www.touronthai.com

หน้าหลัก >> แพร่ >> วัดพระธาตุช่อแฮ

วัดพระธาตุช่อแฮ

 วัดพระธาตุช่อแฮ อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ และเป็นพระธาตุประจำปีขาล ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 - 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง

    สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

ข้อมูลเพิ่มเติม:ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5567 1466
http://www.tourismthailand.org/phrae

แก้ไขล่าสุด 2019-01-03 17:04:38 ผู้ชม 30155

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
บันไดขึ้นสักการะพระธาตุช่อแฮ

บันไดขึ้นสักการะพระธาตุช่อแฮ เมื่อเดินทางมาถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ทันทีที่หาที่จอดรถได้เราก็เดินมุ่งหน้าขึ้นสู่องค์พระธาตุเพื่อสักการะพระธาตุช่อแฮทันที ทางเดินขึ้นพระธาตุช่อแฮเป็นบันไดมีพญานาคเลื้อยตลอดแนว จากจุดเริ่มต้นมองเห็นซุ้มประตูอยู่ด้านบนไกลๆ รอบๆ บริเวณนี้มีร้านค้ามากมายให้บริการสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก เป็นต้น

ซุ้มประตูโขง

ซุ้มประตูโขง เป็นซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน จำหลักลวดลายงดงามตามแบบศิลปะล้านนา ก่อสร้างเหมือนกันทุกซุ้ม ตั้งอยู่ระหว่างระเบียงคตที่ล้อมรอบองค์พระธาตุช่อแฮและพระอุโบสถ ซุ้มประตูแต่ละซุ้มมีชื่อของซุ้ม

ลานประทักษินและระเบียงคต

ลานประทักษินและระเบียงคต หลังจากเดินขึ้นบันไดมาผ่านซุ้มประตูโขงเข้ามาเราก็จะเห็นเจ้าแม่กวนอิม พระสังกัจจายน์ และพระพุทธรูปหลายองค์ เดินเข้าประตูของระเบียงคตเข้าไปชันใน ในระเบียงคตที่ล้อมรอบองค์พระธาตุช่อแฮ จะมีองค์พระธาตุประจำปีเกิด 12 องค์ เป็นองค์จำลองบนบุษบก เรียงอยู่ด้านหนึ่งของระเบียงคต เพื่อที่ว่าคนที่มาไหว้พระธาตุช่อแฮก็จะได้ไหว้พระธาตุประจำปีเกิดองค์จำลอง ตรงกับปีเกิดของตัวเองได้ด้วย

พระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ

พระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ พระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ เป็นพระอุโบสถเก่าแก่ลักษณะสูงใหญ่หน้าบันเป็นเทพพนม ช่องประตูหน้าต่างมีภาพนูนต่ำเทพพนม ประดับด้วยกระจกสีลายเครือเถาเหมือนกันทุกช่อง

พระประธานในพระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ

พระประธานในพระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ด้านหน้าองค์พระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ภาพจิตรกรรมด้านหลังขององค์พระพุทธรูปเป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เสาทุกต้นประดับด้วยกระจกสีลวดลายงดงาม

ยอดพระธาตุช่อแฮ

ยอดพระธาตุช่อแฮ ยอดพระธาตุช่อแฮ เฉพาะในครั้งนี่ที่เราได้มีบุญเห็นยอดพระธาตุช่อแฮอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นวันบูรณะยอดพระธาตุช่อแฮ โดยมีการนำลงมาหุ้มทองคำเพิ่มเติม พุทธศาสนิกชนหลายคนได้มีโอกาสทำบุญสมทบทุนหุ้มทองคำในครั้งนี้ ทางวัดยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสยอดพระธาตุช่อแฮในวันดังกล่าวก่อนที่จะนำขึ้นประดิษฐานตามเดิมในเวลา 16.00 น. มัคทายกวัดประกาศว่ายอดพระธาตุช่อแฮนี้หลังจากที่ได้รับการบูรณะในครั้งนี้จะยกลงมาบูรณะอีกคงต้องรอประมาณ 400 กว่าปี

 ตามความเชื่อเรื่องยอดพระธาตุเรียกกันว่ายอดหมากเบ็ง เป็นยอดสูงสุดการได้ทำบุญต่อยอดหมากเบ็งนี้จึงเป็นบุญสูงแบบหนึ่ง  อานิสงส์ถวายหมากเบ็งบูชา ตามพระพุทธประวัติ

