www.touronthai.com

หน้าหลัก >> นครศรีธรรมราช >> ประเพณีแห่นางดาน

ประเพณีแห่นางดาน

 ประเพณีแห่นางกระดาน (หรือแห่นางดาน) เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวายหรือประเพณีโล้ชิงช้า ที่พราหมณ์ในนครศรีธรรมราชสมัยโบราณที่นับถือพระอิศวรเป็นเจ้าปฏิบัติกันมาในช่วงเดือนยี่ (หรือเดือนบุษยมาส) ของทุกปี เพิ่งจะเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2503 แก่นแท้หรือหัวใจของประเพณีแห่นางกระดาน ก็คือการอัญเชิญเทพชั้นรองสามองค์มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมาเยี่ยมมนุษยโลกในช่วงวันขึ้น 7 ค่ำ ถึงวันแรมค่ำเดือนยี่ (รวมเวลาเสด็จมาเยี่ยม 10 ราตรี) เทพชั้นรองสามองค์ที่พราหมณ์ในนครศรีธรรมราชอัญเชิญมารับเสด็จนี้ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระธรณี และพระคงคา เทพดังกล่าวนี้จารึกหรือแกะสลักลงบนแผ่นไม้ขนาดกว้างหนึ่งศอก สูงสี่ศอก ชาวนครเรียกไม้แกะสลักดังกล่าวนี้ว่า "นางกระดาน" เมื่อถึงวันพิธีการพราหมณ์ก็อัญเชิญนางกระดานทั้งสามนี้มายังเสาชิงช้าในหอพระอิศวร เพื่อรอรับพระอิศวรที่จะเสด็จเยี่ยมโลกมาที่เสาชิงช้าดังกล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. นครศรีธรรมราช 0 7534 6515-6
http://www.tourismthailand.org/nakhonsithammarat

แก้ไขล่าสุด 2016-04-14 17:28:09 ผู้ชม 25504

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ประเพณีแห่นางดานเริ่มขบวน

ประเพณีแห่นางดานเริ่มขบวน ขบวนแห่นางดานหรือนางกระดานนี้ยาวมากครับ ส่วนหัวขบวนมีโพธิ์เงินโพธิ์ทองและดวงประทีปถือ

ขบวนแห่ประเพณีแห่นางดาน

ขบวนแห่ประเพณีแห่นางดาน

นางดานหรือนางกระดานพระคงคา

นางดานหรือนางกระดานพระคงคา ความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระคงคา พระคงคา เทพองค์นี้เป็นธิดาองค์แรกของพระหิมวัตกับนางเมนา พระสวามีของพระคงคาคือพระอิศวร พระคงคาเป็นเทพผู้อำนวยความชุ่มฉ่ำสมบูรณ์ให้แก่สรรพสิ่ง แต่เดิมอยู่บนสวรรค์ เพิ่งจะลงมาสู่โลกมนุษย์ในครั้งที่ท้าวภคีรถสำเร็จการพิธีอัญเชิญให้ลงมาชำระอัฐิโอรสท้าวสัคระที่ถูกท้าวกบิลบันดาลด้วยฤทธิ์เป็นเพลิงไหม้ตาย จึงจำเป็นต้องใช้น้ำจากพระคงคาบนสวรรค์มาชำระอัฐิ จึงจะหมดบาปไปบังเกิดในสวรรค์ได้อีก

พระอาทิตย์พระจันทร์

พระอาทิตย์พระจันทร์ กระดานที่ 2 ของขบวนแห่นางดาน ความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระอาทิตย์พระจันทร์ พระอาทิตย์ หรือ พระสุริยา เป็นผู้สร้างกลางวัน เป็นผู้ให้แสงสว่างและความร้อน แก่โลกมนุษย์และดาวเคราะห์อื่น ๆ ด้วยการชักรถม้าเคลื่อนไปในจักรวาลไม่มีวันหยุด ให้พลังงานแก่สรรพสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง ก่อให้เกิดวัฎจักรแห่งดินฟ้าอากาศเป็นฤดุกาล ถือเป็นเทพที่มีคุณูปการต่อการอยู่รอดของสรรพสัตว์ พระจันทร์ หรือ “รัชนีกร” เป็นเทพผู้สร้างกลางคืน เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และงดงามอ่อนละมุน ถือเป็นเทพผู้อำนวยให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้พักผ่อนและผสมพันธุ์สืบมาถึงปัจจุบัน

