www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สุรินทร์ >> วัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม

 วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ที่ถนนกรุงศรีใน ตำบลในเมือง ใกล้กับศาลากลางจังหวัด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของจังหวัด คือ หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม นอกจากนี้ผู้มาเยือนยังได้แวะนมัสการรูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ อตุโลอีกด้วยวัดบูรพารามนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีอายุประมาณ 200 ปี เท่ากับอายุเมืองสุรินทร์ สร้างโดยพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดบูรพารามขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2520

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ) 0 4451 8152
http://www.tourismthailand.org/surin

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 26481

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
วัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม หลังงานตักบาตรบนหลังช้างกลางเมืองสุรินทร์ จากนั้นก็ออกเดินทางมาที่วัดบูรพารามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก เข้ามาในวัดมีลานจอดรถอยู่ที่หน้าพระอุโบสถของวัดซึ่งเป็นจุดแรกที่จะเข้าชมบริเวณวัด ลักษณะของอุโบสถค่อนข้างสูงหน้าบันขนาดใหญ่มีรูปลวดลายต่างๆ สวยงาม จากด้านบนสุดเป็นพระพุทธรูป ถัดลงมาเป็นเทวดามี 6 กร ช่องประตูทางเข้าอุโบสถมี 2 ช่อง กำแพงแก้วสร้างด้วยเอกลักษณ์ประดับด้วยบันไดนาคสั้นๆ ศิลปะแบบขอม คล้ายกับปราสาทหินต่างๆ ใช้สีทองทั้งหมดลานประทักษินค่อนข้างกว้างมาก

พระประธานวัดบูรพาราม

พระประธานวัดบูรพาราม  ในอุโบสถขนาดใหญ่ประดิษฐานพระประธานลักษณะคล้ายพระพุทธชินราช ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง 2 ชั้น ฐานชั้นล่างประดิษฐานพระอัครสาวกซ้ายและขวา ในพระอุโบสถวัดบูรพาราม เคยเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระอัฐิธาตุ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เป็นต้น มีบุษบกสวยงามเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะได้ตลอดวัน ปัจจุบันย้ายไปที่ พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ

กำแพงแก้ว

กำแพงแก้ว รอบอุโบสถเป็นฐานที่ตั้งใบเสมาทั้ง 8 มีช่องทางเดินเข้าออกใช้ศิลปะเหมือนปราสาทขอมสมกับเป็นเมืองสุรินทร์

พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ

พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ หลังจากที่ไหว้พระประธานในโบสถ์แล้วไม่ควรพลาดที่จะเข้ามาที่นี่ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา ด้วยหลังคาลดหลั่นหลายชั้นซ้อนกันลงมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นสถานที่แสดงพระพุทธรูปโบราณหลายองค์ รูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล (พระราชวุฒาจารย์) ภายในประดับอย่างสวยงามกว้างขวางมากเดี๋ยวเราเข้าไปชมด้านในกันเลยดีกว่า

รูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

รูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล เด่นเป็นสง่าอยู่ผนังด้านในสุด นอกจากรูปเหมือนลักษณะหุ่นขี้ผึ้ง แล้วยังมีรูปที่หล่อด้วยโลหะ ด้านหน้าเป็นอัฐิธาตุ ในลูกแก้วใส ให้ประชาชนและศิษยานุศิษย์ได้มาสักการะ ผนังด้านหลังของรูปเหมือนหลวงปู่เป็นภาพพระพุทธรูปที่มีลวดลายงดงามมาก

พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ

พิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ ภายในมีภาพฝาผนังบูรพาจารย์ หลายท่านซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ภาพฉากหลังเป็นภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเป็นภาพคล้ายกับการเจริญวิปัสสนาภายในป่าเขาอันวิเวกตามแบบของพระสายกรรมฐาน ผนังส่วนล่างเป็นลายช้างสามเศียรเหมือนกันทั้งหมด สีพื้นของผนังเป็นสีโทนอ่อนเมื่อเข้าไปภายในรู้สึกสงบสบาย โล่งกว้าง

รูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล

รูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล รูปเหมือนลักษณะหุ่นขี้ผึ้ง อยู่ในห้องอีกด้านหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ แล้วยังมีพระพุทธรูปและพระอัฐิธาตุต่างๆ มากมายให้ประชาชนได้เข้ามากราบสักการะ

วัดบูรพาราม

วิหารหลวงพ่อพระชีว์

วิหารหลวงพ่อพระชีว์  หลังจากเข้าสักการะหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ในพิพิธภัณฑ์กัมมัฏฐาน-อัฐิธาตุ เสร็จแล้วต้องไม่ลืมอย่างยิ่งที่จะเดินลึกเข้ามาภายในวัดกราบพระศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นพร้อมกับวัดบูรพารามแห่งนี้ คือหลวงพ่อพระชีว์ หรือ หลวงพ่อประจี ในวิหารหลังนี้



    วิหารหลวงพ่อพระชีว์ เป็นศาลาทรงจตุรมุข ยกฐานสูงมีลานประทักษินที่พื้นล่าง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ลานประทักษินมีซุ้มประตูเข้าออกได้ 2 ซุ้มอยู่ด้านหน้าวิหารซ้ายและขวา ใกล้กับบันไดนาคขึ้นวิหาร ด้านหน้าตรงกลางวิหารสร้างเป็นห้องเล็กๆ ประดิษฐานหลวงพ่อองค์จำลองสำหรับจุดเทียนธูปบูชากราบไหว้ขอพรข้างล่างเพราะบนวิหารไม่ให้จุดธูปเทียนครับ

หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี)

หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี)  ประวัติการสร้าง จากบันทึกของทางวัดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุขก่ออิฐถือปูนอยู่ด้านตะวันตกของพระอุโบสถปัจจุบัน สำหรับหลวงพ่อพระชีว์ องค์นี้นับว่าแปลกอย่างหนึ่งคือ ไม่สามารถสืบประวัติได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อไร และท่านผู้ใดเป็นคนปรารภมา พอถามคนแก่อายุร้อยปี ก็ได้คำตอบว่าเคยถามคนอายุร้อยปีเหมือนกัน เขาก็บอกว่าเห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้มาแล้ว โดยสรุปก็สามารถสืบสาวไปได้แค่ 200 ปีก็จบ และไม่ทราบว่าผู้ใดสร้างและสร้างเมื่อไร สันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์ 



    และก็สันนิษฐานกันต่อไปว่าทำไมจึงชื่อว่า หลวงพ่อพระชีว์ เป็นชื่อแต่เดิม มี "ว" การันต์ คือ "ชีวะ" ก็คงจะเป็น "ชีวิต" ซึ่งอาจยกย่องท่านว่าเป็นเสมือนเจ้าชีวิต หรือเป็นยอดชีวิต ของคนสมัยนั้นกระมัง ข้อสันนิษฐานอีกทางหนึ่งก็ว่า อาจจะเกี่ยวกับลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้ชื่อนี้อาจจะได้ไม้พิเศษ หรือดินพิเศษมาจากลำชี มาปั้นเป็นองค์ท่านกระมัง จึงได้ชื่ออย่างนี้ เคยกราบเรียนถามหลวงปู่ท่านก็ไม่ทราบประวัติของหลวงพ่อพระชีว์ เช่นเดียวกัน ท่านว่าก็เห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้แหละ แต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่เล็กจนโตมาก็ถามคนโบราณเช่นเดียวกัน เขาก็ว่า "ก็เห็นอยู่อย่างนี้" ถ้าย้อนนึกถึงสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่า แถวสุรินทร์ซึ่งถือเป็นเมืองบ้านนอกมีความอัตคัด เรื่องพระพุทธรูปที่จะกราบไหว้กันเหลือเกิน เมื่อสมัย 100 ปี หรือ 70-80 ปีที่ผ่านมา หรือย้อนไปถึง 200 ปี จะเห็นว่าแถวนี้ไม่มีพระพุทธรูปสำริด หรือทองเหลือง มีเพียงพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้ หรือดินปั้น ซึ่งก็ไม่ได้ปั้นให้ได้ปุริสลักษณะที่แท้จริง เพียงแต่ทำขึ้นเสมือนหนึ่งว่าสมมติให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้นสมัยนั้นจึงไม่มีพระพุทธรูปที่งดงามกราบไหว้ 



