www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สุพรรณบุรี >> วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง

วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง

 วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในพื้นที่
 ประวัติวัดสองพี่น้อง
 เมื่อพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต บรรดามุขอมาตย์ข้าราชบริพารทั้งปวงต่างน้อมใจกันยก “พระสุรินทร์กุมาร” พระราชโอรสขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมาในปีพุทธศักราช 2199 ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระนารายณ์” พระบารมีของพระองค์แผ่ไพศาลไปทุกทิศานุทิศ ประเทศใหญ่น้อยต่างศิโรราบขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาเป็นสง่าแก่แผ่นดิน ส่วนไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ต่างอยู่กันอย่างร่มเย็น ภายในพระบรมโพธิสมภารแห่งพระองค์

 สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ปราดเปรื่องเชิงโคลงกวีกล่าวกันว่าในรัชสมัยของพระองค์ ข้าราชบริพารนับแต่ขุนนางผู้ใหญ่จนถึงไพร่เฝ้าหน้าประตู ทุกคนต่างสื่อสารกันด้วยภาษาโวหารเชิงกวี นอกจากนั้นพระองค์ ยังทรงเป็นนักต่อสู้ รักที่จะคบหาบรรดาผู้มีฝีมือไว้เป็นพรรคพวก ยังรวมถึงพระอาจารย์ทั้งเป็นพระสงฆ์ และฆราวาสที่เชี่ยวชาญเวทย์มนต์คาถา ตลอดจนชำนาญในการเสกเป่าเครื่องรางของขลัง

 บรมครูของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดสองพี่น้องคือ พระพิรอด ดำรงความเป็นสมณะเพศเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในป่าแขวงเมืองสุพรรณ เป็นผู้ทรงวิทยาคมสำเร็จฌานเตโชกสิณ มีฤทธาอยู่ยงคงกระพัน จนคนทั่วไปเรียกว่าท่าน “ขรัวคง” หรือ “ขรัวตาคง” เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าได้รับพระราชทาน พระราชวังที่พระราชทานจากพระราชบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าประสาททอง ให้เป็นที่ประทับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงโปรดเกล้าๆ อาราธนา “พระพิรอด” ให้ไปพำนักอยู่ในศาลาหลังสวนตำหนักวังนอกเพื่อรับการถ่ายทอดวิทยาคม ทั้งพระองค์และพระสหายอีกหลายท่านซึ่งในจำนวนนั้นรวมถึง โกษาเหล็ก โกษาปาน และพระเพทราชา ด้วย จากการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระแม่นมชื่อ “บัว” หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เจ้าแม่ดุสิต” เป็นชาวสุพรรณบุรีซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพบกับพระภิกษุผู้แก่กล้ารูปนี้

 นางบัวซึ่งอยู่ในฐานะ “พระแม่นม” ถือเป็นบุคคลสำคัญที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรักเสมือนพระมารดา เป็นที่ยำเกรงแก่ข้าราชบริพารทั่วหน้า ภายหลังจึงได้รับการยกย่องและเรียกขานกันว่า “เจ้าแม่ดุสิต” นอกจากเจ้าแม่ดุสิตแล้ว ทั้งเหล็กและปานซึ่งเป็นบุตรชายก็ได้กลายมาเป็นพระสหาย ก่อนเข้ารับราชการหลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์ จึงมีความเป็นไปได้ที่พระองค์จะเสด็จยังเมืองสุพรรณ อยู่เนื่องๆ เนื่องจากโปรดการล่าสัตว์ จนมีโอกาสพบกับพระพิรอด หรือ ขรัวตาคง แห่งวัดสองพี่น้อง พระสงฆ์ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกลางป่ารกชัฏ และได้ถวายการสอนวิชาอักขระ ประจุอาคม บนแผ่นผ้าที่ขมวดเกลียวม้วนเป็นวงแหวน ซึ่งต่อมารู้จักกันดีในชื่อ “แหวนพระพิรอด” ด้วยความศรัทธาสมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าฯ อาราธนาให้พระพิรอดไปพำนักใกล้พระราชวัง เพื่อถวายการถ่ายทอดวิชาคงกระพัน

 จากหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์การปกครองประเทศไทยของ วิชัย ประสังสิต หรือ ว.ช. ประสังสิต มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า “พระอาจารย์พิรอดอยู่วัดสองพี่น้อง แขวงเมืองสุพรรณ อายุ 45 ปี” และจากหนังสือวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 1 พุทธศักราช 2525 ระบุว่า “วัดสองพี่น้อง ประกาศตั้งเมื่อ พ.ศ. 2212”  จึงวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อพระพิรอดเข้าถวายวิชาการแขนงต่างๆ แก่พระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า จนขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2199 พระพิรอดยังคงจำพรรษาภายในตำหนักวังนอก จนถึงราวปีพุทธศักราช 2212 หลังจากสมเด็จพระนารายณ์ครองราชย์ได้ 13 ปี พระพิรอดอาจเห็นว่าสมควรแก่เวลาที่จะเปลี่ยนอารามจำพรรษา และไม่เหมาะหากจะบำเพ็ญภาวนาตามฐานะแห่งสงฆ์ภายในพระราชวังตลอดไป สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าๆ ให้สร้างวัดเป็นหลักแหล่งยังที่เดิมคือวัดสองพี่น้อง และเจ้าแม่ดุสิตรวมทั้งบุตรชายคู่บารมีสมเด็จพระนารายณ์ คือโกษาเหล็กและโกษาปาน ก็อาจเป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดจนลุล่วงไปด้วยดี จากหลักฐานต่างๆ รวมถึงจากพงศาวดารกรุงเก่าพอจะมีเค้าโครงอยู่เพียงเท่านี้

 สถานที่สำคัญของวัดได้แก่

 วิหารพระพุทธไสยาสน์ ที่เรียกกันว่าพระนอนใหญ่ เป็นพระเก่าแก่คู่วัดสองพี่น้อง
 พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา อุภัยภาดารามสถิต บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา เป็นปูชนียสถานควรแก่การสักการะบูชาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายผู้ปราถนาสุขสมบัติทั้งโลกนี้และโลกหน้า
 พระอุโบสถที่สร้างปี พ.ศ. 2476

ข้อมูลเพิ่มเติม:โทรศัพท์ 035542299

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 31318

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ป้ายบอกทาง

ป้ายบอกทาง เนื่องจากงานนี้เป็นงานใหญ่ พระสงฆ์ร่วมพิธี 15,000 รูป จึงมีผู้ร่วมงานเดินทางมาจากหลายจังหวัด มาถึง อำเภอสองพี่น้องก็จะเห็นป้ายบอกทางแบบนี้ติดอยู่

รถบริการรับส่ง

รถบริการรับส่ง ในงานไม่มีที่จอดรถกว้างพอที่จะรองรับรถจำนวนมหาศาลที่เดินทางมาร่วมงานนี้ จึงต้องมีลานจอดรถหลายลาน โดยเฉพาะตามโรงเรียนและวัดอื่นๆ แล้วใช้บริการรถรับส่งที่จัดไว้ให้ แม้ว่าจะมาถึงแต่เช้าก็ยังไม่เช้าพอ ผู้คนจำนวนมากต่างพยายามไปร่วมงานให้เร็วที่สุด

กัลยานมิตรหลั่งไหล

กัลยานมิตรหลั่งไหล ศิษยานุศิษย์หลวงพ่อสด เดินทางเข้าร่วมงานนี้ด้วยชุดสีขาวกันยาวเหยียด

ผ้าป่าหลวงพ่อสด

ผ้าป่าหลวงพ่อสด ในงานนอกจากจะมีการตักบาตรร่วมกันแล้วยังมีกองผ้าป่าหลายกองให้ร่วมทำบุญ

ภาพถ่ายมุมสูงการตักบาตรพระ 15000 รูป

ภาพถ่ายมุมสูงการตักบาตรพระ 15000 รูป ภายในลานบานชื่นมีพระจำนวนนับหมื่น นั่งประจำในพิธี ส่วนพุทธศาสนิกชนก็มีการจัดเตรียมที่เป็นแถว 16 แถว จำนวนประชาชนที่เดินทางมาน่าจะมากกว่า 30000 เห็นจะได้

