www.touronthai.com

หน้าหลัก >> เชียงใหม่ >> พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

 อาณาจักรล้านนาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งที่กว้างใหญ่ไพศาลกินพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ก่อนที่จะมาเป็นประเทศสยามและประเทศไทยในที่สุด พื้นที่ของอาณาจักรล้านนาได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ในระหว่างที่มีการติดต่อซื้อขายระหว่างล้านนากับอาณาจักรใกล้เคียงก็มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประเพณีหลายอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน เรื่องราวมากมายเกิดขึ้นนานนับพันปี เราจะหาข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้ได้จากที่ไหนที่จะดีไปกว่า พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา คงเป็นไปได้ยาก

    ที่นี่มีนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์มากมายหลายอย่างเกี่ยวกับล้านนาให้เราได้ชม คนต่างประเทศจากแดนไกลที่สนใจเรื่องราวของล้านนาก็เข้ามาศึกษาหาความรู้อย่างตั้งใจ เราจึงพามาชมกันแบบถึงแก่นกันไปเลย

    พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อยู่ในอาคารตรงข้ามกับพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในเมืองเชียงใหม่ เป็นอาคารสองชั้นแบ่งออกเป็นห้องๆ แต่ละห้องจัดแสดงเรื่องราวความเป็นล้านนาห้องละอย่างเลือกชมตามความสนใจได้เลย

    เรื่องราวในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีข้อมูลมากมายจนไม่สามารถจะนำมาเขียนให้ครบถ้วนได้ทุกห้องทุกชิ้น หรือหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ทัวร์ออนไทยได้นำเอาคลิปวิดีโอการบรรยายเรื่องราวต่างๆ มาให้ชมกันได้ที่ รวมคลิปวิดีโอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.เชียงใหม่ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 8605
http://www.tourismthailand.org/chiangmai

แก้ไขล่าสุด 2016-07-20 12:50:27 ผู้ชม 4668

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

นี่แหละครับคือพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เข้าไปดูข้างในกันเลยดีกว่า เมื่อเข้ามาด้านในแล้วเราจะมีวิยากรพาเราไปชมตลอดทุกห้องเลยทำให้เราได้เข้าใจเรื่องราวของชาวล้านนาได้เยอะเลยครับ

ข่วงแก้วล้านนา

ข่วงแก้วล้านนา คำว่าข่วงหลายคนคงรู้ดีหรือเคยได้ยินมาบ้างแล้ว อย่างเช่นข่วงบ้าน ข่วงเมือง หมายถึงลานกว้างๆ ที่มีไว้สำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน คล้ายสวนสาธารณะ ได้แก่งานประเพณีต่างๆ ที่จะใช้พื้นที่ร่วมกันก็จะมาทำที่ข่วงบ้านนี้เองภายในห้องนี้จะมีเรื่องราวของการสรงน้ำพระ มีเรื่องราวของวิหารแบบล้านนาอยู่ใกล้ๆ กัน เรื่องเกี่ยวกับพระสงฆ์ อย่างเช่นอาสนะ หรือธรรมาสให้เราได้ศึกษา

โคมและตุง

โคมและตุง ห้องนี้ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นห้องสำหรับเรื่องโคมล้านนา และตุงที่แขวนอยู่ตามบ้านเรือนชาวเหนือเวลามาเที่ยวงานเราก็ชอบถ่ายรูปกลับไปเป็นประจำ ชาวล้านนามาโคมและตุงเอาไว้เพื่ออะไร และตุงแบบงานมงคลกับตุงของงานอมงคล ต่างกันยังไงก็มาดูที่ห้องนี้

ตุงไส้หมู

ตุงไส้หมู เป็นตุงชนิดหนึ่งสำหรับงานก่อเจดีย์ทรายโดยเฉพาะ เป็นประเพณีเพื่อให้เกิดการขนทรายเข้าวัดนอกจากเจดีย์ทรายแล้วเราจะไม่เห็นตุงไส้หมูแขวนอยู่ทั่วไปแน่นอน

