www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุทัยธานี >> วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)

 เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังการสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและปิดช่วงกลางวัน วิหารแก้วจะเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 9.00-11.45 น.และ 14.00-16.00 น.

การเดินทาง
 วัดท่าซุง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม สามารถเดินทางไปได้หลายวิธี
 1) ไปตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กิโลเมตร
 2) รถโดยสารสายอุทัยฯ-ท่าซุง (สองแถวสีฟ้า) ค่าโดยสาร 8 บาท จากวัดท่าซุงต่อไปอีก 5 บาท จะถึงท่าเรือข้ามไปอำเภอมโนรมย์

ข้อมูลเพิ่มเติม:ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5652 0826, 0 5651 1915
http://www.tourismthailand.org/uthaithani

แก้ไขล่าสุด 2017-06-11 12:24:13 ผู้ชม 69136

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง

เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง หากมาวัดท่าซุงหลายๆ คนคงจะนึกถึงการเข้าเยี่ยมชมวิหาร 100 เมตร และนมัสการสมเด็จองค์ปฐม สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำเป็นอันดับแรก ก็ต้องเข้าประตูให้ถูก ซึ่งวิหาร 100 เมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าเห็นชัดเจน หากมาจากทางตัวเมืองอุทัยธานี ประตูจะอยู่ขวามือเมื่อลี้ยวเข้ามาจะเห็นความน่าอัศจรรย์ใจคือแนวกำแพงที่ได้สร้างเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 1 องค์ เป็นปางเดียวกันตลอดแนวกำแพง โดยกำแพงนี้จะสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจะกว้างพอที่จะจอดรถได้

พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย

พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย ก่อนถึงประตูเข้าวิหาร 100 เมตร จะมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7
ปั้นด้วยปูน ปิดทองคำเปลวทั้งองค์ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๓.๒ เมตร กว้าง ๓.๘ เมตร ยาว ๓.๕ เมตร องค์พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบัลลังก์ ขนาดสูง ๒.๖๕ เมตร กว้าง ๒.๒๕ เมตร ยาว ๑.๙๖ เมตร ทรงประทัยนั่งวัดจากพระเศียรถึงพระบาท ๒.๙ เมตร
และยังมีป้ายจารึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีลักษณะเป็นซุ้ม ๒ เสา เฉพาะเสาสูง ๔ เมตร มีป้ายและพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เหมือนกันทั้ง ๒ ด้าน) มีปิดกระจกทั้ง ๒ ด้าน ขนาดของป้ายยาว ๗.๙ เมตร กว้าง ๔ เมตร
ถัดเข้าไปตามลานจอดรถจะมีพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เมื่อครั้งทรงผนวช)

มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เดินเข้าประตูสู่วิหาร 100 เมตร จะมีมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้าอยู่ทางซ้ายมือ วิหาร 100 เมตร มีเวลาปิดเปิดนะครับ คือนักท่องเที่ยวส่วนมากจะเดินทางมาถึงกันตอนใกล้ๆ เที่ยง ซึ่งยังอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้เข้าชมเพราะมีนักปฏิบัติธรรมอยู่ด้านใน เวลาที่เหมาะสมคือหลัง บ่าย 2 ซึ่งจะเปิดให้ชมได้ถึง 4 โมงเย็นเท่านั้น หรือช่วงเช้าก็เปิดช่วง 10.00-12.00น.

ซุ้มประตูวิหาร 100 เมตร

ซุ้มประตูวิหาร 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร

วิหารแก้ว 100 เมตร เป็นวิหารสำคัญที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำสร้างไว้ก่อนมรณะภาพรวมทั้งยังเป็นที่รักษาสังขารร่างของหลวงพ่อที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว ไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ภายในสร้างจากวัสดุที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแวววาวสวยงาม

มณฑปหลวงปู่ปาน

มณฑปหลวงปู่ปาน หลวงปู่ปานเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำผู้สร้างวิหารแก้ว 100 เมตร มณฑปหลวงปู่ปานจะอยู่ด้านขวามือ มณฑปและวิหารต่างๆ ในวัดท่าซุงจะเปิดให้เข้าชมได้จนถึง เวลา 16.00 น. นะครับ

สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ อยู่ในโลงแก้วศิษยานุศิษย์เข้ามานมัสการกันไม่ขาดสาย

ภายในวิหารแก้ว 100 เมตร

ภายในวิหารแก้ว 100 เมตร เสาและเพดานติดกระจก เมื่อเปิดไฟภายในจะมีภาพสะท้อนไปมาอย่างสวยงาม

สมเด็จองค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐม ประดิษฐานในวิหารแก้ว 100 เมตร อยู่อีกด้านหนึ่งของสังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ประชาชนมักจะมานมัสการกราบไหว้เป็นสิริมงคลรวมทั้งถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกันไม่ขาดสาย การจะถ่ายรูปที่หน้าพระพุทธรูปทำได้โดยยาก เพราะมีคนเดินไปเดินมาตลอดเวลา

สมเด็จองค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐม ขอบคุณภาพจากสมาชิก pattranit ครับ เป็นมุมมองใหม่ๆ ของการถ่ายภาพพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมในวิหารแก้ว

พระพุทธรูปในวิหารแก้ว

พระพุทธรูปในวิหารแก้ว บริเวณนี้เป็นที่จัดไว้สำหรับพุทธศาสนิกชนได้ถวายสังฆทาน

ด้านหน้าวิหารแก้ว 100 เมตร

ด้านหน้าวิหารแก้ว 100 เมตร บริเวณด้านหน้าภายนอกวิหารแก้ว มีโต๊ะหมู่บูชาจำนวนมากจัดเรียงรายไว้

ยอดมณฑปและวิหาร

ยอดมณฑปและวิหาร ภายในวัดท่าซุงมีมณฑปและวิหารอยู่หลายแห่งแต่ละแห่งมักจะติดวัสดุกระจกและล้อมรอบด้วยแก้วใส ส่วนยอดจะสร้างในลักษณะเดียวกัน

พระปัจเจกพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ภายในมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

พระศรีอาริยเมตไตรย

พระศรีอาริยเมตไตรย ออกจากวิหารแก้ว 100 เมตร จะใช้บริการรถสามล้อโดยสารนำเที่ยวหรือว่าหากขับรถมาเองจะขับเข้าไปชมบริเวณวัดก็ได้ มณฑปพระศรีอาริย์ อยู่ห่างจากวิหารแก้วไม่มากนักอยู่เยื้องกันกับวิหารสมเด็จองค์ปฐม เปิด 9.00-16.00น. (เหมือนกันทุกมณฑป)

เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย

เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย ทางวัดจัดเตรียมชุดถวายสำหรับประชาชนไว้เป็นที่เรียบร้อย

วิหารสมเด็จองค์ปฐม

วิหารสมเด็จองค์ปฐม สร้างเมื่อปี 2534 แล้วเสร็จปี 2534 ภายในประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ที่มีความงดงามมาก

ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม

ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม นมัสการพระพุทธรูปและสมเด็จองค์ปฐมในวิหาร

สมเด็จองค์ปฐม

สมเด็จองค์ปฐม ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม

หอพระไตรปิฏก - หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา

หอพระไตรปิฏก - หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรยืนสูง ๓๐ ศอก (ประมาณตึก 4 ชั้น) หลวงพ่อสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับยืนอุ้มบาตร เดิมเรียกว่า "หลวงพ่อโต" (สร้างคล้ายกับที่ วัดอินทรวรวิหาร กรุงเทพฯ) อยู่บริเวณใกล้กับวิหารสมเด็จองค์พระปฐม ภายในบริเวณนี้มีเจดีย์พุดตาน และเจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม
หอพระไตรปิฎกสูงขนาดตึก ๖ ชั้น เป็นสถานที่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างไว้ให้สักการะบูชาและขอพร และยังเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฏก ชั้นล่างจะเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางมากราบไหว้จุดธูปเทียนและปิดทองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ทางวัดได้สร้างองค์จำลองที่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐานที่ชั้นล่าง ทางเข้าประตูซ้ายของหอพระไตรปิฏก และมีรูปปั้นหลวงปู่ปานและหลวงพ่ออยู่ข้างๆ มีพระเจ้าหน้าที่คอยดูแลสถานที่ คือพระสำเภา สุธมฺปวโร ข้อมูลวัดท่าซุง

