www.touronthai.com

หน้าหลัก >> รวมบล็อกท่องเที่ยว >> ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ถ้าให้คิดถึงสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล คนส่วนใหญ่คงต้องคิดถึงเกาะหลีเป๊ะ ภาพทะเลใสฟ้าสวยติดตราตรึงใจคนไทยรวมไปถึงชาวต่างประเทศที่ต่างดั้นด้นมา จ.สตูล เพื่อไปชมความงามของเกาะหลีเป๊ะ แต่จริงๆแล้วสตูลไม่ได้มีแค่หลีเป๊ะ สตูลยังมี “อุทยานธรณีสตูล” สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและมีคุณค่าจนองค์การยูเนสโก ได้มาขึ้นทะเบียนเป็น “อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก” มีความน่าสนใจขนาดไหนเราตามไปชมกันครับ

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ขอเปิดด้วยหนึ่งภาพประทับใจของผมจากทริปนี้ บ้านชาวประมง ณ ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย

เราเดินทางมาจังหวัดสตูลโดยทางเครื่องบินใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงมาลงเครื่องที่สนามบินตรัง จากนั้นใช้เวลาชั่วโมงเศษๆ เราก็มาถึงจุดหมายแรก “สำนักงานอุทยานธรณีสตูล” อ.ทุ่งหว้า ทุกวันนี้การเดินทางมาจังหวัดสตูลสะดวกสบายมาเลย ถนนหนทางสวยงามสองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้เขียวขจี ผมเป็นคนที่เดินทางบ่อยมากพักผ่อนน้อย ผมมักใช้จังหวะบนรถตู้ในการพักผ่อนเสมอๆ แต่ที่นี่ผมนั่งในรถมองถนนหนทางไปเรื่อยๆ ระยะเวลาชั่วโมงเศษแพ๊บเดียวเอง เสียดายที่ไม่มีโอกาสถ่ายรูปมาให้ชมกัน

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ที่สำนักงานอุทยานธรณีสตูล นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผอ.อุทยานธรณีสตูล ได้บรรยายความเป็นมาเป็นไปของการที่ อุทยานธรณีสตูล ได้ขึ้นทะเบียนเป็น อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จากนั้นได้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของอุทยานธรณีสตูล ให้พวกเราได้รับทราบกัน

องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานธรณีสตูล เป็นอุทยานธรณีโลก หรือ Satun UNESCO Global Geopark แห่งแรกของประเทศไทย เป็นอุทยานธรณีโลกประเทศที่ 36 ของโลก และเป็นแหล่งที่ 5 ของอาเซียน สำหรับ “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) มีพื้นที่ครอบคลุม 2,597 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 4 อำเภอในจังหวัดสตูล ได้แก่ อำเภอเมือง ทุ่งหว้า มะนัง และละงู ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าทางธรณีวิทยามากกว่า 70 แห่ง ทั้งบนบกและในทะเล อาทิ ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำเจ็ดคต น้ำตกธารปลิว หินเขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย เกาะไข่-หาดหินงามแห่งหมู่เกาะตะรุเตา ทะเลแหวกเกาะหว้าหิน-เกาะลิดีเล็ก เป็นต้น

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผอ.อุทยานธรณีสตูล พาชมพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ฯ และ พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูล

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

อาหารเที่ยงจัดกันที่สำนักงานอุทยานธรณีสตูลแห่งนี้เลย เป็นอาหารมื้อแรกของเราสำหรับทริปนี้ เป็นอาหารถิ่นชาวใต้หน้าตากับข้าวบ้านๆมากกก กับข้าวบางอย่างผมก็ไม่รู้จักชื่อเลย แต่ขอบอกเลยว่าอาหารมื้อนี้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดสำหรับผมในทริปนี้เลย

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

จากนั้นเรามากันที่ "โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์" อำเภอทุ่งหว้า โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์จัดเป็นโรงเรียนจีโอพาร์คต้นแบบของไทย มีการจัดหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับแหล่งธรณีวิทยาที่มีในพื้นที่ ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เรื่องธรณีวิทยาจากของจริงที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ ภายในโรงเรียนมีห้องจัดแสดงซากดึกดำบรรพ์ และฝึกให้นักเรียนได้เป็นผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับธรณีวิทยาแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้เพาะขยาย “หม้อข้าว หม้อแกงลิง” พืชใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

