www.touronthai.com

หน้าหลัก >> ขอนแก่น >> กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

     ไหมแห่งบุญราศรี 12 ฮีต อีสาน สืบสานภูมิปัญญาอีสานผ่านลายผ้าไหม ฮีต 12 เล่าเรื่องราวของขอนแก่นดินแดนแห่งไหม ชื่อนี้หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง ผ้าไหมไทยเคยมีช่วงที่จำนวนลดน้อยหายลงไปเรื่อยๆ ในช่วงหนึ่งจนกระทั่งการตื่นตัวเรื่องไหมได้กลับมาอีกครั้ง ทุกวันนี้กลุ่มทอผ้าไหมเกิดขึ้นทั่วไปโดยเฉพาะในภาคอีสานมีให้เห็นหลายจังหวัด แต่เรื่องราวของผ้าไหมไม่ได้อยู่ที่การเลี้ยงหม่อนไหมเอามาทอ แต่ความจริงนั้นลึกๆ ของผ้าไหมมีเรื่องราวมากมายที่สืบทอดต่อกันมาและหลายคนคงไม่เคยรู้เพราะคนเขียนเป็นคนขอนแก่นแท้ๆ ยังเพิ่งเคยได้ยินเรื่องนี้เป็นครั้งแรก นั่นก็คือลายไหม 12 เดือน หรือเรียกกันภาษาอีสานว่า ลายไหมฮีต 12 

    คำว่าฮีต 12 มีความหมายถึงจารีตประเพณีงานบุญในรอบ 12 เดือนของแต่ละปี เราจะเห็นคำว่าฮีต 12 คอง 14 อยู่ด้วยกันเสมอๆ ตอนนี้ขอเล่าเรื่องฮีต 12 อย่างเดียวก่อน เพราะไปเจอเอาหมู่บ้านที่ทอผ้าไหมมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ไหน ผ้าไหมฮีต 12 จะมี 12 ลาย ใช้ในงานบุญประจำ 12 เดือนไม่ซ้ำกัน ความเป็นมาในการคิดค้นประดิษฐ์ลวดลายให้สอดคล้องกับธรรมเนียมวิถีชีวิตของชาวบ้านจนได้มาเป็นลายไหมทั้ง 12 ลายนี้น่าสนใจมากๆ ถ้าสนใจลองมาดูกันที่ กลุ่มทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย บ้านหนองบัว ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

เวลาเปิด-ปิด:08:00 - 18:00

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. ขอนแก่น โทร 0 4322 7714-5
http://www.tourismthailand.org/khonkaen

แก้ไขล่าสุด 2017-11-20 15:10:46 ผู้ชม 7529

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

ตำบลโสกนกเต็น เดิมขึ้นกับตำบลเมืองพล ได้แยกออกเป็นตำบลโสกนกเต็น เมื่อปี พ.ศ.2532 เดินทางจากตัวเมืองพลมาหมู่บ้านใกล้มากจนไม่อยากจะเชื่อว่าเราไม่เคยได้ยินชื่อหมู่บ้านนี้มาก่อน วันนี้ที่หมู่บ้านมีพิธีด้วยเลยได้ร่วมงานกับเค้าไปโดยปริยาย พิธีนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า สู่ขวัญม้อน เป็นสำเนียงอีสานแปลได้ว่า สู่ขวัญหม่อน คือเจ้าหม่อนหนอนไหมนั่นเอง

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

ชาวบ้านละแวกนี้ยังคงใช้ชีวิตเหมือนๆ กับชาวอีสานส่วนใหญ่คืออาชีพหลักอยู่กับการทำนาทำไร่ทำสวน หนักไปทางทำนาเป็นส่วนใหญ่ เรื่องการทอผ้าไหมต้องเป็นอาชีพเสริมและใช้เวลาในช่วงที่ว่างเว้นจากการทำนาจริงๆ แต่หลังๆ มาการขายผ้าไหมมีรายได้มากขึ้นและมีคนมาอุดหนุนมากกว่าแต่ก่อน อาชีพทอผ้าไหมก็เริ่มที่จะทำรายได้ได้พอๆ กับอาชีพหลัก ถ้ามองในแง่ที่ว่ารายได้เฉลี่ยทั้งปียังมากกว่าทำนาเพราะทำนาทำได้หนเดียวเอง

