www.touronthai.com

หน้าหลัก >> พระนครศรีอยุธยา >> วัดตึก

วัดตึก

 วัดตึก ตั้งอยู่ถนนอู่ทองห่างจากทางแยกไปวัดภูเขาทอง(ถนนสาย 309) ประมาณ 300 เมตร มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่โบสถ์มหาอุตม์ เรียกตามลักษณะที่พิเศษกว่าโบสถ์ลักษณะอื่น ที่ว่า มีทางเข้าออกเพียงด้านเดียวและไม่มีหน้าต่าง เหตุผลในการสร้างโบสถ์แบบนี้หลายคนเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ในการลงอาคมของขลัง การทำเป็นอาคารทึบก็เพื่อให้อาคมคงอยู่และมีพลังความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะอย่างไรก็ดี พระอุโบสถมหาอุตตม์ นี้ คงเหลืออยู่น้อยมากภายในประเทศไทย อาจเหลืออยู่เพียง 3-4 แห่งเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นศาสนโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง(ข้อมูลจาก โบสถ์มหาอุตม์วัดนางสาว สมุทรสาคร) และอีกสถานที่หนึ่งก็คือศาลพันท้ายนรสิงห์ มีประชาชนศรัทธาและเดินทางมากราบไหว้อยู่ประจำ

ข้อมูลเพิ่มเติม:ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า โทร. 0 3532 2730-1
http://www.tourismthailand.org/ayutthaya

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 45359

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์ หนึ่งในจุดที่น่าสนใจของวัดตึกแห่งนี้ก็คือ ศาลพันท้ายนรสิงห์ ซึ่งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาในวัดย่อมได้เห็นศาลพันท้ายนรสิงห์วัดตึกนี้ก่อนเสมอ ภายในวัดที่ไม่กว้างขวางมากนักอย่างวัดตึก ประกอบด้วยอาคารสำคัญๆ จำนวนหนึ่ง มีต้นไม้ร่มรื่น หาที่จอดตามอัธยาศัย หลังจากนั้นสักการะศาลพันท้ายนรสิงห์หน้าอุโบสถแล้วเดินเข้าอุโบสถที่เรียกกันว่าโบสถ์มหาอุตม์

พันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้ายเรือในสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พ.ศ. 2246 – 2251) วันหนึ่งพระเจ้าเสือได้เสด็จประพาสต้นด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย มาตามคลองโคกขาม โดยมีพันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือ คลองนี้คดเคี้ยวและน้ำเชี่ยวมากไม่สามารถบังคับทิศทางเรือได้ ทำให้หัวเรือชนเข้ากับต้นไม้จนหัวเรือหัก พันท้ายนรสิงห์จึงขอให้พระเจ้าเสือประหารตน

พระเจ้าเสือจึงให้ประหารตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ แล้วจัดทำศาลขึ้นพลีกรรมพร้อมทั้งหัวเรือ ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่ตามเกร็ดเล่าว่า พันท้ายนรสิงห์ทราบว่าจะมีพวกกบฏมาดักทำร้ายพระเจ้าเสือ เลยจำเป็นต้องทำให้หัวเรือหักเพื่อมิให้ไปถึงจุดที่กบฏวางแผนเอาไว้ โดยยอมให้ตนเองถูกประหารเพราะเป็นกฎมณเฑียรบาลที่ทำหัวเรือพระที่นั่งหักจะต้องถูกประหาร เมื่อพระเจ้าเสือทรงทราบจึงได้ให้บันทึกไว้ในพงศาวดาร และให้ตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ถ้าเรื่องตามละครพระเจ้าเสือไม่ยอมประหารแต่ให้ปั้นรูปปั้นแล้วทำการตัดหัวรูปปั้นแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมเพราะจะเป็นการขัดมณเฑียรบาลจึงขอให้ประหาร มิให้ผู้อื่นเอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก่อนที่จะประหารพันท้ายนรสิงห์ซึ่งบ้านน่าจะอยู่ใกล้ ๆ แถวนั้นได้กลับบ้านไปล่ำลาภรรยา และพันท้ายนรสิงห์จึงถูกประหารในวันเดียวกัน

ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน

ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นอนุสาวรีย์แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน
**ศาลพันท้ายนรสิงห์ บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานพันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ
*ข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/

โบสถ์มหาอุตม์

โบสถ์มหาอุตม์ ที่เรียกกันว่าโบสถ์มหาอุตม์ นั้นหมายถึงอุโบสถที่สร้างในลักษณะพิเศษคือมีช่องทางเข้าออกได้ช่องเดียวคือประตูหน้า เป็นโบสถ์ที่ไม่มีหน้าต่าง การสร้างโบสถ์มหาอุตม์นั้นมีความเชื่อหลายกระแสบ้างก็ว่าเป็นเพราะช่างต้องการเขียนภาพจิตรกรรมที่สวยงามขนาดใหญ่บนผนังโดยเป็นภาพเดียวต่อกันตลอดจึงไม่มีช่องหน้าต่าง บ้างก็ว่าเป็นการสร้างเพื่อเป็นสถานที่ถ่ายทอดหรือกระทำการด้านมนต์คาถา และไม่ต้องการให้วิชารั่วไหล แต่โบสถ์มหาอุตม์ก็เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนศรัทธากันมากมาแต่โบราณ

ทางเข้าโบสถ์มหาอุตม์

ทางเข้าโบสถ์มหาอุตม์ คราวนี้จะเดินเข้าไปด้านในครับ ภายในมองเข้าไปเห็นองค์พระประธานปางมารวิชัยทรงเครื่องที่งดงามประดิษฐานบนฐานชุกชีสูง รายล้อมด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ และขนาดต่างๆ กันอีกหลายองค์ ภายนอกมีรูปเหมือนพระบูรพาจารย์ และพระสังกกัจจายน์ ประชาชนสามารถจุดธูปเทียนบูชาพระด้านนอกอุโบสถ

พระประธานวัดตึก

พระประธานวัดตึก เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมากเมื่อเทียบกับขนาดของโบสถ์ โดยมากก็จะเป็นปางประทานพร ปางห้ามสมุทร ปางมารวิชัย แต่ก็ยังมีพระพุทธรูปปางปรินิพพานประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าด้วย

วัดตึก

วัดตึก ภาพพระพุทธรูปองค์พระประธานในโบสถ์มหาอุตม์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัยขนาดใหญ่พระพุทธศิลป์งดงาม

ทางเข้าตำหนักพระเจ้าเสือ

ทางเข้าตำหนักพระเจ้าเสือ ออกจากพระอุโบสถหรือโบสถ์มหาอุตม์แล้ว เดินไปทางด้านข้างของโบสถ์จะมีอาคารหลังใหญ่เป็นตำหนักพระเจ้าเสือ ด้วยความกว้างใหญ่ภายในอาคารจึงเป็นศาลาการเปรียญได้ด้วยในยามที่ต้องการกระทำพิธีทางศาสนา ด้านหน้าตำหนักพระเจ้าเสือประดิษฐานพระสังกกัจจายน์มีป้ายพระประวัติของพระเจ้าเสือให้ศึกษากันด้วยครับ

ตำหนักพระเจ้าเสือ

ตำหนักพระเจ้าเสือ ตำหนักพระเจ้าเสือวัดตึกประดิษฐานพระบรมรูปพระเจ้าเสือเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ซึ่งจะเดินทางมาสักการะบูชาอย่างต่อเนื่อง