เจดีย์พุดตาน

เจดีย์พุดตาน ประวัติการสร้างพระเจดีย์พุดตาน การบรรจุสิ่งของในพระเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระพุทธรูปทองคำ เทวรูป อีกมากมาย ตลอดจนแก้วแหวนเงินทอง เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ยังมีสมบัติของพระเจ้าศรีธรรมปิฎกหรือพระเจ้าพรหมมหาราชในอดีต ซึ่งสร้างวัดและพระเจดีย์ระหว่างเขตพิษณุโลกกับเพชรบูรณ์ คณะคุณสันต์ ภู่กร แห่งจังหวัดพิษณุโลกขุดได้นำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์พุดตาน

เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม

เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม

สวนสมเด็จองค์ปฐม

สวนสมเด็จองค์ปฐม สร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ

ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ

ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ เป็นซุ้มประตูเข้าออกระหว่างบริเวณลานกว้างหน้าปราสาททองคำกับอีกด้านหนึ่งก็เป็นลานกว้างที่พื้นมีการตีเส้นเหมือนสนามบาสไว้ และยังมีบันไดสำหรับเดินขึ้นไปตามแนวกำแพง 2 ชั้นไปศาลา 2 ไร่ และศาลา 4 ไร่ได้

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เนื่องจาก ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ท่านเจ้าอาวาสจึงนำการสร้าง "ปราสาททองคำ" ขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ ๕๐ และทางสำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า "ปราสาททองกาญจนาภิเษก"
ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจก ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวาย รอบนอกปราสาทใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาท ภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญ คือ

๑. ชั้นแรก เป็นพิพิธภัณฑ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยจะนำสิ่งของต่างๆที่ท่านเคยใช้ก็ดี หรือของส่วนตัวท่านก็ดีมาประดิษฐานไว้ หรือสร้างจำลองสถานที่พักที่ท่านเคยอยู่อาศัย เป็นต้น (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเป็นที่สร้างใหม่ "อาคารสมบัติพ่อให้" ใกล้ลานธรรม
๒. ชั้นที่สองและชั้นที่สาม จะเป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวาย ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปรารภกับพระครูสังฆรักษ์สุรจิตว่า สถานที่เก็บพระพุทธรูปของพระพุทธองค์ที่ญาติโยมได้ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อไว้มากมาย จึงควรเก็บรักษาไว้เป็นจุดเดียวกัน และสถานที่เก็บก็จำเป็นจะต้องสร้างให้เหมาะสม และสมเกียรติต่อองค์พระทศพล เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์อย่างสูงสุด เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพต่อมาท่านเจ้าอาวาสได้ปรึกษากับคณะกรรมการสงฆ์เพื่อสร้างปราสาททองคำ สนองดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อโดยได้ทำการก่อสร้างที่โรงทำอิฐเดิมของวัด อันเป็นสถานที่เดิมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กำหนดไว้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เริ่มสร้าง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๖ มีซุ้มพระยืน ๘ ศอก ประดิษฐานบนยอดปราสาทขณะนี้ปิดทองเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้งองค์พระและซุ้มพระ ในการก่อสร้างปราสาททองคำ ท่านเจ้าอาวาสได้ให้พระสามารถซึ่งมีความชำนาญในด้านศิลปลายไทย ดังเช่นบุษบกที่ประดิษฐานสรีระสังขารพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยพระสามารถมีหน้าที่ออกแบบ (พระสามารถ ฐานิสฺสโร เป็นผู้ออกแบบและสร้างซุ้มพระทั้งหมด ปัจจุบันลาสิกขาบทไปแล้ว) และควบคุมการก่อสร้างตลอดจนการตกแต่งต่างๆ ซึ่งท่านก็ได้ออกแบบปราสาททองคำมี ๓ ชั้น มียอดทั้งหมด ๓๗ ยอดเป็นยอดเท่าๆ กัน ๓๖ ยอด ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และยอดตรงกลางเป็นยอดใหญ่ ๑ ยอดส่วนบนสุดของปราสาทสร้างพระพุทธรูปปางลีลาขนาด ๘ ศอก ๑ องค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีบันไดขึ้นทั้ง ๔ ทิศ

