www.touronthai.com

หน้าหลัก >> ปราจีนบุรี >> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ทางด้านหลังของศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี ประมาณ 200 เมตร เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทประวัติศาสตร์โบราณคดี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของโบราณวัตถุในเขต 7 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี ตราด และระยอง ภายในมีการจัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปเคารพในศาสนาฮินดู ศิวลึงค์ ทับหลัง เครื่องใช้สำริด และ จัดแสดงศิลปะในประเทศไทยสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบ รวมทั้งเครื่องถ้วยสังคโลกที่พบใต้ทะเลจากบริเวณเกาะคราม จังหวัดชลบุรี นอกจากนั้นยังจัดสถานที่ส่วนหนึ่งสำหรับนิทรรศการชั่วคราวในโอกาสต่าง ๆ ด้วย

 โดยในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Thailand Tourism Awards) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี ได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทแหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม จากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี 2547

เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมวันพุธ-วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร

อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท
 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3721 1586

การเดินทาง ใช้เส้นทางสายกรุงเทพ – นครนายก – ปราจีนบุรี หรือกรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – อ.พนมสารคาม – ปราจีนบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานครนายก (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) โทร. 0 3731 2282, 0 3731 2284
http://www.tourismthailand.org/nakhonnayok

แก้ไขล่าสุด 2016-09-14 11:03:57 ผู้ชม 16767

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
อาคารพิพิธภัณฑ์

อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคาร 2 ชั้นขนาดไม่ใหญ่มากนัก มองจากภายนอกคิดว่าด้านในคงมีโบราณวัตถุให้ชมไม่มากนัก แต่ความเป็นจริงแล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาโบราณวัตถุมากมายในเขตจังหวัดภาคตะวันออก นับเป็นพิพิธภัณฑ์ฮินดูภาคตะวันออกเลยก็ว่าได้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัด ไม่ไกลจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์มากนัก ทำให้หลายคนเดินทางมาเที่ยวที่นี่กันต่อจากการเข้าชมโรงพยาบาลและเลือกซื้อยาสมุนไพร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

สำหรับคนไทยเสียค่าเข้าชม 30 บาท ส่วนชาวต่างชาติจะเก็บคนละ 150 บาท มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจด้านประวัติศาสตร์ ปราสาทขอมโบราณ เดินทางเข้ามาชมกันมาก เพราะเป้นพิพิธภัณฑ์ที่มีโบราณวัตถุมากมายเก็บรักษาไว้ให้ชมจำนวนมากที่สุด นอกเหนือจากเข้ามาศึกษาในพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังมีหนังสือเรื่องราวทางโบราณคดีมากมายหลายเล่มวางขาย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ความโดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือโบราณวัตถุ ที่เกี่ยวข้องกับปราสาทขอมและศาสนาฮินดูในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกของไทย ซึ่งตามหลักฐานโบราณคดี แหล่งปราสาทที่พบในแถบนี้มีอายุเก่าแก่กว่าพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย จึงเชื่อได้ว่าขอมได้ทำการแผ่อิทธิพลการปกครองเข้ามาในไทยทางด้านแถบนี้ก่อนที่จะขยายไปยังภาคอื่นๆ ของประเทศ โบราณวัตถุที่แสดงอยู่นี้เก็บรักษาจากการขุดค้นพบที่แหล่งโบราณสถานหลายแห่งด้วยกัน

การจัดแสดงชั้นล่างของอาคาร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกโดยจัดแสดงโบราณวัตถุที่สำรวจขุดค้นได้จากแหล่งโบราณคดีและเมืองโบราณต่างๆ ในภาคตะวันออกเพื่อแสดงถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองกลุ่มต่างๆ โดยมีวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรเป็นแม่แบบหลักสำคัญ ที่ทรงอิทธิพลอยู่ในภูมิภาคนี้ และแบ่งหัวข้อการจัดแสดงเป็น 2 หัวข้อคือ

1.ประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองปราจีนบุรี แสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่สำรวจขุดได้จากเมืองศรีมโหสถ แสดงร่องรายทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณที่สันนิษฐานว่ารุ่งเรืองขึ้นมาร่วมสมัยกับอาณาจักรฟูนัน มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 6-10 และในราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นศูนย์กลางสำคัญของวัฒนธรรมแบบทวารวดีในภาคตะวันออก ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรได้เข้ามาครอบงำและได้เสื่อมสลายลงในราวพุทธศตวรรษที่ 19

2.โบราณคดีเมืองนครนายก แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมือง เริ่มตั้งแต่การปราฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จากแหล่งขุดที่เขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา และมืองโบรณที่เมืองดงละคร