เดินทางมาไม่ขาดสาย

เดินทางมาไม่ขาดสาย เวลาในงานใกล้จะเริ่มเต็มทีแล้ว ก็ยังมีคนเดินทางเข้ามาไม่ขาดสาย หลายคนเพิ่งมาถึง ลงจากรถรับส่งแล้วเดินต่อเข้ามาอีกไกลเหมือนกัน

เข้าประจำที่

เข้าประจำที่ ผู้คนมาร่วมงานตักบาตรเข้าประจำที่ที่จัดไว้ให้คนที่เพิ่งมาถึงไม่มีที่เหลือให้แทรกเข้าไปในแถวก็ต้องรออยู่ด้านนอก พอคนในแถวตักบาตรเสร็จแล้วค่อยขยับเข้าไปแทนที่กัน

พระสงฆ์นับร้อยเข้าประจำที่นั่ง

พระสงฆ์นับร้อยเข้าประจำที่นั่ง ฝ่ายพระสงฆ์เพิ่งเดินทางมาถึงก็อีกหลายร้อยรูปทะยอยเข้าที่นั่งมองเห็นเป็นสีเหลืองไปทั่วบริเวณงาน

ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน

ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์ ประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน เจ้าภาพร่วมกล่าวถวายสังฆทาน

ตักบาตรพระ 15000 รูป

ตักบาตรพระ 15000 รูป เนื่องจากเป็นการตักบาตรพระ 15000 รูป จึงมีการแบ่งออกเป็น 16 แถว 1 แถวก็ประมาณ 1000 รูป พระสงฆ์จะเดินให้เต็มแถวก่อนที่จะเริ่มให้ตักบาตรพร้อมกัน ใช้เวลานานพอสมควรพระก็เริ่มเดินได้เต็มแถวแล้วเริ่มเดินย้อนกลับไปอีกรอบเพื่อให้ได้อีก 1 แถว

พระสงฆ์เดินเต็มแถว

พระสงฆ์เดินเต็มแถว จะเห็นว่าพระสงฆ์ได้เดินมาจนเต็มแถวแล้ว ก็ยังมีพระสงฆ์อีกจำนวนมากยังอยู่ตรงบริเวณอาสนะ ทั้งนี้เมื่อเริ่มการตักบาตรก็จะมีพระเดินเข้าออกสลับกันไปเรื่อยๆ จนกว่าพิธีจะเสร็จสิ้น

รอตักบาตร

รอตักบาตร ในช่วงนี้ผู้คนก็เริ่มที่จะเข้าตักบาตรพระ ส่วนคนที่มาช้าแล้วต้องรออยู่ข้างหลังก็ยังรอต่อไป เมื่อคนในแถวตักบาตรจนเสร็จก็จะหลบออกมาอยู่ด้านนอก บางคนก็เดินทางกลับ

ตักบาตรพระ 15000 รูป

ตักบาตรพระ 15000 รูป หลังจากการตักบาตรพระเสร็จสิ้นลง หลายคนก็เดินทางกลับบ้าน หลายคนก็เข้าไปหาอะไรกิน ในงานมีอาหารและเครื่องดื่มแจกฟรี หลายๆ คนก็เดินทางไปร่วมพิธีในวัดสองพี่น้องซึ่งห่างจากลานบานชื่นแห่งนี้ไปอีกประมาณ 2-3 กิโลเมตร หลายคนหารถไปวัดไม่ได้ถึงกับเดินไปก็มี

พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา

พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา อุภัยภาดารามสถิต
พระคาถาบูชาว่าดังนี้
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม สิริมังคะลัง
(นั่งสงบอธิษฐานจิตตามปรารถนา)
พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา อุภัยภาดารามสถิต
พระธรรมปัญญาบดี(ถาวร ดิสฺสานุกโร) อธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เป็นประธานสร้างด้วยงบของวัดพระเชตุพนฯ 2,000,000 บาท คุณเจริญ-คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี บริจาค 2,500,000 บาท ดำเนินการสร้างโดย นายสิทธิชัย-นางผุสดี ตั้งตรงจิต
สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญโญ ปธ.๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แม่กองบาลีสนามหลวง กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานอันเชิญพระอัฐิธาตุ สมเด็จสังฆราชองค์ที่ 17 บรรจุเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2551 กลุ่มกัลยานมิตรวัดพระธรรมกาย ปทุมธานี ร่วมดูแลความเรียบร้อยการจัดสถานที่ และพิธีกรรม
วันที่ 29 มิถุนายน 2551 พระครูสิริวัฒนวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง จัดงานหล่อพระประจำปีเกิด และอาราธนาพระราชปริยัติสุธี เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบพิธีอันเชิญ พระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ขึ้นบรรจุ เวลา 14.29 น. พระอาทิตย์ทรงกลด เป็นมหัศจรรย์ปรากฏการณ์แก่มหาชนในมณฑลพิธี
พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชานี้ เป็นปูชนียสถานควรแก่การสักการบูชาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาสุขสมบัติทั้งโลกนี้และโลกหน้า