หลังจากได้คามรู้ที่มาที่ไปเกี่ยวกับการได้ขึ้นทะเบียนเป็น อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ของ อุทยานธรณีสตูล ได้รู้เกล็ดเล็กเกล็ดน้อยจากน้องๆ โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ กันมาแล้ว ก็ได้เวลาไปลงพื้นที่จริงกัน จุดแรกที่เราจะไปกันคือ ถ้ำเลสเตโกดอน อำเภอทุ่งหว้า

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ถ้ำเลสเตโกดอน อำเภอทุ่งหว้า เป็นถ้ำที่มีความยาวกว่า 3 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม และมีความโดดเด่นทางธรณีวิทยาโดยมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์จำนวนมาก ที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือฟอสซิลช้างสเตโกดอน อายุ 1.8 ล้านปี และเป็นสถานที่ที่มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนท้องถิ่นเอง

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

เจ้าหน้าที่พร้อม นักท่องเที่ยวใส่ชุดชูชีพพร้อม ออกเดินทางกันเลยย...

ภายในถ้ำมืดมากนะครับสำหรับนักถ่ายรูปควรเตรียมแฟลชแยกหรือไฟต่อเนื่องเพื่อช่วยในการถ่ายรูป

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

วันที่เรามานี้ระดับน้ำค่อนข้างต่ำทำให้บางช่วงต้องลงเดิน

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล
ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามให้เราได้ชมอยู่เป็นระยะๆ จนสุดปลายทางของถ้ำซึ่งเป็นทะเล

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

จากนั้นเราต้องนั่งเรือยนต์กลับขึ้นฝั่งที่ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ปิดท้ายวันแรกด้วยการทานอาหารเย็นร่วมกับ ดร.ทศพร นุชอนงค์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

บรรยากาศยามเช้า ณ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จุดชมวิวนี้อยู่ติดกับที่พักของเราเลยเดินแค่ไม่กี่ก้าวเอง จากนั้นเราก็เดินเลาะเขาโต๊ะหงายไปยังสะพานข้ามกาลเวลา

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ไม่ไกลนักเราก็เดินมาถึงยังสะพานข้ามกาลเวลา ก้อนหินบริเวณนี้เป็นหินที่มีสีแดงชาวบ้านแถบนี้นำไปผูกกับตำนานนางเลือดขาว “มัสสุหรี” ว่าเลือดของนางเมื่อลอยขึ้นฟ้าข้ามมาจากเกาะลังกาวีมาตกบริเวณนี้เลือดกลับกลายเป็นสีแดงทำให้หินบริเวณนี้เป็นสีแดง แต่จากหลักฐานด้านธรณีวิทยาอธิบายว่านี้คือหินทรายสีแดงยุคแคมเบรียน

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

จากจุดเริ่มต้นของเราที่มีหินทรายสีแดงยุคแคมเบรียน(อายุประมาณ 500ล้านปี) เมื่อเราเดินตามสะพานมาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณป้ายเขตข้ามกาลเวลา ณ จุดนี้ก้อนหินจะเริ่มเปลี่ยนเป็นหินปูนสีเทายุคออร์โดวิเชียน(อายุประมาณ400ล้านปี) นี่จึงเป็นที่มาของ  “เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะ” อะเมซิ่งมากกก...

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสะพานที่เป็นหินปูนสีเทายุคออร์โดวิเชียน

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

จากนั้นเราก็เดินทางมาลงเรือที่ท่าเรือบ้านบ่อเจ็ดลูก เพื่อไปชมปราสาทหินพันยอด และอ่าวฟอสซิล

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

พร้อมแล้วออกเดินทางกันเลย....

