×

วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก

วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม(บนเขาสมอแคลง) ตั้งอยู่ที่บ้านสมอแคลง ในเขตอำเภอวังทอง เดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหมายเลข 12 (เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก) ประมาณ 14 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอวังทอง 3 กิโลเมตร) มีทางแยกซ้ายขึ้นเขาไปอีกประมาณ 300 เมตร

วัดราชคีรีหิรัญยาราม ประวัติเดิมไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้างแต่ถูกกาลเวลาปล่อยทิ้งร้างจนมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยกระทรวงศึกษาธิการกรมการศาสนา ได้ออกหนังสือรับรองสภาพความเป็นวัดให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ความว่า

"เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑"

ความเป็นมาของวัด ได้ค้นพบหนังสือสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระะราชนิพนธ์ พระราชปรารภ เรื่องพระพุทธและมีข้อความสำคัญกล่าวถึงวัดราชคีรีหิรัญยาราม ว่า

"พระพุทธเจ้าได้เสด็จบิณฑบาทไปถึงที่นั้น แล้วหยุดฉันท์ที่ใต้ต้นสมอ ที่เขาสมอแคลง ซึ่งเดิมเรียกว่าพนมสมอ ควรจะเป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา จึงมีรับสั่งให้จ่านกร้องและจ่าการบุญ คุมกำลังไพร่พลและเสบียงอาหารมาตรวจดูภูมิสถานแถบนั้น เมื่อจ่าทั้งสองได้ลงมาถึงที่ๆ ซึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ไปบิณฑบาตเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดี เหมาะแก่การที่จะสร้างเมืองใหม่ จึงได้มีใบบอกขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้ากรุงเชียงแสนและเจ้ากรุงศรีสัชชนาลัย พระเจ้าพสุจราช พระบิดาพระนางปทุมมาวดี เอกอัครมเหสีของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงร่วมกันสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๖ ตรงเช้าวันศุกร์ขึ้น ๑ ค่ำ ๓ ร.ศ.๓๑๕ และให้ชื่อเริ่มแรกเมืองนั้นว่า เมืองพิษณุโลกโอฆะบุรี นับได้ว่าเป็นชะตาดวงเมืองของพิษณุโลก ตั้งแต่นั้นมาจึงถึงปัจจุบัน โดยอาศัยเหตุดังกล่าวมา"

โดยเริ่มแรกพระองค์ได้ทรงสถาปนาสร้างพระมหาธาตุรูปปรางค์สูง ๘ วา และสร้างพระวิหารทั้ง ๔ ทิศแล้วเสร็จ ก็ทรงให้สร้างพระพุทธรูปสำคัญขึ้น ๓ พระองค์ โดยองค์เริ่มแรกได้ให้ชื่อพระนามว่า พระพุทธชินราช ๑ องค์ องค์ที่สองให้พระนามว่า พระพุทธชินสีห์ ๑ องค์ และองค์ที่สามให้พระนามว่า พระศรีศาสดา ๑ องค์ โดยครั้งแรกได้ทรงเททองหลังจากการปั้นหุ่นขึ้นแบบแล้วปรากฏว่าทองแผ่นบริบูรณ์เพียงสององค์คือ พระพุทธชินสีห์ และ พระศาสดา ส่วนองค์เริ่มแรกที่ให้พระนามว่า พระพุทธชินราช นั้น ทองไม่แล่นเต็มองค์ และพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ก็ได้ทรงกระทำขึ้นอีกสองครั้ง ทองก็ยังไม่แล่นเต็มองค์ จนทำให้พระองค์ทรงโทมนัสยิ่งนัก

ต่อมาพระองค์พร้อมด้วยพระอัครมเหสีพระนางปทุมมาวดี พระราชเทวี ทั้งสองพระองค์ได้ทรงร่วมกันตั้งสัจจกริยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมี จึงได้จัดการปั้นหุ่นขึ้นแบบใหม่ โดยครั้งนี้ได้มีชีปะขาว (ตาปะขาว) คนหนึ่งอาสาเข้ามาช่วยปั้นหุ่น ขึ้นแบบทำการด้วยความแข็งแรงมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีเวลาหยุด ครั้นได้รูปหุ่นเสร็จ ก็ได้ทรงเททอง ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ (เป็นวันธรรมสวนะวันพระ) เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศก จุลศักราช ๓๑๙ พระพุทธศาสนา กาลล่วงแล้ว ๑๕๐๐ ปี หย่อนอยู่ ๗ วัน และทรงดำรัสสั่งให้อาราธนา ชุมนุมพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีโดยรอบใกล้เคียงเมืองนั้น ทั้งฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสี มี "พระอุบาฬี และพระศิริมานนท์" อันอยู่วัดเขาสมอแครง เป็นประธาน ให้สวดปริตพุทธมนต์ มหามงคลทำสัจจกริยาธิษฐาน อาราธนาเทพยดาให้ช่วยในการนั้น ทองก็แล่นเต็มองค์บริบูรณ์ เป็นที่โสมนัสแก่ทั้งสองพระองค์ยิ่งนัก และชีปะขาวที่ได้มาช่วยทำการนั้น ก็ได้เดินออกจากที่นั้นหายออกไปทางประตูเมืองข้างเหนือ และได้ไปถึงยังตำบลหนึ่งก็ได้หายไป โดยไม่มีใครได้พบเห็นอีกเลย ต่อมา ตำบลนั้นจึงได้ชื่อว่า ตำบลตาปะขาวตราบเท่าทุกวันนี้...ฯ

ด้วยเหตุดังพระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ ๕ ได้ทรงกล่าวถึง วัดเขาสมอแคลง อันมีพระเถระผู้ใหญ่ พระอุบาฬี และพระศิริมานนท์ ได้รับอาราธนามาเป็นประธานการสวดพระปริตและพระพุทธมนต์ถึงสองครั้งย่อมแสดงให้เห็นว่า วัดเขาสมอแครงนั้นมีความสำคัญยิ่งในสมัยนั้น และกาลปรากฏต่อมาในปัจจุบัน วัดที่เป็นวัดถูกต้องตามหลักการครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็มีอยู่เพียงวัดเดียวที่ตั้งอยู่บนเขาสมอแครง คือ วัดราชคีรีหิรัญยาราม มีเนื้อที่เขตวัดในปัจจุบันประมาณ 230 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โดยสภาพ ถูกกาลเวลากลืนกินไปตามกาลรวมทั้งคนใจบาปหยาบช้าได้ขึ้นมาขุดทำลายโบสถ์, วิหาร, เจดีย์ต่างๆ เสียหายสิ้นสภาพหมด เพียงเพื่อจะค้นหาวัตถุมงคลที่เรียกว่า "พระสมเด็จนางพญา" เท่านั้น

ที่มา http://rachkiree.com/

ถัดจากวัดราชคีรีหิรัญยาราม (วัดเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว) ขึ้นไปบนเขาสมอแคลงจะมีทางแยกไปโรงเจไซทีฮุกตึ๊ง ศาลเจ้าเห้งเจีย ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนไปไหว้เจ้าทำบุญกันเป็นประจำ และถัดจากศาลเจ้าเห้งเจียขึ้นไปอีกจะเป็นจุดชมวิวสูงสุดของเขาสมอแคลงแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) ของพระพุทธเจ้า เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่ฐานประดิษฐานพระพุทธลีลามหาธรรมราชาลิไททั้ง 4 ด้าน


พิกัด GPS วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก:
16.835053,100.405720
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 1879 ครั้ง
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก
วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก

แผนที่ วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลกคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดราชคีรีหิรัญยาราม พิษณุโลก

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)