www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุทัยธานี >> เขาสะแกกรัง

เขาสะแกกรัง

 เขาสะแกกรัง จากบริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรีมีบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาสะแกกรัง หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 3220 จะพบทางแยกขึ้นเขาเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวบริเวณสนามกีฬาจังหวัดไปตามทางขึ้นสู่ยอดเขา จากบนยอดเขาสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุทัยธานีได้กว้างขวาง เป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งย้ายมาจากวัดจันทาราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 ด้านหน้ามีระฆังใบใหญ่ที่พระปลัดใจและชาวอุทัยธานีร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2443 ถือกันว่าเป็นระฆังศักดิ์สิทธิ์ ใครที่ไปเที่ยวอุทัยธานีแล้วไม่ได้ขึ้นไปตีระฆังใบนี้ก็เท่ากับไม่ได้ไปเที่ยวอุทัยธานี

ใกล้กับมณฑปบนยอดเขาสะแกกรังมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 ซึ่งมีพระนามเดิมว่านายทองดี รับราชการตำแหน่งพระอักษรสุนทรศาสตร์ เสมียนตรากรมมหาดไทย และต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ ครั้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี (พระนามเดิมนายทองด้วง) ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดาเป็นสมเด็จพระชนกาธิบดี เมื่อปี พ.ศ. 2338

พระบรมรูปของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขาสะแกกรัง เลยพระราชานุสาวรีย์ไปทางป่าหลังเขา ประมาณ 200 เมตร จะพบ หมุดแผนที่โลก ซึ่งใช้ในการสำรวจแผนที่ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475

ข้อมูลเพิ่มเติม:ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5652 0826, 0 5651 1915
http://www.tourismthailand.org/uthaithani

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 23475

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
วิวเมืองอุทัยธานีบนยอดเขาสะแกกรัง

วิวเมืองอุทัยธานีบนยอดเขาสะแกกรัง เดินทางขึ้นยอดเขาสะแกกรังเพื่อชมวิวยามพระอาทิตย์ตก บนยอดเขาสะแกกรังส่วนหนึ่งเป็นวัดสังกัสรัตนคีรี มีมณฑปรอยพระพุทธบาท ศาลารัชมังคลาภิเษก และวิหารสามารถมองเห็นตัวเมืองอุทัยธานีได้ชัดเจนรวมไปถึงแม่น้ำสะแกกรังอันเป็นสายน้ำแห่งชีวิตของชาวอุทัยธานี

อุทัยธานี

อุทัยธานี ภาพมุมกว้างๆ เห็นทั่วตัวเมืองอุทัยธานี

วิวยอดเขาสะแกกรัง

วิวยอดเขาสะแกกรัง อีกด้านหนึ่งของเขาสะแกกรังเป็นท้องทุ่งนาผืนใหญ่

เขาสะแกกรัง

สัญลักษณ์แห่งสถานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ วันที่ ๕ เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระวิสูตรคลุมพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมชนกนาถ ณ พลับพลาบนยอดเขาสะแกกรัง และพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านจำนวน ๖๕ รุ่น

พระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

พระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นรูปหล่อขนาดสองเท่าขององค์จริงประทับนั่งบนแท่นพระหัตถ์ซ้ายถือดาบประจำตำแหน่งเจ้าพระยาจักรี ทั้งฝักวางบนพระเพลาซ้าย และทรงวางพระหัตถ์ขวาบนพระเพลาขวา ด้านขวามือมีพานวางพระมาลาเส้าสูง ไม่มียี่ก่า (ขนนก) สวมพระบาทด้วยรองเท้าแตะไม่หุ้มส้นพระบาท มีพิธีถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ ในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงที่ดอกสุพรรณิการ์ หรือฝ้ายคำ ดอกไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานีบานสะพรั่งอยู่ทั่วไปบนเขาสะแกกรัง
พระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระชนกาธิบดี รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็นพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระวิสูตรพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมชนก พระชนกาธิบดี รัชกาลที่ ๑ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นโพธิ์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นไทรไว้ ณ บริเวณพลับพลานี้ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๒ เวลา ๑๕.๐๐ น.
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง กล่าวคือเจ้าพระยาโกศาธิบดี (ปาน) บุตรชายใหญ่ได้เป็นพระยาวงศาธิราช (ขุนทอง) ต่อมามีบุตรชายคนใหญ่ชื่อ ทองดี เกิดที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นพระบรมมหาชนกของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมราชวงศ์จักรี

