www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สุรินทร์ >> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์-ปราสาท หมู่ที่ 13 ตำบลเฉนียง มีการจัดแสดงเป็น 4 ส่วน คือ อาคารที่ 1 เป็นโถงทางเข้าและทางเดิน อาคารที่ 2 เป็นส่วนการศึกษา ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องกิจกรรม ห้องรับรอง ห้องสมุด อาคารที่ 3 เป็นอาคารจัดแสดงและสำนักงาน ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการชั่วคราว ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ อาคารที่ 4 เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องคลังโบราณวัตถุ ห้องปฏิบัติการอนุรักษ์และสงวนรักษา เนื้อหาการจัดแสดงในห้องนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากรได้รับความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นช่วยค้นคว้าและรวบรวม โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 เรื่อง คือ ธรรมชาติวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์เมือง ชาติพันธุ์วิทยา และมรดกดีเด่นประจำจังหวัด โดยจัดแสดงในอาคารที่ 3 ดังนี้

    ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาในด้านต่างๆ ประวัติศาสตร์โบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์เมืองตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมรดกดีเด่นในเรื่องการเลี้ยงช้าง ชั้นบน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายเขมร ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายกูย และชาวไทยโคราช ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และมรดกดีเด่นในงานหัตถกรรมและศิลปะการแสดงพื้นบ้านในด้านต่างๆ

    พิพิธภัณฑ์นี้เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4451 3358 หรือ http://www.thailandmuseum.com

ข้อมูลเพิ่มเติม:สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4451 3358 หรือ
http://www.thailandmuseum.com

แก้ไขล่าสุด 2017-05-05 16:45:41 ผู้ชม 14818

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ


ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์

ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ เริ่มต้นที่จะเดินทางศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสุรินทร์เมืองช้างกันตรงนี้เลย

โครงกระดูกช้าง

โครงกระดูกช้าง เป็นช้างที่อยู่ในสุรินทร์เกิดและตายที่สุรินทร์ พิพิธภัณฑ์ได้ขอมาจากชาวบ้านเพื่อนำมาตั้งแสดงให้คนที่สนใจได้หาความรู้

ขนมพื้นบ้านสุรินทร์

ขนมพื้นบ้านสุรินทร์ พอเข้ามาในอาคารห้องแรกในส่วนนี้จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์โซนที่ 1. ธรรมชาติวิทยา เนื้อหาประกอบด้วย สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงเรื่องข้าวและการทำนาด้วย เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง โดยใช้เทคนิคการจัดแสดงที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้ชมมีความเข้าใจเนื้อหา และเกิดความเพลิดเพลินในการเข้าชม และที่เราจะได้เห็นคือขนมพื้นบ้านของชาวบ้านจังหวัดสุรินทร์ซึ่งมีข้าวเป็นส่วนประกอบ เช่นขนมโช้ค ขนมอันซอมออบ ขนมอันซอม และขนมโตนดหรือขนมตาล

ขนมพื้นบ้านสุรินทร์

ขนมพื้นบ้านสุรินทร์ นอกจากขนม 4 อย่างในรูปบนยังมีขนมอีก 6 อย่างที่เราจะได้เห็นในสุรินทร์แต่ไม่ค่อยได้เห็นในที่อื่นๆ ได้แก่ ขนมเนียงเล็ด (บางที่เรียกนางเล็ด) ขนมเลี้ยด (เหมือนข้าวโพดคั่ว) ขนมกะตางราง ขนมกะมอล ยังมีขนมกันเตรือมด้วยนะหน้าตาเหมือนโดนัทเลย

2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี

2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้คน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบหลักฐานในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 - 1,500 ปีมาแล้ว สมัยวัฒนธรรมทวารวดีซึ่งเริ่มประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 สมัยวัฒนธรรมขอมมีอายุประมาณตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 - 18 จนถึงสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง-อยุธยาในพุทธศตวรรษที่ 24 ในการจัดแสดง จะจำลองสภาพชีวิตและพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสมัยทวารวดี ขอม และอยุธยา-ล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ หุ่นจำลองโบราณสถานประกอบการฉายวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ชมได้เกิดความเข้าใจในการศึกษาทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะที่พบในจังหวัดสุรินทร์ 

เครื่องปั้นดินเผา ประวัติศาสตร์

เครื่องปั้นดินเผา ประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุในสมัยเดียวกันกับเมืองโบราณของจังหวัดสุรินทร์แต่หลักฐานที่พบในสุรินทร์ไม่ค่อยมีสภาพสมบูรณ์ทางพิพิธภัณฑ์ต้องนำเครื่องปั้นดินเผานี้มาจากนครราชสีมาเพื่อแสดงให้ชมแทน

