www.touronthai.com

หน้าหลัก >> นครราชสีมา >> อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)

 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ "ปราสาทหินพิมาย" แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตรชื่อ "พิมาย" น่าจะมาจากคำว่า "วิมาย" หรือ "วิมายปุระ" ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถาน

    สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมาย

ค่าเข้าชม คนไทย 20 บาท ต่างชาติ 100 บาท

เวลาเปิด-ปิด:07:30 - 17:00

โทร:044-471-167

ค่าเข้า:20 บาท

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานนครราชสีมา โทร. 0 4421 3666, 0 4421 3030
http://www.tourismthailand.org/nakhonratchasima

แก้ไขล่าสุด 2017-11-28 12:22:31 ผู้ชม 87430

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขับรถจากถนนมิตรภาพเลี้ยวขวา (ถ้าไปจากกรุงเทพฯ) ตรงป้ายบอกทางไปอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ไม่นานก็ถึง จุดจอดรถเต็มไปด้วยรถของนักท่องเที่ยวที่มีเข้ามาแทบทุกอาทิตย์ (ไป 2 ครั้งหาที่จอดยากทั้ง 2 ครั้ง) เมื่อเข้าไปด้านในซื้อบัตรเข้าชม จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ขวามือ มีห้องน้ำอยู่ใกล้ๆ ภาพล่างเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ส่วนภาพขวาเป็นแผนผังรอบๆ บริเวณปราสาทหินพิมาย

แผนผังปราสาทหินพิมาย

แผนผังปราสาทหินพิมาย เป็นภาพเมืองพิมายและบริเวณโดยรอบ สำหรับปราสาทหินพิมาย ประกอบด้วย 1.พลับพลา 2.สะพานนาคราช 3.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว 4.ชาลาทางเดิน 5.บรรณาลัย 6.สระน้ำ 7.ซุ้มประตูและระเบียงคด 8.ปราสาทประธาน 9.หอพราหมณ์ (บรรณาลัย) 10.ปรางค์หินแดง 11.ปรางค์พรหมทัต 12.ฐานอาคาร

พลับพลาเปลื้องเครื่อง

พลับพลาเปลื้องเครื่อง พลับพลาเปลื้องเครื่อง เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในอาคารแบ่งออกเป็นสองห้อง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ภายนอกปราสาทพิมาย สันนิษฐานว่าใช้สำหรับเป็นที่พักในการเดินทางและการเตรียมพระองค์ของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูง ยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนาภายในปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ร่วมสมัยเดียวกับปราสาทพิมาย

ภายในพลับพลาเปลื้องเครื่อง

ภายในพลับพลาเปลื้องเครื่อง หลายๆ คนชอบภาพแนวนี้เพราะมองเข้าไปแล้วรู้สึกเหมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนภาพเดิมๆ ซ้อนๆ กันลึกเข้าไป เมื่อเดินเข้าไปแล้วจะเห็นทางแยกที่สามารถเดินไปยังห้องต่างๆ ได้อีก แต่ละห้องมีการสร้างในรูปแบบเดียวกัน รอบๆ มีช่องหน้าต่างหลายช่อง

สะพานนาคราช

สะพานนาคราช ออกจากพลับพลาเปลื้องเครื่องแล้วก็เดินเข้าเส้นทางสู่้ปรางค์ประธาน ต้องขึ้นสะพานนาคราช สุดสะพานนาคราชเป็นทางเชื่อมเข้าไปยังปราสาทผ่านซุ้มประตูและกำแพงแก้ว

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย พอเดินทะลุซุ้มประตูและกำแพงแก้วเข้ามาแล้วจะมีทางเดินทอดยาวไปปราสาทประธาน โดยทั้ง 2 ข้างของชาลาทางเดินมีสระน้ำอยู่เป็นระยะ จากกำแพงแก้วไปจนถึงปราสาทประธานไม่มีต้นไม้ กลางแดดร้อนๆ ควรมีร่มไปด้วยจะดีกว่า เดินเข้ามาใกล้ปราสาทพอสมควรกับระยะของกล้องที่จะเก็บภาพปราสาทแบบกว้างๆ ได้พอดี ก็เก็บภาพกันตามอัธยาศัย ภาพมุมนี้เป็นภาพประจำของทุกๆ คนที่เดินทางมาที่นี่ได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก ได้แก่ ปราสาทประธาน(กลาง) ปรางค์หินแดง(ซ้าย) ปรางค์พรหมทัต(ขวา)