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กระบวนการเลี้ยงหม่อนไหม การเอาไหมออกมาจนถึงการเอามาทอ เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ไม่ได้ต่างกับการทอผ้าไหมของหมู่บ้านอื่นๆ แต่ที่สำคัญของผ้าไหมมันอยู่ที่ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านที่สืบทอดต่อกันมาอย่างไม่มีใครเลียนแบบใคร บางทีแค่เห็นลายซิ่นก็รู้ว่าเป็นคนบ้านไหนเลยทีเดียว

ลายไหมฮีต 12 บ้านโสกนกเต็น

ลายไหมฮีต 12 บ้านโสกนกเต็น เป็นเอกลักษณ์อันโดนเด่นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย หรือจะว่าไปต้องบอกว่ามีแห่งเดียวในโลก ลวดลายบนผืนผ้าไหมออกแบบมาด้วยความแปลกและมหัศจรรย์ เกิดจากจินตนาการของคนออกแบบลาย และหลายๆ ลายที่เราเห็นเกิดขึ้นเมื่อคนโบราณไปเห็นเหตุการณ์ต่างๆ แล้วมาประยุกต์ให้เป็นลายบนผ้า

    ลายผ้าไหมฮีต 12 มีเรื่องราวมากมายที่เล่าขานสืบกันมา เท่าที่จับใจความได้จากคำบอกเล่าของชาวโสกนกเต็น ผ้าไหมบุญราศรี 12 ฮีตอีสาน คือ

    บุญเดือนอ้ายผ้าไหมลายข้าวหลามตัด ใช้ในช่วงงานบุญเข้ากรรม เป็นพิธีกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่ต้องอาบัติ (เป็นอาบัติเล็กๆ น้อยๆ ที่ปลงอาบัติได้) เป็นช่วงบุญเดือนอ้าย ชาวบ้านจะถวายข้าวหลามซึ่งจะเป็นข้าวหลามจากข้าวใหม่ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ๆ

    ผ้าไหมลายที่สองบุญเดือนยี่งานบุญคูณลาน คือการขอบคุณพระแม่โพสพ เป็นงานบุญที่จัดในช่วงเดือนยี่ ใช้คู่กันกับขันหมากเบ็ง มีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อขอให้พระแม่โพสพ บันดาลให้มี ผลผลิตข้าวมากๆ อีกในปีหน้า ผ้าไหมจะใช้ไหมมัดหมี่โบราณชื่อลายขันหมากเบ็ง

    บุญเดือนสามบุญข้าวจี่ เป็นช่วงปลายหน้าหนาว มีตำนานเกี่ยวกับนางสุชาดา ซึ่งเป็นเมียพระอินทร์ไม่ค่อยได้บำเพ็ญกุศลทำบุญ ต่อมาได้เกิดมาเป็น นางนกกระยางขาว ต้องบำเพ็ญกุศลเพื่อจะได้กลับไปเสวยสุข ชาวบ้านเลยทอผ้าไหมลายนกกระยางคู่ใช้ในการไปทำบุญข้าวจี่

    บุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ งานบุญเดือนสี่ จะใช้ขันหมากเบ็งใหญ่ เป็นบุญมหาชาติ จะมีเครื่องถวายพร้อมขันหมากเบ็งจำนวนมากกว่าบุญเดือนสามก็มีผ้าซิ่นลายเฉพาะของบุญนี้ เรียกว่าลายขันหมากเบ็งใหญ่นั่นเอง

    บุญสงกรานต์ บุญเดือน 5 ใช้ผ้าไหมลายขาเปีย มีความหมายคล้ายๆ กับ การไขว้การเกี่ยวพัน ใช้หมายถึงความผูกพันของชาวบ้านเมื่อถึงเดือน 5 ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนให้กลับมารวมกัน ผูกพันกันเหมือนลายขาเปีย

    บุญเดือนหกเป็นงานบุญบั้งไฟ  ผ้าไหมลายดอกแก้วน้อย ตามความเชื่อของคนอีสานถ้าจะถวายดอกไม้ไม่ว่าดอกอะไรใส่เข้ามาในพานก็จะเรียกรวมว่าดอกแก้วทั้งหมด ตามความสวยงามและกลิ่นที่หอมของดอกไม้เตรียมมาสำหรับถวายพระ เรียกรวมว่าดอกแก้ว

