ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.เชียงใหม่ 0 5324 8604, 0 5324 8607, 0 5324 8605
http://www.tourismthailand.org/chiangmai
การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก
ป้ายอุทยานแห่งชาติออบหลวง เมื่อจอดรถเสร็จมองเห็นป้ายนี้ ก็ต้องเก็บซะหน่อยตามธรรมเนียมนักท่องเที่ยวไทย เป็นฉากไม้ตายที่ต้องมีไว้ประดับอัลบัม
ทางเดินในอช. ออบหลวง เมื่อจ่ายค้าเข้าชมอุทยาน ก็เดินไปตามทางเดินอันร่มรื่นในอุทยานแห่งชาติออบหลวง ดีว่าไม่ร้อนเพราะระยะทางที่ต้องเดินก็ไกลอยู่ครับ
เห็นออบหลวงลางๆ เมื่อเดินมาตามทางเดินสัก 10 กว่านาทีก็จะเริ่มเห็นลำธารเบื้องล่าง ไหลยาวลอดผาหินทั้งสอง
ข้อมูลอุทยานแห่งชาติออบหลวง เมื่อเข้ามาถึงก็ต้องอ่านศึกษาข้อมูลกันหน่อย บนป้ายนี้จะมีข้อมูลของออบหลวง ซึ่งเกิดตามธรรมชาติแต่หาดูยากครับ
ออบหลวง (OBLUANG) (THE GREAT GORGE)
ออบหลวงเป็นธรณีสัณฐานที่แปลกตาเป็นสถาปัตยกรรมธรรมชาติที่หาดูได้ยากและมีหนึ่งเดียวในสยาม
"ที่ตั้งออบหลวง" ตั้งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 17 ของถนนสายฮอด-แม่สะเรียง คาบเกี่ยวระหว่างบ้านแปะ อำเภอจอมทอง และตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เส้นรุ้งที่ 18 องศา 13 ลิปดา 46 ฟิลิปดา เหนือเส้นแวงที่ 98 องศา 29 ลิปดา 10 ฟิลิปดา ตะวันออก คำว่า "อ๊อบหรือออบ" แปลว่าช่องแคบ "หลวง" แปลว่าใหญ่ "ออบหลวง" คือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกช่องแคบเขาขาด ซึ่งเป็นผาหินสูงใหญ่ เบื้องล่างมีลำน้ำแม่แจ่มไหลผ่าน หรืออีกนัยหนึ่ง คือหุบผาที่มีสายธารไหลผ่าน (GORGE) ความลึกของหุบเหวจากระดับถนน 108 ถึงระดับน้ำปกติ ประมาณ 50 เมตร ส่วนแคบสุด 2 เมตร ความยาวช่องแคบประมาณ 300 เมตร ชนิดหิน เป็นหินแกรนิต ชนิดแมกมาไทต์ (MIFMATITE COMPLEX)
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 ให้ออบหลวงเป็นแหล่งธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์แห่งหนึ่งของประเทศไทย
วิวนิยมอุทยานแห่งชาติออบหลวง หลายครั้งที่เคยได้ยินภาษาพื้นๆ ชาวนักท่องเที่ยวว่าวิวประมาณนี้เรียกว่า วิวสิ้นคิด แต่ผมขอเรียกให้ดูดีหน่อยว่า วิวนิยมก็แล้วกันนะครับ ภาพแบบนี้มักจะปรากฏอยู่ทั่วไปในเว็บไซต์หรือว่าหนังสือนิตยสารท่องเที่ยวเพราะมีป้ายชื่อ และมุมที่มองเห็นออบหลวงได้อย่างชัดเจนที่สุด
บนสะพานออบหลวง ให้สมาชิกเดินนำไปก่อน ช่างภาพยืนรอเก็บภาพนี้ใช้เวลาประมาณ 10นาที สมาชิกของเราก็ไปยืนเก็กท่าสวยๆ บนสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างผาหินยักษ์ทั้ง 2 ฝั่ง มองจากจุดที่ถ่ายรูปนี้เห็นคนบนสะพานเล็กกว่าไม้ขีดเสียอีก
ออบหลวงเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ บางคนเรียกผาหิน 2 ก้อนนี้ว่า เขาจูบกัน เนื่องจากบางมุมที่มองผาก็เหมือนหน้าคน 2 คน กำลังจูบกันจริงๆ
บนสะพานเชื่อมออบหลวง ภาพนี้เป็นภาพที่ต้องใช้ช่างภาพไม่เป็นโรคกลัวความสูง เพราะอะไรก็ลองดูเองละกัน เมื่อเดินตามสมาชิกมาถึงบริเวณสะพานเชื่อมผา ก็เลยนั่งลงแล้วเก็บภาพหน้าบ้างหลังบ้าง
มองลำธารบนออบหลวง ลำธารที่เห็นเบื้องล่างนี้เป็นลำธารที่นิยมมาเล่นล่องแก่งกันพอสมควร ในบางฤดูน้ำในลำธารไหลเชี่ยวมาก จนทำให้การล่องแก่งแห่งนี้มีระดับที่สูงพอควร (การเล่นล่องแก่งปกติบอกเป็นระดับ แต่ละระดับจะเชี่ยวต่างกันไป) ภาพนี้เห็นกันชัดๆ ไปเลยว่าน้ำในลำธารนี้ไหลแรงแค่ไหน
หลุมฝังศพสมัยโลหะตอนปลาย บนออบหลวงนอกจากจะมีผาหินขนาดไหญ่ 2 ด้านและมีลำธารไหลผ่านแล้ว ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติและแหล่งโบราณคดีให้ได้ชม แต่ต้องแลกมาด้วยความเหนื่อยยากจากการเดินขึ้นเขา ถึงแม้จะไม่ชันมากนักแต่ก็เหนื่อย เนื่องจากเดินมาจากพื้นราบถึงออบหลวง แล้วยังต้องเดินขึ้นเขาต่ออีก เหนื่อยพอสมควรเลยครับ
หลุมฝังศพสมัยโลหะตอนปลาย (สำริด)
นายสายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี กรมศิลปากร พบหลุมฝังศพแห่งนี้และทำการขุดค้นร่วมกับดร.มารีแอล ซังโตนิ และดร.จอง ปิแอร์ ปอโทร นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ในโครงการก่อนประวัติศาสตร์ไทยฝรั่งเศส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ลักษณะเป็นหลุมร่องยาวด้านหัวและท้ายมนคล้ายวงรี ขนาดยาว 2 เมตร กว้าง 0.85 เมตร ลึกประมาณ 0.4-0.5 เมตร ในหลุมมีโครงกระดูกมนุษย์เพศหญิง 1 โครง สภาพไม่สมบูรณ์ เหลืออยู่เพียงฟัน 32 ซี่ กระดูกแขนและขา ส่วนกระโหลกศรีษะ กระดูกส่วนลำตัว ผุกร่อน และถูกน้ำเซาะพัดพาไปหมดแล้ว โครงกระดูกฝังในท่านอนหงาย แขนแนบลำตัว ที่ข้อมือซ้ายสวมกำไลสำริด 9 วง กำไลเปลือกหอยทะเล 1 วง ที่ข้อมือขวาสวมกำไลสำริด 5 วง กำไลเปลือกหอยทะเล 1 วง ที่คอสวมสร้อยลูกปัดเปลือกหอยและหินคาร์นิเลียน บริเวณขาช่วงล่างมีภาชนะดินเผาใส่ไว้ 5 ใบ ส่วนใหญ่ถูกทุบแตกและโรยไว้บนพื้นหลุมศพก่อนวางศพ และใส่ไว้ข้างๆ ศพ ตรงบริเวณกลางลำตัวพบกกำไลสำริดหักและม้วนงอ 2 วง วางอยู่ด้วย
หลุมฝังศพและโครงกระดูกนี้เป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