ขณะนี้เทพื้นเสร็จทุกชั้นแล้ว กำลังก่อผนังด้วยอิฐแดงทั้ง ๔ ด้าน ที่เห็นเสาตั้งอยู่หลายเสาจะทำมณฑปต่อไป ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ เริ่มทำลายปิดทองผนังชั้นที่ ๒ มาถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ปิดผนังชั้น ๒ ด้านทิศเหนือเสร็จไป ๑ ด้านแล้ว ด้านทิศตะวันตกจวนจะเสร็จแล้ว และจะทำลายปิดทองด้านทิศใต้และทิศตะวันออกต่อไป เดือนมกราคม ๒๕๔๒ กำลังลวดลายชั้นที่ ๒ ได้ปิดทองผนังด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเสร็จไป ๓ ด้าน กำลังทำลวดลายปิดทองผนังด้านทิศใต้ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๑ ช่างสามารถเริ่มทำหน้าบันไดชั้นที่ ๑ ขณะนี้ได้ทำลวดลายและปิดทองได้ ๓ หน้าบันได เพื่อให้ทันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จะเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมทองคำที่หน้าปราสาททองคำแห่งนี้ เริ่มวันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม (วันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประตูเข้าปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ประตูเข้าปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ลวดลายเทพเทวดา ที่ประดับดารอบเสาทุกต้น สิ่งสวยงามต่างๆเหล่านี้จะอยู่ทนนานถึงลูกหลานได้ต้องช่วยกันรักษา กรุณาอย่าจับต้องสิ่งเหล่านี้นะครับ ปัจจุบันชำรุดไปมากแล้วทั้งที่ชั้นบนยังไม่แล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมเลย

ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)

ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่เห็นนี้เป็นบันไดขึ้นสู่ชั้นบนสูงๆ ขึ้นไปแต่ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จและยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไปครับ

เก็บภาพ

เก็บภาพ ภายในและภายนอกปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) มีความสวยงามมาก ช่างภาพหลายคนเลือกเป็นสถานที่ในการเก็บภาพสวยๆ

รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง

รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง ตกลงราคากันได้ แต่ปกติจะเป็นราคามาตรฐานเท่ากันทุกคัน อยู่ที่ว่าจำนวนคนที่มาจะมากจะน้อยถ่ามาน้อยคนก็หารกันแพงหน่อย แต่รับรองว่าไม่ได้แพงจนนั่งไม่ไหว ส่วนพวกเราเลือกวิธีการขับรถเข้าไปเองเพราะต้องใช้เวลาในการเก็บภาพมาก เกรงใจรถครับ

