www.touronthai.com

หน้าหลัก >> ยะลา >> พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

 ประวัติการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ด้วยภารกิจตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ความสำคัญกับปวงชนชาวไทยในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดี และเพื่อให้ท้องถิ่นเพิ่มการตระหนักถึงการอนุรักษ์สมบัติทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของตนให้มากขึ้นจึงได้กำหนดไว้ในกฏหมายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดให้มีพิพิธภัณฑ์ของชุมชนท้องถิ่นขึ้น คณะผู้บริหารเทศบาลผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และพี่น้องชาวอำเภอเบตงได้ร่วมกันดำเนินการจากแนวคิดริเริ่มในการรวบรวมเรื่องราวที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ การส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความสนใจ อนุรักษ์ สืบสาน สืบทอด อนุรักษ์สมบัติวัฒนธรรมของท้องถิ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และจัดตั้งเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน ท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมสี่ภาค ณ อาคาร แหล่งเรียนรู้ของเทศบาลหลายแห่ง โดยได้รับคำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานจากคณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ ผศ.วิจิตร ศรีสุวิทธานนท์ และ ผศ.ปองทิพย์ หนูหอม

    ต่อมาในปีงบประมาณ 2548 เทศบาลเมืองเบตงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเป็นเงิน 21,000,000 บาท (ยี่สิบเอ็ดล้านบาทถ้วน) ในการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองเบตง เป็นอาคารที่สวยงามเป็นจุดที่มองเห็นวิวเมืองเบตงที่สวยงาม และนับเป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวเบตงเป็นอย่างยิ่งที่อาคารแห่งนี้เทศบาลได้ก่อสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในปีพ.ศ. 2549 และสำหรับจัดแสดงองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองเบตงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ การนำเสนอข้อมูลความรู้ที่หลากหลายรูปแบบ

    จากความร่วมมือและให้การสนับสนุนจากทุกฝ่ายในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ของอำเภอเบตง มาตั้งแต่อดีต เทศบาลเมืองเบตงสามารถพัฒนาสู่การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งความรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ท้องถิ่นและสังคมโดยรวมอย่างมีประสิทธิภาพ และนับเป็นความภาคภูมิในของพี่น้องชาวอำเภอเบตงอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก ฯ พณ ฯ บัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มาเป็นประธานพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์เมืองเบตงในวันที่ 16 กันยายน 2550

    การเดินทาง จากอำเภอเมืองยะลาไปเบตง มีบริการรถตู้หรือแท็กซี่ คิวรถตู้อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟยะลา รถออกทุก 1 ชั่วโมงระหว่างเวลา 6.00 - 17.00 น. หากเดินทางจากหาดใหญ่ มีบริการรถตู้ปรับอากาศไปยะลาและเบตง รถออกเวลา 8.00 น. 10.00 น. และ 13.00 น. หากเดินทางจากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปยังยะลาและเบตง ติดต่อสถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานนราธิวาส 0 7352 2411
http://www.tourismthailand.org/narathiwat

แก้ไขล่าสุด 2016-12-07 22:23:11 ผู้ชม 9531

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

ประวัติอำเภอเบตง เบตง มาจากภาษามลายู แปลว่า ไม้ไผ่ เป็นอำเภอที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ห่างจากตัวเมืองยะลาเป็นระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 โดยเฉพาะเส้นทางช่วงระหว่างอำเภอธารโต-เบตง เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบ ป่าไม้และสวนยาง ตัวเมืองเบตงตั้งอยู่ในโอบล้อมของขุนเขาอากาศเย็นสบาย มีฝนตกชุก และมักมีหมอกปกคลุมในยามเช้า จนได้รับสมญานามว่า "เมืองในหมอก ดอกไม้งาม" เป็นอำเภอใหญ่ที่มีความเจริญ ชาวมาเลเซียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกตัวเมืองมากมาย 

    ในยุคขยายอิทธิพลและครอบครองอำเภอเบตงเป็นดินแดนมลายูที่อยู่ภายใต้การปกครองของชนชาติไทยมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 700 ปี มาแล้ว ปรากฏในหลักฐานศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุไว้ชัดเจนว่าได้แผ่ขยายอิทธิพลไปถึงดินแดนไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู ดินแดนดังกล่าวมีฐานะเป็นประเทศราชจวบจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีความวุ่นวานในราชสำนักและการกอบกู้เมืองในสมัยกรุงธนบุรีเป็นโอกาสให้หัวเมืองทางใต้มีพัฒนาการของชุมชนกลายเป็นรัฐที่เข้มแข็ง มีศูนย์กลางความเจริญของหัวเมืองประเทศราชปรากฏขึ้นที่เมืองปัตตานี

    หัวเมืองดังกล่าวได้กลับเข้ามาอยู่ภายใต้การปกตรองของอาณาจักรไทยในสมัยรัชกาลที่ ๑ และต่อมาได้ทรงแบ่งหัวเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมืองได้แก่ ยะลา ปัตตานี หนองจิก สายบุรี ยะหริ่ง ระแงะ และรามันห์ และกำหนดเขตเมืองแต่ละเมืองไว้ชัดเจน ในส่วนของเมืองยะลา ดินแดนเมืองรามันห์หรือรามัญ ปัจจุบัน คือ อำเภอเบตง และอำเภอธารโต

อาคารพิพิธภัณฑ์

อาคารพิพิธภัณฑ์     ต่อมาในยุคปฏิรูปการปกครองประเทศสมัยรัชกาลที่ ๕ ลัทธิล่าเมืองขึ้นหรืออาณานิคมชาติตะวันตกได้ขยายเข้ามายังเอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรยาวไกลที่มองเห็นอันตรายจากการคุกคามของชาติตะวันตก ในขณะที่ต้องเสียดินแดนประเทศราชบางส่วนให้อังกฤษ ในพ.ศ. 2452 ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรีและปะลิส

หลังจากที่มีการจัดรูปแบบการปกครองแล้วในปี พ.ศ. 2444-2447 อาณาเขตพื้นที่เบตงถูกยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่งชื่อว่า อำเภอยะรม ประกอบด้วย ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรแน ตำบลบาโลม และตำบลเซะ (โก๊ะ) รวม 6 ตำบล ซึ่งภายหลังการปันเขตใหม่ที่ไทยเสียดินแดนในปี 2452 จึงเหลือพื้นที่อยู่ 2 ตำบล คือ เบตงและยะรม

    ในพ.ศ. 2473 สมัยพระพิชิตบัญชา เป็นนายอำเภอเบตงได้ย้ายที่ตั้งอำเภอจากบ้านฮางุด หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งที่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ 6 และได้เปลี่ยนชื่อ จากอำเภอยะรมเป็นอำเภอเบตง แล้วแบ่งการปกครองใหม่เป็น 4 ตำบล ประกอบด้วยตำบลเบตง ยะรม อัยเยอร์เวง และตาเนาะแมเราะ และมีตำบลธารน้ำทิพย์อีก อำเภอเบตงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลาหลังจากให้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลจากมณฑลปัตตานีใน พ.ศ. 2475 และให้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม ในปี พ.ศ.2476

    ต่อมาในยุคสร้างแบบแปลงเมืองอำเภอเบตงในอดีตเชื่อว่ามีกลุ่มคนที่พูดภาษายาวีหรือมลายูท้องถิ่น อยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปและมีความสัมพันธ์กับกลุ่มทางประเทศมาเลเซียในขณะนั้นรวมทั้งหลักฐานคำบอกเล่าและที่ปรากฏในหนังสือภาษาจีนว่า มีชาวจีนกลุ่มแรกที่เดินทางจากประเทศจีนโดยเรือมาขึ้นฝั่งของประเทศมาเลเซียแล้วเดินเท้าหรือนั่งเกวียนเข้ามายังพื้นที่เบตง ประมาณปีพ.ศ. 2343 ประมาณ 10-20 คน และอาศัยอยู่ร่วมกับชาวเบตงเดิมอย่างกลมกลืนผสมผสานอย่างแน่นแฟ้นและพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อมา

    สถานที่สำคัญที่แสดงหลักฐานการอยู่ร่วมกันของชาวไทยในเบตงเดิมและชาวจีนก็คือวัดกวนอิม เป็นสถานที่ตั้งศาลเจ้าอันเป็นที่ประดิษฐานของเทพสำคัญๆ หลายองค์ อาทิ เจ้าแม่กวนอิม ท่านแป๊ะกง ท่านกวงกง เจ้าแม่จิวหวังเหย่ยี่หวังต้าตี้ กว่าโก่วเซียนซื่อ ขงจื้อ เป็นต้น และยังมีสถาปัตยกรรมของเจดีย์ 7 ชั้น อันงดงามตระการตา วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.2508 วัดตั้งอยู่บนเนินเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเบตงได้ด้วย

ชมวิวเมืองเบตง

ชมวิวเมืองเบตง พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่บนเนินเขาติดกับสวนสาธารณะสุดสยาม บรรยากาศเลยร่มรื่นกว่าพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ ที่เคยไปมาเลย ในพิพิธภัณฑ์เมืองเบตงนอกจากจะเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องราวเมืองนี้แล้วยังมีระเบียงให้ออกไปยืนชมวิวได้ด้วย ทางเดินขึ้นเป็นบันได ชั้นสูงๆ จะอยู่ในอาคารขึ้นมาได้เฉพาะเวลาเปิดทำการ ถ้าพิพิธภัณฑ์ปิดแล้วจะเดินมาชมวิวได้เฉพาะชั้นแรกแต่ก็สูงพอที่จะได้เห็นเมืองเบตงได้ทั่วถึง

พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

วัตถุโบราณ

วัตถุโบราณ ในพิพิธภัณฑ์แต่ละชั้นมีของเก่าๆ ที่หายากให้ดู นอกจากนั้นก็มีข้อมูลเมืองเบตงให้หาความรู้กัน ทั้งวัฒนธรรม ชาวเบตง ที่เที่ยวในเบตง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ที่ใครๆ มาก็ไม่ควรพลาด

พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง

วิวสวยเมืองเบตง

วิวสวยเมืองเบตง หลังจากพิพิธภัณฑ์ปิดทำการแล้วเรายังเดินมาชมวิวตรงระเบียงชั้นแรกช่วงเวลาเย็นๆ เราจะได้เห็นแสงไฟในเมืองเบตงกับรถราที่วิ่งไปมาบนถนนสายหลักผ่านหอนาฬิกา มุมนี้เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดในเมืองเบตงด้วย
เราขอจบการพาเที่ยวพิพิธภัณฑ์เมืองเบตงเอาไว้เท่านี้ละกัน
ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคใต้ มา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อำเภอเบตง ยะลา
Butterfly Princess Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.57 km | แผนที่ | เส้นทาง
Betong Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.80 km | แผนที่ | เส้นทาง
3667 BEST VILLAGE HOUSE เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  17.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
คูล แคมปิ้ง รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  51.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
Harris Homestay Gerik Walking Distance to Town เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  62.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
เบลุม เรนฟอร์เรสท์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  63.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
จังเกิ้ลรีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  64.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
เซดิม อีโค รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  86.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
เอ็มบีไอ เดซากู แวเคชั่น โฮม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  92.94 km | แผนที่ | เส้นทาง
HOMESTAY D AMBANGAN GUEST HOUSE SUNGAI PETANI เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  95.06 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com