www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กระบี่ >> ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ตั้งอยู่ที่ 141 หมู่ที่ 6 (บ้านแหลมโพธิ์) ตำบล ไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่อยู่ห่างจากตัวเมืองกระบี่ ไปตามถนน กระบี่-สุสานหอยฯ ประมาณ 16กิโลเมตรเป็นพื้นที่อยู่ติดกับสุสานหอย75ล้านปีและมีที่ทำการ ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร

ความเป็นมา

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกรมประมงหรือเดิมคือ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดกระบี่สังกัดกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกรมประมงได้รับการก่อสร้าง ตามโครงการเพาะเลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยของกรมประมง ซึ่งจัดทำขึ้นภายใต้สภาวะการณ์ในปี พ.ศ.2528 – 2529 โดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และจาก OPEC FUND ร่วมกับเงินสมทบ จากรัฐบาลไทยเป็นเงินงบประมาณในการก่อสร้าง 83,145,939.00 บาท ใช้พื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองจิหลาดเป็นพื้นที่ 93 ไร ่ 3 งาน 45 ตาราวา ก่อสร้างแล้วเสร็จและกองนโยบายและแผนงานประมง ได้ส่งมอบให้กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อ ปี พ.ศ. 2536 และเปิดดำเนินการในปีเดียวกัน

ผลงานวิจัย
2544
1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะและอนุบาลกุ้งเหลือง
2. ปัจจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพันธุ์ปลากะรัง
2545
1. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะและอนุบาลปลาหูช้าง
2. ชีววิทยาการสืบพันธุ์และการเพาะพันธุ์เบื้องต้นปลาจะละเม็ดเทา
3. การเลี้ยงปลากะรังแดงจุดฟ้าจากธรรมชาติในกระชังที่ระดับความถี่ของการให้อาหารต่าง ๆ กัน
2546
1. การเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของลูกปลาเฉี่ยวหิน
ที่เลี้ยงด้วยอาหาร 3 ชนิด
2. ผลของความถี่การให้อาหารต่อการเจริญเติบโตของปลา
กะรังเหลืองจุดฟ้า
3. พัฒนาการคัพภะและลูกปลาวัยอ่อนของปลาเก๋าเสือ
พิเศษ นวัตกรรมปลาการ์ตูน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน 13 สายพันธุ์แห่งแรกในประเทศไทย
2551
1. คัพภะวิทยาและพัฒนาการของลูกปลาช่อนทะเลวัยอ่อน
2. การอนุบาลลูกปลากะรังหงส์ ด้วยอาร์ทีเมียที่เสริมน้ำมันระดับต่างๆ

 โทร. 0-7566-2059-62
http://www.fisheries.go.th/cf-krabi/index.htm
 E-mail : cf-krabi@dof.in.th ,crkrabi@yahoo.com

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทร. 0 7562 2163
http://www.tourismthailand.org/krabi

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 37429

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ด้านหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

ด้านหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ที่มีปลาการ์ตูนเป็นจุดเด่นของที่นี่หลังจากที่ได้พยายามวิจัยการเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนและเผยแพร่ความรู้สู่เกษตรกร จนสามารถเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนได้ถึง 13 สายพันธุ์เป็นแห่งแรกของไทย รายละเอียดงานวิจัยอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fisheries.go.th/cf-krabi/Data1/anemo.pdf

ปลาการ์ตูนฝูงใหญ่

ปลาการ์ตูนฝูงใหญ่ เพียงเริ่มแรกย่างก้าวเข้ามาก็จะได้เห็นการจัดแสดงปลาจำนวนมากหลากหลายสายพันธุ์และแน่นอนว่าจะได้พบเห็นปลาการ์ตูนชนิดต่างๆ ในตู้ที่เรียงกันหลายใบ นอกจากนี้ยังมีบ่อขนาดใหญ่ให้นักท่องเที่ยวเดินชมรอบๆ ตามขอบบ่อ

