www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สงขลา >> เขาเก้าเส้ง

เขาเก้าเส้ง

 เขาเก้าเส้ง ห่างจากหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า หัวนายแรง ว่า ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย

 ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า เขาเก้าแสน เรียกเพี้ยนไปเป็น เก้าเส้งก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่าหัวนายแรง ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานหาดใหญ่ 0 7423 1055, 0 7423 1055, 0 7423 8518
http://www.tourismthailand.org/hatyai

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 23702

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
เส้นทางสู่เขาเก้าเส้ง(วัดเขาเก้าแสน)

เส้นทางสู่เขาเก้าเส้ง(วัดเขาเก้าแสน) วัดเขาเก้าแสนหรือเขาเก้าเส้งตั้งอยู่บนภูมิประเทศอันเหมือนเขาลูกเล็กๆ ติดทะเลแต่ไม่มีหาดทรายมีเพียงโขดหินขนาดใหญ่รอบๆ ฝั่งทะเล มีพื้นที่ไม่มากล้อมด้วยชุมชนชาวประมงอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทางเข้าออกจากแหลมนี้มี 2 ทาง แต่เส้นทางที่จำง่ายที่สุดคือทางที่เห็นนี้แต่เป็นสะพานที่แคบมากช่วงทางแยกปากทางเข้าอยู่ตรงทางโค้งหักศอกของถนนชลาทัศน์ที่มาบรรจบกับถนนเก้าแสนพอดี ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ สะพานแห่งนี้ตีเส้นแบ่งกลางเหมือน 2 เลน แต่รถคันเดียววิ่งเข้าไปจะเต็มสะพานพอดีสวนกันไม่ได้

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อขับรถเข้ามาตามเส้นทางสายหลักเรื่อยๆ จะมีป้ายบอกทางเลี้ยวเข้าวัดเขาเก้าแสนทางซ้ายมือ หากไม่เลี้ยวแล้วยังขับตรงมาอีกจะเจอสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง แต่เปิดให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าเท่านั้น หน้าศูนย์มีทางแยกซ้ายมือ เป็นทางแคบๆ ลาดชันและขรุขระแต่ดูแล้วน่าจะขึ้นไปยังวัดเขาเก้าแสนได้เหมือนกันเลยลองขับตามทางนั้นจนถึงวัด แต่ทางนี้จะแคบมากและไม่แนะนำ หากเดินทางมาที่วัดเขาเก้าแสนให้เลี้ยวซ้ายแยกแรกที่มีป้ายบอกจะดีกว่าครับหากสงสัยลองขยายแผนที่ดูภาพดาวเทียมจะเห็นได้ชัดขึ้น

วิหารพระพุทธมารดา

วิหารพระพุทธมารดา ในที่สุดก็มาถึงพื้นที่ลานจอดรถของวัดเขาเก้าแสน เป็นลานเล็กๆ มีต้นไม้พอให้ร่มเงาได้แต่ไม่มากสำหรับเวลาช่วงเที่ยงอย่างวันนี้ ลานจอดรถเล็กๆ นั้นอยู่หน้าวิหารพระพุทธมารดาประตูกระจกที่ปิดไว้สามารถเปิดเข้าไปได้แต่ที่ต้องปิดเพื่อป้องกันหมาไม่ให้เข้าไปด้านใน ข้างวิหารพระพุทธมารดามีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัยโดดเด่นอยู่กลางวัด

พระพุทธรูปปางประสูติ

พระพุทธรูปปางประสูติ เป็นพระพุทธรูปปางประสูติที่งดงามมากสีทองอร่ามการสร้างพระพุทธรูปปางประสูตินั้นเริ่มมาจากลุมพินีวัน (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล) อันเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ ต่อมาพระพุทธรูปปางนี้ได้แพร่หลายเข้ามายังเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปีมานี้ด้วยความเชื่อที่มีมานานแล้วว่า ผู้ที่ได้บูชาพระพุทธรูปปางประสูติ จะเป็นผู้ได้เริ่มต้นชีวิตอันเจริญรุ่งเรือง เพราะปางประสูติเป็นอากัปกิริยาเริ่มแรกของพระพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธรูปปางประสูติวัดเขาเก้าแสนประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระพุทธมารดา หลังจากไหว้พระแล้วก็ออกไปไหว้พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานอยู่ใกล้ๆ วิหาร

