www.touronthai.com

หน้าหลัก >> สระแก้ว >> อุทยานแห่งชาติปางสีดา

อุทยานแห่งชาติปางสีดา

 อุทยานแห่งชาติปางสีดา ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2525 มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอเมือง ฯ อำเภอ วัฒนานคร อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว และอำภอ นาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 844 ตารางกิโลเมตร หรือ 527, 500 ไร่ อาณาเขตทางด้านทิศเหนือทั้งหมดกับด้านทิศตะวันตกบางส่วนมีแนวป่าต่อเนื่องกับอุทยานแห่งชาติทับลาน สภาพป่าเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแห้ง ป่าเต็งรัง และป่าทุ่งหญ้า เป็นป่าแห่งต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสายเช่นเดียวกับเขาใหญ่ เช่น ห้วยโสมง ห้วยเสียว ห้วยน้ำเย็น ห้วยพระปรง ห้วยพลับพลึง ห้วยยาง ห้วยเลิงไผ่ ห้วยละพูด ลำห้วยต่างๆ เหล่านี้จะไหลลงสู่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งจัดเป็นแม่น้ำสายสำคัญของภาคตะวันออก

 อุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นป่าที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะเรื่องสัตว์ป่า เพราะมีสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น นกเงือก นกยูง จุดหนึ่งที่พบสัตว์ป่ามากก็คือ บริเวณ ห้วยคลองพลู ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับไร่ร้าง ปัจจุบันมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าที่สัตว์ป่าหลายชนิดมักจะมากินน้ำ สัตว์ที่พบในบริเวณนี้คือช้างป่า กระทิง เก้ง กวาง หมูป่า หรือแม้แต่เสือลายพาดกลอน สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบกิจกรรมเดินป่า ทางอุทยานฯ ได้แนะนำและจัดเส้นทางเดินป่าท่องไพรดูนก ดูผีเสื้อที่มีหลากหลายสายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติปางสีดา

น้ำตกปางสีดา อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 800 เมตร เป็นน้ำตกที่ไหลจากหน้าผา 3 ชั้น สูงประมาณ 10 เมตร ตัวน้ำตกไหลลงสู่เบื้องล่างเป็นแอ่งน้ำกว้างใหญ่และลานหินบรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การเล่นน้ำ และจะมีน้ำมากในช่วงฤดูฝน

น้ำตกผาตะเคียน อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากน้ำตกปางสีดาประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถเดินทางเท้าได้ 2 เส้นทาง มีป้ายบอกตลอดเส้นทางทุกๆ 300 เมตร ตลอดเส้นทางขึ้นสู่น้ำตกร่มรื่นด้วยแมกไม้หนาทึบ เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายที่อยู่สายเดียวกับน้ำตกปางสีดา น้ำตกทิ้งตัวลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตรเหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ทุ่งหญ้าโป่งกระทิง เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าที่กลายเป็นทุ่งหญ้ารกร้าง ภายหลังอพยพผู้คนออกไปมีลักษณะคล้ายทุ่งหญ้าที่มอสิงโตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีสัตว์ป่าออกหากินบริเวณนี้เป็นจำนวนมากทางอุทยานฯ ได้ทำโป่งเทียมและหอดูสัตว์ไว้ จากถนนภายในอุทยานฯ มีทางแยกบริเวณกิโลเมตรที่ 35 และกิโลเมตรที่ 6 แล้วเดินเท้าอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งกระทิงซึ่งมีโป่งธรรมชาติที่อาจพบสัตว์ป่าได้ไม่ยาก

น้ำตกถ้ำค้างคาว จากที่ทำการถึงหลักกิโลเมตรที่ 22 ให้เดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร บริเวณน้ำตกมีค้างคาวอาศัยอยู่ในถ้ำมากมาย เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งตั้งอยู่กลางป่าลึกใช้เวลาเดินทางไปกลับ 3 วัน 2 คืน ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ

น้ำตกทับซุง เป็นน้ำตกแห่งใหม่ของอุทยานฯ น้ำตกทับซุง เป็นน้ำตกแห่งใหม่ของอุทยานฯ ระหว่างทางเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติมีพรรณไม้หลากหลายชนิด อยู่ช่วงกิโลเมตรที่ 22 แล้วเดินเท้าอีก 1.5 กิโลเมตร

จุดชมวิว เป็นหุบเขากว้าง ห่างจากที่ทำการไปประมาณกิโลเมตรที่ 25 และกิโลเมตรที่ 35 สามารถชมภูมิประเทศโดยรอบ และชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกได้ สามารถขับรถไปได้จากที่ทำการอุทยานฯ

กลุ่มน้ำตกแควมะค่า จากที่ทำการอุทยานฯ ถึงหลักกิโลเมตรที่ 40 ให้เดินเท้าต่ออีกประมาณ 6 กิโลเมตร ตัวน้ำตกทิ้งตัวจากหน้าผาสูงประมาณ 70 เมตร เหมาะสำหรับเดินป่า และสามารถกางเต็นท์ได้ ใกล้ๆ กันยังมีน้ำตกรากไทรย้อย ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 500 เมตร น้ำตกลานหินใหญ่ ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 1.5 กิโลเมตร น้ำตกสวนมั่น สวนทอง ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 3 กิโลเมตร และน้ำตกม่านธารา ห่างจากน้ำตกแควมะค่า ประมาณ 4 กิโลเมตร กลุ่มน้ำตกแห่งนี้ใช้ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 2-3 วัน เนื่องจากเป็นกลุ่มน้ำตกที่อยู่ลึกเข้าไปในผืนป่า

ภูเขาเจดีย์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มก้อนหิน มีรอยแตกคล้ายกับหินที่ภูหินร่องกล้า สูงประมาณ 4 เมตร มีเส้นรอบวง 25 เมตร อยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ปด.1 (แก่งยายมาก) ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 50 กิโลเมตร

แหล่งจระเข้น้ำจืดแก่งยายมาก ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางไปหมู่บ้านคลองผักขม-ทุ่งโพธิ์ อีกประมาณ 50 กิโลเมตร เป็นแหล่งจระเข้น้ำจืดที่ได้สำรวจพบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2534 ที่ยังเหลืออยู่ที่บริเวณป่าห้วยน้ำเย็น ซึ่งมีหอดูดาวไว้บริการอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ปด.1 (แก่งยายมาก)