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน เจ้าปลาการ์ตูนที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหนังที่โด่งดังมีตัวสีส้มลายแถบขาว 3 แถบ เป็นปลาการ์ตูนที่พบเห็นได้บ่อยจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของปลาการ์ตูน แต่ถ้าจะศึกษารายละเอียดของปลาการ์ตูนลงไปให้ดีๆ จะรู้ว่า ปลาการ์ตูนเป็นปลาที่ถูกจัดอยู่ในครอบครัวปลาสลิดหิน (damselfishes, family pomacentridae) (สุภาพร, 2543) ปัจจุบันปลาการ์ตูนทั่วโลกที่สํารวจพบ และได้รับการจําแนกแล้วมี 28 ชนิด เป็นสกุล (genus) Amphiprion จํานวน 27 ชนิด และ สกุล Premnas อีก 1 ชนิด คือ spine-cheek anemone fish, Premnas biaculeatus ซึ่งลักษณะที่ใช้แยกปลาสกุลนี้ออกมาคือ มีหนามขนาดใหญ่ (enlarged spine) บริเวณใต้ตา (Allen, 1997) อุ่นจิต (2537) กล่าวว่า ปลาการ์ตูนที่พบในน่านนํ้าไทยมี 7 ชนิด แบ่งเป็นฝั่งอันดามัน 5 ชนิดได้แก่ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดีย ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง และปลาการ์ตูนแดงดํา ส่วนปลาการ์ตูนที่พบในอ่าวไทยมี 2 ชนิด คือ ปลาการ์ตูนอานม้า และปลาการ์ตูนอินเดียแดง แต่ ธรณ์ (2544) กล่าวว่า ปลาการ์ตูนลายปล้องสามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน นอกจากนั้นยังพบปลาการ์ตูนส้มขาว และ ปลาการ์ตูนอินเดียที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส (อ่าวไทย) อีกด้วยปลาการ์ตูนพบได้เฉพาะในเขตมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกบางส่วน ในธรรมชาติปลาการ์ตูนจะอยู่ไม่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล ดังนั้นเราจะพบปลาการ์ตูนได้ก็ต่อเมื่อได้พบดอกไม้ทะเลเท่านั้น แม้ว่าดอกไม้ทะเลจะมีเข็มพิษแต่กลับไม่ทําอันตรายต่อปลาการ์ตูน ทําให้ปลาการ์ตูนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในดอกไม้ทะเล โดยธรรมชาติพบว่า ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดมีความเจาะจงต่อชนิดของดอกไม้ทะเลที่อาศัยอยู่ด้วย แต่ก็มีปลาการ์ตูนอีกหลายชนิดที่สามารถอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลได้หลายชนิด ปลาการ์ตูนแต่ละชนิดจะมีรูปแบบสีที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งปกติจะประกอบไปด้วยสีส้ม แดง ดํา เหลือง และส่วนใหญ่จะมีแถบสีขาวพาดขวางลําตัว 1-3 แถบ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของปลาการ์ตูนก็ว่าได้อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นปลาการ์ตูนชนิดเดียวกันแต่มักมีสีแตกต่างกันบ้าง ปลาที่อาศัยต่างสถานที่กันอาจมีสีที่แตกต่างกันได้เรียกลักษณะเช่นนี้ว่าความผันแปรของสี (color variation) โดยปกติปลาการ์ตูนจะอยู่กันเป็นคู่ ในดอกไม้ทะเลดอกหนึ่ง จะมีปลาตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัวเท่านั้น แต่อาจมีปลาขนาดเล็กอาศัยร่วมอยู่ด้วย ปลาตัวเมียจะมีขนาดโตกว่าตัวผู้และตัวอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด และทําหน้าที่เป็นผู้นํา คอยปกป้องอาณาเขตที่เป็นที่อาศัยของมัน ถ้าปลาตัวเมียตายไป จะมีปลาตัวใหม่เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วและกลายเป็นตัวเมียแทน หรือหมายความว่า ปลาการ์ตูนสามารถเปลี่ยนเพศจากเพศผู้เป็นเพศเมียได้ Allen (1997) กล่าวว่า ปลาการ์ตูนวางไข่ครั้งละหลายร้อยฟองบริเวณฐานของดอกไม้ทะเล ซึ่งมีหนวดของดอกไม้ทะเลปกคลุม ทําให้ไข่มีความปลอดภัย พ่อปลาจะคอยดูแลไข่หลังจากนั้น 6-7 วัน ไข่จะฟักเป็นตัวและล่องลอยไปตามนํ้า ใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์จากนั้นปลาต้องหาดอกไม้ทะเลเพื่อเป็นที่อยู่ ไม่อย่างนั้นปลาจะตายเนื่องจากอดอาหาร หรือถูกกิน ปลาการ์ตูนที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะสืบพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 1.2 ปี แต่ในธรรมชาติปลาบางตัวอาจจะไม่มีโอกาสในการสืบพันธุ์ถ้าปลาคู่เดิมยังมีชีวิตอยู่ เห็นได้ว่าในธรรมชาติปริมาณปลาการ์ตูนถูกควบคุมด้วยจํานวนของดอกไม้ทะเล http://www.fisheries.go.th/cf-krabi/Data1/anemo.pdf