พระธรณี

พระธรณี ความหมายของนางกระดาน : นามว่าพระธรณี พระธรณี เทพองค์นี้ มีหน้าที่รองรับน้ำหนักของสรรพสิ่งและพยุงสิ่งทั้งหลายสิ่งที่พระอิศวรสร้างไว้ในจักรวาลให้ดำรงอยู่เป็นเสมือนพ่อแม่ของเทพทั้งหลาย รองรับทุกอย่างโดยไม่รังเกียจ เป็นเทพผู้สะสมคุณงามความดีทั้งปวง เมื่อครั้งที่พระพรหมสร้างโลกและขอให้พระอิศวรไปรักษาโลก พระอิศวรทรงห่วงใยว่าโลกไม่แข็งแรงจึงมีการทดสอบโดยหยั่งพระบาทลงมาซึ่งหากหยั่งทั้งสองพระบาท เกรงว่าโลกจะแตก จึงหยั่งพระบาทมาเพียงข้างเดียว และในการนี้มีพระธรณีได้เข้ามาทำหน้าที่รองรับพระบาทของพระอิศวรเอาไว้ จากพุทธประวัติได้กล่าวถึงเกียรติคุณพระธรณีอยู่ตอนหนึ่งว่า เมื่อวันเพ็ญเดือนหกก่อนพุทธกาล พระยาวัตดีมารมาขัดขวางมิให้พระสิทธัตถะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ มีการโต้เถียงทวงสิทธิ์โพธิบัลลังก์กัน พญามารจึงให้รี้พลย่ำยีพระสิทธัตถะ หวังให้พระสิทธัตถะลุกหนีหรือม้วยมรณ์ เหตุการณ์นี้พระธรณีได้สดับอยู่ เห็นจริงว่าพระสิทธัตถะมีเจตนากระทำเพื่อมวลมนุษย์โดยแท้ จึงปรากฏกายขึ้นข้างบัลลังก์ใต้ร่มโพธิ์ที่พระสิทธัตถะประทับแล้วก็ปิดน้ำในโมฬีแห่งตน กระแสชลก็หลั่งไหลออกจากเกศาแห่งพระธรณี นองท่วมประดุจห้วงมหาสมุทร ในที่สุดเสนามารก็ตาย พระสิทธัตถะจึงสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

รอชมงานแสดง

รอชมงานแสดง ขอเอาภาพเปิดแฟลชแบบมัวๆ มาหน่อยละกัน อยากให้เห็นบริเวณงานที่จัดการแสดง มีผู้คนรอชมอย่างเนืองแน่น แน่นมากๆ ที่ๆจะยืนถ่ายรูปนี้ก็หายากมาก คนที่ไม่ได้นั่งก็ยืนล้อมรอบบริเวณงานกันเป็นชั่วโมงๆ

ประเพณีแห่นางดาน

ประเพณีแห่นางดาน ประเพณีแห่นางดาน ที่เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวาย หรือประเพณีโล้ชิงช้า ซึ่งจัดขึ้นเพื่อต้อนรับพระอิศวรหรือ พระศิวะ เทพสูงสุดของศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ที่เสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ เป็นการประสาทพรให้มนุษยโลกมีความสงบสุข และช่วยคุ้มครองโลกให้ปลอดภัย

ตระการตา

ตระการตา การแสดง Mini Light and Sound ที่จัดขึ้นทุกๆ ปี เป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ สวยงามมาก

มุมกว้าง

มุมกว้าง พื้นที่ที่ใช้จัดการแสดง แสง สี เสียง ในงานแห่นางดานนี้ เป็นบริเวณกว้าง รองรับนักท่องเที่ยว และชาวบ้านในพื้นที่ที่ต่างคนก็เฝ้ารอชมพิธีนี้ไม่ขาด เรียกว่ามากันทุกปีเลยก็ว่าได้ เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวนครศรีธรรมราช

โล้ชิงช้า

โล้ชิงช้า

ตอนท้ายของการแสดงแสงสีเสียง

ตอนท้ายของการแสดงแสงสีเสียง ช่วงนี้เป็นช่วงท้ายๆ ที่ใกล้จะจบแล้วครับ การแสดงนี้จะเป็นการเล่าถึงตำนานความเป็นมาของการแห่นางกระดานเนื้อหาสาระคงต้องหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ไว้เรามีข้อมูลจะเข้ามาอัพเดตให้ต่อไป

จบการแสดงด้วยการจุดพลุ

จบการแสดงด้วยการจุดพลุ มีมากมายหลายดอกเลยแต่คงเอามาลงได้รูปเดียวก่อนเพราะไม่ได้ใช้ขาตั้งด้วยรูปไม่สวย