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ไม่ถึง 20นาทีเราก็มาถึงปราสาทหินพันยอด เดี๋ยวเราจะต้องพายเรือคายัคทะลุเขาหินที่อยู่ตรงหน้าเราเข้าไป ห๊า!!! จริงดิ

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ซูมกันใกล้ๆ ที่แท้เขาหินนี้มีทางเข้าออกได้ มีหลายทางด้วยนะ

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ภาพจากด้านในจะเห็นชัดเจนว่ามีทางเข้าออกมากกว่าหนึ่งทาง จริงๆ ยังมีทางเข้าออกอีกทางอยู่ด้านขวามือของรูปนี้ คนพายเรือพาผมออกทางนั้นตอนขากลับ

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

นี้เป็นภาพจากเว็บไซด์ http://www.satun-geopark.com ตามลูกศรสีแดงคือจุดที่เราพายเรือคายัคเข้าไป โพรงนี้เกิดจาก เมื่อหลายล้านปีก่อนน้ำใต้ดินได้กัดเซาะและละลายหินปูนที่อยู่ใต้ดินจนเกิดเป็นรูโพรงมากมาย โพรงได้ขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนเชื่อมต่อกันเป็นโพรงขนาดใหญ่ ต่อมาหินปูนถูกยกตัวขึ้นกลายเป็นเทือกเขาหินปูนเกาะเขาใหญ่ เพดานของโพรงถูกน้ำกัดเซาะจนบางลงเรื่อยๆ จนกระทั่งรับน้ำหนักไม่ไหวจึงเกิดการยุบตัวลงมากลายเป็นหลุมอยู่ในภูเขา ส่วนด้านบนที่ยังเหลือมีการกัดเซาะของหินที่ไม่เท่ากันจึงเกิดเป็นยอดแหลมมากมาย จึงเป็นที่มาของชื่อ “ปราสาทหินพันยอด” นั่นเอง

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

จุดต่อไปของเราคือ อ่าวฟอสซิล พอมาถึงเราก็ปูเสื่อทานอาหารกลางวัน ที่จัดโดยเรือนำเที่ยวกันก่อนเลย เป็นอาหารพื้นทางใต้ รสชาติอร่อยไม่แพ้มื้อแรกที่อุทยานธรณีสตูลจัดให้กินเลย เสียดายว่าไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ชมกัน พออิ่มหนำกันแล้วเราก็เดินไปชมฟอสซิลนอติลอยด์ ระยะทางประมาณ 300เมตร จากจุดจอดเรือ

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

นอติลอยด์ เป็นสัตว์จำพวกหอยกลุ่มเดียวกับหมึก ลำตัวภายในเปลือกจะมีช่องว่างที่มีผนังปิดแบ่งเป็นห้องๆ มีท่อกลางลำตัวทะลุเชื่อมห้องว่างทุกห้องในเปลือก ลักษณะเปลือกมีทั้งแบบเป็นแท่งตรงคล้ายกรวยและแบบม้วนขดเกลียวเป็นวง มีอายุประมาณ 470 ล้านปี

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

พอขึ้นเรืออาบน้ำอาบท่าเสร็จ อาหารทะเลหน้าตาดีรสชาติอร่อยของร้าน “ปากน้ำซีแอนด์ฟิชชิ่งทัวร์” ก็พร้อมให้เราได้รับประทานกันทันที

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

ปิดท้ายกันด้วย โรตีร่างแห กินกับนม สังขยา ต้องขอบอกว่า หร่อยจังฮู้...

ท่องเที่ยวดินแดนก่อนประวัติศาสตร์ “อุทยานธรณีโลก” จังหวัดสตูล

เดินทางมาครบถ้วนตามโปรแกรมท่องเที่ยวอุทยานธรณีสตูลทริปนี้แล้วครับ อยากบอกว่าสถานที่ท่องเที่ยวทั้งหมดของทริปนี้อะเมซิ่งสำหรับผมมากเลย อุทยานธรณีสตูลยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามน่าทึ่งอีกมากมาย ไว้โอกาสต่อไปคงได้ไปนำภาพกลับมาให้ชมกันอีกครับ ลากันด้วยภาพเรือประมงจากอ่าวนุ่น แล้วพบกันใหม่ทริปหน้า สวัสดีครับ...

ขอขอบคุณ

กรมทรัพยากรธรณี โทรศัพท์: 02 621 9500  เว็บไซต์: dmr.go.th

สำนักงานอุทยานธรณีสตูล โทรศัพท์: 063 465 4924  เว็บไซต์: satun-geopark.com

tags: สตูล, บล็อกทั้งหมด

กดเลิฟบล็อกนี้ คลิก...>>


Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com