แหล่งดูผีเสื้อ อุทยานฯได้จัดเส้นทางแนะนำเพื่อดูผีเสื้อที่มีกว่า 250 ชนิด ได้แก่บริเวณน้ำตกปางสีดา น้ำตกลานหินดาด ห้วยน้ำเย็น และแหล่งน้ำซับ กม.26 ในช่วงต้นฤดูฝนมีการจัดเทศกาลดูผีเสื้อที่อุทยานแห่งชาติปางสีดาด้วย

 ค่าเข้าอุทยานฯ คนไทย ผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก คนละ 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก คนละ 100 บาท

 ทางอุทยานฯ มีบริการบ้านพัก ในอัตราคืนละ 1,200 บาท และมีสถานที่ให้กางเต็นท์ในบริเวณที่ทำการอุทยานฯ บริการแก่นักท่องเที่ยว
 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760 อุทยานแห่งชาติปางสีดา โทร. 0 3724 3775. 0 3724 6100 หรือ www.dnp.go.th

การเดินทาง

รถยนต์ จากตัวเมืองสระแก้วใช้ทางหลวงหมายเลข 3462 ขึ้นไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร อุทยานฯ จะอยู่ทางขวามือ

รถโดยสารประจำทาง สามารถใช้บริการรถสองแถวโดยสารสายสระแก้ว-บ้านคลองน้ำเขียวจากสถานีขนส่ง ระหว่างเวลาประมาณ 09.00-15.30 น. ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ ค่าโดยสารคนละประมาณ 25 บาท หรือเหมารถสองแถวคันละประมาณ 300 บาท

รถไฟสายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ลงที่สถานีรถไฟจังหวัดสระแก้ว จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางสายสระแก้ว-บ้านคลองน้ำเขียว ไปประมาณ 27 กิโลเมตร จนถึงที่ทำการอุทยานฯ

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานครนายก (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) โทร. 0 3731 2282, 0 3731 2284
http://www.tourismthailand.org/nakhonnayok

แก้ไขล่าสุด 2016-06-29 22:04:38 ผู้ชม 58382

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ


โป่งผีเสื้อน้ำตกปางสีดา

โป่งผีเสื้อน้ำตกปางสีดา เมื่อมาถึงอุทยานแห่งชาติปางสีดา สิ่งแรกที่ต้องทำหลังจากชำระค่าเข้าชมแล้วคือการไปติดต่อศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะค้างที่นี่และต้องการไปจุดชมวิวของอุทยานแห่งชาติปางสีดา ต้องทำการแจ้งความประสงค์และทำบัตรผ่านครับ ไม่งั้นเดี๋ยวไปถึงด่านแล้วต้องกลับลงมาใหม่ แจ้งจำนวนคนให้เรียบร้อย จากนั้นก็ออกเดินทาง
จุดแรกโป่งผีเสื้อบริเวณทางเข้าน้ำตกปางสีดา สำหรับช่วงนี้น้ำตกปางสีดาแห้งสนิทครับ แต่มีผีเสื้อกับช่างภาพจำนวนมากล้อมรอบขอบโป่งที่มีผีเสื้อหากินกัน

ป้ายน้ำตกปางสีดา

ป้ายน้ำตกปางสีดา จอดรถให้เรียบร้อยระวังรถไหล จุดนี้เป็นทางลาดครับจากนั้นก็ออกถ่ายภาพกันได้เลย ที่โป่งค่อนข้างร้อน ไม่มีต้นไม้ควรหาหมวกหรือร่มมาด้วย

นางผีเสื้อ

นางผีเสื้อ ตรงนี้มีป้ายเขียนภาพผีเสื้อเจาะช่องให้เอาหน้าโผล่อเข้าไปแบบที่เห็นนี่แหละ

ผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่

ผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่ *_* ความสวยงามและสีสันอยู่ที่ปีกด้านบน ถ่ายภาพตอนกางปีกยากมาก บินเร็ว แล้วเวลาลงเกาะพื้นไม่ยอมกางปีกเลยต้องจับภาพเวลาร่อนลงอย่างฉับไว
ชื่อไทย : ผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่
ชื่อสามัญ : Great Orange Tip
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hebomoia glaucippe (Linnaeus, 1758)
ชื่อวงศ์ : ผีเสื้อหนอนกระหล่ำ
ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีขาว มุมปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้ามีแถบสีส้มขนาดใหญ่ เพศเมียคล้ายเพศผู้ แต่มีแต้มสีดำที่ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังปีกล่าง คล้ายกันทั้ง 2 เพศ พื้นปีกสีน้ำตาลอ่อนลายๆ คล้ายใบไม้แห้ง
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อสะพายฟ้า

ผีเสื้อสะพายฟ้า tip : มุมที่สวยที่สุดของผีเสื้อเมื่อเค้าไม่กางปีกคือด้านข้าง การถ่ายภาพแนวนี้ผู้ถ่ายภาพต้องนอนถ่ายครับ
ชื่อไทย : ผีเสื้อสะพายฟ้า
ชื่อสามัญ : Common Bluebottle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium sarpedon (Fruhstorfer, 1907)
ชื่อวงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง (PAPILIONIDAE)
ลักษณะ : ลำตัวสีเทาเข้ม ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ กลางปีกมีแถบสีฟ้า ใกล้โคนปีกของปีกคู่หน้าและมุมปลายปีกหลังของปีกคู่หลังมีแต้มสีแดง ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่สีพื้นปีกอ่อนกว่าเล็กน้อย
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อสะพายฟ้า

ผีเสื้อสะพายฟ้า

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก (ภาพซ้าย) ผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ (ภาพ

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก (ภาพซ้าย) ผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ (ภาพ ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก
ชื่อสามัญ : Common Jay
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium doson (C. & R.Felder, 1864)
ชื่อวงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง (PAPILIONIDAE)
ลักษณะ : ลำตัวสีขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำยาวตามแนวลำตัว ปีกบน คล้ายปีกบนของผีเสื้อสะพายฟ้า พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม มีแถบสีฟ้าอ่อน (สีอ่อนกว่าผีเสื้อสะพายฟ้า) ขนาดใหญ่เรียงพาดกลางปีก ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่แถบสีฟ้ามีสีอ่อนกว่า และจะเว้นช่องห่างๆ ขอบปีกด้านในของปีกคู่หลังมีแต้มสีแดง บริเวณโคนปีกคู่หลังมีขีดสีแดงสั้นๆ อยู่ระหว่างแถบสีฟ้า
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย
----------
ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนใบกุ่มเส้นดำ
ชื่อสามัญ : Striped Albatross
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Appias libythea Swinhoe, 1890
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ
ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีขาว ขอบปีกด้านข้างสีดำ เห็นเส้นปีกสีดำชัดเจน เพศเมีย พื้นปีกสีดำ มีแถบสีขาวพาดขวางปีก ปีกล่าง เพศผู้ พื้นปีกสีขาว มีเส้นปีกสีดำ เพศเมียมีแต้มสีเหลืองจางๆ สลับกับแถบขาวตำแหน่งเดียวกับปีกบนทั่วปีก
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนหางดาบธรรมดา

