www.touronthai.com

หน้าหลัก >> เชียงใหม่ >> โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

 โรงงานที่ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำรีเพื่อผลิตอาหารสำเร็จรูปจากพืชผักผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกตามการส่งเสริมของโครงการหลวง และสถานีเกษตรหลวง โดยเฉพาะในพื้นที่ดอยอ่างขางที่ได้ทรงก่อตั้งสถานีเกษตรหลวงขึ้นเป็นแห่งแรกและเป็นต้นแบบของสถานีเกษตรหลวงอีกหลายแห่งทั่วประเทศ โดยหากย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินดอยอ่างขาง พบว่าชาวบ้านทำการปลูกฝิ่นอยู่ทั่วภูเขา จึงทรงริเริ่มก่อตั้งโครงการสถานีเกษตรหลวง ให้ชาวบ้านหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทนฝิ่น โดยตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางตัดราคาของพืชผลด้วยการสร้างโรงงานแปรรูปอาหารและรับซื้อผลผลิตจากชาวบ้านโดยตรง นอกเหนือจากเป็นการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดร้ายแรง ยังทำให้ชาวบ้านมีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและลูกหลานได้มีงานทำในโรงงานหลวงแห่งนี้ด้วย

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ ฝาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเษตร ช่วยเหลือเกษตรกรและยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอนและดอยอ่างขาง ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต เป็นที่รวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้ นิทรรศการ วัตถุสะสม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้เชิงนิเวศน์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมประเพณี เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศแบบบูรณาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสะท้อนชวิตความเป็นอยู่และความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างแท้จริงบนเนื้อที่ 20 ไร่ 

    ส่วนของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตประกอบด้วย

    โรงงานแปรรูป บ่อบำบัดน้ำเสีย โรงเล่าเรื่อง สถานีอนามัยพระราชทาน สวนลิ้นจี่และสมุนไพร ห้องหนังสือ

    การเรียนรู้จากชุมชนรอบบ้านยางที่แสดงให้เห็นวิถีชีวิตในด้านวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ อาหาร ความเชื่อ การหาเลี้ยงชีพด้วยการค้าการเกษตร 

    การเรียนรู้ของชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟู รักษาตลอดจนอนุรักษ์หน้าดินและป่าไม้ การอนุรักษ์น้ำการสร้างฝาย การปลูกพืชทดแทน และการผลิตไฟฟ้าของโรงงานไฟฟ้าบ้านยาง

    การเรียนรู้จากเว็บไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาอันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องต่างๆ เชื่อมโยงกับองค์กรที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนโรงงานหลวงฯ 

ข้อมูลเพิ่มเติม:Tel. 053-051-021
https://www.facebook.com/firstroyalfactory

แก้ไขล่าสุด 2017-02-12 02:48:56 ผู้ชม 6674

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง พื้นที่ของโรงงานหลวงมีอาคารอยู่หลายหลังด้วยกัน เป็นอาคารหลังใหญ่ๆ เหมือนกับโรงงานที่เราเห็นทั่วไปแต่หลังคาออกแบบด้วยศิลปะผสมอาคารแบ่งออกเป็น 2 ฟากมีถนนคั่นกลาง ด้านหนึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารซึ่งไม่ได้เปิดให้เราเข้าไปชม ส่วนอีกฟากเป็นพิพิธภัณฑ์ ที่มีเรื่องราวความเป็นมาของโรงงานแห่งนี้ และย้อนไปถึงเรื่องราวโครงการหลวงที่เปลี่ยนการปลูกฝิ่นมาเป็นพืชผักผลไม้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างสถานีเกษตรหลวงขึ้นที่ดอยอ่างขางเพื่อให้ชาวเขาได้เปลี่ยนมาปลูกพืชเศรษฐกิน และส่งผลผลิตมาที่โรงงานแห่งนี้เพื่อแปรรูป

