www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> วัดราชนัดดาราม

วัดราชนัดดาราม

 วัดราชนัดดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 เป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาท

 วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์ (นับเป็นแห่งที่ 3 ของโลก) มีความสูง 36 เมตร ประกอบด้วย เจดีย์ล้อมรอบ 37 องค์ เพื่อให้เท่ากับ "โพธิปักขียธรรม 37 ประการ"

 ปัจจุบันโลหะปราสาทแห่งนี้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เนื่องจากโลหะปราสาทที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00–20.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2224 8807, 0 2225 5769

 ข้อมูลประกอบภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/วัดราชนัดดารามวรวิหาร , http://th.wikipedia.org/wiki/โลหะปราสาท_วัดราชนัดดารามวรวิหาร

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ http://www.tourismthailand.org/bangkok

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 29379

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เมื่อเดินทางมาด้วยรถประจำทางลงที่ถนนราชดำเนินกลางเพื่อจะเข้าไปยังวัดราชนัดดาราม และโลหะปราสาท จะมีสวนหย่อมหัวมุมถนนเรียกว่าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วยพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มองมุมนี้จะเห็นโลหะปราสาทเด่นสูงกว่าอาคารอื่นๆ ทั้งหมดก่อนที่จะเดินเข้าไปยังโลหะปราสาทในวัดราชนัดดารามวรวิหารจะได้ชมบริเวณนี้โดยรอบ รวมทั้งมีป้อมมหากาฬอยู่อีกด้านหนึ่งของถนนมหาไชย

มองเห็นโลหะปราสาท

มองเห็นโลหะปราสาท ความงดงามและโดดเด่นของโลหะปราสาทจากบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พอจะหามุมเปิดให้เห็นองค์ปราสาทได้ชัดเจนจากชั้นที่ 2 ขึ้นไป ในมุมเดียวกันนี้หากมาในเวลากลางคืนจะเปิดไฟสว่างสามารถถ่ายภาพได้ความสวยงามในอีกแบบหนึ่งด้วย

พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2533 โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ เป็นพระรูปหล่อด้วยสำริดประทับบนพระที่นั่งสูงขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง ภายในบริเวณตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ มีพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อใช้รับราชอาคันตุกะจากต่างประเทศที่มาเยือนประเทศไทย และศาลาราย 3 หลัง

เดินสู่วัดราชนัดดารามและโลหะปราสาท

เดินสู่วัดราชนัดดารามและโลหะปราสาท บริเวณโดยรอบพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทางเดินเชื่อมถึงกันหลายทาง สามารถเดินไปยังวัดราชนัดดารามได้
แต่เดิมโลหะปราสาทไม่ได้ตั้งเด่นเป็นสง่าเมื่อผ่านมาทางถนนราชดำเนินเหมือนในปัจจุบัน เพราะมีการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย หัวมุมถนนราชดำเนิน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย เพื่อเปิดมุมมองทางเข้าเกาะรัตนโกสินทร์จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อสร้างเป็น ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ พื้นที่โดยรอบเป็นลานกว้าง จัดสร้างพลับพลาที่ประทับ เพื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมือง เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งต่อมาคือ รัชกาลที่ 3

พระอุโบสถวัดราชนัดดาราม

พระอุโบสถวัดราชนัดดาราม สำหรับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า "พระเสฏฐตมมุนี"
ทางเดินด้านหน้าพระอุโบสถเป็นทางเดินไปยังโลหะปราสาทซึ่งมีกำแพงกั้นอีกชั้นหนึ่ง อีกด้านหนึ่งของทางเดินคือพระวิหาร

พระวิหารวัดราชนัดดารามวรวิหาร

พระวิหารวัดราชนัดดารามวรวิหาร พระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นเดียวกันกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า "พระพุทธชุติธรรมนราสพ" แต่น่าเสียดายที่เรามาในวันที่วัดราชนัดดารามไม่ได้เปิดให้เข้าชมทั้งพระอุโบสถและพระวิหารจึงได้เพียงภาพภายนอกมาเท่านั้น

โลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม

โลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม

โลหะปราสาท
เอกพุทธศิลปสถาปัตยกรรมไทยที่คงเหลือเพียงแห่งเดียวในโลก

เมื่อพุทธศักราช 2389 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชนัดดารามวรวิหารขึ้น เพื่อพระราชทานเป็นพระเกียรติยศแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ผู้ทรงเป็นพระราชนัดดาที่ทรงโปรดปรานอย่างยิ่ง ทรงคิดแบบและวางผังการสร้างวัดด้วยพระองค์เอง โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทเป็นอาคารประธานของวัด
เนื่องจากวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีโลหะปราสาทเป็นอาคารประธานอยู่แล้วจึงไม่ได้มีการสร้างเจดีย์ในบริเวณวัดอีก จุดนี้จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้วัดราชนัดดารามวรวิหาร มีความเป็นเอกลักษณ์ต่างจากวัดอื่นๆ

โลหะปราสาท

โลหะปราสาท สันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้โลหะปราสาทเป็นที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ใช้จำพรรษา หรือปฎิบัติธรรม ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ว่าโลหะปราสาทคืออาคารหลายชั้นมีหลังคาทำด้วยโลหะอีกสองแห่งที่เคยปรากฏในโลกคือ ที่กรุงสาวัตถีประเทศอินเดียและที่กรุงอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ซึ่งทั้งสองแห่งชำรุดสูญสลายลงไปนานนับพันปี โลหะปราสาทของไทยจึงเป็นแห่งที่ ๓ ของโลกและเป็นแห่งเดียวที่ยังคงปรากฏสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