ทับหลังและประตูภายในปราสาทหินพิมาย

ทับหลังและประตูภายในปราสาทหินพิมาย สุดชาลาทางเดินจะเข้าแนวระเบียงคด ซึ่งสร้างล้อมรอบปราสาทประธานทั้งสี่ด้าน ลักษณะเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังคาวางซ้อนกันเป็นรูปโค้งประทุนเรือ ผนังด้านในเจาะเป็นช่องหน้าต่าง ส่วนผนังด้านนอกทำเป็นช่องหน้าต่างหลอกประดับด้วยลูกกรงหินทรายสลัก เรียก ลูกมะหวด หลักฐานสำคัญที่พบบริเวณซุ้มประตู ภายในระเบียงคดด้านทิศใต้ทางทิศตะวันออกคือ จารึกภาษาเขมรเป็นอักษรขอมโบราณ ระบุชื่อ กมรเตงชคตวิมาย และกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพชื่อ กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ในปี พ.ศ. ๑๖๕๑

ระเบียงคดรอบปราสาทหินพิมาย

ระเบียงคดรอบปราสาทหินพิมาย เป็นภาพจากภายในปราสาท จะเห็นช่องหน้าต่างมากมายตามแนวระเบียงคด ส่วนด้านนอกเป็นหน้าต่างหลอก

ปรางค์หินแดง

ปรางค์หินแดง ปรางค์หินแดง ก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดง ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุม ประตูทางเข้าก่อเป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน ส่วนฐานต่อเนื่องกันกับหอพราหมณ์ จึงน่าจะสร้างขึ้นพร้อมกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗

ปรางค์พรหมทัต

ปรางค์พรหมทัต ปรางค์พรหมทัต ก่อสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ประตูทางเข้าก่อเป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน ภายในประดิษฐานรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นมหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักร์เขมร ปรางค์นี้สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

รูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

รูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ภายในปรางค์พรหมทัตมี รูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งเป็นมหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักร์เขมร สำหรับภาพนี้ลักษณะและทิศทางของแสงดีเนื่องจากมีประตูทั้งสี่ด้าน ภายในค่อนข้างมืด แต่แสงที่ลอดเข้ามาทำให้รูปจำลองดูเด่นสวยงาม

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย เป็นพุทธสถานฝ่ายมหายาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ และมีการบูรณะต่อเนื่องกันจนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ลักษณะทางศิลปกรรมเป็นแบบบาปวนและนครวัด ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ หรือหันหน้าไปทางเมืองนครวัดในอาณาจักรขอม ตั้งอยู่กลางเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในปรางค์ประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก ภายนอกสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ภายในเมืองประกอบด้วยศาสนสถานอื่นๆ ได้แก่ธรรมศาลา ปรางค์หินแดง ปรางค์พรหมทัต คลังเงิน บรรณาลัย เป็นต้น จากจุดนี้จะมองเห็น ปราสาทประธาน ปรางค์หินแดง ปรางค์พรหมทัต ได้อย่างชัดเจน

พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธรูปปางนาคปรก เก็บภาพภายนอกปราสาทแล้วเดินเข้ามาภายในถ้าเข้ามาจากทางด้านหน้าจะเห็นพระพุทธรูปอยู่ไกล เนื่องจากปราสาทมีความยาวพอสมควร

ประตูด้านหลังของปราสาทประธาน

ประตูด้านหลังของปราสาทประธาน เมื่อเดินผ่านพระพุทธรูปปางนาคปรกเข้ามาแล้วอีกไม่ไกลก็ถึงประตูหลังปราสาทประธานของปราสาทหินพิมาย ภาพสลักบนกรอบประตูยังคงลวดลายความสวยงามสมบูรณ์

ปราสาทประธานปราสาทหินพิมาย

ปราสาทประธานปราสาทหินพิมาย เดินออกมาเก็บภาพรอบๆ กับท้องฟ้าสดใส เป็นครั้งแรกของการมาพิมายแล้วได้สภาพท้องฟ้าแจ่มใสแบบนี้ (สำหรับท่านใดเคยเข้ามาชมภาพคราวก่อนคงจำกันได้ว่าต่างกันมาก)

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)