งานแกะสลักแบบล้านนา

งานแกะสลักแบบล้านนา เดินมาอีกห้องหนึ่งเราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแกะสลักทั้งแกะสลักบนแผ่นหิน บนไม้ เพื่อประกอบเป็นศาลา วิหาร โบสถ์ ลวดลายเฉพาะของชาวล้านนา ในห้องนี้เค้าจำลองวัดพระสิงห์มาให้เราชมกันชนิดที่ต้องอึ้งเลย

การแห่ครัวทาน

การแห่ครัวทาน ประเพณีแห่ครัวทานเป็นประเพณีของชาวล้านนา จัดในงานปอยหลวงเพื่อทำบุญฉลองสมโภชถาวรวัตถุที่วัดและคณะศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้น ครัวทานมีสองประเภทคือครัวทานบ้านและครัวทานหัววัด

    ครัวทานบ้านเป็นครัวทานที่ชาวบ้านในสังกัดวัดได้จัดทำเพื่อถวายวัดของตัวเอง ส่วนครัวทานหัววัดเป็นการจัดเครื่องไทยทานจากวัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันร่วมกันบริจาคทรัพย์สินและจัดทำครัวทานไปถวายวัด

จิตรกรรมล้านนา

จิตรกรรมล้านนา ห้องนี้เป็นห้องสำหรับจัดแสดงงานจิตรกรรมฝาผนังของชาวล้านนา เปรียบเทียบกับชาวไทยใหญ่ ฝาผนังด้านซ้ายเป็นแบบล้านนา แสดงเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังแต่ละขั้นตอน ถ้าเห็นงานจิตรกรรมที่ใช้โทนสีทึบๆ เป็นหลักให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเป็นฝีมือชาวไทยใหญ่

ปราณีตศิลป์

ปราณีตศิลป์ ในห้องนี้มีหลายอย่างที่น่าสนใจมาก ชาวล้านนาจะนำเอาของสวยๆ งามๆ ที่หามาได้มาสร้างเป็นองค์พระพุทธรูปหรือไม่ก็เป็นสิ่งของสำหรับถวายพระ ทั้งอัญมณีหรือหินสวยๆ ขนาดใหญ่ๆ หรือเครื่องเงินต่างๆ นานา ก็จะนำมาประดิษฐ์ด้วยฝีมือปราณีตงดงามสำหรับถวายพระ

การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ

การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ชาวล้านนาจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุลงใต้ฐานของเจดีย์หรือองค์พระธาตุหรือองค์พระพุทธรูปหรือฐานของโบสถ์สำคัญๆ ต่างๆ แทนการบรรจุไว้ที่ส่วนยอดของเจดีย์ ทั้งนี้เพราะเหตุว่าพื้นที่ของล้านนามีแผ่นดินไหวหากนำบรรจุไว้ที่ส่วนยอดของเจดีย์โอกาสที่จะพังลงมาจะมีมากและเมื่อพังลงมาแล้วพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุจะปนไปกับเศษอิฐเศษหินได้ นั่นแหละคือที่มาที่ว่า ทำไมห้ามผู้หญิงเข้าในโบสถ์และวิหารสำคัญๆ ของชาวล้านนา

เครื่องรางของขลังของชาวล้านนาโบราณ

เครื่องรางของขลังของชาวล้านนาโบราณ ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใด เครื่องรางของขลังหรือสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจก็อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน ก่อนที่จะมีการนับถือศาสนาพุทธ หรือแม้แต่เวลาที่ศาสนาพุทธเข้ามาในล้านนาแล้วก็ตาม หรือจนกระทั่งทุกวันนี้ เครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนก็มีมากมายหลายอย่าง หิน คืออย่างหนึ่งในนั้น ชาวล้านนาจะหาหินพิเศษที่เชื่อว่ามีพลังคุ้มครองมาพกติดตัวเอาไว้ หินเท้าพระอินทร์ คือหินที่มีรูปคล้ายฝ่าเท้า ก็เป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องราง

มหาว่านยา

มหาว่านยา ในห้องนี้จะแสดงเครื่องรางอีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่พกติดตัวเวลาเดินทางหรือเข้าป่าไปทำมาหากินหาของป่า มหาว่านยา คือว่านที่มีสรรพคุณทางยา นำมาปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เพื่อให้ง่ายในการพกพาไปไหนมาไหน