ศาลา ๔ ไร่ - ศาลา ๑๒ ไร่ - ศาลา ๒๕ ไร่ - ตึกขาว

ศาลา ๔ ไร่ - ศาลา ๑๒ ไร่ - ศาลา ๒๕ ไร่ - ตึกขาว ศาลาที่สำคัญต่างๆ ในวัดท่าซุงโดยมีวัตถุประสงในการสร้างดังนี้ ศาลา ๑๒ ไร่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯสร้างไว้ หลังจากที่ได้สร้างศาลา ๒ ไร่ ศาลา ๓ ไร่ และศาลา ๔ ไร่แล้ว ศาลาเหล่านี้สร้างไว้เพื่อใช้ในการจัดงานบุญของวัด และใช้เป็นที่พักของญาติโยม เพื่อมาปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือพักอาศัย ในเวลาทางวัดมีงานต่างๆ การสร้างศาลา ๑๒ ไร่ เพราะว่าศาลาต่างๆที่สร้างมาแล้วในครั้งที่จัดงานเป่ายันต์เกราะเพชร ปรากฎว่าผู้คนมามากมายจนล้นศาลา ๒ ไร่ และศาลา ๔ ไร่ เพิ่มรอบในการเป่ายันต์เกราะเพชรแล้ว ผู้คนก็ยังล้นมากมาย ดังนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จึงได้สร้างศาลา ๑๒ ไร่ โดยสร้างพระประธาน ๘ ศอก สร้างห้องพักเพื่อให้ญาติโยมได้พักประมาณ ๑๒๐ ห้อง ห้องน้ำประมาณ ๑๔๘ ห้อง (เคยมีโรงทานที่หลวงพ่อให้แม่ครัวของวัดทำอาหารเลี้ยงฟรี แต่ปัจจุบันนี้ได้ย้ายโรงทานไปไว้ที่ศาลา ๔ ไร่แทน) นอกจากนี้ บริเวณทางเดินชั้น ๒ ก็ได้สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ตลอดแนว พระชำระหนี้สงฆ์นี้เป็นเงินที่ญาติโยมถวายวัดโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างพระชำระหนี้สงฆ์และได้ประดิษฐานไว้รอบศาลา ๑๒ ไร่ ปัจจุบันศาลา ๑๒ ไร่ ยังคงใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาและงานบุญต่างๆ เช่น งานทำบุญประจำปีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีช่วงกลางเดือนมีนาคม งานทำบุญในวันสงกรานต์ งานสะเดาะเคราะห์ งานเข้าพรรษา งานออกพรรษา งานรับกฐิน งานธุดงค์ และการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ซึ่งจัดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี

ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง

ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง เป็นร้านสะดวกซื้อภายในมีสินค้ามากมายที่สำคัญคือของใช้จำเป็นสำหรับนักปฏิบัติธรรม

หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่า

หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่า ข้ามฝั่งจากด้านวิหารแก้วออกมาจากประตูใหญ่ข้ามถนนมาอีกฝั่งหนึ่งจะมีสถานที่สำคัญๆ หลายแห่ง รวมทั้งท่าน้ำหน้าวัดที่เป็นที่มาของชื่อวัดท่าซุง หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่าอยู่ด้านหน้าศาลาเก่าใกล้กับ "หอฉัน" (ทางไปท่าน้ำ) เป็นอาคารไม้ทรงไทย ลวดลายประดับกระจกปิดทองคำเปลว เดิมใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกเพื่อมิให้มดปลวกมาทำลาย โดยสร้างไว้ในสระน้ำเล็กๆ แบบโบราณ แต่ปัจจุบันเก็บพระไตรปิฎกไว้ที่หอพระไตรปิฎก สูง ๗ ชั้น ด้านหลังพระยืน ๓๐ ศอก ข้อมูลเพิ่มเติม

ท่าน้ำวัดท่าซุง

ท่าน้ำวัดท่าซุง เป็นจุดที่มีปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมมาก ประชาชนสามารถซื้ออาหารปลามาเลี้ยงปลาได้เป็นสถานที่พักผ่อนหลังจากการเดินชมบริเวณวัด หรือจะเป็นสถานที่พักรอเวลาวิหารเปิดก็ได้

มณฑปแก้ว พระองค์ที่ ๑๐ - ๑๑

มณฑปแก้ว พระองค์ที่ ๑๐ - ๑๑ สมเด็จพระสมณโคดม พระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนหลายองค์ที่ประดิษฐานภายในมณฑปแก้ว พระองค์ที่ ๑๐ - ๑๑
สมัยก่อนหลวงพ่อได้เล่าคำว่า "พระองค์ที่ ๑๐" ให้ฟังว่า ในการพบพระองค์ที่ ๑๐ ครั้งแรก พระเดชพระคุณหลวงพ่อ อายุประมาณ ๒๘ ปี ในครั้งนั้น พระเดชพระคุณ หลวงพ่อได้รับกิจนิมนต์ไปเทศน์ที่จังหวัดราชบุรี พอดีมีงานทำบุญของชาวบ้าน ใกล้กับวัดที่ไปเทศน์ จึง รับกิจนิมนต์ไปสวดมนต์เย็น ซึ่งเจ้าภาพได้นิมนต์พระไว้ ๙ รูป มีเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นหัวหน้าคณะ