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าเสือ-หลวงสรศักดิ์
พระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) พระองค์ทรงครองราชย์เป็นพระองค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยาราชธานีระหว่าง พ.ศ. 2240-2249 รวม 9 ปี พระองค์ประสูติในที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตร พระบิดาถือเอานิมิต นามบัญญัติชื่อเจ้าเดื่อ เพราะได้ฝังรกเจ้าเดื่อไว้ที่ต้นอุทุมพร (มะเดื่อ) กับต้นโพธิ์ เมื่อปีขาล พุทธศักราช 2205 แรกขึ้นเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ 36 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติได้ 9 ปี และได้สวรรคต ณ พระที่นั่งสุริยามรินทร์ ในปีพุทธศักราช 2249 สิริพระชนมายุได้ 45 พรรษา จำเดิม วันเสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติ ของสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์) พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยา ตรงกับขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู พุทธศักราช 2240 ครั้งเสด็จประพาสเมืองสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) ครั้นถึงจุลศักราช 1166 (พ.ศ.2247) ปีวอก สมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัยจะไปประพาสปากน้ำสาครบุรี เรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขาม คลองที่นั่นคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งได้ทราบข่าวล่วงหน้ามาว่า ระยะทางข้างหน้านั้น มีผู้ดักลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเสืออยู่ ด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้าเหนือหัว พันท้ายนรสิงห์จงใจคัดท้ายเรือให้โขนเรือชนกิ่งไม้ เพื่อยุติการประพาสทางทะเลในครั้งนั้น เมื่อโขนเรือพระที่นั่งกระทบกิ่งไม้ใหญ่ก็หักตกลงน้ำ พันท้ายนรสิงห์เห็นดังนั้นก็ตกใจจึงกระโดดขึ้นจากเรือพระที่นั่งขึ้นบนฝั่ง แล้วกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ พระอาญาเป็นล้นเกล้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทำศาลขึ้นที่นี้ สูงประมาณเพียงตา และจงตัดเอาศรีษะข้าพระพุทธเจ้ากับโขนเรือพระที่นั่งซึ่งหักตกลงไปในน้ำนั้นขึ้นบวงสรวงไว้ด้วยกันที่นี้ ตามพระราชกำหนดในบทพระอัยการเถิด พระเจ้าเสือจึงจำต้องยอมตามพันท้ายนรสิงห์ ต่อมาพระเจ้าเสือถวายตำหนักเดิมนาม วัดตึก แบบที่กษัตริย์นิยมทำในสมัยนั้น

ภายในตำหนักพระเจ้าเสือ

ภายในตำหนักพระเจ้าเสือ ภายในกว้างขวาง ประดิษฐานพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ใช้เป็นศาลาการเปรียญได้ด้วยครับ

ช้างคู่หน้าตำหนักพระเจ้าเสือ

ช้างคู่หน้าตำหนักพระเจ้าเสือ หลังจากสักการะพระเจ้าเสือแล้วก็เดินออกมาด้านหน้า (ตอนเข้าเข้าทางข้างโบสถ์ ตอนออกออกมาด้านหน้าครับ) จะได้เห็นบริเวณด้านหน้าที่มีช้างคู่ขนาดใหญ่พร้อมไก่อีกมากมายที่นี่ เท่านี้ก็ถึงลานจอดรถข้างศาลพันท้ายนรสิงห์แล้ว เดินทางไปวัดต่อไปกันครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดตึก พระนครศรีอยุธยา
กมลาร์ พาเลซ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.26 km | แผนที่ | เส้นทาง
โบโช เกสต์เฮาส์
  0.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
Phuttal Residence Double Room Garden View เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
พุฒตาลเรซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
Phuttal Residence Triple Room River View เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.39 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมศรีอยุธยาธานี่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
กรีน ริเวอร์ไซด์ โฮมเสตย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
Baan Khung Thara - Ayutthaya เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.97 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านอีฟ เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.04 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านบัวเฮาส์ 1 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดตึก พระนครศรีอยุธยา
อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ พระนครศรีอยุธยา
  0.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นเกริกยุ้นพันธ์ พระนครศรีอยุธยา
  0.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดศาลาปูน พระนครศรีอยุธยา
  0.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดโลกยสุธา พระนครศรีอยุธยา
  0.60 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพนมยงค์ พระนครศรีอยุธยา
  0.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเชิงท่า พระนครศรีอยุธยา
  1.05 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดธรรมาราม พระนครศรีอยุธยา
  1.15 km | แผนที่ | เส้นทาง
เจดีย์พระศรีสุริโยทัย พระนครศรีอยุธยา
  1.17 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนศรีสุริโยทัย พระนครศรีอยุธยา
  1.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พระนครศรีอยุธยา
  1.18 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com