นักแสดงแห่นางดานเรียงเป็นสายรุ้ง

นักแสดงแห่นางดานเรียงเป็นสายรุ้ง หลังจากจบงานแสดงแล้วจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับนักแสดง

ถ่ายรูปที่ระลึกกับนักแสดงแห่นางดาน

ถ่ายรูปที่ระลึกกับนักแสดงแห่นางดาน

ถ่ายรูปที่ระลึกกับนักแสดงแห่นางดาน

ถ่ายรูปที่ระลึกกับนักแสดงแห่นางดาน

ปิดงานแล้วนางดานหรือกระดานจะถูกเก็บรักษาไว้

ปิดงานแล้วนางดานหรือกระดานจะถูกเก็บรักษาไว้

อ่างน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีแห่นางดาน

อ่างน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีแห่นางดาน พิธีบวงสรวงพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์ผู้สร้างบ้านแปงเมือง และพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๖ บ่อที่เคยร่วมเป็น น้ำพิพัฒน์สัตยา เป็นเรื่องเก่าที่ไม่ควรหลงลืมหรือละเลย และนี่คืออีกหนึ่งความงดงามในวัฒนธรรมประเพณีอันหลากหลายของนครศรีธรรมราช เมื่อเสร็จสิ้นพิธีชาวบ้านจะหาขวดมาใส่น้ำที่ได้จากในพิธีเอาไปเป็นสิริมงคล

ตะลุงแดนใต้

ตะลุงแดนใต้ นอกจากงานแสดงแสงสีเสียงแล้วที่หน้าหอพระนารายณ์ยังมีการแสดงหนังตะลุง ต่อเนื่องกันไป

คุณยายจองที่

คุณยายจองที่ สำหรับการแสดงหนังตะลุงผู้คนมาดูกันไม่มากแต่ก็เห็นคุณยายคนหนึ่งนอนจองที่โล่งๆ แบบเอาอุปกรณ์มาเต็มที่แบบนี้เลย คงกะจะหลับหน้าเวทีไปข้างหนึ่งแน่ๆ

การแสดงตะลุงจะมีเวทีอยู่หน้าหอพระนารายณ์

หอพระนารายณ์

หอพระนารายณ์

ไหว้พระเป็นสิริมงคล

ไหว้พระเป็นสิริมงคล นอกเหนือจากงานแห่นางกระดานแล้วในช่วงสงกรานต์ที่นครศรีธรรมราชจะมีการจัดงาน ซึ่งในบริเวณงานจะประกอบไปด้วยการสรงน้ำพระพุทธรูป การขายอาหารพื้นเมืองนานาชนิด งานนี้เดินเข้ามาต้องอิ่มออกไปอย่างแน่นอน

พราหมณ์เมืองนคร

พราหมณ์เมืองนคร บริเวณนี้จะมีการจัดนิทรรศการความรู้เรื่องราวต่างๆ ในบริเวณเดียวกันมีตลาดขายของกินจำนวนมากให้เลือกชิมตามใจชอบ

ประตูกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช

ประตูกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นกำแพงเมืองเก่าแก่ ปกติในตอนกลางวันมีนักท่องเที่ยวมาถ่ายภาพกัน ส่วนในเวลากลางคืนเป็นสถานที่จัดงานสงกรานต์

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ ประเพณีแห่นางดาน นครศรีธรรมราช
สุธี แมนชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
MONTRA-NAKHON GUEST HOUSE เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
PANALEE RESORT เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
วีเฮาส์ นคร เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.26 km | แผนที่ | เส้นทาง
The Plug hotel @ i-Biz Avenue เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.32 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมบ้านนคร เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
iBiz Boutique Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
โฮเทล แพสชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
ออร์คิด เรสซิเดนท์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านสุพรรณิการ์ บูติค โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ ประเพณีแห่นางดาน นครศรีธรรมราช
ประเพณีแห่นางดาน นครศรีธรรมราช
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
กำแพงเมือง นครศรีธรรมราช
  0.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
สนามหน้าเมือง นครศรีธรรมราช
  0.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลาโดหก หรือศาลาประดู่หก นครศรีธรรมราช
  0.41 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอพระอิศวร นครศรีธรรมราช
  0.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
ถนนท่าช้าง เครื่องถม
  0.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอพระนารายณ์ นครศรีธรรมราช
  0.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
  0.64 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระวิหารสูง หรือหอพระสูง นครศรีธรรมราช
  0.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช
  1.39 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com