ผีเสื้อหนอนหางดาบธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนหางดาบธรรมดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium antiphates itamputi (Butler)
ชื่ออื่น : Chain Swordtail
ชื่อวงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง (PAPILIONIDAE)
ลักษณะทั่วไป : ลำตัวและท้องขาวครีม มีแถบสีน้ำตาลพาด 1 แถบ จากหัวถึงปลายส่วนท้องยาวประมาณ 21 มิลลิเมตร ปีกด้านหลังพื้นปีกสีขาว ปีกคู่บนมีแถบสีดำจากขอบปีกด้านนอกถึงกลางปีก โดยมีแถบสีเขียวและขาวอยู่บนพื้นสีดำ ปีกคู่ล่างขอบปีกมีแถบสีดำ และปลายปีกยื่นยาวคล้ายดาบ ปีกด้านท้องปีกคู่บนสีและลายคล้ายปีกด้านหลัง ปีกคู่ล่างกลางปีกมีสีเหลืองอ่อนและมีแถบและจุดสีดำ ขนาดจากมุมปลายปีกด้านซ้ายถึงด้านขวาของปีกคู่บนยาวประมาณ 78-85 มิลลิเมตร
พฤติกรรม : หากินตามพื้นที่ชื้นแฉะริมลำธาร
ถิ่นอาศัย : ป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง

ผีเสื้อหนอนจำปีธรรมดา

ผีเสื้อหนอนจำปีธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนจำปีธรรมดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium agamemnon agamemnon (L.)
ชื่ออื่น : The Tailed Jay
ชื่อวงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง (PAPILIONIDAE)
ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสีดำอมน้ำตาล ท้องสีเทา จากหัวถึงปลายส่วนท้องยาวประมาณ 29 มิลลิเมตรข้างลำตัวมีแถบสีดำอมน้ำตาลเข้มยาวตามแนวลำตัว ปีกด้านหลังพื้นปีกสีน้ำตาลเข้มเกือบดำมีแถบและแต้มสีเขียวทั่วปีกทั้งสองคู่ ปลายปีกคู่ล่างยื่นยาวออก ส่วนบนของปีกคู่ล่างมีแถบสีขาวข้างละ 3 แถบ ปีกด้านท้องพื้นปีกสีน้ำตาลมีลวดลายคล้ายกับปีกด้านหลังโคนปีกคู่ล่างมีแถบสีเขียวอ่อน ขนาดจากมุมปลายปีกด้านซ้ายถึงด้านขวาของปีกคู่บนระหว่าง 75-85 มิลลิเมตร
พฤติกรรม : หากินตามพื้นที่ชื้นแฉะริมลำธาร
ถิ่นอาศัย : พบทั่วไปตามป่าดิบชื้นและป่าละเมาะ

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก *_* เรียงแถวกัน 3 ตัวเชียว สวยงามเป็นระเบียบ ชอบมาก
ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก
ชื่อสามัญ : Common Jay
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium doson (C. & R.Felder, 1864)
วงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : ลำตัวสีขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำยาวตามแนวลำตัว ปีกบน คล้ายปีกบนของผีเสื้อสะพายฟ้า พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม มีแถบสีฟ้าอ่อน (สีอ่อนกว่าผีเสื้อสะพายฟ้า) ขนาดใหญ่เรียงพาดกลางปีก ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่แถบสีฟ้ามีสีอ่อนกว่า และจะเว้นช่องห่างๆ ขอบปีกด้านในของปีกคู่หลังมีแต้มสีแดง บริเวณโคนปีกคู่หลังมีขีดสีแดงสั้นๆ อยู่ระหว่างแถบสีฟ้า
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหางดาบลายจุด

ผีเสื้อหางดาบลายจุด ชื่อไทย : ผีเสื้อหางดาบลายจุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium nomius (Moore, 1873)
วงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : มุมปลายปีกหลังของปีกคู่หลังยื่นยาว มีปลายแหลมคล้ายดาบ ปีกบน พื้นปีกสีขาวครีม ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลเข้มหนาจากขอบปีกด้านนอกถึงกลางปีกหลายแถบ ขอบปีกด้านข้างของปีกทั้ง 2 คู่มีแถบสีน้ำตาลเข้มเกือบครึ่งปีก บนแถบน้ำตาลเข้มนี้ของปีกคู่หน้ามีจุดสีขาวครีมเรียงกันโดยจุดที่ 2 จากบนจะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน บนแถบน้ำตาลเข้มของปีกคู่หลังมีขีดสีขาวครีมรูปจันทร์เสี้ยวเรียงกัน ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่แถบสีน้ำตาลจะหนากว่าปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Yeoman
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrochroa tyche Moore, 1872
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลส้ม ปีกทั้ง 2 คู่มีจุดและเส้นสีดำจางๆ เพศเมียมีสีพื้นปีกออกไปทางน้ำตาลอมเขียวและมีลวดลายคล้ายเพศผู้ ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า เห็นจุดและลวดลายจางๆ
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าสน
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

โป่งผีเสื้อ บริเวณด่าน กม.ที่ 3.5 อุทยานแห่งชาติปางสีดา

โป่งผีเสื้อ บริเวณด่าน กม.ที่ 3.5 อุทยานแห่งชาติปางสีดา ถึงด่านตรงนี้แล้วไม่ให้นำรถที่ไม่มีใบอนุญาต (ที่บอกตอนแรกสุด) ผ่านเข้าไปได้ แต่นักท่องเที่ยวสามารถจอดรถไว้ด้านนอกประตูแล้วเข้าไปถ่ายรูปผีเสื้อที่โป่งได้ จุดนี้เป็นโป่งขนาดใหญ่ มี 2 ฝั่งของถนนแล้วแต่ความชอบ ชื่อผีเสื้อปางสีดาที่ทำด้วยเชือกจะมีผีเสื้อมาเกาะกันเยอะเหมือนกันครับ