การจัดแสดงชั้นบนของอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.ศิลปะโบราณคดีในประเทศไทย จัดแสดงตัวอย่างโบราณวัตถุสมัยต่างๆ แสดงวิวัฒนาการของศิลปะในประเทศไทย ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นตั้งแต่ทวารวดี ศรีวิชัย เขมร-ลพบุรี ล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ และแสดงเครื่องถ้วยต่างๆ เช่น เครื่องถ้วยเขมร เครื่องถ้วยสุโขทัย และเครื่องถ้วยเบญจรงค์

2.โบราณคดีใต้น้ำ แสดงการปฏิบัติงานทางโบราณคดีใต้น้ำ เส้นทางเดินเรือ และค้าขายในสมัยโบราณและโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบใต้ท้องทะเล

3.โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในภาพตะวันออก จัดแสดงหลักฐานการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในภูมิภาคนี้ และการพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในที่สุด

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์และปราสาทขอมเดินทางเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์กันเป็นจำนวนมาก ถ้ามาเป็นหมู่คณะจะมีอาจารย์เป็นวิทยากรคอยบรรยายสาระความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุที่แสดงอยู่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ เทวรูป พระพุทธรูป ศิลปะต่างๆ กัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ทับหลัง

ทับหลัง สิ่งที่น่าสนใจที่สุดอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือการแสดงทับหลังหลายแบบด้วยกัน ทับหลังเป็นคำนิยามซึ่งใช้เรียกองคืประกอบของสถาปัตยกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึงศิลาสลักแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทับอยู่เหนือกรอบประตูตั้งของสถาปัตยกรรมเขมรในประเทศกัมพูชา และสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรในกัมพูชา นักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้ใช้ทับหลังนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญในการศึกษาวิวัฒนการทางด้านรูปแบบของศิลปกรรมเขมร ควบคู่กับเสาประดับกรอบประตูซึ่งรองรับทับหลัง สาเหตุที่ใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งสองประเภทนี้ ก็เนื่องจากทั้งทับหลังและเสาประดับกรอบประตูได้สลักจากศิลาทรายซึ่งเป็นวัสดุที่คงทนถาวรมาตั้งแต่สมัยแรกสุดจนกระทั่งถึงสมัยสุดท้าย ในขณะที่องค์ประกอบสถาปัตยกรรมอื่น รวมทั้งตัวปราสาทซึ่งก่อด้วยอิฐในระยะแรกสูญสลายไปเป็นส่วนใหญ่ การศึกษาทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเมื่อเห็นว่ามีวิวัฒนาการด้านศิลปกรรมสอดคล้องไปในทางเดียวกันแล้ว นักวิชาการชาวฝรั่งเศสจึงได้นำไปศึกษาร่วมกับองค์ประกอบอื่นอันได้แก่ หน้าบัน ตัวปราสาท เสาติดกับผนัง ตลอดจนนำไปผนวกกับการศึกษาประติมากรรมทั้งรูปบุคคลรูปสัตว์ จนกระทั่งเชื่อว่าข้อมูลทั้งหมดเป็นไปในทางเดียวกันจึงได้นำไปเทียบเคียงกับศักราชจากศิลาจารึกที่นักอ่านได้ศึกษาไว้แล้ว

ในภาพทับหลังเรียงจากบนซ้าย บนขวา ล่างซ้าย และล่างขวาตามลำดับ

ทับหลังศิลปะ เกาะแกร์
ทับหลังศิลปะ บาปวน-นครวัด
ทับหลังศิลปะ ไพร-กเมง
ทับหลังศิลปะ สมโบร์ไพรกุก

ศิวลึงค์

ศิวลึงค์ เป็นสิ่งที่มักสร้างเอวไว้ในปราสาทประธานของกลุ่มปราสาทหิน เป็นสิ่งที่ทุกคนเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ปราสาทหินโบราณที่พบหลายแห่ง ศิวลึงค์ได้สูญหายไป สำหรับที่แสดงอยู่นี้ เป็นศิวลึงค์ศิลปะทวารวดี อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้มาจากดงศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี นายขั้ว เชียงทอง มอบให้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ในภาพนี้ประกอบไปด้วย ทับหลังแผ่นสี่เหลี่ยมที่อยู่ด้านบนสุด รองรับด้วยเสาที่สลักลวดลายสวยงาม มองลอดเข้าไปจะมีศิวลึงค์ และทวารบาล ศิลปะเขมร แบบนครวัด อายุประมาณ พ.ศ. 1643-1718 พบที่บานโคกสูง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุหลายยุคหลายสมัย เพื่อให้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบ วิวัฒนาการของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นสมัยทวารวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ชิ้นส่วนราชยานคานหาม ศิลปะเขมร แบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. 1720-1773 ได้จากการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทบ้านน้อย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

ลูกปัดหินอาเกต

ลูกปัดหินอาเกต

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

นอกเหนือจากการตั้งแสดงโบราณวัตถุ สิ่งที่น่าชื่นชมสำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ มีนิทรรศการข้อมูลเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุที่ค้นพบเอาไว้มากมาย ง่ายต่อการค้นคว้าหาความรู้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

