www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> ป้อมมหากาฬ

ป้อมมหากาฬ

 ป้อมมหากาฬ อยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนมหาไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่
ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใน พ.ศ. 2326 เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกป้อมหนึ่งคือป้อมพระสุเมรุ กรุงเทพมหานครและกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมป้อมมหากาฬเมื่อคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525 และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน

 ที่ตั้งด้านหนึ่งของป้อมเป็นที่อยู่ของชุมชน ที่มีชื่อเสียงด้านลิเกโบราณ ผู้ที่ศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มักจะมาสำรวจและทำวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมฯ ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยมีประวัติการชุมนุมและต่อสู้มายาวนานกว่าสองทศวรรษ

 *วิกิพีเดีย th.wikipedia.org/wiki/ป้อมมหากาฬ

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ http://www.tourismthailand.org/bangkok

แก้ไขล่าสุด 2017-07-26 20:14:17 ผู้ชม 15776

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ป้อมมหากาฬและกำแพงพระนคร

ป้อมมหากาฬและกำแพงพระนคร ป้อมมหากาฬและกำแพงพระนคร เป็นป้อมขนาดใหญ่ทรงแปดเหลี่ยม วัดจากฐานชั้นนอกด้านทิศเหรือจรดฐานด้านทิศใต้กว้าง 18 เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงปลายใบเสมา 8.90 เมตร และจากพื้นดินถึงหลังคาป้อม 15 เมตร โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ฐานรากอยู่ใต้ระดับผิวดิน ป้อมมี 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นที่ 1 และ ชั้นที่ 2 กำแพงป้อมเป็นแบบใบเสมาเหลี่ยมขนาดใหญ่ทั้งหมด ตัวป้อมชั้นบนสุดมีลักษณะเป็นหอรูปแปดเหลี่ยม มีประตูทางเข้า 1 ประตู หลังคาโครงไม้มุงกระเบื้อง 2 ชั้นทรงคล้ายฝาชีหรือใบบัว ที่ป้อมชั้นล่างมีปืนใหญ่ตั้งประจำช่องเสมารวมทั้งสิ้น 6 กระบอก

ป้อมมหากาฬ

ป้อมมหากาฬ บรรยากาศท้องฟัามืดครึ้มดูน่าเกรงขาม

ป้อมมหากาฬเวลากลางคืน

ป้อมมหากาฬเวลากลางคืน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน ป้อมมหากาฬ เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการติดไฟสำหรับส่องป้อมให้เกิดความงดงามในเวลากลางคืนด้วย ภาพของป้อมมหากาฬ ได้รับการนำลงตีพิมพ์บนธนบัตรใบละ 10 บาทในสมัยรัชกาลที่ ๙ อยู่ระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้บูรณะ ป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง ต่อมามีการบูรณะส่วนที่ชำรุดและมีการทามีใหม่อีกหลายครั้งเนื่องจากตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน มีประมุขและผู้นำของต่างประเทศรวมทั้งนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเที่ยวชมอยู่เสมอ

ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ

ท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ ด้านหลังของป้อมมหากาฬจะมองเห็น สะพานมหาดไทยอุทิศ เป็นสะพานข้ามคลองมหานาค สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ร่วมกับข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ได้พร้อมใจกันบริจาคเงินสร้าง เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ อันเป็นสาธารณประโยชน์ และเทิดพระเกียรติแด่รัชกาลที่ ๕ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานนามว่า สะพานมหาดไทยอุทิศ สะพานสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีโครงรับสะพานด้านล่างแบบวงโค้งทึบ ราวสะพานเป็นคอนกรีต เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมจตุรัส ภายในบรรจุพวงหรีดปูนปั้นแบบฝรั่ง กลางสะพานมีแผ่นจารึกนามสะพาน และปีพุทธศักราชที่สร้างเสร็จ ประดับด้วยรูปวงจักรข้างละ ๑ วง สองข้างจารึกเป็นเสาซุ้ม ด้านขวามีภาพประติมากรรมรูปสตรีอุ้มเด็ก ด้านซ้ายเป็นภาพผู้ชายยืนจับบ่าเด็ก รูปทั้งหมดแสดงอาการร้องไห้เศร้าโศก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติไว้แล้ว

