×

วัดโลกโมฬี เชียงใหม่

วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
เชียงใหม่
ตำนานวัดโลกโมฬี
วัดโลกโมฬี มีความหมายว่าเป็นวัดสูงสุดของโลกอยู่ห่างจากประตูหัวเวียง (ช้างเผือก) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 400 เมตร เป็นพระอารามเก่าแก่ ตั้งอยู่นอกคูเมืองและกำแพงโบราณด้านทิศเหนือบนนถนนมณีนพรัตน์ อำเภอเมือง เชียงใหม่ จุดเด่นของวัดนี้คือองค์พระเจดีย์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย ช่วงปี พ.ศ. 1910-1931 (ค.ศ. 1367-1388) ส่วนองค์พระเจดีย์น่าจะสร้างภายหลัง ซึ่งตั้งตระหง่านเด่นสง่างามครอบคลุมบริเวณพื้นที่แห่งนี้

วัดโลกโมฬีเคยเป็นวัดร้างในช่วงปี พ.ศ. 2318-2339 (สมัยอยู่ใต้การปกครองของพม่า และถึงแม้ว่าจะตีเมืองคืนได้หลายครั้งแต่พม่าก็ยังลอบโจมตีบ่อยครั้ง) ก่อนที่พญากาวิละจะกลับมากู้ฟื้นฟูเมือง สมัยนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าดิบ ขาดผู้คนอาศัย เป็นที่อยู่ของสัตว์ปานานาชนิด วัดโลกโมฬีช่วงนั้นถูกปล่อยให้องค์พระเจดีย์ตั้งเด่นสง่าอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางป่าพนาสัณฑ์ แม้ว่าระยะหลังที่พญากาวิละจะมาฟื้นฟูแต่ก็พัฒนาได้ไม่มากนักเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ปัจจุบันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม นักท่องเที่ยวที่มาเชียงใหม่จะแวะมาชมองค์พระเจดีย์รูปทรงระฆังที่สวยงามตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนามีอายุกว่า 600 ปี

ประวัติการสร้างวัดโลกโมฬี
ในอดีตไม่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวัดโลกโมฬีโดยละเอียดเป็นการเฉพาะไว้ จึงไม่มีหลักฐานแสดงชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่ก็สันนิษฐานว่าวัดโลกโมฬี สร้างในสมัยราชวงศ์มังราย โดยมีเหตุผลดังนี้
ในปี พ.ศ. 1910 พญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังรายทรงประสงค์จะฟื้นฟูปรับปรุงพระพุทธศาสนาในล้านนาให้เจริญและมั่นคง พระองค์จึงได้ส่งผู้แทนไปยังเมืองพัน ประเทศมอญ (ปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของพม่า) เพื่อขอนิมนต์พระมหาอุทุมพร บุปผมหาสวามี ผู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎกเพื่อให้มาช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในล้านนา เนื่องจากพระมหาอุทุมพร บุปผมหาสวามี ได้ชราภาพมากแล้ว ท่านจึงได้ส่งพระอนันตเถระ พร้อมกับพระลูกศิษย์อีก 10 รูปมายังล้านนา (เชียงใหม่) พญากือนาจึงได้จัดวัดโลกโมฬีไว้รับรองแขกเมืองจากต่างประเทศ เนื่องจากวัดโลกโมฬีตั้งอยู่ใกล้วัง จึงสะดวกสบายและง่ายต่อการดูแลและปรนนิบัติมวลพระเถระเหล่านั้น

อีกประการหนึ่งคือในช่วงสมัยของพญาติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์มังรายองค์ที่ 9 พระองค์ได้จัดประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกของโลกครั้งที่ 8 ที่วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) ในปีพ.ศ. 2020 โดยได้นิมนต์พระเถระที่แตกฉานในพระไตรปิฎกจากวัดต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมาเข้าร่วมประชุม ซึ่งต้องใช้เวลาประชุมและแก้ไขประมาณ 1 ปีเศษจึงแล้วเสร็จ บรรดาพระเถระที่มาร่วมประชุม พญาติโลกราชได้จัดให้พักอยู่ที่วัดโลกโมฬี

ผู้ฟื้นฟูวัดโลกโมฬีคนแรก
ในอดีตมีกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายหลายพระองค์ที่เข้ามาทำนุบำรุงวัดโลกโมฬีอยู่ตลอด พญาเมืองเกศเกล้า หรือพญาเกศเชษฐราช กษัตริย์องค์ที่ 12 และ 14 แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราช 2 ครั้ง) เป็นกษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ได้เข้ามาดูแลเอาใจใส่วัดโลกโมฬีมากเป็นพิเศษ ได้ทรงเจริญรอยตามวิถีทางแห่งบูรพกษัตริย์อย่างต่อเนื่องในการพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั้นคง พญาเกศเชษฐราช ขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ. 2068 จากนั้นไม่นานพระองค์ก็ขึ้นไปบูรณะองค์พระธาตุดอยสุเทพโดยขยายให้ใหญ่ขึ้นคือจากเดิม เป็นสูง 11 วา กว้าง 6 วา ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2069 พระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ 1 องค์ พระนามว่า พระเจ้าล้านทอง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง อำเภอพร้าว ในปีพ.ศ. 2070 พระองค์ได้ยกมอบบ้านหัวเวียงให้เป็นบริเวณหนึ่งของวัดโลกโมฬี และต่อมาในปี พ.ศ. 2071 พระองค์ได้สร้างมหาเจดีย์และวิหารขึ้นในวัดโลกโมฬี

พญาเกศเชษฐราชสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2088 รวมพระชนมายุได้ 48 พรรษา จากนั้นนางจิรประภา ได้รับความไว้วางใจจากเหล่าขุนนางทั้งหลายสถาปนาขึ้นเป็นกษัตรีย์ องค์ที่ 15 ของเชียงใหม่ หลังจากที่ได้ถวายพระเพลิงศพของพระราชบิดาแล้วพระนางได้สร้างกู่เก็บพระอัฐิของพระราชบิดาไว้ในวัดโลกโมฬี ชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับวัดโลกโมฬีแห่งนี้ได้รับการเล่าสืบต่อกันมาว่าอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมหาเจดีย์ห่างไปประมาณ 150 เมตร (พื้นที่ของวัดโลกโมฬีเดิมมี 70 ไร่ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 10% เท่านั้นเพราะชาวบ้านได้เข้ามาอาศัยอยู่ในระหว่างที่วัดโลกโมฬีเป็นวัดร้าง ในสมัยนั้นสถานที่ก่อสร้างกู่บรรจุพระอัฐิก็เป็นส่วนหนึ่งของวัด) ปัจจุบันกู่นั้นมีอยู่จริงท่ามกลางหมู่บ้านแออัดหลังอาคารพาณิชย์

หลังจากนั้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงยกทัพมาช่วยพญากาวิละขับไล่พม่าออกไปในปีพ.ศ. 2325 หลังจากนั้นพม่าได้เข้ามาลอบโจมตีบ่อยๆ จนพญากาวิละต้องพาราษฎรทิ้งเมืองไปแอบซ่องสุมฝึกกำลังพลแล้วกลับมายึดเชียงใหม่คืนได้อย่างมั่นคง พญากาวิละจึงได้เป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่เป็นองค์แรกในทั้งหมด 9 องค์ การฟื้นฟูวัดโลกโมฬีที่สำคัญๆ มีอยู่ในสมัยเจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 คือเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ ช่วงปีพ.ศ. 2440-2452 (ค.ศ. 1897-1909) ต่อมาในสมัยเจ้าครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายเจ้าแก้วนวรัฐ ได้มีการสร้างพระพุทธรูปและธรรมาสน์ถวายไว้ที่วัดโลกโมฬี สมัยนั้นมีเจ้าอาวาสครองวัด 4 รูป หลังจากนั้นวัดโลกโมฬีก็กลายเป็นวัดร้างอีกครั้ง และในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดโลกโมฬีก็เป็นวัดร้างเช่นกัน จนกระทั่งในปี พ.ศ.2544 พระญาณสมโพธิ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ (ปัจจุบันคือพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) ได้มาทำการฟื้นฟูวัดโลกโมฬีอีกครั้ง เป็นการฟื้นฟูครั้งสำคัญครั้งที่ 3

ปีพ.ศ. 2544 พระเทพวรสิทธาจารย์ ได้รับการแต่ตั้งให้เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดโลกโมฬี มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษา และมีการพัฒนาวัดแห่งนี้ขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
ปีพ.ศ. 2545 วัดโลกโมฬีได้ทำการสร้างกำแพงและวิหาร สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับทราบข่าวได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 400,000 บาท เพื่อสมทบทุนสร้างพระวิหาร
ปีพ.ศ. 2546 สมเด็จพระสังฆราชแห่งลังกาได้ประทานพระบรมธาตุแก่วัดโลกโมฬี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานพระบรมธาตุให้อีก 1 องค์ พระเทพวรสิทธาจารย์ ได้เป็นประธานในการหล่อพระพุทธรูปเป็นองค์ประธานในพระวิหารพระนามว่า "พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ" โดยได้อัญเชิญพระบรมธาตุทั้งสองบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูป
ปีพ.ศ. 2547 สร้างอนุสาวรีย์พระนางจิรประภาผู้ได้ทำนุบำรุงวัดโลกโมฬี เพื่อให้อนุชนได้ทราบถึงองค์อุปถัมป์ในอดีต
ปีพ.ศ. 2548 สร้างยอดฉัตรทองขององค์พระเจดีย์ขึ้นทดแทนของเดิมที่หักหายไป
ปีพ.ศ. 2549 สร้างกุฎิสงฆ์ คุ้มพญาเกศ ทรงรูปแบบล้านนาเป็นอนุสรณ์แก่พญาเกศเชษฐราช
ปีพ.ศ. 2551 ท่านเจ้าคุณพระเทพวรสิทธาจารย์ สร้างศาลาศูนย์แสดงศิลปล้านนา และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น "พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาสล่าเมือง" สามารถเข้าชมและเรียนรู้การเป็นช่าง(สล่า)ฝีมือ งานศิลปแกะสลัก ฯลฯ


พิกัด GPS วัดโลกโมฬี เชียงใหม่:
18.796704,98.982788
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 3113 ครั้ง
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่
วัดโลกโมฬี เชียงใหม่

แผนที่ วัดโลกโมฬี เชียงใหม่คลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดโลกโมฬี เชียงใหม่

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดโลกโมฬี เชียงใหม่

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดโลกโมฬี เชียงใหม่

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)