พระพุทธเมตตา

พระพุทธเมตตา อยู่กลางลานวัดสร้างฐานและลานทักษินรอบองค์พระที่ฐานมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดและพระสังกัจจายน์ คาถาบูชาพระพุทธเมตตาว่าดังนี้

ตั้งนะโม 3 จบ
วันทามิ อิมัง พุทธะเมตตาปฏิมัง อิมัสมิง คะยาสีสา ปูชาระเห สักการะภูเต เจติยัง สุปะติฏฐิตังฯ อิมินา ปะนะ วันทะมาเนนะ มา เม ทะลิททิยัง อะหุฯ พะหุชะนานัง ปิโย โหมิ มะนาโป สาธุ โน ภันเต อิเมหิ อะภิปูชะยามิฯ
น้อมจิตอธิษฐานกล่าววาจา ด้วยการกราบไหว้บูชานี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าเลย ขอให้ข้าพเจ้าเป็นที่รักที่พอใจของคนทั่วไปด้วยเทอญ

ทางเดินขึ้นสักการะพระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง

ทางเดินขึ้นสักการะพระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง เป็นทางเดินสลับกับผิวหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีบางช่วงเท่านั้นที่จะมีการปูด้วยหินบ้างสร้างด้วยคอนกรีตบ้างตามความเหมาะสมของพื้นที่ ระยะทางไม่ไกลมากนักก็มองเห็นพระเจดีย์สง่าอยู่บนยอด

พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง

พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง เมื่อเดินมาบนผิวหินก้อนใหญ่สุดทางจะเป็นทางขึ้นบันไดไปยังหินที่อยู่สูงขึ้นไปอีก ที่มองเห็นจากตรงนี้พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้งสร้างบนลานและล้อมด้วยไม้อย่างเรียบง่ายมีธงปักไว้ องค์พระธาตุห่มด้วยผ้าเหลือง กว่าจะเดินมาถึงตรงนี้ร้อนมากๆ ครับพอขึ้นไปแล้วจะไม่มีร่มไม้ด้วยเพราะต้นไม้ที่เราเห็นอยู่ตรงสุดบันไดมีกิ่งยาวไม่พอให้ร่มเงามาถึงตรงพระเจดีย์

บันไดยอดเขาเก้าเส้ง

บันไดยอดเขาเก้าเส้ง เป็นทางเดินช่วงสุดท้ายในการขึ้นมาบนยอดเขา รวมๆ แล้วระยะทางประมาณ 100 เมตรเท่านั้นเองจากลานพระพุทธเมตตาเมื่อขึ้นไปสุดของบันไดนี้ก็จะเป็นลานหินหน้าพระเจดีย์แล้วครับ

พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง

พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง พระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2372 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2402 พระเจดีย์นี้เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ท้องถิ่นภาคใต้) เป็นพระเจดีย์ทรงลังกาฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน เป็นโบราณสถานเด่นบนยอดเขาริมทะเล

วิวบนยอดเขาเก้าเส้ง

วิวบนยอดเขาเก้าเส้ง ด้านหน้าที่เป็นที่สำหรับกราบไหว้บูชาพระเจดีย์บอดเขาเก้าเส้งเป็นหินกว้างขนาดใหญ่แนวยาวๆ มองไปเห็นท้องทะเลสีครามเหนือหลังคาวิหาร ลมพัดเย็นบนลานหินเพียงแต่แดดร้อนมากครับได้เวลาลงไปที่อื่นๆ ในวัดเขาเก้าแสนกันต่อ

