลพระมณฑป ท่อนบนเป็นยักษ์สวมมงกุฎ ท่อนล่างเป็นนก สองมือกุมกะบองเกลียว ตั้งอยู่บนลานทักษิณชั้นบน

ช่องประตูและหน้าต่างปราสาทพระเทพบิดร

ช่องประตูและหน้าต่างปราสาทพระเทพบิดร สำหรับภายในปราสาทพระเทพบิดรไม่ได้เปิดให้เข้าชม จึงสามารถถ่ายภาพเฉพาะภายนอกได้

ฐานเจดีย์หน้าปราสาทพระเทพบิดร

ฐานเจดีย์หน้าปราสาทพระเทพบิดร ฐานของเจดีย์มียักษ์ลักษณะคล้ายแบกฐานของเจดีย์ไว้ อยู่โดยรอบ เหมือนกันทั้งสองด้าน

พระอุโบสถและศาลาราย

พระอุโบสถและศาลาราย ภาพนี้เป็นภาพที่ต้องถ่ายจากบนฐานไพที ปราสาทพระเทพบิดร แม้ว่าจะยืนอยู่ที่จุดนี้ยังไม่สามารถเก็บภาพให้เต็มที่ได้ เนื่องจากขนาดของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีขนาดใหญ่มาก ความงดงามจับตาด้วยลวดลายที่เน้นสีทองเป็นสีหลัก รอบๆ พระอุโบสถจะเห็นนักท่องเที่ยวและประชาชนจำนวนมากเดินชมความสวยงามและถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ความเป็นมาของพระอุโบสถ ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม ๘ ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๖ เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๒ (พบพระแก้วมรกต ครั้งแรกที่เจดีย์ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงราย) ในการสร้างพระอุโบสถหลังนี้ใช้เวลา ๓ ปี สำเร็จเรียบร้อยลงใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ต่อมา เมื่อประมาณได้เกิดเพลิงไหม้บุษบกทรงพระแก้วมรกตซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมขึ้นใหม่ให้ทันฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปลายรัชกาล หลักฐานการก่อสร้างและรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม ของพระอุโบสถในรัชสมัยนี้ไม่ชัดเจนนัก นอกจากบ่งไว้ว่า ฝาผนังรอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบซึ่งปรากฏว่ามีการแก้ไขในรัชกาลที่ ๓ และ ๔ ในภายหลังดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน พระทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง ๘ ศอกคืบ กว้าง ๔ ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง ๗ ศอก กว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๑๐ นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง ๒ แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า "เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด" ภายในพระอุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตำนานพระแก้วมรกต ในบันทึกแนบท้ายพระราชพงศาวดารเหนือ ระบุไว้ว่า พระแก้วมรกตสร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระนาคเสนเถระ วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ในแผ่นดินพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์) โดยเริ่มแรก เริ่มจากพระนาคเสนเถระได้ปวารณา จะสร้างพระพุทธรูปให้สืบต่อพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช จึงได้เป็นกังวลว่าจะหาวัสดุใดมาสร้างพระพุทธรูปนี้ ด้วยปริวิตกว่า หากใช้ไม้ ก็จะไม่อยู่ถึง 5000 พระชันษา หากใช้เหล็ก ก็อาจจะถูกนำไปหลอมละลายเมื่อคราวจะมีผู้ทำลาย หากจะใช้หินศิลาธรรมดา ก็จะดูเป็นพระพุทธรูปสามัญทั่วไป จึงได้ตกลงปลงใจเลือกใช้แก้วมณีมาจำหลักพระพุทธรูป เพียงแต่ยังกังวลว่าจะใช้แก้วมณีชนิดใด การนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช พร้อมกับพระวิสสุกรรมเทพบุตร ได้จำแลงกายเป็นมานพธรรมดา ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้าว่า ตนทั้งสองเป็นพ่อค้าเดินทางมาหลายที่ ได้ไปพบแก้วรัตนโสภณมณีโชติ อันมีรัตตนายกดิลกเฉลิม 3000 ดวง สีแดงสุกใส ที่เขาวิบุลบรรพต (เวฬุบรรพต) ณ ดินแดนห่างไกลโพ้น คิดว่าเป็นแก้วที่เหมาะสมควร แก่การนำมาจำหลักพระพุทธรูปให้สืบพระพุทธศาสนาจรด 5000 พระพุทธศักราช