การแสดงแสงสีเสียงปราสาทหินพิมาย

การแสดงแสงสีเสียงปราสาทหินพิมาย เป็นการแสดงที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ไม่ได้กำหนดวันแบบตายตัว มีโอกาสที่เหมาะสมก็จะจัดขึ้นทันทีปีละครั้ง เปิดให้เข้ามาดูได้แบบไม่เสียค่าเข้าชม เรียกว่า วิมายะนาฏการ เป็นการแสดงที่สวยมากๆ โดยเฉพาะแสดงที่หน้าปราสาทหินพิมายเป็นฉากที่อลังการสุดๆ มีทั้งการละเล่นพื้นบ้าน ไปจนถึงประวัติความเป็นมาของปราสาทหินพิมาย ดูบรรยากาศของการแสดงตามลิงค์นี้เลย การแสดงแสงสีเสียงปราสาทหินพิมาย วิมายะนาฏการ

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)

ลาวกระทบไม้

ลาวกระทบไม้

การแสดงวิมายะนาฏการ

การแสดงวิมายะนาฏการ

การแสดงวิมายะนาฏการ แสงสีเสียงเมืองพิมาย

การแสดงวิมายะนาฏการ แสงสีเสียงเมืองพิมาย อีกสิ่งหนึ่งที่ควรไปชมสักครั้ง และขอจบการนำเที่ยวปราสาทหินพิมายไว้แต่เพียงเท่านี้ หากได้มีโอกาสมาที่เมืองพิมายอีกจะกลับมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งครับ... ดูรูปเพิ่มเติมของการแสดงวิมายะนาฏการ

ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานนครราชสีมา

รีวิว อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)


 "การแสดงสวยๆของวิมายะนาฏการประจำปี 2561 จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 27 มกราคม 2561 อีกครั้งหนึ่งในวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ชมการแสดงสวยๆที่มีฉากหลังเป็นปราสาทหินพิมายแถมไม่เสียค่าเข้าโอกาสดีๆอย่างนี้ไม่ควรพลาด"

Akkasid Tom Wisesklin
2018-01-26 11:39:21

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)


 "25 กุมภาพันธ์นี้ เชิญชมการแสดงประกอบแสงสีเสียง มินิไลท์แอนด์ซาวด์ ชุด วิมายะนาฏการ เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ที่ปราสาทหินพิมาย
- เข้าชม การแสดงประกอบแสงเสียงขนาดเล็ก “วิมายะนาฏการ” ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย พบกับการต้อนรับของชาวพิมาย ด้วยพิธีการบายศรีสู่ขวัญ แด่ท่านผู้มาเยี่ยมเยือน นำชมสถาปัตยกรรมล้ำค่า ศิลปะสมัยอาณาจักรขอมโบราณภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (โดยยุวมัคคุเทศก์ จากโรงเรียนพิมายวิทยา)
- ชมการแสดงประกอบแสงเสียงขนาดเล็ก ท่ามกลางโบราณสถาน พร้อมกับการแสดงนาฏศิลป์ไทยพื้นบ้าน และการแสดงขนาดเล็ก “วิมายะนาฏการ” เริ่มต้นด้วย รำตั๊กแตน รำดึงครกดึงสาก รำจับกรับ รำลาวกระทบไม้ รำมวยโบราณและขบวนแห่ชุดศรีวิเรนทรชุดพุทธบูชา (ใช้เวลาในการแสดงประมาณ 90 นาที)"

Akkasid Tom Wisesklin
2017-02-24 20:34:04

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)


5/5 จาก 1 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)
โรงแรมพิมาย พาราไดซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
Phimai Residence เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิมาย พาราไดซ์ เฮ้าส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
Moon River Resort Phimai Standard 6 เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.12 km | แผนที่ | เส้นทาง
Praew Place เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.48 km | แผนที่ | เส้นทาง
Baan Lita @Phimai เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.09 km | แผนที่ | เส้นทาง
THE BASE CENTRAL PATTAYA Chinese landlord เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  17.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
จันทร์ผางามรีสอร์ท
  18.87 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทุ่งเศรษฐีรีสอร์ท
  28.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
กรีนวิว แสนสุข รีสอร์ท
  29.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย)
การแสดงแสงสีเสียงปราสาทหินพิมาย วิมายะนาฏการ
  0.02 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไทรงาม นครราชสีมา
  2.05 km | แผนที่ | เส้นทาง
กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรบ้านน้อยสามัคคี นครราชสีมา
  2.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไร่องุ่นเพชรพิมาย นครราชสีมา
  11.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
สะพานไม้ร้อยรักรวมใจ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเตย พิมาย
  11.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ นครราชสีมา
  18.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท นครราชสีมา
  21.64 km | แผนที่ | เส้นทาง
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้ นครราชสีมา
  21.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
สำนักรัตนะแก้วมณี อาศรมสถานครูบากฤษณะ
  42.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
ครูบาแบ่ง วัดบ้านโตนด
  42.96 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com