ชาวจังหวัดอุทัยธานีเห็นพ้องต้องกันว่า ควรได้สร้างพระบรมรูป ณ ตำบลที่เกิดของพระองค์ ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ การดำเนินการในเรื่องนี้ได้เริ่มงานอย่างจริงจัง เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ โดยใช้เครื่องจักรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด สร้างทางลำลองจากสนามกีฬาจังหวัดขึ้นยอดเขาสะแกกรัง ปรับปรุงบริเวณสร้างพลับพลาและลานจอดรถบนเขาสะแกกรัง โดยมีนายอำนาจ ผการัตน์ วิศวกรโยธา โครงการทางหลวงท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้รับผิดชอบ และได้รับความอนุเคราะห์ จากนายองอาจ สุตะเชตร์ นายกเทศมนตรีเมืองอุทัยธานี ช่วยเหลือค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท
จังหวัดได้ให้กรมศิลปากร และสำนักผังเมือง ออกแบบวางผังบริเวณสร้างพลับพลาต่อไป เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๒๐ นายชลอ วนะภูติ ปลัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ได้ประชุมดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ โดยให้ นายดำรง ชลวิจารณ์ อธิบดีกรมโยธาธิการดำเนินการสร้างถนนลูกรังขึ้นยอดเขาสะแกกรัง และจังหวัดได้มอบเงินให้กรมศิลปากรจำนวน ๑๓๐,๐๐๐ เป็นค่าหล่อพระบรมรูปฯ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๐
นายอัมพร จันทรวิจิตร รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ ณ พลับพลาประดิษฐานพระบรมรูปฯ พร้อมด้วยนายดำรง สุนททรศารทูล รองปลัดกระทรวงมหาดไทยได้สนับสนุนให้ทำถนนลาดยางขึ้นยอดเขาสะแกกรังต่อไป เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๐ เริ่มก่อสร้างพลับพลาสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พร้อมด้วยศาลาราย โดยกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการประกวดราคาและได้ส่งนายอาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิก มาช่วยควบคุมงานก่อสร้างสิ้นค่าใช้จ่าย ๑,๕๒๐,๐๐๐ บาท

วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๑ พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงเททององค์พระรูปฯ ที่กรมศิลปากร โดยมีนายวิญญู อังคนารักษ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นประธานอำนวยการสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกคนต่อมา เป็นผู้กล่วงรายงาน
จากนั้นทางจังหวัดก็ได้ดำเนินการก่อสร้างถนนลาดยางและวางเครื่องหมายบังคับการจราจรขึ้นยอดเขาสะแกกรัง โดยโครงการทางหลวงท้องถิ่น มีนายพจน์ กันธมาลา ผู้อำนวยการกองทางกลวงท้องถิ่น เป็นผู้สนับสนุนได้รับอนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณ เป็นเงิน ๒๘๗,๐๐๐ บาท สร้างศาลาโถง โดยคุณเลื่อน-อำไพ พรพิบูลย์ เป็นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน ๔,๘๓๙,๓๘๐ บาท
วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๒๒ ได้อันเชิญพระบรมรูปฯ จากกรมศิลปากร มาประดิษฐาน ณ พลับพลาแห่งนี้ในวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๒๒ ได้มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกเสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีทั้งสองวันนี้ ได้มีมหรสพสมโภชน์ ในการดำเนินงานประกอบพิธีเททองและเปิดพระวิสูตร ได้รับความอนุเคราะห์จากนายปิยะ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้แทนสำนักพระราชวัง เป็นผู้ช่วยเหลือ ส่วนผู้ดำเนินการควบคุมการก่อสร้างต่างๆ บนยอดเขาสะแกกรัง คือนายวัชระ หวังสิทธิเดช หัวหน้าโครงการทางหลวงท้องถิ่นจังหวัดอุทัยธานี การดำเนินงานก่อสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกฯ และงานต่างๆ ได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จนถึงวันพระราชพิธีเปิดพระวิสูตร วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๒ ได้สร้างและเสร็จในสมัยนายปราโมทย์ หงสกุล ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี

ยอดเขาสะแกกรัง

ยอดเขาสะแกกรัง จากบริเวณพลับพลาพระบรมรูปฯ มีทางเดินสู่ยอดเขาสะแกกรัง เป็นระยะทางประมาณ 200 เมตร ทางเดินไม่ลาดชันมากเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ อากาศไม่ร้อนมากในช่วงเช้าและเย็น สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของท้องทุ่ง (ฝั่งตรงกันข้ามกับตัวเมืองอุทัยธานี)

หมุดแผนที่โลก

หมุดแผนที่โลก ใช้ในการสำรวจแผนที่ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475

ข้อมูลหมุดแผนที่โลก

ข้อมูลหมุดแผนที่โลก ข้อมความบนหมุดแผนที่โลกที่เห็นนี้เข้าใจว่าเขียนไว้เมื่อครั้งสร้างหมุดนี้เป็นข้อมูลทางการทหารแต่อ่านยากมาก ที่พอจะอ่านได้ก็คือ สถานี .... กรมแผนที่ทหาร 15 พ.ย. 16 พท. สอาด นิตยพันธ์