    ว่าแล้วดังนั้น เมื่อถึงเขาวิบุลบรรพต สมเด็จพระอมรินทราธิราช จึงทรงโปรดให้พระวิสสุกรรมเทพบุตร เข้าไปนำแก้วรัตนโสภณมณีโชติมา แต่พระวิสสุกรรมทรงกราบทูลว่า ยักษ์ผู้เฝ้าแก้วนั้นมิยอมมอบให้ สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงเสด็จด้วยพระองค์เอง พวกยักษ์ก็ยังกราบทูลไม่ถวายแก้วรัตนโสภณมณีโชติเช่นเดิม โดยทูลเหตุผลประกอบว่า แก้วนี้เป็นแก้วคู่บุญบารมีพระบรมศุลีจอมไกรลาส เป็นแก้วชั้นมหาจักรพรรดิ มิสามารถถวายให้ได้จริง สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงตรัสตอบว่า จะทรงนำไปจำหลักพระพุทธรูปให้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดล่วง 5000 พระชันษา เหล่ายักษ์จึงประชุมกันและลงความเห็น มอบแก้วโลกาทิพยรัตตนายก อันมีรัตนายกดิลกเฉลิม 1000 ดวง สีเขียวทึบ (หยกอ่อน) ให้ไปแทน

    เมื่อถึงวัดอโศการาม จึงทรงมอบให้พระนาคเสน และพระวิษุกรรมจึงทรงจำหลักพระพุทธรูปองค์นี้ถวายดังพระประสงค์ เมื่อจำหลักเสร็จเรียบร้อยเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงาม ตามประสงค์ของพระนาคเสนเถระแล้ว พระนาคเสนจึงบอกบุญไปยังอุบาสก อุบาสิกา สร้างมหาวิหารใกล้กับอโศการาม แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐานไว้เหนือแท่นรัตนบัลลังก์ และปฐมฐาปนาถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต

    นอกจากนี้ในตำนานยังระบุด้วยว่าขณะที่ประดิษฐานอยู่นั้น พ่อค้าวานิช และพระมหาราชาธิราชจากประเทศต่างๆที่มาสักการะ ต่างพบเห็นพระแก้วมรกตเปล่งพระรัศมีออกมางามหาที่เปรียบมิได้ เป็นที่น่าพิศวงยินดียิ่งนัก พระนาคเสนจึงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ลงไปในพระพุทธรัตนพรรณมณีมรกต 7 พระองค์ คือพระโมลี พระนลาฏ พระนาภี พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระเพลาซ้าย-ขวา แต่เมื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานแล้วนั้น เกิดเหตุการแผ่นดินไหวขึ้น พระนาคเสนเห็นเหตุการณ์นั้น จึงทราบด้วยฌานสมาบัติ และพยากรณ์ว่า พระแก้วองค์นี้ เห็นทีจะไม่ได้ดำรงพระชันษาตลอด 5000 พระพุทธศักราช หากจะให้ครบ ควรจะเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ในเบญจประเทศ คือ ลังกาทวีป กัมโพชะศรีอโยธยา โยนะวิสัย ปะมะหละวิสัย และ สุวรรณภูมิ 

*ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

ช่องหน้าต่างด้านข้างพระอุโบสถ

ช่องหน้าต่างด้านข้างพระอุโบสถ เป็นช่องหน้าต่างที่มีลวดลายงดงามมาก มีจำนวนหลายช่องโดยสร้างเหมือนกันทุกช่อง หากได้เห็นภาพด้านข้างของพระอุโบสถ จะเห็นช่องหน้าต่างเหล่านี้เรียงรายทอดยาวตลอดพระอุโบสถ เป็นภาพที่สวยงามภาพหนึ่ง และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากนิยมถ่ายภาพที่ระลึก

