www.touronthai.com

หน้าหลัก >> จันทบุรี >> ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

 วัดทองทั่ว ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี อยู่ริมถนนสุขุมวิท ห่างจากตัวเมืองราว 4 กิโลเมตร มีพระอุโบสถและเจดีย์อายุนับร้อยปี เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุเขมร ได้แก่ ทับหลังแบบถาลาปริวัติ และทับหลังแบบไพรกเมง (พ.ศ.1150-1250) เสาประดับกรอบประตูแบบนครวัด และโกลนพระคเณศทำจากหินทรายสีขาว เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีพระสุวรรณมงคล หรือ หลวงพ่อทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองของตำบลทองทั่ว ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถหลังเก่า ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย แห่งเดียวในภาคตะวันออกที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นแห่งเดียวที่เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ปิดทองพระพุทธรูปองค์จริงอย่างใกล้ชิด

    ที่วัดทองทั่วมีประเพณีการแข่งขันประชันควายเพลิง ในช่วงวันสงกรานต์ และกิจกรรมอื่นๆ อาทิ ไถ่ชีวิตโค – กระบือ การประกวดก่อพระเจดีย์ทราย รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ การประกวดธิดาสงกรานต์ ประกวดร้องเพลง การแสดงลิเก หนังตะลุงเมืองจันท์ สนุกสนานกับรำวงชาวบ้าน แข่งขันสะบ้าล้อ เซปักตระกร้อ เปตอง การละเล่นพื้นบ้าน สาวน้อยตกน้ำ พร้อมมหรสพสมโภช

ข้อมูลเพิ่มเติม:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง โทร. 0-3865-5420
http://www.tourismthailand.org/rayong

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 13834

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
วัดทองทั่ว

วัดทองทั่ว ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวความสำคัญของวัดนี้ จะเล่านิดนึงก่อนว่า การมาที่วัดทองทั่ว ไม่ใช่แค่มาไหว้พระทำบุญในฐานะวัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปีเท่านั้น แต่จะเล่าไปถึงความเป็นมาของเมืองเพนียดที่มีพื้นที่รอบๆ บริเวณวัดทองทั่วและวัดโบราณที่ชื่อวัดเพนียดด้วย เพราะเรื่องราวของเมืองเพนียดมีมากว่า 1 พันปี จึงทำให้วัดทองทั่วกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรีได้ดีมากแห่งหนึ่ง

    ภายในวัดทองทั่วเมื่อเข้ามาจะเห็นบริเวณกว้างขวาง มีโบสถ์หลังใหม่สูงใหญ่อยู่กลางวัด ด้านหน้าโบสถ์มีเจดีย์ทรงลังกาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยา เป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกอายุของวัดทองทั่ว ส่วนที่เห็นหลังเล็กๆ ข้างโบสถ์หลังใหญ่เป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างคู่กันมากับวัดน่าจะสร้างในสมัยกรุงธนบุรี แต่มีการบูรณะมาทุกยุคทุกสมัย จนรูปแบบเป็นอย่างที่เห็น

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

วัดทองทั่ว เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อวัดเพนียด ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันวัดเพนียดเป็นวัดร้างขึ้นทะเบียนของกรมศาสนา

    คำว่าทองทั่ว มีตำนานมาจากเมืองโบราณซึ่งเรียกว่าเมืองเพนียด เล่าสืบต่อกันมาช้านานว่า เมืองเพนียดนั้นมีกษัตริย์ผู้ครองนคร นามว่าพระเจ้าพรหมทัต พระมเหสีชื่อ พระนางจงพิพัฒน์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ องค์พี่พระนามว่าเจ้าชายบริพงษ์องค์น้องมีพระนามว่าเจ้าชายวงศ์สุริยคราส ต่อมาพระนางจงพิพัฒน์ทรงสิ้นพระชนม์ลง พระเจ้าพรหมทัตได้อภิเษกกับพระนางกาไว พระนางกาไวได้ทำเสน่ห์ให้พระเจ้าพรหมทัตหลงใหล จนพระนางได้ทรงตั้งครรภ์ จึงได้อ้อนวอนของสิ่งที่พระนางปรารถนา พระเจ้าพรหมทัตจึงพลั้งพระโอษฐ์ให้ เมื่อพระนางได้ประสูติพระราชโอรส ทรงมีพระนามว่าไวยทัต พระนางกาไวได้ทูลขอพระราชสมบัติให้แก่พระไวยทัตพระเจ้าพรหมทัตจึงยินยอมยกให้ จึงให้เจ้าชายบริพงษ์และเจ้าชายวงศ์สุริยคราสไปสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ทางทิศเหนือของเมืองเพนียดในดินแดนเขมร เรียกว่า เมืองสามสิบ