เครื่องใช้ชาวเขา

เครื่องใช้ชาวเขา ห้องแรกที่เดินเข้ามาในพิพิธภัณฑ์เราจะได้เห็นข้าวของเครื่องใช้หลายๆ ชิ้น เช่นอานม้า ตะเกียง และอีกหลายอย่างสำหรับการปลูกและการเก็บเกี่ยวฝิ่นซึ่งเลิกใช้ไปแล้ว ของใช้เหล่านี้เป็นของที่เคยใช้งานจริงมาก่อน และชาวบ้านได้บริจาคให้มาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์

ความเป็นมาของดอยด่างขาง

ความเป็นมาของดอยด่างขาง เป็นวิดีโอเรื่องราวประวัติความเป็นมาของดอยอ่างขางที่พระบาทสมเด็จพะรเจ้าอยู่หัวได้ทรงทอดพระเนตรเห็นและมีพระราชดำริสร้างโครงการนี้ขึ้นอย่างครบวงจร หาพืชปลูกแทนฝิ่น หาตลาดให้กับผลผลิตของชาวบ้าน และในที่สุดก็มีโรงงานหลวงแห่งนี้ขึ้นเพื่อรับเอาผลผลิตเหล่านั้นมาทำการแปรรูปในชื่อ "ดอยคำ" นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงมีพระเมตตาห่วงใยปวงประชา รูปในวิดีโอมีมากมายหลายรูปแต่ที่สะดุดตาที่สุดที่เราเลือกมาให้ชมกันคือรูปชาวเขาที่ปลูกฝิ่นและในที่สุดก็สูบฝิ่นเสียเอง พอมีลูกก็ให้ลูกมาช่วยขนฝิ่นปลูกฝิ่นด้วยจึงเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข จนกระทั่งมีโครงการสถานีเกษตรหลวงอ่างขางขึ้นจากพระปรีชาสามารถในการแก้ปัญาแบบบูรณาการของพระบาทสมเด็จพะรเจ้าอยู่หัวของเราโดยแท้

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

นิทรรศการ 360 องศา

นิทรรศการ 360 องศา จากห้องชมวิดีโอความเป็นมาและปัญหาของดอยอ่างขาง เดินเข้ามาอีกห้องเราจะได้เห็นภาพประวัติศาสตร์เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินดอยอ่างขางมากมายหลายสิบภาพ แสดงอยู่ในห้องรูปวงกลมให้เราได้ศึกษาไปรอบๆ ห้องพร้อมเจ้าหน้าที่บรรยายทุกภาพทุกลำดับเหตุการณ์ เช่น ภาพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2513 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ไปยังหมู่บ้านดอยป่าคา อ.ฝาง ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวมูเซอดำ ฯลฯ

ภาพประวัติศาสตร์ดอยอ่างขาง

ภาพประวัติศาสตร์ดอยอ่างขาง รอบๆ ห้อง นิทรรศการ 360 องศา มีอยู่หลายภาพที่เห็นแล้วปลื้มปิติไปกับชาวเขาที่อยู่ในรูปเหล่านี้ แต่มีอยู่ภาพหนึ่งที่เราเห็นว่าเป็นภาพที่หายากมากและเพิ่งเคยเห็นภาพนี้เป็นคร้้งแรก คือภาพพระบาทสมเด็นพระเจ้าอยู่หัว ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร์เพื่อทรงรับข้อมูลโดยตรงจากชาวบ้าน โดยเสด็จขึ้นประทับบนเรือนของชาวเขาอย่างไม่ถือพระองค์ และเสวยน้ำที่ชาวบ้านถวาย

รถยนต์พระที่นั่ง

รถยนต์พระที่นั่ง เป็นรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงพระราชทานไว้ให้ใช้ในโครงการหลวง ตอนนี้เก็บรักษาเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ โดยในครั้งนั้นหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ผู้ติดตามใกล้ชิด ทำงานสนองพระราชดำริในการก่อตั้งและดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้โครงการสำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้รับพระราชทานรถยนพระที่นั่งคันนี้เพื่อใช้ในการเดินทางต่างๆ