พระพุทธเมตตากับวิหารพระพุทธมารดา

พระพุทธเมตตากับวิหารพระพุทธมารดา เดินกลับลงมาจากเจดีย์บนยอดเขาเก้าเส้งจะเห็นพระพุทธเมตตาจากอีกมุมหนึ่ง

เขาเก้าเส้ง

ศาลปู่ทวดนายแรง

ศาลปู่ทวดนายแรง มาถึงจุดเด่นอีกจุดหนึ่งของวัดเขาเก้าแสนคือศาลปู่ทวดนายแรงตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า หัวนายแรง ว่า ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึงเก้าแสนบรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า เขาเก้าแสน เรียกเพี้ยนไปเป็น เก้าเส้งก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่าหัวนายแรง ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้

การเดินไปยังศาลปู่ทวดนายแรง

การเดินไปยังศาลปู่ทวดนายแรง จากหน้าพระพุทธเมตตาจะเดินไปที่ศาลปู่ทวดนายแรงได้ตามโขดหินที่เห็นอยู่นี้ท่ามกลางแสงแดดแผดจ้า ไม่มีต้นไม้รอบๆ บริเวณเมื่อมองจากหาดชลาทัศน์จะมองเห็นหินก้อนใหญ่มีผ้าสีแดงพันรอบให้สงสัยกันว่าหินนี้คืออะไรกันแน่ แม้ว่าจะแดดร้อนและต้องเดินไปบนหินแต่ก็มีคนมาไหว้ศาลปู่ทวดนายแรงและเยี่ยมชมวัดเขาเก้าแสนแห่งนี้เป็นประจำ

หินใหญ่เขาเก้าเส้ง

หินใหญ่เขาเก้าเส้ง หินที่เห็นอยู่นี้เป็นหินที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากอยู่ขอบลานหินที่เรากำลังเดินอยู่ดูเหมือนน่าจะหล่นลงไปแต่ก็ไม่หล่น

ปลางทางโขดหินที่เขาเก้าเส้ง

ปลางทางโขดหินที่เขาเก้าเส้ง ตอนนี้ก็มองเห็นส่วนปลายสุดของลานผาหินแล้วครับ ที่บนลานหินนี้มีรูปปั้นนางเงือกอยู่ 2 แห่ง มองไกลๆ เหมือนคนนั่งอยู่บนนี้จริงๆ

ศาลปู่ทวดนายแรง

ศาลปู่ทวดนายแรง เอาละครับในที่สุดก็มาถึงศาลปู่ทวดนายแรงกับหินขนาดใหญ่มากและมีผ้าสีแดงพันรอบมองเห็นแต่ไกลยังความสงสัยให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหาดชลาทัศน์ แต่บางคนก็มีโอกาสได้มาเห็นว่าสิ่งที่เห็นแต่ไกลนั้นคืออะไรกันแน่ แต่อีกหลายคนที่ไม่ได้พิสูจน์ มาให้เห็นกับตา ก็ต้องพาเอาความสงสัยกลับบ้านไปด้วย (เหมือนที่ผมมาสงขลาครั้งแรกๆ ก็ได้แต่มองเพราะตอนแรกไม่รู้ว่ามีทางเข้าไปได้)

เขาเก้าเส้ง

เขาเก้าเส้ง หินที่ขอบผา อย่างที่เห็นนี้ละครับหินที่เราเดินอยู่นี้เป็นหินที่มีขนาดใหญ่มาก สุดขอบของหินมองลงไปเหมือนผาเล็กๆ ริมทะเลส่วนหินที่พันผ้าสีแดงข้างศาลปู่ทวดนายแรงก็อยู่ปริ่มๆ ขอบผาเหมือนกำลังจะตกลงไป ด้านล่างมีทางเดินลงไปได้ด้วยครับเดินเล่มริมทะเลตามโขดหินคลื่นสีขาวซัดเข้ามาเป็นระยะๆ เสียงคลื่นฟังดูเพราะดี แต่แดดร้อนไปหน่อยโดยเฉพาะเมื่อเราเดินอยู่บนหิน