    บุญเบิกบ้านหรือบุญซำฮะ เป็นงานบุญในช่วงเดือน 7 เป็นเดือนที่เริ่มมีหน้าฝน จะเป็นช่วงเริ่มต้นแห่งการทำนา คำว่าซำฮะ เป็นภาษาอีสานแปลตรงตัวว่าชำระ เอาสิ่งไม่ดีออกไปก่อนที่จะเริ่มต้นทำสิ่งดีๆ ลายผ้าไหมในงานบุญนี้จะใช้ลายหมี่ฟันหวีไส้กงสิบสาม

    บุญเดือนแปด ช่วงแห่งการเข้าพรรษา จะใช้ซิ่นที่เรียกว่า ซิ่นเอาบุญ ชื่อลายหมากหญ้าหยุมหรือหมากจับหยุม แนวคิดของลายนี้ กล่าวถึงสตรีที่่ แฟนหนุ่มบวชเป็นพระจะต้องจำพรรษาในวัดถึง 3 เดือน ก็จะรีบไปวัดร่วมงานบุญ ต้องเดินผ่านทุ่งนาไปตามคันนา มีโคลนดีดกระเด็นใส่ มีหญ้าเจ้าชู้เกาะชายผ้าซิ่นเต็มชายซิ่นไปหมด ลวดลายก็จะออกมาแปลกตา ชาวบ้านปกติใส่ซิ่นทำนาตืนซิ่นจุ่มลงในโคลนทุกวันๆ แล้วสังเกตุเห็นว่าตรงตีนซิ่นผ้าจะนุ่มกว่าส่วนอื่นจึงเป็นไอเดียของผ้าหมักโคลนในเวลาต่อมา

    บุญเดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน ใช้ผ้าซิ่นไหมมัดหมี่โบราณลายหมี่กาหลง จะทำสำรับกับข้าวเรียกว่าห่อข้าวน้อยไปส่งให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ชาวอีสานถือว่าลูกหลานคนไหนไม่ทำบุญข้าวประดับดิน ญาติที่ตายไปแล้วไม่ได้รับข้าวก็จะถูกยมบาลลงโทษ

    บุญเดือนสิบ บุญข้าวสาก เป็นงานประเพณี บุญสายกล่องข้าว ต้องมีห่อข้าวน้อยเอามาร้อยเป็นสาย ต้องมียาสูบมวนยาสูบ และพริกกับเกลือเป็นสิ่งที่ต้องห้ามขาดเพื่อเป็นของไปให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นงานบุญที่ใหญ่กว่าบุญเดือนเก้า ผ้าไหมสำหรับบุญเดือนสิบเรียกว่าลายคั่นสายก่องข้าว

    งานบุญเดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา ฝากรักให้ก้องฟ้าผ่านผืนผ้าและลายทอ เป็นคำกล่าวถึงลายผ้าซิ่นใช้ในงานบุญเดือนสิบเอ็ด ช่วงแห่งงานบุญออกพรรษา มีผญาหรือกลอนอีสานพูดกันต่อๆ มาว่า "...ออกพรรษาแล้ว น้องแก้วเฝ้าถ่า มัดผ้ามัดหมี่สาย เกาะเกี่ยวลายพันก้าว ส่าว สาวหา รับกฐินแล้วอ้ายสิมา นางหล่าถ่าทอผ้าคองอยู่ล่องๆ อ้ายเอย..." ความหมายประมาณว่า หนุ่มเคยสัญญากับสาวไว้ว่าจะกลับมาบ้านในช่วงออกพรรษา สาวนางนั่งทอผ้าหัวใจคิดถึงแต่การกลับมาของชายหนุ่ม ผ้าไหมลายหมี่ล่ายใช้เทคนิคการผูกให้ลายงอเข้าคล้ายเครือเถาดอก บ้างก็บอกว่าลายหมี่ล่ายเป็นลายที่ทอแล้วจะเอียงไปเรื่อยๆ เหมือนคนทอใจเหม่อลอยคิดถึงแต่ชายหนุ่มที่ตัวเองเฝ้ารอ

