www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุตรดิตถ์ >> วัดพระฝาง

วัดพระฝาง

 วัดพระฝาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านพระฝาง ตำบลผาจุก ห่างจากตัวเมืองประมาณ 25 กิโลเมตร จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1045 ถึงทางหลวงหมายเลข 11 เลี้ยวขวาไปทางพิษณุโลก 2 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายจากทางแยกเข้าไป 14 กิโลเมตร วัดนี้มีชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ เจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ซึ่งอยู่ในสมณเพศแต่นุ่งห่มผ้าแดงและมิได้สึกเป็นฆราวาส ท่านได้ซ่องสุมผู้คนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เพื่อจะกู้เอกราช วัดพระฝางประกอบด้วยโบสถ์ วิหารและพระธาตุเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย สำหรับบานประตูแกะสลักของพระวิหารเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานแพร่ 0 5452 1118-9, 0 5452 1127
http://www.tourismthailand.org/phrae

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 16146

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
เส้นทางสู่วัดพระฝาง

เส้นทางสู่วัดพระฝาง จากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ไปวัดพระฝางค่อนข้างที่จะไกลซักหน่อย ถ้าพิจารณาดูแผนที่ท่องเที่ยวในจังหวัด วัดพระฝางดูค่อนข้างโดดเดี่ยว ไม่มีที่เที่ยวอื่นใกล้เคียง อาจจะเป็นเหตุให้มีคนมาวัดพระฝางไม่มากเท่าไหร่ เส้นทางสายนี้ เป็นเส้นทางหลักของการลำเลียงอ้อยเข้าสู่โรงงาน มีรถบรรทุกอ้อยจะนวนมากต้องระวังเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้นรถบรรทุกหนักวิ่งทุกวันก็ทำให้ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อมากมาย ถึงหน้าโรงงานก็จะมีรถบรรทุกจอดเรียงรายตามไหล่ทาง แต่ท้ายที่สุดเราก็ผ่านมาได้ เวลาในช่วงเย็นของวันนี้ผมจะใช้ที่วัดพระฝางจนกว่าพระอาทิตย์จะตกเลยก็แล้วกัน

วิหารหลวง

วิหารหลวง พอเข้ามาถึงวัดพระฝาง ก็จะเห็นอาคารหลังนี้ที่โดดเด่นกว่าใคร หลังวิหารเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ ตามแบบการสร้างวัดของชาวเหนือ วิหารหลังนี้ผ่านการบูรณะมาหลายครั้ง คราวที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมาบูชาพระมหาธาตุ และปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนหน้านี้เดิมทีเดียวจะทรุดโทรมกว่านี้มาก ทางวัดได้ของบประมาณในการบูรณะวิหารสร้างผนังขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แบบการสร้างวิหารใหญ่มีมุขหน้า หลัง ช่วงเสากลางทอดยาวประมาณ 7 เมตร มีแปดเหลี่ยมคอเสาด้านบนมีกลับดอกบัวล้อมรอบ ทำด้วยศิลาแลงรอบนอกก่ออิฐฉาบปูนเป็นรูปแปดเหลี่ยม เป็นแบบสมัยสุโขทัย มุขด้านหลังมีองค์พระประธานประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อใหญ่ บานประตูวิหารเป็นลานสลักไม้ (ลายเทพพนมสูง 5.3 เมตร กว้าง 2.2 เมตร) เป็นศิลปสมัยอยุธยา บานประตูคู่นั้นได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย ผมไปเห็นมาแล้วงดงามมากๆ ครับ บานประตูที่ปิดวิหารอยู่ปัจจุบันเป็นของที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยใช้ลวดลายแบบเดียวกัน

หลวงพ่อใหญ่

หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดพระฝาง

วิหารหลวงพ่อเชียงแสน

วิหารหลวงพ่อเชียงแสน เป็นวิหารหลังเล็กๆ สร้างอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับวิหารหลวงหลังใหญ่ ภายในวิหารหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่เมืองฝาง ศิลปะเชียงแสน เป็นพระพุทธรุปทองคำ หลังจากที่พบพระพุทธรูปองค์นี้ก็มีโจรบุกเข้ามาขโมยพระหลายครั้ง ทางวัดจึงได้สร้างเหล็กดัดอย่างหนามาปิดประตูหน้าต่างเอาไว้ ล่าสุดโจรบุกเข้ามาทางหลังคาวิหารตัดเอายอดเกตุมาลาไป ทางวัดจึงได้สร้างยอดเกตุมาลาใหม่มาสวมไว้ แล้วทำเหล็กดัดอย่างหนาปิดช่องเพดาน หลังจากนั้นก็ยังมีโจรบุกเข้ามาทางหลังคาแล้วพยายามตัดเหล็กดัดไปได้หลายชิ้น แต่ก่อนที่จะลงมาขโมยพระหรือตัดพระเกศของพระ มีคนมาเห็นก่อน ก็ได้มีการไล่จับโจร ในที่สุดโจรกระโดดลงน้ำหน้าวัดหายไป ประชาชนชาวเมืองฝางศรัทธาพระพุทธรูปองค์นี้มาก ได้มีการจัดเวรยามเฝ้าตรวจตราบริเวณวัดเป็นอย่างดีทุกคืน