โลหะปราสาท

โลหะปราสาท โลหะปราสาทของไทยมิได้แล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะมีความพยายามที่จะสร้างเสริมเติมต่อมาเป็นระยะแต่ด้วยปัญหาและอุปสรรคนานัปการ ทำให้โลหะปราสาทมีสภาพที่ยังไม่สมบูรณ์ ตราบจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ประชาชนชาวไทยซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภิกษุ ฆราวาส พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันจัดหางบประมาณเพื่อการบูรณปฎิสังขรณ์ ก่อสร้าง ต่อเติมด้วยการผสานองค์ความรู้ของงานสถาปัตยกรรม ช่างศิลป์ไทย และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีกรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานในช่วงแรก (พุทธศักราช ๒๕๐๖-๒๕๒๐) และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลัก ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๐

ทางเข้าโลหะปราสาท

ทางเข้าโลหะปราสาท ถึงแม้ว่าโลหะปราสาทมีทางเดินภายในปราสาทที่เชื่อมถึงกันได้หลายทาง แต่เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางวัดจึงเปิดให้เข้าได้ด้านเดียว โดยมีประตูกั้นเมื่อหมดเวลาให้เข้าชม

บันไดวนขึ้นโลหะปราสาท

บันไดวนขึ้นโลหะปราสาท และที่แปลกอีกอย่างหนึ่งคือบันไดวน โลหะปราสาทเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่มีพื้นที่มากเพียงพอที่จะสร้างบันไดแบบทั่วไปแต่กลับสร้างบันไดวนตรงกลางปราสาทแทน

แบบจำลองโลหะปราสาท

แบบจำลองโลหะปราสาท ภายในโลหะปราสาท มีแบบจำลองให้ได้ชมกัน

ทิวทัศน์บนโลหะปราสาท

ทิวทัศน์บนโลหะปราสาท เมื่อขึ้นมาบนโลหะปราสาทแล้วจะสามารถชมทิวทัศน์รอบๆ บริเวณวัดได้ โดยด้านหนึ่งจะมองเห็นภูเขาทอง หรือสุวรรณบรรพต วัดสระเกศ หากมีเลนส์เทเลหรือกล้องส่องทางไกลจะมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนสวยงามมาก สถานที่อื่นๆ ที่มองเห็นได้จากบนโลหะปราสาทที่สำคัญๆ ได้แก่ พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ป้อมมหากาฬ หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

ยอดของโลหะปราสาท

ยอดของโลหะปราสาท ลักษณะที่สวยงามปราณีตละเอียดอ่อนของยอดทั้ง 37 ยอดของโลหะปราสาทที่มีสีเข้ม เมื่อเดินขึ้นไป ณ บนยอดสุดของโลหะปราสาท จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานและเสด็จมาบรรจุเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ นับเป็นพระราชพิธีแรกในพระราชพิธีมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙

ชั้นสองของโลหะปราสาท

ชั้นสองของโลหะปราสาท เมื่อขึ้นมาถึงชั้นสองก็รู้สึกประหลาดใจมากเมื่อภาพที่เราเห็นไม่ว่าจะหันไปทางไหนของโลหะปราสาทก็จะเห็นภาพเดียวกันหมดเลยคือภาพนี้อาจจะเป็นเพราะวันที่ไปตรงกับเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ตรงพอดีทำให้สภาพแสงของทุกทิศเหมือนกันหมด และประกอบกับพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ทุกทิศของทางเดินทำให้รู้สึกว่าหันไปทางไหนก็เหมือนกันหมด

สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ

สมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ กลับลงมาจากโลหะปราสาท เดินชมรอบๆ บริเวณของวัดราชนัดดารามวรวิหาร ที่มุมหนึ่งของวัดจะมีศาลาที่ใช้เป็นสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เวลากลางคืน

ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เวลากลางคืน ภาพที่สวยงามเหล่านี้จะต้องมาชมด้วยตัวเองให้เห็นกับตาครับ บริเวณนี้ในเวลาช่วงกลางวันจะมีผู้คนเดินผ่านไปมาเยอะมาก แต่ในเวลากลางคืนจะค่อนข้างเงียบ มีรถสัญจรไปมาบนถนนแต่จะเริ่มห่าง

โลหะปราสาทเวลากลางคืน

โลหะปราสาทเวลากลางคืน หากหามุมที่ดีได้จะมองเห็นโลหะปราสาทจากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ในช่วงกลางคืนที่เปิดไฟส่องสว่างองค์โลหะปราสาทได้ภาพที่สวยงามมาก

โลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม

โลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม อีกภาพหนึ่งที่นำเอามาทำแบบซีเปีย เพื่อให้ดูเก่าและน่าสนใจ เป็นภาพเก็บตกจากโลหะปราสาทครับ

ทางเดินภายในของโลหะปราสาท

ทางเดินภายในของโลหะปราสาท ภายในโลหะปราสาทมีทางเดินเชื่อมถึงกันได้หลายทางโดยรอบทุกด้าน และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ณ จุดต่างๆ ของโลหะปราสาทหลายองค์

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
เฮียร์ โฮสเทล บางกอก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
สยาม - ชอง เอลิเซ ยูนิก โฮเต็ล แบงค็อก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
ราชนัดดา โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
Baan 89 Hostel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
โอลด์แคปิตอล ไบค์ อินน์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมศรีกรุงเทพ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
ZEN Rooms Siripong Road เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
ยู-ไนท์ โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
เมธาวลัย เรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
Once Again Hostel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
โลหะปราสาท
  0.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานคร
  0.14 km | แผนที่ | เส้นทาง
พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
  0.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานคร
  0.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
  0.24 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
  0.32 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) กรุงเทพมหานคร
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชุมชนบ้านบาตร
  0.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลาว่าการกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร
  0.53 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com