    ครั้งต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระไวยทัตขึ้นครองราชสมบัติ โดยมีพระนางกาไวเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเมื่อเจ้าชายบริพงษ์และเจ้าชายวงศ์สุริยคราสได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต จึงยกทับมาตีเอาพระนครคืน

    เมื่อกองทัพทั้งสองสู้รบกัน ฝ่ายพระไวยทัตสู้ไม่ได้ถอยทัพร่นกลับแต่ก็ถูกตีแตก (ปัจจุบันเรียกว่า เกาะตะแบก เพี้ยนมาจากเกาะทัพแตก) พระไวยทัตถูกฟันคอสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง ณ พื้นที่สู้รบ เมื่อพระนางกาไวทราบข่าวพระไวยทัตสิ้นพระชนม์ จึงได้ขนทรัพย์สิน แก้วแหวนเงินทอง ออกมาโปรยหว่านเพื่อล่อให้ข้าศึกเก็บ ส่วนทรัพย์สินเงินทองอีกส่วนหนึ่งทิ้งลงในเว็จ (ส้วม) ส่วนพระนางกาไวเห็นว่าไม่มีทางหนีรอดจึงเข้าห้องบรรทมแล้วดื่มยาพิษชื่อ "ยามหาไวย์" สิ้นพระชนม์ ทางด้านทิศใต้ของเมือง ณ สถานที่ที่หว่านทรัพสินเงินทองนั้น ปัจจุบันเรียกว่าวัดทองทั่ว และเป็นสถานที่ตั้ง ทองทั่ว จนถึงปัจจุบัน

    วัดทองทั่วได้ย้ายมาจากวัดเพนียดและเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดทองทั่ว ตามตำนานเรื่องเมืองเพนียด หนังสือรับรองสภาพวัดที่ทางกรมการศาสนามอบให้ รับรองว่าวัดทองทั่วเป็นวัดสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ ได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2310 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2318 สันนิษฐานว่าวัดทองทั่ว น่าจะเป็นพระอารามหลวงมาก่อน เพราะมีหลักฐานจากใบสีมารอบพระอุโบสถ เป็นใบสีมาคู่ทั้ง 8 ทิศ อยู่ในสมัยกรุงธนบุรี

    จากบันทึกในจดหมายเหตุ สมัยรัชกาลที่ ๕ ร.ศ.๑๑๗ มณฑลจันทบุรี ว่า "...มีผู้นิยมการศึกษามากทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส วัดที่สมควรจะจัดตั้งเป็นโรงเรียนหลวงในจำนวน ๕ วัด มีวัดทองทั่ว ตำบลสบาป (ปัจจุบันเขียนเป็นสระบาป) แขวงอำเภอตะวันออก เนื่องจากวัดเหล่านี้อยู่ใกล้ชุมชน หมู่บ้านและเป็นที่นิยมของราษฎร รวมทั้งเจ้าอาวาสก็ใส่ใจในการศึกษา เมื่อตั้งแล้วคงจะเจริญได้ตามลำดับ..."

    พระอุโบสถ อยู่ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร และศิลปะโครงสร้างเดิมก็เป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา แต่ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เท่าที่ทราบตามประวัติเจ้าอาวาสทุกองค์ที่เคยปกครองวัด มีการบูรณะซ่อมแซม ศิลปะเดิมก็เลือนหายไป ศิลปะใหม่ก็ถูกสร้างไปตามความนิยมในยุคสมัยนั้น จนเป็นดังที่เห็นในปัจจุบัน และเมื่อปี พ.ศ. 2542 เจ้าอาวาสพระครูสุวัตถิ์ธรรมวิจิตร ท่าได้บูรณะหลังคา ทาสี เปลี่ยนหน้าบัน ที่เคยมีรูปเซียนก็หายไป ไม้เครื่องบนก็เปลี่ยนเป็นบางตัวกระเบื้องมุงหลังคาเปลี่ยนใหม่โดยการนำกระเบื้องเก่าไปทำแบบใหม่ ให้เหมือนของเดิม บางส่วนยังคงอนุรักษ์ของเดิมไว้ 