เที่ยวชมภายในบ่อเพาะพันธุ์

เที่ยวชมภายในบ่อเพาะพันธุ์ ในบ่อแห่งนี้มีอีกหลายชีวิตให้ศึกษามากกว่าปลาการ์ตูน อย่างเช่นเต่าทะเล ปลาทะเลชนิดอื่นๆ แหวกว่ายไปมา

เต่าทะเลในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

เต่าทะเลในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่

ปลาดาวมากมายหลายชนิด

ปลาดาวมากมายหลายชนิด หลายๆ ชนิดที่ได้เห็นที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ก็ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน รูปร่างของปลาดาวมีหลากหลายกว่าที่คิดและที่สำคัญใต้ท้องปลาดาวมันไม่ใช่ผิวเรียบๆ อย่างที่จินตนาการไว้ครับแต่เป็นปุ่มๆ จำนวนมากทำให้มันยึดเกาะพื้นผิวต่างๆ ได้ดี

ปลาทะเลสวยงามหลายชนิด

ปลาทะเลสวยงามหลายชนิด นี่เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งที่จะพบเห็นในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ยังมีปลาอีกมากมายครับ สวยๆ ทั้งนั้น

บ่ออนุบาลไข่ปลา

บ่ออนุบาลไข่ปลา

ลูกปลาจำนวนมากในบ่ออนุบาล

ลูกปลาจำนวนมากในบ่ออนุบาล ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่สำหรับแสดงสัตว์น้ำ ปลาทะเลสวยๆ เต่าทะเลเท่านั้นยังเป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ เพื่อเพาะเลี้ยงและจำหน่ายรวมทั้งส่งออก ศูนย์วิจัยมีผลงานการวิจัยต่างๆ มากมายอย่างต่อเนื่องผู้ที่สนใจธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่ายมาหาความรู้ที่นี่ได้ตลอดครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่
4 Bedroom Amatapura Vila 2 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.80 km | แผนที่ | เส้นทาง
ดอว์น ออฟ แฮปปี้เนส รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.87 km | แผนที่ | เส้นทาง
3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 250 ตร.ม. – อ่าวน้ำเมา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.88 km | แผนที่ | เส้นทาง
กระบี่ ทรอปิคอล บีช รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.91 km | แผนที่ | เส้นทาง
Amatapura Beachfront Villa 14 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.91 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ เชลล์ซี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.97 km | แผนที่ | เส้นทาง
อมตะปุระ บีช วิลล่า 1 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.97 km | แผนที่ | เส้นทาง
Amatapura Beach Villa 10 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
Krabi Paradiso เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
อมตะปุระ บีช วิลลา 12 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.12 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com