เจีย์พระมหาธาตุเมืองฝาง

เจีย์พระมหาธาตุเมืองฝาง บางทีก็เรียกว่าพระธาตุพระฝาง เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม 3 ชั้น ทรงลังกา (ระฆังคว่ำ) บนยอดพระธาตุบรรจุพระฑัณตธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่สักการะบูชาของชาวพุทธตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระเจดีย์องค์นี้เคยชำรุดพังลงมา แล้วได้รับการบูรณะใหม่ มีการขุดพบพระบูชาและพระเครื่องขนาดประมาณ 1 นิ้ว จำนวนหลายองค์ หลังจากที่ได้ทำความสะอาดองค์พระปรากฏว่าเป็นพระทองคำ มีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรไปบันทึกรายการโบราณวัตถุเหล่านั้น หลังจากนั้นก็มีโจรมาขโมยหายไปเป็นจำนวนมาก จากคำบอกเล่าของผู้ดูแลวัดที่มีความผูกพันกับวัดพระฝางมาตั้งแต่เป็นเด็ก เล่าว่า พระทองคำนั้นมีจำนวนประมาณ 130 องค์ ปัจจุบันเหลืออยุ่ไม่ถึง 70 องค์ เท่านั้น แกบอกว่าวัดพระฝางอยู่ห่างจากตัวเมืองมาก ไม่ค่อยมีคนมาเที่ยวมาทำบุญ โจรขโมยก็จ้องจะขโมยของมีค่าจากวัด จนกระทั่งทุกวันนี้ยังต้องสร้างกุฏิพระสงฆ์ให้ล้อมรอบนอกของพระเจดีย์กับอุโบสถเอาไว้ เพื่อเป็นการเฝ้าดูแลระวังขโมยอีกทางหนึ่ง

วัดพระฝาง

โบสถ์มหาอุตม์

โบสถ์มหาอุตม์ เป็นอุโบสถของวัดพระฝาง สร้างอยู่ทางด้านหลังของวิหารหลวงไปค่อนข้างไกล อุโบสถหลังเล็กๆ หลังนี้เป็นที่ประดิษฐานพระฝางทรงเครื่อง อาคารเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลายลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีห้องมุขทึบยื่นออกไปด้านหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันตกผนังรอบนอกใต้หน้าต่างมีลวดลายปูนปั้นสวยงาม โบสถ์หลังนี้เดิมเป็นที่ประดิษฐาน "พระฝางทรงเครื่อง" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานที่หน้าบันของวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

พระฝางทรงเครื่อง

พระฝางทรงเครื่อง องค์ที่เห็นประดิษฐานในโบสถ์วัดพระฝาง ปัจจุบันคือองค์จำลอง นายทหารวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 41-11 ได้สร้างพระฝางทรงเครื่องถวายวัดพระฝาง โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานเททองเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ณ วัดเบญจมบพิตร

หน้าบันอุโบสถ

หน้าบันอุโบสถ

วัดพระฝาง

หลังจากที่เข้าสักการะพระฝางทรงเครื่องในโบสถ์ ตอนนี้ก็กำลังจะเดินกลับไปที่รถด้านหน้าวิหาร ขอเก็บภาพพระเจดีย์กับวิหารหลวง จากอีกมุมหนึ่งมาด้วย เดี๋ยวขอเล่าประวัติความสำคัญของวัดแห่งนี้ให้ฟังกันสักหน่อยเพราะถ้าไม่รู้ว่าวัดนี้มีความสำคัญยังไง ก็จะพากันมองข้ามไปได้