สิงห์โบราณและใบเสมาคู่

สิงห์โบราณและใบเสมาคู่ ใบสีมาหรือเสมารอบพระอุโบสถ เป็นหลักเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานที่ถวายให้เป็นของสงฆ์ สำหรับให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม เช่น ลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์ อุปสมบท กรานกฐิน ตามหลักของพระธรรมวินัย ใบสีมารอบพระอุโบสถวัดทองทั่วเป็นใบสีมาคู่ สันนิษฐานว่าพระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชศรัทธาสร้าง หรือมีพระประสงค์ให้สร้างหรือบูรณะ หรือไม่ก็เป็นเจ้าเมืองจันทบุรีในสมัยนั้นสร้าง แล้วขอพระราชทานเป็นพระอารามหลวง วัดนั้นจึงจะตั้งใบสีมาคู่ได้ ในจันทบุรีมี 2 วัด คือ วัดทองทั่ว และวัดกลาง ที่มีประวัติการสร้างมานาน ตามลักษณะของใบสีมาจัดอยู่ในสมัยนิยมอยุธยา มีรูปเทวดาถือดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา ผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นศิลปะศรีวิชัย บางท่านว่าในสมัยอยุธยาก็มีที่เป็นศิลปะแบบนี้อาจจะทำเลียนศิลปะศรีวิชัยก็ได้

พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชญ์ หรือหลวงพ่อทอง

พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพชญ์ หรือหลวงพ่อทอง  เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่คู่มาเดิมกับพระอุโบสถตามหลักฐานที่สร้างวัดในระหว่าง พ.ศ. 2310-2318 ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในพ.ศ.ใด เพราะต้องสร้างพระอุโบสถเรียบรอยแล้วจึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาได้ ตามคำบอกเล่าของอดีตเจ้าอาวาส และคนเก่าแก่รวมทั้งการบันทึกค่าใช้จ่ายในการบูรณะปฏิสังขรณ์สมัยพระครูโสภณ สมณวัตร (ท่านพ่อฟู โสรโต) เมื่อปี พ.ศ. 2471 เมื่อออกพรรษาแล้วได้กึ่งเดือนกรานต์กฐินแล้วเสร็จ (ทอดกฐินแล้ว) พระยามานิตกุลพัทธ ได้บริจาคเงิน 325 บาท และพระพิสิษฐสมุทรได้บริจาคเงิน 119 บาท กับเจ้าอาวาสคือพระอธิการฟู โสรโตพร้อมด้วยทายกทายิกาชาววัดทองทั่วได้บูรณะอุโบสถพร้อมพระประธาน ซึ่งองค์พระประธานได้เอียงทรุดไปทางด้านซ้ายมือขององค์พระ จึงได้เกณฑ์ชาวบ้านช่วยกันดีดแล้วค้ำยันองค์พระให้ตั้งตรง เมื่อดีดองค์ขึ้นตรงแล้วส่วนฐานพระประธานปูนและอิฐหลุดกระเทาะ ตรงด้านหน้าฐานพระเรียกว่าผ้าทิพย์ ได้พบงาช้างกลึงสวยงาม ภายในโกศมีกระดูก 2 ชิ้น มีผ้าดิ้นลายพื้นสีออกม่วงห่อ แต่ไม่ปรากฏว่าห่อกระดูกหรือห่อโกศไว้ ผ้าผืนนี้เปื่อยยุ่ยมากแล้วแต่ยังพอเห็นลายยกเป็นรูปดอกไม้ และได้พบแผ่นทองคำรูปใบโพธิ์ได้เขียนจารึกว่า "พระอัฐิ พระเจ้าตาก พระยาจันทบุรีเป็นผู้นำมาไว้" ก็ยังไม่สามารถสืบรู้ได้ว่าพระยาจันทบุรีผู้นี้เป็นใครและนำมาไว้เมื่อไร สันนิษฐานแล้วคงจะนำมาไว้เมื่อสมัย รัชกาลที่ ๑ เมื่อถวายพระเพลิงพระศพเรียบร้อย แต่ทำไมต้องนำมาไว้ที่วัดทองทั่วนี้ด้วย ยังเป็นข้อสงสัยที่ยังขาดความกระจ่าง แล้วยังพบพระยอดธงเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน และเนื้อชินเป็นจำนวนมาก ได้ทราบว่าพระยามานิตกุลพัทธ และพระพิสิษฐสมุทร ได้นำพระยอดธงไปส่วนหนึ่ง ในการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ยังมีหลักฐานชัดเจนอยู่ด้านหลังพระประธานมีจารึกลงแผ่นปูนว่า ปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.2472 พระอธิการฟู ผู้จัดการหมดเงินพันสิบบาททั้งฉลองด้วย และมีการสร้างเหรียญรูปพระประธานอุโบสถ พระพุทธสุวรรณมงคล (หลวงพ่อทอง) แจกเป็นที่ระลึกด้วย