บอร์ดแสดงผีเสื้อกลางวันในอุทยานแห่งชาติปางสีดา

บอร์ดแสดงผีเสื้อกลางวันในอุทยานแห่งชาติปางสีดา บอร์ดตรงนี้แสดงผีเสื้อชนิดต่างๆ ที่พบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติปางสีดา แต่ที่โป่งจะพบได้บางชนิด สำหรับการดูผีเสื้อชนิดอื่นๆ อาจจะต้องเดินทางเข้าไปที่น้ำตกบ้าง ที่ทางเดินศึกษาธรรมชาติโป่งกระทิงบ้างนะครับ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ ชื่อไทย : ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ
ชื่อสามัญ : Common Indian Crow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euploea core Lucus, 1853
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ส่วนอกเป็นลายจุดดำ-ขาว ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาล มุมปลายปีกหน้าเป็นสีน้ำตาลจางเกือบขาว กลางปีกมีสีเหลือบน้ำเงินเล็กน้อย และมีจุดขาวประปราย ปีกคู่หลังมีจุดขาวเรียงกันตามแนวขอบปีก 2 แถว ปีกล่าง คล้ายปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนดอกไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ *_* ผีเสื้อชนิดนี้ไม่กลัวคนเลยค่ะ เกาะอยู่ที่เชือก บางทีเอานิ้วไปจิ้มก็มาเกาะที่นิ้ว เด็กๆชอบมาก
ชื่อไทย : ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ
ชื่อสามัญ : Common Indian Crow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euploea core Lucus, 1853
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ส่วนอกเป็นลายจุดดำ-ขาว ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาล มุมปลายปีกหน้าเป็นสีน้ำตาลจางเกือบขาว กลางปีกมีสีเหลือบน้ำเงินเล็กน้อย และมีจุดขาวประปราย ปีกคู่หลังมีจุดขาวเรียงกันตามแนวขอบปีก 2 แถว ปีกล่าง คล้ายปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนดอกไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

เที่ยวปางสีดาแบบครอบครัว

เที่ยวปางสีดาแบบครอบครัว เด็กๆ พากันชื่นชอบและตื่นเต้นที่ได้อยู่ใกล้ชิดผีเสื้อจำนวนมากๆ

นางแบบประจำทริปกับฝูงผีเสื้อหลากสีสัน

นางแบบประจำทริปกับฝูงผีเสื้อหลากสีสัน หากกำลังจดๆ จ้องๆ มองหาผีเสื้อตัวสวยเพื่อถ่ายรูปแล้วมีคนเดินเข้ามา มันจะบินขึ้นด้วยความตกใจ ก็เป็นจังหวะที่ดีเหมือนกัน

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ

ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ *_* ผีเสื้อชนิดนี้ความสวยงามจะอยู่บนปีก เวลาเกาะจะกางปีกเป็นระยะ ต้องอดทนรอกันสักหน่อยเพื่อถ่ายเวลากางปีก จึงจะได้สีสันสวยงามที่ซ่อนอยู่ค่ะ
ชื่อไทย : ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ
ชื่อสามัญ : Common Indian Crow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euploea core Lucus, 1853
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ส่วนอกเป็นลายจุดดำ-ขาว ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาล มุมปลายปีกหน้าเป็นสีน้ำตาลจางเกือบขาว กลางปีกมีสีเหลือบน้ำเงินเล็กน้อย และมีจุดขาวประปราย ปีกคู่หลังมีจุดขาวเรียงกันตามแนวขอบปีก 2 แถว ปีกล่าง คล้ายปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนดอกไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบฟ้า

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบฟ้า ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนพุทราแถบฟ้า
ชื่อสามัญ : Banded Blue Pierrot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Discolampa ethion
วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : ปีกบน ขอบปีกสีดำหนา กลางปีกสีขาวทั้งปีกบนและปีกล่าง แต่เพศผู้มีสีฟ้าล้อมรอบสีขาว ปีกล่าง พื้นปีกสีขาว ขอบปีกมีสีดำ และมีจุดดำกระจายทั่วทั้งปีกบนและล่างใกล้โคนปีกมีแถบสีดำหนาพาดขวางลำตัว
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อมลายา

ผีเสื้อมลายา ชื่อไทย : ผีเสื้อมลายา
ชื่อสามัญ : Malayan
วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : ปีกบน-พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม ปีกล่าง-พื้นปีกสีขาว มีจุดและเส้นลวดลายสีดำ ปีกคู่หลังมีจุดดำที่เห็นได้ชัดหลายจุด คือมุมปลายปีกหน้า 1 จุด ขอบปีกด้านนอกบริเวณโคนปีก 1 จุด กลางปีกค่อนไปทางโคนปีก 1 จุด และขอบปีกด้านใน 2 จุด
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบตรง

ผีเสื้อหนอนพุทราแถบตรง ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนพุทราแถบตรง
ชื่อสามัญ : Straight Pierrot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caleta roxus roxus (de Niceville)
วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : พื้นปีกด้านล่างมีสีขาว มีลายแถบสีดำคล้ายกับผีเสื้อหนอนพุทราแถบหักศอก แต่บริเวณขอบปีกคู่หน้าด้านหน้า เป็นแถบตรงไม่หักเป็นมุมฉาก ขนาด 26-30
ถิ่นอาศัย : พบตามป่าทั่วไป
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนพุทราธรรมดา

ผีเสื้อหนอนพุทราธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนพุทราธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Pierrot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castalius rosimon (Fabricius, 1775)
วงศ์ : ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : อกและท้องสีขาว มีลายดำขวางลำตัว ปีกคู่หลังที่มุมปลายปีกหลังมีเส้นขนเล็กๆ ข้างละ 1 เส้น ปีกบน พื้นปีกสีขาวขุ่น ขอบปีกสีดำ กลางปีกมีจุดสีดำประปราย โคนปีกมีสีฟ้าจางๆ ปีกล่าง พื้นปีกสีขาวขุ่น มีแต้มจุดสีดำกระจายอยู่ทั่วทั้งปีก มีจุดสีดำเล็กๆ เรียงกันตามแนวขอบปีกด้านข้าง
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าสน ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อแผนที่ลายหินอ่อน

