www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> ศาลหลักเมือง

ศาลหลักเมือง

 ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาติไทย รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายใน

 เสาหลักเมืองเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สูง 27 เซนติเมตร แต่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 แทนของเดิมที่ชำรุด เป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ตั้งอยู่ภายในอาคารยอดปรางค์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปสำคัญ คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ http://www.tourismthailand.org/bangkok

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 25845

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ จากมุมนี้สามารถมองเห็นอาคารกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณด้านหน้ากระทรวง ระหว่างกระทรวงกลาโหมกันศาลหลักเมืองมีถนนเล็กๆ กั้นอยู่คือแยกไฟแดงของถนนหลักเมือง ด้านหนึ่งของถนนอยู่ในเขตความรับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง อีกด้านหนึ่งเป็นท้องที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
ส่วนคุณลุงในภาพนี้นั่งขายนกสำหรับนักท่องเที่ยวนำนกมาปล่อย เป็นการโปรดสัตว์ แต่ระยะหลังๆ ที่คนไม่นิยมปล่อยนกเพราะเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้นกจำนวนมากถูกจับนำมาขัง พอปล่อยไปแล้วส่วนใหญ่จะไม่รอด แต่ถึงยังไงก็ยังเห็นคุณลุงคนนี้ขายนกแบบนี้มานานมากแล้วเหมือนกัน

เสาหลักเมืองจำลอง

เสาหลักเมืองจำลอง เดินเข้ามาในบริเวณศาลหลักเมือง ก็จะมีเสาหลักเมืองจำลองในศาลาขนาดใหญ่ให้ประชาชนได้ปิดทอง เพราะเสาหลักเมืองจริงนั้นไม่อนุญาตให้ปิดทองกัน แต่ละวันจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางมากราบไหว้ศาลหลักเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดทั้งวัน

ความเชื่อในการไหว้ศาลหลักเมือง เป็นความเชื่อสืบต่อกันมาช้านานในการสร้างเมืองก่อนที่จะลงมือทำการก่อสร้างจะต้องมีการสร้างศาลหลักเมืองก่อนเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย เป็นหลักฐานมั่นคงของเมือง การไหว้ศาลหลักเมืองก็เพื่อให้ชีวิตเป็นหลักเป็นฐานมั่นคง เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองนั่นเอง

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ

ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ หลังจากที่จุดเทียนธูปปิดทองไหว้เสาหลักเมืองจำลองด้านนอกแล้วก็เดินมาไหว้เสาหลักเมืองจริงในศาลหลักเมืองสร้างเป็นแบบจตุรมุข ประตูทางเข้า-ออก มีอยู่ 4 ทิศ แต่จะปิดบ้างในกรณีที่มีแสงแดดส่องโดยเฉพาะตอนบ่าย ทำให้ได้เห็นความสวยงามของบานประตูได้ด้วยเดี๋ยวจะมีภาพบานประตูชัดๆ ให้ชมกันครับ

บริเวณรอบศาลหลักเมือง

บริเวณรอบศาลหลักเมือง
สง่างามโบราณสถานศาลหลักเมือง ลือเลื่องความศักดิ์สิทธิ์
เทพสถิตย์อำนวยพร เครื่องสักการะและละครพร้อมบริการ

คำกลอนบนป้ายที่ทำได้สวยงามเกี่ยวกับการถวายเครื่องสักการะและละคร ที่เรียกกันว่าการแก้บน มีพร้อมที่ศาลหลักเมือง
การเดินทางมายังศาลหลักเมืองนั้นไม่แนะนำการใช้รถส่วนตัว เพราะจะทำให้ลำบากในการหาที่จอดรถ หากใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ รถแทกซี่ รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก จะสะดวกกว่าเยอะครับ

ประตูด้านหนึ่งของศาลหลักเมือง

ประตูด้านหนึ่งของศาลหลักเมือง วันนี้เปิด 3 ทิศ คงเป็นเพราะมีอยู่ทิศหนึ่งตรงกับแสงแดดเลยปิดไว้ ซุ้มประตูที่ประดับลวดลายด้วยกระจกหรือกระเบื้องเคลือบสีสันสวยงามเหมือนกันทั้ง 4 ด้าน บานที่ปิดไว้ทำให้เห็นลวดลายงดงามบนบานประตู ที่เข้ากันกับซุ้มประตูอย่างลงตัว

เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร (City Pillar Shrine) เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ เวลา ๖.๕๔ นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา ๒๙ เซนติเมตร สูง ๑๘๗ นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน ๑๐๘ นิ้ว ฝังลงในดินลึก ๗๙ นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ๖ แผ่น สูง ๑๐๘ นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง ๗๐ นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า ๕ เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕
ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง ๕ คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

ตำนาน อิน จัน มั่น คง มีเรื่องเล่าสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ว่าในพิธีสร้างพระนคร ต้องทำพิธีฝังอาถรรพ์ ๔ ประตูเมือง และ พิธีฝังเสาหลักเมือง การฝังอาถรรพ์ กระทำด้วยการป่าวร้องเรียกผู้คนที่มีชื่อ อิน-จัน-มั่น-คง ไปทั่วเมือง เมื่อชาวเมืองผู้เคราะห์ร้ายขานรับ ก็จะถูกนำตัวมาสถานที่ทำพิธี และถูกจับฝังลงหลุมทั้งเป็น ทั้ง ๔ คน เพื่อให้วิญญาณของคนเหล่านั้นอยู่เฝ้าหลักเมือง เฝ้าประตูเมือง เฝ้าปราสาท คอยคุ้มครองบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูและปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บมิให้เกิดแก่คนในนคร เรื่องเล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ไม่มีบันทึกในพงศาวดาร

http://th.wikipedia.org/wiki/ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ไหว้พระที่ศาลหลักเมือง