เมื่อถึงเวลา พระเดชพระคุณหลวงพ่อ เจ้าคณะจังหวัดและพระอีก ๗ รูป ได้เดินทางไปบ้านเจ้าภาพพอไป ถึงก็ขึ้นไปบนบ้านปรากฎว่ามีพระอยู่รูปหนึ่ง ท่านนั่งถัดจากพระพุทธรูปมาท่านนั่งนิ่งไม่ขยับที่นั่งให้เจ้า คณะจังหวัด เจ้าคณะจังหวัดจึงต้องนั่งต่อจากพระรูปนั้น ดูจากรูปร่างหน้าตาแล้ว พระรูปนั้น อายุประมาณ ๒๘ - ๓๐ปี แต่ทว่ากิริยา ท่าทาง ตลอดจนผิวพรรณท่านดูสวยสดงดงามมากเป็นที่น่าเคารพ น่ากราบไหว้ น่าบูชามากเวลาที่เริ่มสวดมนต์ท่านก็สวดมนต์ได้ทำนองสุ่มเสียงกังวาลไพเราะจับใจมากเนื่องจากเจ้าภาพนิมนต์พระมาสวด ๙ รูป เมื่อท่านมาเพิ่มอีก ๑ รูป พระเดชพระคุณหลวงพ่อ จึงได้เรียกท่านว่า "พระองค์ที่ ๑๐" อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

พระจุฬามณีเจดียสถาน

พระจุฬามณีเจดียสถาน พระจุฬามณี..เป็นอาคาร ๓ ชั้น ขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ปิดกระจกทั้งหลัง ชั้นล่างสุดมีเครื่องปั๊มน้ำสำหรับพ่นน้ำพญานาคที่อยู่บันไดทางขึ้นพระจุฬามณี ชั้นที่ ๒ เป็นที่ประดิษฐาน "พระวิสุทธิเทพ" ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้จำลองพระพุทธเจ้า "ทรงเครื่องบนพระนิพพาน" ประทับนั่งห้อยพระบาทอยู่บนแท่น สูงประมาณ ๑.๖ เมตร ส่วนชั้นที่ ๓ เป็นชั้นหลังคาดาดฟ้า เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์จุฬามณี ๕ องค์ มีองค์เล็กตั้งอยู่ ๔ มุมเป็นบริวารทั้ง ๔ ทิศ โดยมีตรงกลางมีเจดีย์องค์ใหญ่

พระวิสุทธิเทพ หมายถึง "เทพที่บริสุทธิ์" ที่หมดแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวง นับได้ตั้งแต่พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
"มณฑปพระวิสุทธิเทพ" หรือ "พระจุฬามณี" ถือได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญยิ่งที่หนึ่งของวัดท่าซุง ในสมัยแรกๆ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ สร้างด้วยกระจก อันเป็นความหมายแทนคำว่า "แก้ว" สมัยนั้นนักท่องเที่ยวนิยมมาชมกันมาก จึงนับเป็นสถานที่ที่ควรกราบไหว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่ฝึกมโนมยิทธิได้และได้ไปกราบพระพุทธองค์ ณ สถานที่นี้บนดาวดึงส์ ยามใดนึกถึงพระพุทธองค์ ก็สามารถมากราบ "มณฑปพระวิสุทธิเทพ" ที่วัดท่าซุง จิตก็จะได้ซาบซึ้งดุจดังท่านได้ขึ้นไปกราบพระพุทธองค์ที่ "พระจุฬามณี" ที่ดาวดึงสเทวโลก ฉะนั้น ฯ
ด้านข้างพระจุฬามณี (หลังอนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมฯ ยังมีศาลาพระนอนอีกหลังหนึ่งยาวเหยียด มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ๑ องค์ ต่อจากนั้นจะเป็นช่องเก็บอัฐิของคณะศิษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่างก็นำมาบรรจุไว้เต็มไปหมด