ผีเสื้อแผนที่ลายหินอ่อน ชื่อไทย : ผีเสื้อแผนที่ลายหินอ่อน
ชื่อสามัญ : Marbled Map.
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะทั่วไป : ลำตัวสีดำ ท้องสีน้ำตาล มีขนสีขาวปกคลุม จากหัวถึงปลายส่วนท้องยาวประมาณ 17มิลลิเมตร ปีกด้านหลังพื้นปีกสีขาวครีม ปีกทั้ง 2 คู่มีลายสีน้ำตาลอ่อนพาดผ่าน มุมปีกคู่บนมีแถบสีน้ำตาล และแนวกลางปีกมีจุดสีน้ำตาล 1 จุด ปีกคู่ล่างมุมปีกมีแถบสีเหลือง และมีติ่งแหลมยื่นออกมา ปีกด้านท้องลายคล้ายปีกด้านหลังแต่สีจางและลายสั้นกว่า จุดกลมบนปีกสีน้ำตาลเข้ม ขนาดจากมุมปลายปีกด้านซ้ายถึงด้านขวาของปีกคู่บนยาวประมาณ 45-50 มิลลิเมตร
พฤติกรรม: ขณะเกาะมักกางปีกราบ หากินตามพื้นที่ชื้นแฉะ
ถิ่นอาศัย: พบทั่วไปตามป่าดิบชื้น และป่าโปร่ง

ผีเสื้อออไซเรี่่ยนเล็ก

ผีเสื้อออไซเรี่่ยนเล็ก ชื่อไทย : ผีเสื้ออไซเรี่ยนเล็ก
ชื่อสามัญ : Royal Assyrian
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Species : Terinos terpander
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family: Nymphalidae
วงศ์ย่อย : วงศ์ผีเสื้อกะทกรก Sub Family: Acracinae
ลักษณะ : ปีกบน -พื้นปีกมีสีม่วงเข้มขอบปีกโและเส้นปีกโดยรอบทั้งคู่บนและล่างมีน้ำตาลมีสีดำแต้มเป็นแผ่นใหญ่ช่วงกลางปีกพาดทั้งปีกบนและปีกล่างช่วงปลายปีกท้ายสุดมีสีเหลืองแถบใหญ่ระบาย พาดข้ามทั้ง 2 ฝั่ง สังเกตเห็นได้ชัดเจน
ปีกล่าง-พื้นปีกสีน้ำตาล มีลวดลายสีเทาระบายทั่วทั้งปี และมีจุด สีขาว เล็กๆ 1 จุด อยู่ปลายปีกด้านบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ

ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ ชื่อไทย : ผีเสื้อจ่าเส้นปีกดำ
ชื่อสามัญ : Name: Blackvein Sergeant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Species : Athyma ranga
วงศ์ : ผีเสื้อขาหน้าพู่ Family: Nymphalidae
วงศ์ย่อย : ผีเสื้อกะลาสี Sub Family: Limenitidinae
ลักษณะ : ปีกบนพื้นปีกสีดำ มีแถบสีขาวพาดกลางยาวต่อเนื่อง แต่ลายจะขาดเป็นช่วงๆ มีลายแต้มสีขาวจางๆเรียงกันตลอด ขอบปีกด้านปลายปีกช่วง ขอบปีกด้านบนจะมีสีเหลือบเขียว ขี้ม้าจางๆ พื้นปีกสีดำ-น้ำตาลไหม้ ไม่มีลวดลวยใดๆ แต่สีสัน ออกเหลือบๆ คล้ายผ้ากำมะหยี่ ด้านข้าง ขอบปีกมีสีขาวแต้ม เป็นรอยประปีกล่าง เหมือนกับปีกบน แต่สีจางกว่าเล็กน้อย

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก

ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนจำปีจุดแยก
ชื่อสามัญ : Common Jay
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Graphium doson (C. & R.Felder, 1864)
วงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : ลำตัวสีขาว ข้างลำตัวมีแถบสีดำยาวตามแนวลำตัว ปีกบน คล้ายปีกบนของผีเสื้อสะพายฟ้า พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม มีแถบสีฟ้าอ่อน (สีอ่อนกว่าผีเสื้อสะพายฟ้า) ขนาดใหญ่เรียงพาดกลางปีก ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่แถบสีฟ้ามีสีอ่อนกว่า และจะเว้นช่องห่างๆ ขอบปีกด้านในของปีกคู่หลังมีแต้มสีแดง บริเวณโคนปีกคู่หลังมีขีดสีแดงสั้นๆ อยู่ระหว่างแถบสีฟ้า
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อเณรจิ๋ว

ผีเสื้อเณรจิ๋ว ชื่อไทย : ผีเสื้อเณรจิ๋ว
ชื่อสามัญ : Small Grass Yellow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurema brigitta (Moore, 1878)
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ
ลักษณะ : ปีกบน พื้นปีกสีเหลือง ขอบปีกสีดำ สีดำที่ต่อกับสีเหลืองบนปีกคู่หน้าโค้งค่อนข้างเรียบ ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่ไม่มีสีดำที่ขอบปีก อาจจะเห็นแถบสีดำจางๆ ของปีกบน ปีกคู่หลังมีลายจุดและเส้นจางๆ กระจายทั่วปีก
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง

ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง ชื่อไทย : ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง
ชื่อสามัญ : Great Mormon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilio memnon Linnaeus, 1758
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : เพศผู้มีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกของปีกล่าง เพศเมียมีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกทั้งปีกบนและปีกล่าง เพศผู้มีแบบเดียว แต่เพศเมียมีความแตกต่างกันมากถึง 7 แบบ บางแบบมีขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังยื่นยาวและมีแถบขาวและสีขาวอมชมพูกลางปีก ปีกบน พื้นปีกสีดำ บางส่วนของปีกคู่หน้ามีสีออกเทาเงินเล็กน้อย ปีกคู่หลังมีสีเหลือบน้ำเงิน ปีกล่าง พื้นปีกสีดำ โคนปีกมีแต้มสีแดง
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง

ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง ชื่อไทย : ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง
ชื่อสามัญ : Great Mormon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilio memnon Linnaeus, 1758
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : เพศผู้มีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกของปีกล่าง เพศเมียมีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกทั้งปีกบนและปีกล่าง เพศผู้มีแบบเดียว แต่เพศเมียมีความแตกต่างกันมากถึง 7 แบบ บางแบบมีขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังยื่นยาวและมีแถบขาวและสีขาวอมชมพูกลางปีก ปีกบน พื้นปีกสีดำ บางส่วนของปีกคู่หน้ามีสีออกเทาเงินเล็กน้อย ปีกคู่หลังมีสีเหลือบน้ำเงิน ปีกล่าง พื้นปีกสีดำ โคนปีกมีแต้มสีแดง
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนคูนเหลือง

ผีเสื้อหนอนคูนเหลือง ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนคูนเหลือง
ชื่อสามัญ : Lemon Emigrant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catopsilia pomona (Fabricius, 1775)
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ
ลักษณะ : ปีกบน พื้นปีกสีเหลือง มีขอบปีกสีดำ กลางปีกคู่หน้ามีจุดดำข้างละ 1 จุด และบริเวณขอบปีกคู่หน้ามีสีดำ ปีกล่าง พื้นปีกสีเหลือง ปีกคู่หน้ามีจุดวงกลม 1 จุด ปีกคู่หลังมีจุดขาวกับจุดน้ำตาลเรียงกัน 2 จุด 4) catilla เพศเมีย ปีกบน พื้นปีกสีเหลืองเข้ม กลางปีกคู่หน้ามีจุดดำข้างละ 1 จุด และบริเวณขอบปีกคู่หน้ามีสีดำ ปีกล่าง พื้นปีกสีส้มอมเหลือง ปีกคู่บนมีแต้มแถบสีน้ำตาลที่กลางปีก ปีกคู่หลังมีจุดขาว 2 จุดล้อมด้วยแถบหนาสีน้ำตาล
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา

ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
ชื่อสามัญ : Lemon Emigrant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Catopsilia pomona (Fabricius, 1775)
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อหนอนกะหล่ำ
ลักษณะ : พื้นปีกสีเหลือง มีแถบใหญ่สีน้ำตาลแต้มอยู่กลางปีก และแถบเล็กกระจายแต้มบริเวณขอบปีก ทั้งคู่หน้าและหลัง มีจุดขาว 2 จุดติดกันแต้มบนแถบสีน้ำตาลกลางปีกคู่หลัง และจุดสีน้ำตาลอ่อน 1 จุดบนปีกคู่หน้า
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

เว็บมาสเตอร์กับฝูงผีเสื้อ

เว็บมาสเตอร์กับฝูงผีเสื้อ ท่าแนะนำในการถ่ายภาพผีเสื้อ อยากได้ภาพผีเสื้อสวยๆ ต้องมีการลงทุน ดินที่โป่งมีน้ำเลี้ยงและชื้นมาก มีกลิ่นนิดหน่อยแต่ก็ต้องยอมละครับ

ผีเสื้อฟ้าขีดหก

ผีเสื้อฟ้าขีดหก

ผีเสื้อหางพริ้ว

ผีเสื้อหางพริ้ว ชื่อไทย : ผีเสื้อหางพริ้ว
ชื่อสามัญ : Fluffy Tit
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zeltus amasa
วงศ์ : วงศ์ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : ปีกบน พื้นปีกคู่หน้าสีน้ำเงินเข้ม แล้วค่อยๆไล่เฉดสีขาวขุ่นไปจนสุดปลายปีกคู่หลังปีกล่างพื้นปีกสีขาวขุ่นปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลไล่เฉดขาวไปจนสุดปลายปีกปีกคู่หลังมีริ้วสีน้ำตาล 2 เส้นพาดขอบปีกไปจนสุด จุดสีดำเล็กขอบบนปีกคู่หลัง และปลายหางจะมีจุดสีดำใหญ่ 2 จุด
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อตาลแดงโคนขีด

ผีเสื้อตาลแดงโคนขีด ชื่อไทย : ผีเสื้อตาลแดงโคนขีด
ชื่อสามัญ : Chestnut Angle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Odontoptilum angulaum (C.Felder, 1862)
วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อบินเร็ว
ลักษณะ : หัว อก และท้องสีน้ำตาล ปีกบน พื้นปีกคู่หน้ามีสีน้ำตาลแดง กลางปีกมีแต้มสีดำ พื้นปีกคู่หลังมีสีน้ำตาล กลางปีกและขอบปีกด้านข้างมีลายเส้นสีขาว ปีกล่าง คล้ายปีกบน แต่ปีกคู่หลังมีสีออกขาว
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อฟ้าวาวปีกใส

ผีเสื้อฟ้าวาวปีกใส ชื่อไทย : ผีเสื้อฟ้าวาวปีกใส
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jamides pura (Moore, 1886)
วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อสีน้ำเงิน
ลักษณะ : มุมปลายปีกของปีกคู่หลังมีติ่งเล็กๆข้างละ 1 ติ่ง ปีกบน พื้นปีกสีขาว มุมขอบปีกคู่หน้าสีดำ ปีกล่าง พื้นปีกสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีขาวขวางทั่วปีก มุมปลายปีกล่างมีแต้มสีส้มจุดดำ
สถานภาพ : พบไม่บ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง
การแพร่กระจาย : ไม่มีข้อมูล

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Yeoman
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrochroa tyche Moore, 1872
ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลส้ม ปีกทั้ง 2 คู่มีจุดและเส้นสีดำจางๆ เพศเมียมีสีพื้นปีกออกไปทางน้ำตาลอมเขียวและมีลวดลายคล้ายเพศผู้ ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า เห็นจุดและลวดลายจางๆ
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าสน
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อกะลาสีแดงธรรมดา

ผีเสื้อกะลาสีแดงธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อกะลาสีแดงธรรมดา
ชื่อสามัญ : Peacock Pansy
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pantoporia (Neptis) hordonia (Stoll, 1790)
ลักษณะ : ปีกบน พื้นปีกสีดำมีแถบสีเหลืองส้มพาดยาวในแนวขวางกับลำตัว ปีกล่าง พื้นปีกสีน้ำตาล มีแถบสีเหลืองซีดแนวเดียวกับสีเหลืองของปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา  (ตัวกลาง)

ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา (ตัวกลาง) ชื่อไทย : ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Mormon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilio polytes Cramer, [1758]
วงศ์ : ผีเสื้อหางติ่ง
ลักษณะ : ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังของทั้ง 2 เพศมีติ่งยื่นยาวแต่ในเพศผู้จะสั้นกว่ามาก ปีกบน พื้นปีกสีดำ มีจุดสีขาวเรียงกันตามขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หน้า ปีกคู่หลังของเพศผู้มีแถบสีขาวขนาดเท่าๆกันเรียงกันบริเวณกลางปีก ปีกคู่หลังของเพศเมียมีแถบสีขาวเป้นกลุ่มอยู่บริเวณกลางปีกต่อด้วยแถบสีขาวอมชมพูจนถึงขอบปีกด้านใน ปีกล่าง คล้ายปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง สวนผลไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อแถบขาวธรรมดา

ผีเสื้อแถบขาวธรรมดา

อุทยานแห่งชาติปางสีดา

ผีเสื้อใบรักฟ้าใหญ่

ผีเสื้อใบรักฟ้าใหญ่ ชื่อไทย : ผีเสื้อใบรักฟ้าใหญ่
ชื่อสามัญ : Dark Blue Tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tirumala septentrionis (Butler, 1874)
วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ส่วนอกเป็นลายจุดดำ-ขาว ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาลเข้มอมดำ มีจุดและแถบสีฟ้าจางๆทั่วทั้งปีก ปีกล่าง พื้นปีกสีน้ำตาล ลวดลายคล้ายปีกบน
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง สวนดอกไม้ สวนสาธารณะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อแผนที่ธรรมดา

ผีเสื้อแผนที่ธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อแผนที่ธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Map
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyrestis thyodamas
วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : พื้นปีกทั้งสองด้านมีสีขาว มีลายเส้นสีดําทั่วทั้งปีกดูคล้ายลายเส้นบนแผนที่ ขอบปีกหยัก ปลายปีกคู่หลังมีสีส้ม ขณะที่เกาะ จะเกาะกางปีกราบลงกับพื้นตลอด
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

เส้นทางจากด่านไปยังจุดชมวิวปางสีดา

เส้นทางจากด่านไปยังจุดชมวิวปางสีดา เป็นถนนลูกรัง มีความขรุขระบ้างบางช่วงแต่ก็ใช้รถธรรมดาๆ ขึ้นได้สบาย ก่อนถึงจุดชมวิวจะมีลานกางเต็นท์ที่เราจะไปค้างกันด้วย

จุดชมวิวปางสีดา

จุดชมวิวปางสีดา มีนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ มารอตั้งแต่ 5 โมงเย็น กว่าพระอาทิตย์จะตกก็คง 6 โมงครึ่งประมาณนั้น ก่อนมาที่นี่เราไปกางเต็นท์ที่ลานกางเต็นท์กันให้เรียบร้อยก่อน หรือว่าจะอาบน้ำก่อนมาก็ได้เหมือนกัน (กลับไปนอนลูกเดียว)

สะท้อนแสงเป็นวงกลม

สะท้อนแสงเป็นวงกลม อย่างที่รายละเอียดการปรับกล้องบอกไว้แหละครับ แต่เอาเลนส์อื่นๆ มาลองปรับดูแล้วก็ไม่กลม นอกจาก Sigma ตัวนี้เท่านั้น

จุดชมวิวปางสีดา

จุดชมวิวปางสีดา ป้ายหินขนาดใหญ่กับท้องฟ้าที่ต้องหามุมกันหน่อยไม่ให้ย้อนแสง ท้องฟ้าสีสดใสสวยมากเลยวันนี้

นั่งรอพระอาทิตย์ตก

นั่งรอพระอาทิตย์ตก นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาพร้อมๆ กันกับเราก็ต้องจับจองพื้นที่มุมสวยของแต่ละคนสำหรับเราก็ปูเสื่อสีแดงนี่แหละ

แมลงปอแสนสวย

แมลงปอแสนสวย ระหว่างการรอคอยก็ต้องมองหาวัตถุอื่นๆ ไปพลางๆ Sigma 17-70 macro ครับรูปนี้ออกมาถูกใจเลย

ยอดหญ้าธรรมดาๆ หากมองหาก็ยังมีความสวย

ยอดหญ้าธรรมดาๆ หากมองหาก็ยังมีความสวย เนื่องจากท้องฟ้าที่จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกของอุทยานแห่งชาติปางสีดามีแสงจ้าไปหมด ถ่ายอะไรก็ย้อนแสง แถมยังติดใจการถ่ายภาพผีเสื้อมาไม่หาย ก็เลยมองหาสิ่งละอันพันละน้อยถ่ายๆ ไปก่อน ออกมาก็สวยดีครับ ปรับโทนสีให้อุ่นหน่อย

ผีเสื้อฟ้าดอกหญ้า

ผีเสื้อฟ้าดอกหญ้า ชื่อไทย : ผีเสื้อฟ้าดอกหญ้า

วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อสีน้ำเงิน

แมลงเกาะยอดหญ้า

แมลงเกาะยอดหญ้า เห็นมันพยายามจะไปให้ถึงปลายสุด หญ้าที่รับน้ำหนักก็โอนอ่อนตามลงไป เอ้า สู้ๆ

เอร็ดอร่อย

เอร็ดอร่อย เจ้าตั็กแตนตั้งหน้าตั้งตากินอย่างเดียวไม่สนใจสิ่งรอบข้าง

ยอดหญ้าแสนสวยโทนเย็น

ยอดหญ้าแสนสวยโทนเย็น หลังจากเอารูปยอดหญ้าจาก D80 ปรับโทนอุ่นแล้ว ก็ลองเอา D60 แบบไม่ปรับ (เพราะสภาพสีแสงตอนนั้นมันเป็นแบบนี้อยู่แล้ว) ก็ลองๆ ดูกันครับถูกใจแบบไหน

ทุ่งหญ้าธรรมดาที่ดูสวย

ทุ่งหญ้าธรรมดาที่ดูสวย มันเป็นภาพธรรมดาๆ ภาพหนึ่งครับ หญ้าแบบนี้มีอยู่ทั่วไปด้วยซ้ำ ก็ลองๆ หามุมที่พอจะมำให้มันสวยได้ ตัดส่วนรกๆ ที่ไม่เกี่ยวออกไป แนวรั้วกั้นที่ริมผาจุดชมวิวปางสีดานี่แหละ

ดอกหญ้าเดียวดาย

ดอกหญ้าเดียวดาย

จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกปางสีดา

จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกปางสีดา ได้เวลาแล้วละ แต่วันนี้ฟ้ามันไม่สวยเท่าไหร่ เอาไวท์บาลานซ์เข้าช่วย ส่วนต้นกล้วยนี่น่าเสียดายจัง ไม่น่ามีเลย