    ด้วยเหตุนี้กระมัง คนสุรินทร์สมัยนั้นจึงไม่ค่อยสวยงาม ไม่ค่อยมีลักษณะที่ดี เพราะการสร้างพระพุทธรูปไม่ได้พระพุทธรูปที่งาม เมื่อกราบติดอกติดใจก็ไม่ได้ลูกเต้าที่งดงามกระมัง ในสมัยนั้นแถวจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หรือแถบอิสานใต้ ยังไม่มีพระพุทธรูปปั้นองค์ไหนที่งดงาม หรือมีลักษณะที่มีอำนาจและก็ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับหลวงพ่อพระชีว์เลย ด้วยท่านมีขนาดใหญ่และดูเคร่งขรึมมีอำนาจน่าเกรงขาม ชาวบ้านจึงนับถือท่านในด้านความศักดิ์สิทธิ์ แม้ทางราชการในสมัยที่ข้าราชการมีการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก็ต้องมาทำพิธีต่อหน้า หลวงพ่อพระชีว์ องค์นี้เองด้วยความเคารพนับถือท่านในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจึงเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาลให้เขาสำเร็จประโยชน์โสตถิผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แถวสุรินทร์ และบุรีรัมย์ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่หมิ่นเหม่ต่ออันตรายด้วยการเป็นเป้าหมายโจมตีทางอากาศ สมัยนั้น พ.ศ. 2488 พวกอาตมายังเป็นเด็ก เรียน ป.1-ป.2 จะมีเครื่องบินวนเวียนไปทิ้งระเบิดแถวกัมพูชา และแถบสุรินทร์-บุรีรัมย์ ชาวบ้านตกอกตกใจ ก็ได้แต่ไปกราบไหว้ขอบารมีหลวงพ่อพระชีว์เป็นที่พึ่ง ขออย่าให้บ้านเมืองถูกระเบิดเลย หรือเครื่องบินมาแล้วก็อย่าได้มองเห็นบ้านเมือง

วัดบูรพาราม

พระเก่าแก่ในวิหารหลวงพ่อพระชีว์ เป็นเทพพนมหล่อด้วยโลหะอยู่เบื้องซ้ายและเบื้องขวา ลักษณะดูเก่าแก่มีอายุนับร้อยปี ส่วนภาพขวาเป็นพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกริยา อยู่บนฐานเบื้องหน้าของหลวงพ่อพระชีว์

    วัดบูรพารามกำลังดำเนินการก่อสร้างมหาเจดีย์บูรพาจารย์ เพื่อเป็นการระลึกถึงหลวงปู่ดุลย์ อตุโล, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน, หลวงปู่เปลี่ยน โอภาโส สนใจร่วมบริจาคสมทบทุนทำบุญได้ที่ พระครูโสภณธรรมรังสี โทร. 087-9635273 หรือโอนเข้าบัญชี วัดป่าโยธาประสิทธิ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสุรินทร์ เลขที่ 559-263167-6 

    จบการนำเที่ยววัดสำคัญจังหวัดสุรินทร์ วัดบูรพาราม ไว้เท่านี้ก่อนครับหากมีโอกาสคงได้แวะมาอัพเดตเรื่องราวของวัดนี้กันอีก

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดบูรพาราม สุรินทร์
ทีเค แมนชั่น สุรินทร์
  0.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะไลออน เรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
อพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 16 ตร.ม. – เมืองสุรินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.55 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านช้างต้น เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
เมโทร เรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.04 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมทองธารินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
ฮ็อป อินน์ สุรินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.32 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมมณีโรจน์ สุรินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.34 km | แผนที่ | เส้นทาง
Mileplace เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดบูรพาราม สุรินทร์
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
  0.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง(ปุม) สุรินทร์
  1.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีตักบาตรบนหลังช้าง
  1.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
แคมป์ช้าง
  3.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดป่าโยธาประสิทธิ์ สุรินทร์
  5.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
  7.26 km | แผนที่ | เส้นทาง
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง
  8.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์
  10.78 km | แผนที่ | เส้นทาง
ห้วยเสนง สุรินทร์
  12.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม สุรินทร์
  19.69 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com