โครงกระดูกมนุษย์โบราณ

โครงกระดูกมนุษย์โบราณ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสุรินทร์มีชาวบ้านอาศัยอยู่มาเป็นเวลานานนับพันปี

เรื่องราวเมืองสุรินทร์ในสมัยขอม

เรื่องราวเมืองสุรินทร์ในสมัยขอม ด้วยเหตุที่เมืองสุรินทร์มีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา แม้มีแนวเทือกเขาพนมดงรักเป็นกราการกั้นเขตแดน แต่ก็สามารถเดินทางข้ามไปมาหาสู่กันได้ โดยใช้เส้นทางข้ามช่องเขา เช่น ช่องจอม อำเภอกาบเชิง และช่องตาเมือน อำเภอพนมดงรัก เป็นต้น ทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่บนที่ราบสูงในบริเวณนี้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนการค้าและวัฒนธรรม กับผู้คนในเขตที่ราบลุ่มริมทะเลสาบเขมรต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายและสมัยประวัติศาสตร์ตราบจนปัจจุบัน

    พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ได้ปรากฏร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และรูปแบบศิลปกรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากศิลปะขอมหรือเจนละมาตั้งแต่ครั้งสมัยก่อนเมืองพระนคร อาทิ ประติมากรรมรูปพระหริหระหินทรายศิลปะแบบพนมดา ราว พ.ศ. 1100-1150 พบในเขตอำเภอพนมดงรัก และศิลาจารึกอีกหลักหนึ่ง ณ วัดชุมพลสุทธาวาส อำเภอเมืองสุรินทร์ ได้กล่าวถึงพระเจ้าจิตรเสนกษัตริย์ผู้ทรงพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำมูล ชี ในเขตภาคอีสานตอนล่างและตอนกลางของลุ่มน้ำโขง ภายหลังพระองค์ได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์ในอาณาจักรเจนละแตกแยกเป็นสองฝ่ายหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 13 ภูมิภาคนี้ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเจนละบก ชุมชนที่บ้านภูมิโปน อันมีเทวาลัยปราสาทภูมิโปน ศิลปะแบบไพรกเมง ราว พ.ศ. 1180-1250 เป็นศูนย์กลาง นับเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกถึงพัฒนาการทางสังคมและความสัมพันธ์ดังกล่าว

การฝังศพแบบโบราณ

การฝังศพแบบโบราณ สำหรับชาวเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณที่เป็นจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ในอดีตมีคนอาศัยอยู่เมื่อตายไปก็จะมีพิธีการฝังศพตามความเชื่อแบบสมัยนั้น คือเอาศพไปฝังพอนานไปศพเหลือแต่กระดูกก็จะขุดขึ้นมาเอากระดูกใส่ไหดินเผาขนาดใหญ่แล้วฝังอีกครั้ง หลักฐานที่เหลือคือไหขนาดใหญ่ที่ใช้ฝังศพจริงๆ

ทับหลัง

ทับหลัง เป็นของโบราณที่ชาวบ้านในจังหวัดสุรินทร์นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้

วัตถุโบราณ

วัตถุโบราณ มีอยู่มากมายหลายชิ้น วัตถุโบราณที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์จะได้มาจากการขุดค้นพบในแหล่งโบราณสถานต่างๆ โดยเฉพาะปราสาทศีขรภูมิของสุรินทร์พบมากมายหลายชิ้นด้วยกันได้แก่

บันแถลงจำหลักรูปพระยมทรงกระบือ ทำจากหินทราย สูงประมาณ 43 ซม. ศิลปะลพบุรี หรือขอมแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ชิ้นนี้ได้จากการบูรณะปราสาทศีขรภูมิ 

กลีบขนุนจำหลักภาพท้าวกุเวรทรงคชสีห์ ทำจากหินทรายสูง 83 ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะขอมแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ได้จากปราสาทศีขรภูมิ

ฯลฯ

3. ประวัติศาสตร์เมือง

3. ประวัติศาสตร์เมือง  เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกูยช่วยจับช้างเผือกที่หลุดมาจากกรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตย ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดง จะจำลองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต โดยจำลองลงในตู้จัดแสดง ให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีตมาจนเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบัน 

    อาณาจักรขอมเสื่อมลงประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ไม่มีหลักฐานการอยู่อาศัยมากนัก จนประมาณปี พ.ศ. 2200 กลุ่มชนเชื้อสายกูยอพยพเข้ามาอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ.2302 มีช้างเผือกแตกโรงจากกรุงศรีอยุธยา เข้ามาในบริเวณนี้ กลุ่มชนเชื้อสายกูยที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวได้ร่วมกับขุนนางจากราชสำนัก คล้องช้างกลับไปได้จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ และตั้งชุมชนเป็นบ้านเมืองในราวพุทธศตวรรษที่ 22 กลุ่มชนเชื้อสายลาวได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชน 3 กลุ่ม คือเขมร ลาวและกูย มาจนปัจจุบัน