การถ่ายภาพกระโดดยามเย็น

การถ่ายภาพกระโดดยามเย็น เห็นมานักต่อนักแล้วที่การกระโดดเป็นภาพยอดฮิตในการไปเที่ยว แต่ปกติการกระโดดจะต้องทำตอนที่มีแสงพอสมควรเพราะต้องการสปีดชัตเตอร์สูงๆ จะได้จับภาพกระโดดทันและไม่เบลอ ในเมื่อเราต้องการภาพกระโดดในสภาพแสงน้อยก็ต้องพึ่งพา ISO นี่เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาพที่ผมเลือกใช้ ISO สูงถึง 1600 เพื่อให้ได้สปีดที่ 1/250s

ผีเสื้อกลางคืน

ผีเสื้อกลางคืน สำหรับเจ้าตัวนี้ไม่แน่ใจว่าจะเป็นผีเสื้อหรือว่าแมลง มันจะออกมาตอนกลางคืน ชอบเกาะแก้วน้ำ กินหยดน้ำรอบแก้ว มีไฟฉายเอามาส่อง เลือก ISO 100 กับนอยซ์ส่วนที่เหลือคือความนิ่ง มือเปล่าไม่ตั้งขาตั้ง กลั้นหายใจให้ได้สัก 10 วินาที ตั้งเวลาถ่าย 2 วินาที เพื่อกันมือไหวตอนลั่นชัตเตอร์

อุทยานแห่งชาติปางสีดา

ผีเสื้อลายซิกแซก

ผีเสื้อลายซิกแซก เป็นผีเสื้อที่พบเจอได้หลายแห่งแต่ค่อนข้างยาก นานๆ จะเจอซักตัวเป็นผีเสื้อที่หายากที่สุดที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา ยกตัวอย่างสถานที่ที่ผมเคยเห็นเจ้าซิกแซก ได้แก่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกผากล้วยไม้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูฝอยลมอุดรธานีก็เคยเห็นบินตัดหน้ารถอย่างเฉียดฉิว ที่กล่าวมาพบที่ละ 1 ตัวเท่านั้นเอง

หนอนผีเสื้อ

หนอนผีเสื้อ เป็นส่วนหนึ่งในวงจรชีวิตของผีเสื้อ ระหว่างที่มันเป็นหนอนคนไม่ค่อยชอบมัน หรือเกลียดมัน หรือ กลัวมัน แต่พอมันเป็นผีเสื้อ คนกลับชอบ

ผีเสื้อจ่ากระบองจุดใน

ผีเสื้อจ่ากระบองจุดใน เจ้าตัวนี้ไม่ได้พบที่โป่ง แต่เจอกันกลางถนนระหว่างลานกางเต็นท์กลับไปทางออกตอนขากลับของวันที่ 2 ตามถนนมีผีเสื้อเกาะหากินกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง ไม่งั้นก็เหยียบเค้าแบนติดถนน เห็นหลายตัวเหมือนกัน ช่างน่าสงสาร มาเที่ยวชมเค้าแล้วช่วยกันระวังชีวิตเค้าด้วยครับ

แมลงก็สวยนะ

แมลงก็สวยนะ นอกเหนือจากการไล่ถ่ายผีเสื้อแล้วก็มองหาญาติๆ ของผีเสื้อจำพวกแมลงดูบ้างนะครับ

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา

ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา ชื่อไทย : ผีเสื้อสีอิฐธรรมดา
ชื่อสามัญ : Common Yeoman
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cirrochroa tyche Moore, 18;72
วงศ์ : วงศ์ ผีเสื้อขาหน้าพู่
ลักษณะ : ปีกบน เพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลส้ม ปีกทั้ง 2 คู่มีจุดและเส้นสีดำจางๆ เพศเมียมีสีพื้นปีกออกไปทางน้ำตาลอมเขียวและมีลวดลายคล้ายเพศผู้ ปีกล่าง คล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า เห็นจุดและลวดลายจางๆ
สถานภาพ : พบบ่อย
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ ป่าโปร่ง ป่าสน
การแพร่กระจาย : พบทุกภาคของไทย

ผีเสื้อหน้าเข็มแถบขาวเหลือบเขียว

ผีเสื้อหน้าเข็มแถบขาวเหลือบเขียว เป็นไงครับตั้งชื่อผีเสื้อตรงๆ ง่ายๆ แบบนี้เลย นี่เป็นชื่อของเค้าจริงๆ ครับ ไม่ค่อยได้เห็นที่ไหน นานๆ เจอที จบการนำเที่ยวชมผีเสื้อ ณ ปางสีดาไว้เท่านี้ก่อนครับแล้วมีโอกาสค่อยมาเดินโป่งกระทิงกัน มีน้ำตกถ้ำค้างคาว เดิน 10 กิโลเมตร ด้วยท้าทายนักผจญภัยดีแต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ทำใบผ่านเหมือนกันครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อุทยานแห่งชาติปางสีดา สระแก้ว
อารียา รสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  11.89 km | แผนที่ | เส้นทาง
ริยาจ รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
Mulberry at Pang Sita เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านติดเขื่อน
  35.89 km | แผนที่ | เส้นทาง
ธนาสิริ โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  36.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมโกลเด้นเฮ้าส์ สระแก้ว เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.62 km | แผนที่ | เส้นทาง
chantra hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.62 km | แผนที่ | เส้นทาง
ริเวอร์ รีสอร์ต แอนด์ สปา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.73 km | แผนที่ | เส้นทาง
ฮ็อปอินน์ สระแก้ว เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  38.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมสระแก้วการ์เด้นท์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  39.05 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ อุทยานแห่งชาติปางสีดา สระแก้ว
อุทยานแห่งชาติปางสีดา สระแก้ว
  0.00 km | แผนที่ | เส้นทาง
น้ำตกปางสีดา สระแก้ว
  1.91 km | แผนที่ | เส้นทาง
อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก สระแก้ว
  9.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
น้ำตกท่ากระบาก สระแก้ว
  9.93 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าช่องกล่ำบน สระแก้ว
  16.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ปราจีนบุรี
  35.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสระแก้ว พระอารามหลวง
  37.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
เขื่อนพระปรง สระแก้ว
  38.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
ประเพณีสู่ขวัญควาย
  38.77 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงเรียนกระบือกาสรกสิวิทย์ สระแก้ว
  39.03 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com