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

ยันต์พระสิงห์หลวงหรือยันต์พระสิหิงค์หลวง

ยันต์พระสิงห์หลวงหรือยันต์พระสิหิงค์หลวง เป็นผ้ายันต์ที่ชาวล้านนาให้ความศรัทธาเป็นอย่างมาก เรื่องราวของการเขียนผ้ายันต์นั้นมากมายด้วยกรรมวิธีหรือพิธีกรรมต่างๆ การลงสีแต่ละสี การลงรูปแต่ละชั้น ต้องมีฤกษ์มียามในการทำทั้งสิ้น และต้องทำโดยผู้รู้เท่านั้น กว่าจะได้ผ้ายันต์มาแต่ละผืนจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ผ้าซิ่นล้านนา

ผ้าซิ่นล้านนา หนึ่งในบรรดาเรื่องราวของชาวล้านนาที่จะต้องพูดถึงคือเสื้อผ้าอาภรณ์ ชาวล้านนาได้รับอิทธิพลการทอผ้าและเทคนิคการทอส่วนหนึ่งมาจากชาวไทลื้อ แต่ก็มีส่วนที่จะทำให้เรารู้ว่าผืนไหนของล้านนา ผืนไหนของไทลื้อ เรื่องนี้ต้องลองไปศึกษาดู

กี่ทอผ้าโบราณ

กี่ทอผ้าโบราณ

พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

ภาชนะแบบล้านนา

ภาชนะแบบล้านนา มาถึงห้องนี้กันบ้าง เป็นเรื่องราวของภาชนะ ได้แก่ จาน ชาม ไห โถ ฯลฯ ทั้งดินเผาและเครื่องเขินมีให้ชมกันมากมาย

วัฒนธรรมการครองเรือนชาวล้านนา

วัฒนธรรมการครองเรือนชาวล้านนา เคยได้ยินคำว่า สะล้อ ซอ ซึง มั้ยครับ สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่สำคัญมากของผู้ชายล้านนา เป็นเครื่องมือสำหรับไปจีบสาว สาวๆ ที่ถึงวัยครองเรือนพ่อแม่จะอนุญาตให้มานั่งปั่นฝ้ายโดยมีฝ่ายชายมาเล่นสะล้อให้ฟัง ถ้าคนไหนที่ฝ่ายหญิงไม่ชอบจะเชิญลงจากเรือน ก็ถึงคิวชายคนต่อไป ถ้าคนไหนที่สาวชอบจะทำหมากทำพลูส่งให้ ฝ่ายชายรับหมากพลูมาเคี้ยวมือก็โดนกันเรียกว่าผิดผี เช้ามาก็ต้องเข้างานแต่งงานกันนั่นเอง

    เรื่องราว วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ฯลฯ เกี่ยวกับชาวล้านนายังมีอีกเยอะไม่สามารถสาธยายได้หมด เลยต้องขอจบเอาไว้เท่านี้ มีเวลาไปแอ่วเจียงใหม่ ลองแวะไปเน้อเจ้า รวมคลิปวิดีโอพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

    ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโครงการ Chill Out Thailand 2 มา ณ โอกาสนี้ครับ

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เชียงใหม่
Madami เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.11 km | แผนที่ | เส้นทาง
แอท เชียงใหม่ โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านพอดี เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชอมพอร์ ล้านนา บูติก รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.20 km | แผนที่ | เส้นทาง
โมโต เวโล เคบิน เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.21 km | แผนที่ | เส้นทาง
Tato House เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไทยอัครา ล้านนา บูติก โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.24 km | แผนที่ | เส้นทาง
ต้นฮัก เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
แบมบู 99 โอลด์ ซิตี้ เกสท์เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
แอนนีส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.29 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เชียงใหม่
วัดดวงดี เชียงใหม่
  0.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์
  0.17 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอินทขิลสะดือเมือง เชียงใหม่
  0.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่
  0.25 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วัดโพธิ์น้อย) เชียงใหม่
  0.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
ศาลาธนารักษ์ เชียงใหม่
  0.33 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
  0.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์(มหาอินทร์) เชียงใหม่
  0.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพันเตา เชียงใหม่
  0.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดชัยพระเกียรติ เชียงใหม่
  0.50 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com