วิวเขาเก้าเส้ง

วิวเขาเก้าเส้ง นอกเหนือจากศาลปู่ทวดนายแรงแล้วที่นี่ยังมีวิวสวยๆ ให้เราได้ชมกัน ท้องทะเลสีครามกับวันฟ้าใสท่ามกลางโขดหินริมทะเลรู้สึกสดชื่นมากครับนานๆ จะได้อยู่กลางบรรยากาศแบบนี้ซักที

เงือกเขาเก้าเส้ง

เงือกเขาเก้าเส้ง เมื่อเดินชมรอบๆ บริเวณศาลปู่ทวดนายแรงแล้ว ก็จะเดินกลับเห็นรูปปั้นเงือกที่อยู่บนหินจากทางด้านหลัง เหมือนเงือกกำลังมองหาดชลาทัศน์อยู่ จากเก้าเส้งจะมองเห็นแนวหาดที่ทอดยาวและต้นสนเขียวที่ชายฝั่ง หาดทรายที่ยาวมากๆ นี้คือหาดชลาทัศน์นั่นเอง

ทางเดินกับเกาะกลาง

ทางเดินกับเกาะกลาง ก่อนที่จะเดินขึ้นไปบนลานหินกว้างๆ ที่มีศาลปู่ทวดนายแรง จะผ่าซอกหินอยู่จุดหนึ่ง เป็นซอกหินที่แคบมากๆ เหมือนถนนกับเกาะกลางถนนถ้าหากรูปร่างท้วมหน่อยเป็นอันว่าจะเดินลอดซอกหินนี้ไปไม่ได้ แต่ก็มีอีกหลายทางให้เดินอ้อมขึ้นไป

หมู่บ้านชาวประมงเขาเก้าเส้ง

หมู่บ้านชาวประมงเขาเก้าเส้ง จากวัดเขาเก้าแสนเมื่อยืนอยู่บนผาหินมองเห็นหาดชลาดทัศน์และหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่อยู่ริมทะเลที่ยังคงมีวิถีชีวิตชาวประมงแบบดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ทางออกจากเขาเก้าเส้ง

ทางออกจากเขาเก้าเส้ง กลับออกมาจากวัดเขาเก้าแสนถึงสะพานแห่งเดิมที่เข้าไปในตอนแรก

เรือประมงบนหาดชลาทัศน์

เรือประมงบนหาดชลาทัศน์ เมื่อถึงปากทางเลี้ยวขวา แต่ทางที่ดีแนะนำให้เลี้ยวซ้ายครับแล้วค่อยไปกลับรถทางโค้งหักศอกตรงนี้หากรอเลี้ยวขวาแล้วจะนานมาก ปากทางเข้าเก้าเส้งนี้มีปั๊มน้ำมันบริการ มีร้านสะดวกซื้อ และเลียบริมทางถนนเก้าแสนไปจะเป็นแผงขายของกินต่างๆ เรียงรายให้เลือกหาไว้แก้หิว กลับรถมายังสุดถนนเก้าแสนเลี้ยวซ้ายไปถนนชลาทัศน์เจอเรือชาวประมงจอดรอซ่อมอยู่บนหาดเลยเก็บภาพสวยๆ มาฝากจากเขาเก้าเส้ง ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ เขาเก้าเส้ง สงขลา
เก้าเส้ง รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมทีซี แกรนด์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.81 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรม กรีนเวิลด์ พาเลซ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
Pimnada mansion เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
สงขลา เมอร์เมด โฮเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมราชมังคลาเมอเมด
  4.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
แอลเรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
ซัน ซิตี้ แมนชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
ดับบลิวโซเทล โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมวีว่า สงขลา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.51 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com