หมุดแผนที่โลก

หมุดแผนที่โลก ตรงกลางของกรอบสี่เหลี่ยมมีหมุดลักษณะเหมือนรังวัดที่ดินปักอยู่อย่างแน่นหนา

หมุดแผนที่โลก

หมุดแผนที่โลก ด้านบนของกรอบสี่เหลี่ยม มีรูตรงกลางและตรงกับหมุดด้านล่าง ส่วนหลุมที่มีการเทปูนขาวลงไป 3 หลุม ไม่แน่ใจว่าทำไปเพื่ออะไร

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก เพราะมีลักษณะเป็นกรอบก็เลยลองเอามาเป็นกรอบรูปของทิวทัศน์บนยอดเขาสะแกกรังลองดู

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก เวลายามเย็นทำให้มีแสงสีสวยงาม

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก

กรอบรูปหมุดแผนที่โลก

ยอดเขาสะแกกรัง

ยอดเขาสะแกกรัง ตรงนี้เป็นลานกว้างพอประมาณ มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้าง เบื้องล่างส่วนใหญ่เป็นหนองน้ำและทุ่งนา สิ่งประหลาดอีกอย่างบนยอดเขาสะแกกรังนี้คือมีการสร้างฐานลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 1.5 เมตร ใกล้ๆ กับก้อนหินในรูป นั่งได้(เห็นคนไปนั่ง) มีทั้ง หมด 3 แห่ง สูงเท่าๆ กัน อีก 2 แห่งอยู่โดดๆ ไม่มีก้อนหิน

เมืองอุทัยธานียามค่ำคืน

เมืองอุทัยธานียามค่ำคืน คืนพระจันทร์เต็มดวง เสียอย่างเดียวมีเมฆหนาปกคลุมทั่วบริเวณทำให้พระจันทร์ไม่ชัดเจนนัก แต่ก็เป็นวิวที่สวยงาม

เมืองอุทัยธานียามค่ำคืน

เมืองอุทัยธานียามค่ำคืน บ้านเรือนในเมืองอุทัยธานีเปิดไฟส่งแสงสว่างออกมาแม้จะไม่มากนักอันเนื่องมาจากอุทัยธานีเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างเล็ก (ตรงตัวเมือง) และสงบ

การจราจรในเมืองอุทัยธานี

การจราจรในเมืองอุทัยธานี ชมเมืองอุทัยธานีในยามค่ำคืน ที่ไม่พลุกพล่านวุ่นวายเหมือนในเมืองใหญ่ๆ จากยอดเขาสะแกกรัง

เมืองอุทัยธานียามฟ้าสาง

เมืองอุทัยธานียามฟ้าสาง อุตส่าห์รีบขึ้นมาบนยอดสะแกกรังเขาตอนตี 5 กว่าๆ แต่วันนี้ฟ้าปิดไม่เห็นดวงอาทิตย์สวยๆ อย่างที่ตั้งใจ

ฟ้าสางลุ่มน้ำสะแกกรัง

ฟ้าสางลุ่มน้ำสะแกกรัง วิวทั่วๆ เมืองอุทัยธานีจากยอดเขาสะแกกรังในยามเช้าแม้ไม่มีทะเลหมอกสวยๆ ให้ชมเหมือนบนยอดเขาสูงๆ ทางภาคเหนือ แต่วิวเมืองอุทัยธานีในยามเช้าของบางวันก็สวยงามตามแบบเมืองสงบ หากได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่นี่คงจะสวยไม่เบา

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ เขาสะแกกรัง อุทัยธานี
Intalohit house เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
Comeneeteeuthai เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมอุทัยธาราฮิลล์
  1.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมห้วยขาแข้งเชษฐศิลป์
  2.01 km | แผนที่ | เส้นทาง
KHWAN-JAI Homestay Uthai Thani เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ บังกะโล 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 30 ตร.ม. – เมืองอุทัยธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.62 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทัยธานีรีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  3.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
Pae Baan Baan Uthai Thani เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
ซีทูยู โฮเทล อุทัยธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
Grace ilint Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  8.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ เขาสะแกกรัง อุทัยธานี
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ อุทัยธานี
  0.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
  0.91 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดมณีสถิตย์กปิฏฐาราม อุทัยธานี
  1.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
ฮกแซตึ๊ง อุทัยธานี
  2.14 km | แผนที่ | เส้นทาง
การแข่งเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานฯ อุทัยธานี
  2.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) อุทัยธานี
  2.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอุโบสถาราม อุทัยธานี
  2.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระแสงดาบศัสตราวุธประจำเมืองอุทัยธานี
  3.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
เมืองอุไทยธานีเก่า
  3.35 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศูนย์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อุทัยธานี
  3.66 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com