 ...องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในวิหาร เมืองสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ครั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงตบแต่งดอกไม้ ของหอมพร้อมกันยังขันหมากเบ็งมีข้าวพันก้อนด้วยความประณีตบรรจงเสด็จไปถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พร้อมข้าราชบริพารทั้งหลาย เมื่อถวายเสร็จแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ได้กราบทูลถามถึงผลอานิสงส์ของการสร้างหมากเบ็งบูชาแก่สมเด็จพระพุทธเจ้า และพระอริยสาวก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร  พระพุทธ องค์ทรงตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตรพระราชสมภารบุคคลใดมีใจศรัทธา ใคร่จะทำหมากเบ็งกับข้าวพันก้อนถวายบูชา พระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ ผู้นั้นเมื่อทำลายขันธ์ไปแล้วก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์เสวยทิพย์สมบัติเป็นสุขสิ้นกาลช้านาน ดังกับหญิงผู้หนึ่ง ซึ่งได้ถวายหมากเบ็งบูชา พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นทำกาลกิริยาตายไปก็บังเกิดในดาวดึงส์เทวสถาน มีวิมานทองสูงสิบสองโยชน์ มีนางฟ้าพันหนึ่งเป็นบริวารได้เสวย ทิพย์สมบัติ มากมายดังนี้แล

 ดูกรมหาบพิตร อันบุคคลได้ให้หมากเบ็งบูชาพระรัตนตรัยมีผลมากนักเป็นสำดับชั้นตามขั้นหมากเบ็ง คือว่าเมื่อตนได้ตายไปจากมนุษย์โลกนี้แล้วก็ไปอุบัติในบนสวรรค์ชั้นจตุมหาราช เมื่อจุติจากชั้นจาตุมหาราชแล้วก็ได้ไปอุบัติขึ้นในชั้นดาวดึงส์ จนถึงชั้นกามาพจรเป็นที่สุดตามบุญกุศลที่ตนได้กระทำไว้ได้ เสวยสมบัติทิพย์มีวิมานอันงามวิจิตร และมีนางเทพกัญญาอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร นานได้ ๙ ล้านปี ในเมืองมนุษย์จะมีร่างกายผ่องใส ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมความปรารถนาทุกประการ ครั้นจบพระธรรมเทศนาแล้วพระเจ้าปัสเสนทิโกศล พร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลายก็มีจิตยินดีปลาบปลื้มบันเทิงใจ ดังนี้เป็นต้น...

พระธาตุช่อแฮ

พระธาตุช่อแฮ เป็นเจดีย์พุกามรูปแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน บุด้วยทองดอกบวบสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐาน สี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้าแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยม ซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้น ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมสิบสอง ส่วนยอดฉัตร ประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา หุ้มด้วยทองจังโก้ ตลอดทั้งองค์ มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มปราสาท แบบล้านนา ไว้อย่างสวยงามลงตัว

 ภายในองค์พระธาตุช่อแฮ ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้าเอาไว้ สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอมาจากสิบสองปันนาจากประเทศจีน แล้วชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย จึงตั้งชื่อองค์พระธาตุตามชื่อของผ้าแพรที่นำมาพันถวาย

    ตำนานพระธาตุช่อแฮ ตามตำนานกล่าวว่า พระมหาราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำสร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้ โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาไทย กษัตริย์ล้านนาก็ทรงได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับ จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมเป็นอันมากจนล่วงมาถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ พระครูบาศรีวิชัย (หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ จนทำให้พระธาตุช่อแฮกลับมามีความงดงาม และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่ ในวันมาฆบูชา ปี 2554 ที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากทั้งที่เกิดปีขาล และไม่ได้เกิดปีขาล มาร่วมเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุช่อแฮอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

พระธาตุช่อแฮ ระหว่างการบูรณะ ปี 2554

พระธาตุช่อแฮ ระหว่างการบูรณะ ปี 2554 เมื่อเดินทางมาสักการะพระธาตุช่อแฮแล้วสมาชิกของเราก็ได้เก็บภาพจากวัดพระธาตุช่อแฮที่อยู่ระหว่างการบูรณะ ปิดทองใหม่ทั้งองค์ กลับมาเป็นที่ระลึกด้วย

รีวิว วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่


 "อีกหนึ่งครั้งที่ได้กลับมาที่นี่ไหว้พระธาตุเวียนเทียน ตอนนี้พระธาตุบูรณะเสร็จแล้วสวยงามมาก"

Akkasid Tom Wisesklin
2019-01-03 17:29:32

วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่


 "พระอุโบสถหลังใหญ่และสวยงามมากๆ "

Akkasid Tom Wisesklin
2019-01-03 17:28:06

วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่


 "ลานจอดรถของวัดอยู่อีกด้านหนึ่งมาจอดด้านในก็ได้แล้วเดินขึ้นบันไดไปได้เหมือนกัน"

Akkasid Tom Wisesklin
2019-01-03 17:27:05

วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่


 ""

ธิปไตย วิไลพันธุ์
2017-10-18 11:54:18


 ""

Somjai Jai Jangkrajang
2017-12-09 11:46:05

วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่


22/25 จาก 5 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่
ภูสายธารา รีสอร์ท
  3.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
ร่มไม้สายธาร รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
พลพล แอนด์ นวลละออ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  10.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
น้ำทอง แพร่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้าน ไอ อินสปาย เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนันตยา โฮม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
เฮือนอัมพร รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.26 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมภูมิไทย การ์เดน เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
เฮือนนานา บูติก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมแพร่ นครา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.64 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com