    แม้จะไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยามากนัก แต่ก็ยังเห็นร่องรอยการซ่อมสร้างโบราณสถานที่มีมาก่อนหน้านี้โดยกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ เช่นที่ปราสาทศีขรภูมิ ปรากฏจารึกถึงพระเถระผู้ใหญ่และแสนท้าวพระยาร่วมกันบูรณะในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 22-23 ที่ปราสาทเมืองท้าว อำเภอเมืองสุรินทร์ ปราสาทแก้ว ปราสาททอง อำเภอ เขวาสินรินทร์ ปราสาทหมื่นศรีน้อย อำเภอสำโรงทาบ เป็นต้น ก็ปรากฏร่องรอยการบูรณะซ่อมแซม โดยกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาใหม่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตในและเป็นศูนย์รวมของชุมชนตราบจนปัจจุบัน

พิธีแต่งงานของชาวสุรินทร์

พิธีแต่งงานของชาวสุรินทร์ เป็นส่วนหนึ่งของโซนที่  4. ชาติพันธุ์วิทยา เนื้อหาจะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ ที่ประกอบด้วยชน 4 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวกูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง ชาวเขมร กลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์มานานแล้ว ชาวลาว กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่หลังสุด และชาวไทยโคราช เป็นชนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบจังหวัดนครราชสีมา ในการจัดแสดง จะจำลองให้เห็นวิถีชีวิตของคนกลุ่มต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน หุ่นจำลองการประกอบพิธีกรรมของชาวไทยกูย ไทยเขมร ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยลาวและชาวไทยโคราช ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชนที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touchscreen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด 

การทอผ้า

การทอผ้า เป็นอีกโซนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ โซนที่  5. มรดกดีเด่น เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมต่างๆ การละเล่นเจรียงแบบต่างๆ รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดง จะใช้หุ่นจำลอง ภาพถ่าย และวีดีทัศน์ เป็นสื่อให้เห็นถึงการผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม หุ่นจำลองและวีดีทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้าง และวีดีทัศน์ ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีตและยังคงรับใช้ชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โบราณวัตถุที่จัดแสดง จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืชและสัตว์ เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประติมากรรมและชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเขมร อาวุธโบราณ เครื่องประดับเงิน ผ้าไหม ฯลฯ 

เครื่องเงินโบราณ

เครื่องเงินโบราณ

ทิงโทน

ทิงโทน ห้องนี้เป็นห้องสุดท้ายของพิพิธภัณฑ์ก่อนจะถึงทางออก ภายในห้องนี้เกี่ยวกับช้างทั้งหมด นับตั้งแต่ชาวกูยหรือกวยเข้ามาอาศัยอยู่นในสุรินทร์ ชาวกูยานเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่กับป่ามีภูมิปัญญาในการจับช้างและเลี้ยงช้าง อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับช้างทั้งหมดมีแสดงให้เราได้ศึกษาหาความรู้ในห้องนี้ อย่างที่เราเห็นในภาพนี้เรียกว่า ทิงโทน ใช้วางบนหลังช้างเพื่อวางข้าวของเครื่องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ต้องนำติดตัวออกไป

เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวกูย

เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวกูย เป็นภาพสุดท้ายของการพาเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่เราคงไม่สามารถนำมาให้ชมได้ทั้งหมด หากสนใจลองไปศึกษากันได้ทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร และวันนักขัตฤกษ์ 

ทีมงานทัวร์ออนไทย ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
สวนป่า รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
เกษมการ์เดน โฮเต็ล สุรินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
เภตรา รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ เกรซ เรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
อพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 16 ตร.ม. – เมืองสุรินทร์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.96 km | แผนที่ | เส้นทาง
Sorin Boutique Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
เอ็น จอย เพลส เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุรินทรา รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.14 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านช้างต้น เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.34 km | แผนที่ | เส้นทาง
Slive Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  7.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์
วัดป่าโยธาประสิทธิ์ สุรินทร์
  1.86 km | แผนที่ | เส้นทาง
แคมป์ช้าง
  4.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีตักบาตรบนหลังช้าง
  6.01 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสาวรีย์พระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง(ปุม) สุรินทร์
  6.03 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
  7.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
ห้วยเสนง สุรินทร์
  7.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดบูรพาราม สุรินทร์
  7.26 km | แผนที่ | เส้นทาง
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง
  13.78 km | แผนที่ | เส้นทาง
สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์
  18.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม สุรินทร์
  18.85 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com