พระราหูวัดสองพี่น้อง

พระราหูวัดสองพี่น้อง เมื่อเข้ามาถึงวัดสองพี่น้องจะเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีสังฆราชา อุภัยภาดารามสถิต เป็นสิ่งแรกอยู่ขวามือตรงประตูวัด เข้ามาอีกก็มีศาลาแนวยาว มีพระพุทธรูป เทวรูป ประดิษฐานอยู่จำนวนมาก

เทียนดำ

เทียนดำ สำหรับการบูชาพระราหูจะต้องใช้เทียนธูปสีดำ

พระพุทธรูป ๘ พระพักตร์

พระพุทธรูป ๘ พระพักตร์

พระพุทธรูป ปางแปลกตา

พระพุทธรูป ปางแปลกตา

วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง

วัดสองพี่น้องในอดีต

วัดสองพี่น้องในอดีต ภาพถ่ายทางอากาศเก่าแก่ของวัดสองพี่น้อง

ภาพทางอากาศวัดสองพี่น้อง

ภาพทางอากาศวัดสองพี่น้อง

พระประธาน

พระประธาน ประดิษฐานในอุโบสถวัดสองพี่น้องซึ่งมีประวัติการสร้างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2476

ภาพเขียนอุโบสถวัดสองพี่น้อง

ภาพเขียนอุโบสถวัดสองพี่น้อง

บานหน้าต่างอุโบสถวัดสองพี่น้อง

บานหน้าต่างอุโบสถวัดสองพี่น้อง

ถ้วยชามสังคโลกบนหน้าบันวิหารพระนอนใหญ่

ถ้วยชามสังคโลกบนหน้าบันวิหารพระนอนใหญ่ วิหารพระนอนใหญ่ อยู่ข้างอุโบสถมีขนาดเล็กกว่าอุโบสถเล็กน้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระนอน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่วัดสองพี่น้องมานาน

พระนอนใหญ่

พระนอนใหญ่ พระพุทธรูปที่กล่าวกันว่าศักดิ์สิทธิ์ อยู่คู่กับวัดสองพี่น้องมาตั้งแต่สมัยก่อน เมื่อเดินทางมาวัดสองพี่น้องจะมีคนบอกให้เข้ามาสักการบูชา กราบไหว้พระนอนใหญ่องค์นี้เสมอ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดสองพี่น้อง สุพรรณบุรี
โรงแรมซิลเวอร์วูดส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  31.81 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศสิ รีสอร์ท
  31.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
Dcondo Campus Kamphaeng Sean เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  36.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านดิน ริมน้ำ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.93 km | แผนที่ | เส้นทาง
พลูหลวงแมนชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  38.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรม ปิคโคโร่ เฮาส์
  39.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
EAUSTAY HOLIDAY ROOM เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  39.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
The Country Lake View Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  42.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
Suanrak Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  44.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
หม่อมไฉไล ริเวอร์ รีทรีท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  46.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดสองพี่น้อง สุพรรณบุรี
สุ่มปลายักษ์ตลาดน้ำสะพานโค้งบ้านต้นตาล
  5.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอาน
  18.79 km | แผนที่ | เส้นทาง
ท่องเที่ยวชุมชนบางแม่หม้าย
  18.96 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
  21.77 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดทับกระดาน สุพรรณบุรี
  27.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์ สุพรรณบุรี
  29.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงเรียนการบินกำแพงแสน นครปฐม
  30.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
ตลาดเก้าห้อง สุพรรณบุรี
  36.33 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ นครปฐม
  36.51 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
  36.54 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (а№ѓаёЄа№Ђ @)
www.touronthai.com