นั่งพักกับผู้นำทางสู่ออบหลวง ภาพนี้เกิดจากการเหนื่อยล้าแล้วก็นั่งพักกัน แต่เพิ่งสังเกตุว่ามีสุนัขตามมาถึงบนนี้ เหมือนเป็นไกด์ให้เราเลย เนื่องจากความกระหายจึงแบ่งชาเขียวซึ่งเป็นเสบียงของเราให้มันกิน
ภาพเขียนโบราณบนออบหลวง นอกจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้ว ยังมีสิ่งที่เกิดจากฝีมือมนุษย์โบราณให้ดูอีกด้วย นี่ก็คือภาพเขียนโบราณ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายสัตว์ต่างๆ
ผาช้าง ที่เห็นในภาพนี้เรียกว่า ผาช้างนะครับ อาจจะสังเกตุยากสักหน่อยแต่ก็มีเค้าโครงของช้างให้เห็น สำหรับข้อมูลก็ถ่ายมาจากป้ายเหมือนกันแต่อ่านไม่ออก เลยต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
บรรยายภาพเขียนโบราณบนออบหลวง ตรงหน้าภาพเขียนโบราณบนก้อนหิน ได้มีการทำป้ายอธิบายภาพเอาไว้ให้ศึกษา ยังไงก็อย่าจับภาพเขียนบนหินนะครับ เดี๋ยวเสียหายได้
โป่งดินออบหลวง บนออบหลวงมีโป่งดินธรรมชาติที่พวกสัตว์ต่างๆ จะมากิน คล้ายๆ กับโป่งดินเขาใหญ่ตอนกลางคืนมีสัตว์มากมายมาหากิน ทำให้นักท่องเที่ยวได้ส่องสัตว์บริเวณโป่งต่างๆ
สูงสุดออบหลวง ภาพนี้ได้มาจากความพยายามสูงสุดของเราที่อดทนปีนกันขึ้นบนยอดเขา จากโป่งดินมาถึงยอดเขานี้สูงชัน และเป็นหินการปีนหรือเดินต้องระวังแต่พอมาถึงก็คุ้มค่ากับความสวยงามที่ได้เห็นทิวทัศน์บนยอดเขา
สุดสายตาบนออบหลวง ภาพนี้เป็นภาพจากบนยอดเขาหากไม่ย่อเพื่อเอามาลงเว็บก็คงจะเห็นถนนที่เรามา
วิวสวยๆ บนลานหิน ภาพนี้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าเราอยู่บนก้อนหิน แม้จะมีพืชขึ้นแต่ก็แล้งและแห้ง ที่สำคัญหากขึ้นมาช่วงฤดูฝนหรือเพิ่งมีฝนตกไม่นานบนนี้จะลื่นมากและไม่มีราวกั้น อย่าเดินไปใกล้ริมผา เพราะอาจจะเกิดอันตรายได้หากลื่นไถลลงมาเป็นอันว่าไม่มีโอกาสรอดครับ
ประกาศชัยชนะบนออบหลวง สมาชิกของเราที่เหนื่อยสุดๆ หลังจากนั่งพักบนยอดเขาจนหายเหนื่อยแล้ว ก็ได้เวลาลงมา เลยใช้จังหวะนี้ถ่ายเสยขึ้นไป ได้ภาพแบบอารมณ์ผู้ชนะเหมือนกันนะครับ
สะพานออบหลวงจำกัดน้ำหนัก ขากลับลงมาได้เห็นป้ายจำกัดน้ำหนัก หรือจำนวนคนที่รับได้เลยเก็บมาซะหน่อย
วิวสุดฮิตของออบหลวง ก่อนกลับก็มานั่งถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึกอีกครั้งหนึ่งกับมุมสุดฮิตของออบหลวง
แก๊งค์ช๊อปเปอร์หน้าออบหลวง พอจะกลับเห็นกลุ่มมอเตอร์ไซค์กลุ่มใหญ่ที่เราเรียกกันว่า ช๊อปเปอร์ จอดเรียงรายหน้าป้ายอุทยานแห่งชาติออบหลวง ก็เก็บมาเป็นความทรงจำ 1 รูป
0/0 จาก 0 รีวิว |
*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