ครุฑเหยียบนาครอบฐานพระอุโบสถ

ครุฑเหยียบนาครอบฐานพระอุโบสถ รอบฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประดับด้วยครุฑเหยียบนาค ตามตำนานก็ว่าครุฑนั้นกินนาคเป็นอาหาร โดยครุฑนั้นมีกำลังมากสามารถใช้ปีกโบกจนน้ำในมหาสมุทรแตกเป็นวงแล้วโฉบลงไปจับนาคกินได้ นาคก็กลัวถูกจับไปกินก็เลยกินก้อนหินถ่วงไว้ที่ท้อง คงกะจะให้ครุฑบินไม่ขึ้น ครุฑก็เลยต้องจับนาคห้อยหัวให้คายก้อนหินออกมาเสียก่อน

หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอระฆัง ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่โดยมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมไทย ย่อมุมไม้สิบสอง (สี่ด้าน ด้านละสามมุม) ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามแบบจีน เป็นลวดลายต่างๆ วิจิตรพิศดารอย่างยิ่ง ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่เพื่อเฉลิมฉลองใ นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 กล่าวกันว่าองค์ระฆัง ได้มาจากวัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งสมเด็จพระพุทธาจารย์โต พรหมรังษีได้ขุดพบพร้อมกับระฆังอีก 5 ใบ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าเท็จจริงประการใด เนื่องจาก หอระฆังแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ระฆังใบนี้จึงจะตีเฉพาะโอกาสสำคัญๆ เท่านั้น

ซุ้มใบเสมาอีกด้านหนึ่งของพระอุโบสถ

ซุ้มใบเสมาอีกด้านหนึ่งของพระอุโบสถ ซุ้มใบเสมาด้านนี้มีสีหลักเป็นสีแดง ซึ่งต่างจากซุ้มแรกที่เป็นสีน้ำเงิน

ยักษ์ทวารบาลพระระเบียงคด

ยักษ์ทวารบาลพระระเบียงคด ยักษ์ทวารบาลวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นลักษณะที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ไม่ใช่ที่ศิลปะการก่อสร้าง แต่อยู่ที่ยักษ์เหล่านี้จะหันหน้าเข้าหาพระอุโบสถทั้งหมด ซึ่งโดยทั่วไป การสร้างวัดและยักษ์ทวารบาล จะหันหน้าออก และสมารถมองเห็นจากนอกวัด หรือนอกกำแพง นอกพระระเบียงคด เป็นต้น

พระปรางค์

พระปรางค์ ภายนอกพระระเบียงคดซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ปรางค์

จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หากมีเวลาลองเดินชมความสวยงามของจิตรกรรมเหล่านี้ให้ละเอียดครับ มีจำนวนมากจริงๆ สำหรับข้อมูลต่างๆ หลายส่วนได้มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต)
ดิ อซาแดง บีแอนด์บี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.73 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ ภูธร เบดแอนด์เบรคฟาสต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศิริ พอชเทล กรุงเทพฯ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
เนบเบอร์ ภูธร เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านโบราณ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศิริ เฮอริเทจ แบงค็อก โฮเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
โอ บอง โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
บุญศิริเพลส แบงคอค โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.04 km | แผนที่ | เส้นทาง
วิวิธ โฮสเทล แบงค็อก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
อารมณ์ดี โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.08 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต)
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ กรุงเทพมหานคร
  0.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
  0.34 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
  0.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
ตึกถาวรวัตถุ กรุงเทพมหานคร
  0.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  0.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
สนามหลวง (ทุ่งพระเมรุ) กรุงเทพมหานคร
  0.65 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
  0.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร
  0.79 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพร่งภูธร เขตพระนคร กรุงเทพ
  0.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพร่งสรรพศาสตร์ พระนคร กรุงเทพ
  0.86 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com