ไหว้พระที่ศาลหลักเมือง หลังจากที่ได้ไหว้ศาลหลักเมืองแล้วยังมีวิหารที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หลายองค์ มีบริเวณที่จัดไว้ให้ทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิด ภายในวิหารหลังนี้สามารถจุดธูปเทียนภายในได้ ซึ่งเป็นอย่างหนึ่งที่จะมีปัญหากับผมทันที เพราะควันธูปจำนวนมากๆ จะทำให้แสบตาครับ เพื่อให้ครบถ้วนในการมาไหว้ศาลหลักเมืองจะมีการไหว้พระดังนี้ครับ

พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี
พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก
เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม
เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

ข้อมูลที่พอจะหาได้เกี่ยวกับพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง มีดังนี้
พระเสื้อเมือง ทรงเมือง และเจ้าเจตคุปต์นั้น ยังไม่พบในตำรา เข้าใจว่าเป็นเทวดารักษาราชธานี เจตคุปต์นั้นเป็นชื่อสันสกฤต ดูเหมือนจะเป็นสมุห์บัญชีของพระยายม มูลเดิมจะมาแต่เทพเจ้าองค์ใดตามตำราอินเดีย จะมีเรื่องอย่างไรก็ยังไม่รู้ บางทีเสื้อเมืองทรงเมืองนั้นเรามาแปลเป็นไทยไปแล้ว เจตคุปต์อาจยังเหลืออยู่บ้างก็เป็นได้
พระสยามเทวาธิราชนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบูชาสปิริตของเมืองไทย อยู่ในพระบรมมหาราชวัง

มีข้อควรเพิ่มเติมก็คือ บรรดาเมืองโบราณที่มีป้อมปราการ หรืออีกอย่างหนึ่งเมืองที่ตั้งประจำที่ต้องมีหลักเมืองทั้งนั้น แต่ศาลเทพารักษ์เห็นจะมีต่างกันตามคติศาสนาของพวกที่สร้างเมือง และสร้างตามที่ต่างๆ กันเหมือนอย่างที่กรุงเทพฯ นี้ ศาลเทพารักษ์มี ๔ แห่งมาแต่เดิม คือ ศาลหลักเมืองอยู่ตรงที่ตั้งอยู่ทุกวันนี้ ที่ริมหอกลองหน้าวัดพระเชตุพนมีสร้างเรียงกันไว้ ๓ ศาล เรียกว่า ศาลพระเสื้อเมืองศาล ๑ ศาลพระทรงเมืองศาล ๑ ศาลพระกาลหรือศาลเจ้าเจตคุปต์ศาล ๑ เหตุใดจึงสร้างศาลทั้ง ๓ นั้น และเหตุใดจึงไปสร้างตรงนั้น ไม่รู้ รูปเจ้าเจตคุปต์นั้น นึกว่าได้เคยเห็นครั้งหนึ่ง ทำรูปเทวดานั่งคุกเข่า มีตัวนาคมัดมือไพล่หลัง ถ้าเป็นดังจำได้ ดูสร้างเป็นพระภูมิของคุก เพราะคุกก็อยู่ต่อหอกลองไปข้างตะวันออกไม่ห่างนัก แต่เดี๋ยวนี้จะอยู่ที่ไหนไม่รู้แต่เป็นเทวรูปใหม่สร้างในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ทั้ง ๓ องค์
ที่มา http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=rattanakosin225&date=14-05-2007&group=11&gblog=15

หมายเหตุ รูปภาพพระพุทธรูปไม่เกี่ยวข้องกับพระเสื้อเมือง หรือพระทรงเมืองนะครับ

พระพุทธรูปในวิหารศาลหลักเมือง

พระพุทธรูปในวิหารศาลหลักเมือง ขอต่ออีกนิดกับภาพภายในวิหาร ก่อนที่จะจบการแนะนำศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ หลังจากไหว้พระขอพรกันแล้ว สำหรับท่านใดที่สนใจจะเสี่ยงทายที่ศาลหลักเมืองจะมีการยกองค์พระเสี่ยงทาย ว่ากันว่าก่อนเสี่ยงทายให้ตั้ง นะโม 3 จบ ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
ดิ อซาแดง บีแอนด์บี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านโบราณ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศิริ พอชเทล กรุงเทพฯ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศิริ เฮอริเทจ แบงค็อก โฮเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
โอ บอง โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.62 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ ภูธร เบดแอนด์เบรคฟาสต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.65 km | แผนที่ | เส้นทาง
บุญศิริเพลส แบงคอค โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.66 km | แผนที่ | เส้นทาง
เนบเบอร์ ภูธร เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ แวร์เฮาส์ กรุงเทพ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
วิวิธ โฮสเทล แบงค็อก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ กรุงเทพมหานคร
  0.14 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต)
  0.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
สนามหลวง (ทุ่งพระเมรุ) กรุงเทพมหานคร
  0.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
ตึกถาวรวัตถุ กรุงเทพมหานคร
  0.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพร่งสรรพศาสตร์ พระนคร กรุงเทพ
  0.51 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพร่งภูธร เขตพระนคร กรุงเทพ
  0.56 km | แผนที่ | เส้นทาง
แพร่งนรา เขตพระนคร กรุงเทพ
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
  0.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
  0.67 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
  0.70 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com