ใกล้ๆ กับสะพานจะมีท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางโดยทางเรือมายังป้อมมหากาฬ วัดราชนัดดาราม (โลหะปราสาท) วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

หลังป้อมมหากาฬ

หลังป้อมมหากาฬ อีกด้านหนึ่งของป้อมมหากาฬจะมีลักษณะเป็นสนามหญ้ากว้างงพอสมควร มีอาคารเก่าแก่ ริมคลองมีต้นไม้ให้ความร่มรื่น สามารถนั่งพักผ่อนระหว่างการเดินเที่ยวรอบกรุงได้

กำแพงพระนคร

กำแพงพระนคร ถัดจากฐานป้อมมหากาฬไปเลียบถนนมหาไชยจะเป็นแนวกำแพงพระนครซึ่่งในอดีตได้ผ่านการใช้งานจริง แต่หลังจากไม่ได้ใช้งานแล้วก็มีการบูรณะเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ด้านตรงข้ามกับำแพงพระนครมีสถานที่สำคัญได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ วัดราชนัดดาราม (โลหะปราสาท) เป็นต้น

กำแพงพระนครป้อมมหากาฬ

กำแพงพระนครป้อมมหากาฬ

ตรอกพระยา เพชรปาณี

ตรอกพระยา เพชรปาณี ช่องทางเข้าออกกำแพงพระนคร ปัจจุบันภายในกำแพงพระนครนี้มีชุมชนอาศัยอยู่ ทางเข้าออกก็มีลักษณะเป็นช่องผ่านกำแพงหนาๆ เรียกกันว่าตรอก ตรอกพระยาเพชรปาณี เป็นชุนชนบ้านไม้โบราณ วิกลิเกพระยาเพชรปาณี ซึ่งวิกลิเกนั้นอยู่ในตรอกพระยาเพชร เป็นความแปลกใหม่ในสมัยนั้น (พ.ศ. 2440) ทำให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ แล้วมีลายพระหัตถ์เล่าเนื้อความที่ตรัสถามความเป็นมาของลิเกกับพระยาเพชรปาณี (ตรี) บอกรายละเอียดไว้ใน สาส์นสมเด็จ แม้ปัจจุบันไม่มีวิกลิเกหลงเหลือแล้ว

ตรอกพระยาเพชรปาณี

ตรอกพระยาเพชรปาณี ชุมชนป้อมมหากาฬในปัจจุบันมีการประดิษฐ์และจำหน่ายดอกไม้ไฟ แทนอาชีพลิเกในสมัยโบราณ

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกับป้อมมหากาฬและพอที่จะเดินเที่ยวในทริปเดียวกันได้ โดยจากป้อมมหากาฬเดินข้ามสะพานมาทางถนนหลานหลวงประมาณ 200 เมตร

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจใกล้ๆ กับป้อมมหากาฬ คือหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ข้ามถนนราชดำเนินกลาง)

รีวิว ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร


 "เลข 9 ตัวใหญ่ แสดงถึง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เห็นทีไร น้ำตาจะไหล ภาพโดย Media Blogger Club"

Akkasid Tom Wisesklin
2017-10-25 19:49:16

ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร


0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร
โอลด์แคปิตอล ไบค์ อินน์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
รัฎนะ บูทีก โฮสเทล แอนด์ คาเฟ่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
ริมคลองโฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
เฮียร์ โฮสเทล บางกอก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
Bangkok Publishing Residence เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
อะซูเร โฮสเทล กรุงเทพฯ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
สยาม - ชอง เอลิเซ ยูนิก โฮเต็ล แบงค็อก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.41 km | แผนที่ | เส้นทาง
ซอร์เออร์แอทรัตนโกสินทร์ไอแลนด์โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.44 km | แผนที่ | เส้นทาง
เยลโลว์ รูม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
พีเค การ์เด้นโฮม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร
ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานคร
  0.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
  0.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
  0.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  0.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
  0.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
โลหะปราสาท
  0.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กรุงเทพมหานคร
  0.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
  0.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชุมชนบ้านบาตร
  0.63 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com