โรงงานหลวงในอดีต

โรงงานหลวงในอดีต ในการเริ่มก่อสร้างโรงงานหลวง ตอนนั้นยังไม่ได้มีสภาพเป็นอาคารถาวรใหญ่โตอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้ แต่ค่อยๆ พัฒนาเติบโตมาเรื่องๆ ตามลำดับ จนในปีพ.ศ. 2549 เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนรอบๆ ลุ่มน้ำแม่งอน ซึ่งหมายถึงโรงงานหลวงแห่งนี้ด้วย น้ำท่วมในคราวนั้นสร้างความเสียหายให้โรงงานหลวงอย่างมาก แล้วจึงมีการสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่ เป็นอาคารที่แข็งแรงทนทานอย่างในทุกวันนี้

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

นิทรรศการชาวบ้านยาง

นิทรรศการชาวบ้านยาง เป็นภาพที่ถ่ายโดยคุณชำนิ ทิพย์มณี ที่ถ่ายภาพชาวบ้านยางที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงงานหลวง ชาวบ้านยางเป็นชุมชนที่รวมกันขึ้นมาจากชาวเขาหลายเชื้อชาติได้แก่จีน ไทยใหญ่ (ฉาน) ไทยภูเขา และนับถือศาสนาต่างๆ กันทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม แต่อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารขององค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

ความทรงจำอันขมขื่น

ความทรงจำอันขมขื่น เป็นหนึ่งห้องใหญ่ๆ ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่จัดแสดงเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อ 8 ตุลาคม 2549 ครั้งนั้นอาคารโรงงานได้รับความเสียหายเยอะมาก แต่ก็ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้งในเวลาอันรวดเร็ว 

ศาลเจ้าแม่กวนอิมพระราชทาน

ศาลเจ้าแม่กวนอิมพระราชทาน จากโรงงานหลวงมองสูงขึ้นไปบนเนินเขา จะเห็นศาลเจ้าแบบจีนตั้งอยู่ บนเขานั้นเป็นที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมที่งดงาม ที่ทรงพระราชทานแก่ชาวบ้านยางเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยมจิตใจของชาวบ้านที่นับถือพุทธมหายาน 

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

จากศาลเจ้าแม่กวนอิมพระราชทาน เราจะมองเห็นพื้นที่ของโรงงานหลวงและหมู่บ้านได้อย่างกว้างขวาง อาคารด้านขวาของถนนคือโซนพิพิธภัณฑ์ที่เราเพิ่งเดินเข้าไป ส่วนด้านซ้ายเป็นโรงงานที่ไม่ได้เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าไปเยี่ยมชม จากตรงนี้เราจะเห็นโรงงานที่ใหญ่โตสร้างขนานกันไปกับลำน้ำแม่งอนสายน้ำที่ครั้งหนึ่งเคยถาโถมพัดเอาทุกสิ่งทุกอย่างพังลงไป จนทุกวันนี้อาคารสถานีอนามัยพระราชทาน ที่สร้างขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพของชาวบ้านก็ยังคงมีรอยคราบระดับน้ำท่วมหลงเหลือเอาไว้ให้ดูกันด้วย ตอนนี้สถานีอนามัยพระราชทานไม่ได้เปิดบริการไปแล้วเพราะมีโรงพยาบาลอยู่ไม่ไกลมาก

เท่านี้เราก็ได้รู้จักความเป็นมาของโครงการหลวง และสินค้าที่มีมาตรฐานด้านคุณภาพสูงทุกขั้นตอนของการผลิต เริ่มตั้งแต่การปลูก การตรวจสอบ การนำมาแปรรูป ภายใต้ชื่อ "ดอยคำ" กันมากขึ้นพอสมควรแล้ว 

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคเหนือมา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) เชียงใหม่
BANSUKSIRI เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  14.81 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านลมเย็น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  15.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
Deluxe guest room with excellent view เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  15.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทรายมูลบุรี รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  16.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
อ่างขาง เนเจอร์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  19.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านพักนาหา เชียงใหม่
  19.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
Ton Fang Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  20.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
AumHum Homestay เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  22.77 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมฝาง โมเดิร์น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมชญาภา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.34 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com