เมื่อเดินขึ้นมาบนชั้นสองจะมีการจำลองหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่น่าสนใจให้เราได้เห็น เช่นหลุมศพในกองเปลือกหอย พบที่แหล่งขุดหนองโน มีแนวกองเปลือกหอยทับถมเป็นชั้นหนา กองชั้นเปลือกหอยนี้เองที่คนสมัยหลังคือสมัยสำริด (3,100-2,700 ปี) ใช้เป็นที่ฝั่งศพคนตาย พื้นที่แหล่งโบราณคดีหนองโนอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล จึงมีกองเปลือกหอยจำนวนมหาศาลเป็นชั้นหนาๆ เหมือนกับที่จำลองให้ดู

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นส่วนหนึ่งที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี อาจารย์ที่เป็นวิทยากรบรรยาย จะบรรยายความเชื่อมโยงของแต่ละยุคแต่ละสมัยพร้อมกับพาชมข้าวของเครื่องใช้ จุดสังเกตุความแตกต่าง และเอกลักษณ์ของแต่ละยุคทำให้เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับการทัศนศึกษา และเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ ย้อนไปจนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้

โบราณคดีใต้น้ำ

โบราณคดีใต้น้ำ เนื่องจากการค้นพบศิลปโบราณวัตถุในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นจำนวนมาก พร้อมกับการพบหลักฐานเรือสินค้าจมอยู่ในบริเวณอ่าวไทยแถบชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่สัตหีบเรื่อยไปจนถึงจังหวัดตราด ทำให้กรมศิลปากรมีความสนใจที่จะดำเนินงานโบราณคดีใต้น้ำขึ้น เพื่อสำรวจสภาพแหล่งโบราณคดีใต้น้ำในอ่าวไทย กำหนดอายุของหลักฐานที่พบ ศึกษาลักษณะเรือที่ล่ม อันจะทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยให้เริ่มดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2518 ร่วมกับรัฐบาลเดนมาร์กซึ่งได้จัดส่งเจ้าหน้าที่และนักโบราณคดีใต้น้ำมาร่วมดำเนินงาน และฝึกเจ้าหน้าที่ไทยด้วย

การปฏิบัติงานทางโบราณคดีใต้น้ำของกรมศิลปากรกว้างขวางขึ้นในเวลาต่อมา และยังปฏิบัติมาจกถึงปัจจุบัน ถึงขณะนี้ได้มีการพบเรือจมแล้วประมาณ 20 ลำ ในบริเวณอ่าวไทยทั้งหมด ศิลปโบราณวัตถุที่ค้นพบกับซากเรือเหล่านี้ มีทั้งเครื่องสังคโลก เครื่องดินเผาไม่เคลือบ เครื่องถ้วยจีน ส่วนประกอบตัวเรือทั้งไม้และวัตถุอื่น

โบราณวัตถุที่พบนำขึ้นมาบางส่วน เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ และทำการจำลองการทำงานใต้น้ำให้เราชม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ปิดช่วงท้ายของการพาชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโบราณวัตถุที่โดดเด่นของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แก่

ธรรมจักร ศิลปะทวารวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ประติมากรรมแสดงสัญลักษณ์ของการเผยแผ่พระธรรมของพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะทวารวดี อายุประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12-13 พบที่อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ทวารบาล ศิลปะเขมร แบบนครวัด อายุประมาณ พ.ศ. 1643-1718 พบที่บานโคกสูง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะเขมร แบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. 1720 - 1773 เจ้าอาวาสวัดศรีสว่างนารายณ์ อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว มอบให้

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
Ausgust Riverside เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
อรุณสวัสดิ์ ริเวอร์วิว รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  8.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
วรรณิดา การ์เด้น รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  9.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
สันติสุข เพลส เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  15.93 km | แผนที่ | เส้นทาง
Home Stay Baan Suan Mea Ta เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  16.01 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไม้เค็ดโฮมสเตย์
  16.03 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมพีเค รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  18.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านมีสุข รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  19.24 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมวิลลา วิชาลัย เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  20.54 km | แผนที่ | เส้นทาง
Nonplern Garden Home Khaoyai เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  21.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
บ้านเล่าเรื่อง เมืองสมุนไพร ปราจีนบุรี
  1.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดแก้วพิจิตร ปราจีนบุรี
  2.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
บึงบัวปราจีนบุรี
  2.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปราจีนบุรี
  3.89 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดย์สปาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ปราจีนบุรี
  4.19 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดบางคาง ปราจีนบุรี
  6.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดโบสถ์ ปราจีนบุรี
  7.05 km | แผนที่ | เส้นทาง
ถนนดอกคูณ ปราจีนบุรี
  7.54 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสง่างาม ปราจีนบุรี
  9.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ ปราจีนบุรี
  9.83 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com