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราชทรงช้างพลายประกายแก้ว

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราชทรงช้างพลายประกายแก้ว ในทุกๆ ปีของเดือนกรกฎาคม ในวันเข้าพรรษา บริเวณรอบอนุเสาวรีย์จะเต็มไปด้วยบรรดาคณะศิษย์ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" ที่พร้อมใจกันแต่งชุดแดงหรือสีชมพู ซึ่งมีความหมายถึงชุดแต่งกายที่กู้ชาติสมัยนั้น โดยร่วมทัพจับศึกกับพวกขอมดำที่เข้ายึดครอง "เมืองโยนกนครเชียงแสน" เมื่อได้รับชัยชนะปลดปล่อยเป็นอิสรภาพแล้ว จึงมาร่วมงานฉลองชัยชนะ เป็นการจัดงานย้อนยุคสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช โดยภายในงานจะมีการประดับประดาไปด้วยผ้าตุงสีแดงสวยงาม มีการแสดงและการละเล่นต่างๆ ขบวนเสลี่ยงอัญเชิญรูปพระเดชพระคุณหลวงพ่อเวียนเทียนรอบพระจุฬามณี ติดตามด้วยคณะลูกหลานหลวงพ่อ และมีการนำเครื่องบูชาสักการะถวายพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งได้จัดงานพิธีกันมาตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ อ่านต่อ

มณฑปหลวงปู่ปาน - หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

มณฑปหลวงปู่ปาน - หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ด้านหน้าพระอุโบสถอยู่ด้านหน้าขวาและด้านซ้ายมือของพระอุโบสถ เป็นศาลาโปร่ง ปูด้วยพื้นหินอ่อน หลังคาทรงไทย องค์หลวงพ่อหน้าตัก ๔๔ นิ้ว สูง ๔๙ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเป็นองค์ประธานเททอง เมื่อ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘
เดิมทีเจ้าภาพตั้งใจจะหล่อรูปหลวงพ่อพระราชพรหมยาน แต่สมัยนั้นหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ บางคนอาจจะมีความเชื่อว่า ถ้าปั้นรูปตอนนั้นหลวงพ่ออายุจะสั้น คณะศิษย์จึงเลี่ยงกันว่าเป็น "หลวงปู่ใหญ่" เพื่อเป็นการแก้เคล็ด แต่ปัจจุบันหลวงพ่อมรณภาพแล้ว จึงได้เปลี่ยนป้ายชื่อจาก "หลวงปู่ใหญ่" เป็น "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน" ทั้งนี้ ถ้าใครสังเกตเห็นจะมีลักษณะเหมือนองค์หลวงพ่อเป็นที่สุด

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ พระอุโบสถ ณ วัดท่าซุงเริ่มสร้าง เมื่อ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดลูกนิมิต ณ พระอุโบสถ เมื่อ วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๒๐ พร้อมกับพระสุปฏิปันโนที่เดินทางมาร่วมงานอีกมากมาย
ในตอนเช้า วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๑ หลวงพ่อพร้อมด้วยเจ้าภาพที่จัดงานฝังลูกนิมิต ได้ทำพิธีกลบหลุมลูกนิมิต (หลุมกลาง) พร้อมกับหลวงพ่อกล่าวนำอธิษฐานถวายถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา พร้อมกับได้บรรจุแผ่นทองคำจารึกไว้ด้วย อ่านคำจารึก

ผ้าป่าวัดท่าซุง

ผ้าป่าวัดท่าซุง ถ่ายเมื่อปี 2551 ขอขอบคุณภาพจากสมาชิก คุณ pattranit

ผ้าป่าวัดท่าซุง

ผ้าป่าวัดท่าซุง ถ่ายเมื่อปี 2551 ขอขอบคุณภาพจากสมาชิก คุณ pattranit

ผ้าป่าวัดท่าซุง

ผ้าป่าวัดท่าซุง ถ่ายเมื่อปี 2551 ขอขอบคุณภาพจากสมาชิก คุณ pattranit

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อุทัยธานี
Grace ilint Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.93 km | แผนที่ | เส้นทาง
Pae Baan Baan Uthai Thani เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  7.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทัยริเวอร์เลค
  9.78 km | แผนที่ | เส้นทาง
Comeneeteeuthai เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  11.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
KHWAN-JAI Homestay Uthai Thani เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
Intalohit house เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ บังกะโล 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 30 ตร.ม. – เมืองอุทัยธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  13.07 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมห้วยขาแข้งเชษฐศิลป์
  13.46 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมอุทัยธาราฮิลล์
  13.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไอยรา เลค โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  14.27 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com