    อดีตเจ้าอาวาสและคนเก่าคนแก่ยังเล่าต่อว่า ภายหลังแผ่นทองคำและพระยอดธงทองคำ ทั้งสมบัติอันมีค่าหลายอย่าง รวมทั้งเงินและทองคำของชาวบ้านที่นำมาฝากไว้กับท่านพ่อฟู ทองคำรวมกันแล้วท่านว่าหนักประมาณ 40 กว่าบาท ถูกโจรกรรมไปจนหมดสิ้น ท่านพ่อฟูท่านถึงกับคิดจะสึกเพื่อหาเงินหาทองมาใช้คืนชาวบ้าน แต่ชาวบ้านขอนิมนต์ท่านไว้แล้วได้รวบรวมเสียสละกันคนละเล็กคนละน้อย ใช้คืนแทนท่านพ่อ เมื่อหลักฐานชิ้นสำคัญหายไปก็ไม่ได้มีการเปิดเผย นอกจากคนเก่าแก่ของวัดเท่านั้นที่รู้เรื่อง แต่ในปัจจุบันก็แทบไม่มีใครรู้จริง เพียงแต่เล่าว่าได้ฟังมาอีกต่อหนึ่งเท่านั้น

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

ศาลาการเปรียญ พิพิธภัณฑ์วัดทองทั่ว

ศาลาการเปรียญ พิพิธภัณฑ์วัดทองทั่ว เราดูสิ่งสำคัญต่างๆ มากมายหลายอย่างในเขตกำแพงแก้วรอบโบสถ์แล้ว ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ขอบอกว่ายังมีอะไรอีกมากมายบนศาลาการเปรียญที่สร้างให้เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์วัดทองทั่ว ต่อติดกับศาลาเข้าไปด้านในอีกด้วย

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

พระพุทธรูปโบราณ

พระพุทธรูปโบราณ เป็นสมบัติเก่าแก่ของวัด ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่มีทางเข้าออกทางเดียวคือต้องผ่านศาลาการเปรียญขึ้นมา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการดูแลรักษา ควบคู่ไปกับโบราณวัตถุอีกมากมายหลายชิ้น โดยเฉพาะตู้พระไตรปิฎกเก่าแก่ รูปเคารพที่มีมากับเมืองเพนียดที่สร้างแบบขอม และอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องได้ขึ้นมาดูมาศึกษาด้วยตัวเอง โดยเฉพาะทับหลังสภาพสมบูรณ์เป็นทับหลังที่พบในเมืองเพนียด 3 ชิ้น อยู่ที่วัดทองทั่ว 1 ชิ้น อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร 1 ชิ้น และบนเขาพลอยแหวน จันทบุรี 1 ชิ้น

ทับหลังเมืองเพนียดรูปเคารพเมืองเพนียด

ย้อนรอยเมืองเพนียด วัดทองทั่ว

ตราชั่งโบราณ

ตราชั่งโบราณ เป็นตราชั่งแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจริงๆ แต่ดูขนาดแล้วคงจะชั่งน้ำหนักของเล็กๆ น้อยๆ โบราณวัตถุมากมายที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดทองทั่วยังมีอีกมากมาย แต่คงต้องเอามาให้ชมเท่านี้ก่อน สนใจเดินทางเข้าไปชมได้ทุกวัน ที่วัดทองทั่ว เมืองเพนียดพันปี แห่งจันทบุรี

ขอขอบคุณ กองประชาสัมพันธ์ภายในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ โบราณสถานเมืองเพนียด วัดทองทั่ว จันทบุรี
แอท ริมน้ำ จันทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.55 km | แผนที่ | เส้นทาง
Green 2 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
Green Terrace กรีน เทอร์เรซ รีสอร์ท แอนด์ เรสเตอรอง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
มณีจันท์ รีสอร์ท แอนด์ สปอร์ตคลับ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.79 km | แผนที่ | เส้นทาง
ซิปังโต้ รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ อพาร์ตเมนต์ 0 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 34 ตร.ม. – อำเภอเมือง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
อพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 24 ตร.ม. – อำเภอเมือง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
เบดกัสซั่ม โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมริมน้ำ กลางจันท์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมเคพี แกรนด์ จันทบุรี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ โบราณสถานเมืองเพนียด วัดทองทั่ว จันทบุรี
วัดไผ่ล้อม จันทบุรี
  5.22 km | แผนที่ | เส้นทาง
อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี
  5.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
ถนนอัญมณี จันทบุรี
  5.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านท่าเรือจ้าง
  5.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร จันทบุรี
  5.96 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเขตร์นาบุญญาราม จันทบุรี
  6.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดโบสถ์เมือง จันทบุรี
  6.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนสาธารณะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี
  7.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลหลักเมืองจันทบุรี
  7.57 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี
  7.66 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com