    บุญเดือนสิบสองบุญกฐิน ใช้ซิ่นลายโซ่ตาข่าย ร่วมงานบุญกฐิน ชาวอีสานถือว่าบุญกฐินเป็นบุญสำคัญที่สุดวัดใดไม่มีต้นกฐินเข้าถือว่าวัดนั้นยังไม่ผ่าน เจ้าอาวาสผู้ครองวัดจะต้องหาวิธีให้มีกฐินเข้าวัดให้ได้ ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน ของทุกปี เหตุผลความเป็นมาของชื่อลายโซ่ตาข่ายต้องยกผญามาสักกลอนว่า "...อ้ายทิดสิสึกมา หลังออกพรรษาว่าสิแต่งดอง น้องนางหล่าต่ำหูกทอผ้าคองถ่าอ้าย เป็นลายโซ่ตาข่ายร่ายรัดไว้หัวใจอ้าย อย่าได้ห่างนาง..." มีความหมายว่า สาวนั่งทอผ้าลายโซ่ตาข่ายในระหว่างรอชายหนุ่มที่จะครบกำหนดสึกในวันออกพรรษา ได้หมายหมั่นไว้ว่าจะแต่งงานหลังจากสึกแล้ว ลายโซ่ตาข่ายนี้จะใช้มัดใจชายหนุ่มไม่ให้เปลี่ยนใจไปไหน

 

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น

หลักจากชมลายซิ่นผ้าไหมจนตาลาย เราก็ต้องขอจบการพาเที่ยวบ้านโสกนกเต็น อำเภอพลเอาไว้เท่านี้ก่อน บอกได้คำเดียวว่ามันมหัศจรรย์ Amazing มากๆ สุดยอดของฝีมือไทยที่ดังไกลไปทั่วโลก ขนาดลายผ้าไหมที่ใช้ในแต่ละเดือนยังมีความหมายลึกซึ้งขนาดนี้ แล้วผ้าไหมที่ยังมีลายอีกนับไม่ถ้วนจะมีเรื่องราวซ่อนอยู่มากแค่ไหน เราเป็นคนไทยก็ขอให้ภาคภูมิใจและสนับสนุนสินค้าภูมิปัญญาไทยให้อยู่คู่บ้านเมืองเราต่อไปให้นานเท่านานนะครับ

    ถ้าอยากรู้เรื่องราวของผ้าไหมไทยโดยเฉพาะผ้าไหมขอนแก่น ขอเชิญให้มาดูกันให้จุใจเต็มอิ่มในงานเทศกาลผ้าไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดขอนแก่น ที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น

รีวิว กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


 "บอกรัก"

Sreesongboon Boonsreecamp Takoolwongboonsree
2017-11-23 11:37:54

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


 "ชีวิต เป็น เรื่องสุนทรีย์"

Sreesongboon Boonsreecamp Takoolwongboonsree
2017-11-23 11:36:10

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


 "ชีวิต เป็น เรื่องสุนทรีย์
ขอบคุณ ความสุขจากการได้รัก และถูกรัก"

Sreesongboon Boonsreecamp Takoolwongboonsree
2017-11-23 11:05:29

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


 "ชีวิต เป็น เรื่องสุนทรีย์
ขอบคุณ ความสุขจากการได้รัก และถูกรัก"

Sreesongboon Boonsreecamp Takoolwongboonsree
2017-11-23 10:34:39

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


 "ชีวิต เป็น เรื่องสุนทรีย์
ขอบคุณ ความสุขจากการได้รักและถูกรัก"

Sreesongboon Boonsreecamp Takoolwongboonsree
2017-11-23 10:29:34

กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น


15/25 จาก 5 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น
กรีนวิว รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  14.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
กรีนวิว รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ คลับ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  14.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
เรือนไทยรีสอร์ท
  21.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
เมก้ารีสอร์ท
  22.66 km | แผนที่ | เส้นทาง
Wishing Tree Resort Khon Kaen เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  24.55 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านเดี่ยว 3 ห้องนอน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 100 ตร.ม. – บ้านไผ่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  33.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
อินภาวา บูติก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  36.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
ภาวาเพลซ (บาย อินภาวา) เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  36.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
มุกดา บุษรา รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  40.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
กู๊ดวิว บูติก รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  44.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น
กลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านหนองบัว โสกนกเต็น
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสระบัวแก้ว ขอนแก่น
  20.64 km | แผนที่ | เส้นทาง
สุนทรีแลนด์ แดนตุ๊กตา ขอนแก่น
  25.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดมัชฌิมวิทยาราม ขอนแก่น
  34.87 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่น
  35.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดป่าธรรมดา
  36.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
ปราสาทเปือยน้อย ขอนแก่น
  37.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
กู่เปือยน้อย ขอนแก่น
  37.12 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลาไหมไทย (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี) ขอนแก่น
  44.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยานกล้วยไม้ป่าช้างกระ วัดป่ามัญจาคีรี ขอนแก่น
  54.91 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com