วัดพระฝาง ตั้งอยู่ที่สถานที่ที่เคยเรียกขานกันว่า "สวางคบุรี" หรือเรียกกันว่าเมืองฝาง เป็นที่จำพรรษาของเจ้าพระฝาง ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชกอบกู้เอกราช เจ้าพระฝางเดิมชื่อ เรือน เป็นภิกษุชาวเหนือ ไปศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานในกรุงศรีอยุธยา ณ วัดอโยธยา ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงตั้งให้เป็นสังฆราชาขึ้นเป็นตำแหน่งเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี ในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า หัวเมืองต่างๆ ไม่มีพระราชาบดี ผู้มีอำนาจในเขตต่างๆ ได้พากันตั้งตนเป็นเจ้าเมืองมีถึง 6 ก๊ก พระสังฆราชาเรือนเห็นพม่าทำลายพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยาหมดสิ้น จึงรวบรวมกำลังต่อต่านพม่า พระสังฆราชาเรือนเป็นผู้เชี่ยวชาญวิชาอาคมได้ถูกยกย่องให้เป็นผู้นำ "ชุมชนเจ้าพระฝาง" ได้เปลี่ยนสีเครื่องนุ่งห่มเป็นสีแดงฝาด (ได้มาจากการย้อมแก่นต้นฝาง) อาณาเขตของชุมนุมเจ้าพระฝางตั้งแต่เมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง แพร่ น่าน พิชัยและคิดจะขยายเขตต่อไปอีก แต่รอดูท่าทีของชุมนุมอื่นๆ ก่อน ขณะนั้นมี 6 ชุมนุม แต่เหลือเพียง 4 ชุมนุม คือ ชุมนุมพระยาตาก เจ้าพระฝาง เจ้าพิมาย เจ้านคร

กองทัพพระเจ้าตากสินพร้อมกับท่านพระยาพิชัยดาบหักได้ยกทัพมาตีชุมนุมเจ้าพระฝาง แต่เจ้าพระฝางเห็นว่าเป็นทหารหลวง และเป็นคนไทยด้วยกัน จึงได้หนีขึ้นเหนือไป ตั้งแต่นั้นไม่มีผู้ใดพบเจ้าพระฝางอีกเลย

ตามตำนานกล่าวว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ หรือเมืองสวางคบุรี สร้างขึ้นราว พ.ศ. 300 สมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้เริ่มจัดส่งสมณฑูตเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ได้มีการสร้างสถุปเจดีย์ พระบรมธาตุไว้ เพื่อสักการะบูชา ประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงเกิดเป็นชุมชนและต่อมาได้จัดตั้งเป็นเมืองชื่อว่า "สว่างบุรี" แปลว่า เมืองสว่าง หมายความว่าเป็นเมืองที่ได้รับความสว่างจากพระพุทธศาสนา ชาวบ้านกล่าวกันว่า ภายในพระมหาสถูปเจดีย์ได้บรรจุพระทันตธาตุ (ฟัน) ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในบริเวณเมืองเก่าวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ชาวเมืองเรียกกันว่า "พระมหาธาตุเมืองฝาง"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนราษฎร จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 23 ตุลาคม 2444 ทรงประทับที่จังหวัดอุตรดิตถ์หลายวัน พระองค์ทรงเสด็จฯ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ วันที่ 25 ตุลาคม 2444

เขตสังฆาวาส

เขตสังฆาวาส

วัดพระฝาง

วัดพระฝาง

ปิดท้ายด้วยภาพยามเย็น แสงสุดท้ายของพระอาทิตย์ที่เคลื่อนลับขอบฟ้า จากนี้ต้องขับรถกลับที่พักในเมืองแล้วครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระฝาง อุตรดิตถ์
สิริ อพาร์ตเมนต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  19.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
จงรักษ์พักดี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  20.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไลท์เฮาท์รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  20.77 km | แผนที่ | เส้นทาง
Good Room เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  21.44 km | แผนที่ | เส้นทาง
JUTHAMANSION HAPPINESS เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  22.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
ล้อมรัก รีสอร์ต อุตรดิตถ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  22.56 km | แผนที่ | เส้นทาง
O.U.M.HOTEL เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมสีหราช เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมฟรายเดย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุนี บูทีก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  23.32 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดพระฝาง อุตรดิตถ์
วัดใหญ่ท่าเสา อุตรดิตถ์
  18.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดธรรมาธิปไตย อุตรดิตถ์
  20.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ่อเหล็กน้ำพี้ อุตรดิตถ์
  21.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก อุตรดิตถ์
  21.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน อุตรดิตถ์
  22.04 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอวัฒนธรรมวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์
  22.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดกลาง อุตรดิตถ์
  23.01 km | แผนที่ | เส้นทาง
กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา อุตรดิตถ์
  27.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีวันอัฐมีบูชา อุตรดิตถ์
  29.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์
  29.84 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com