www.touronthai.com

หน้าหลัก >> ภูเก็ต >> วัดพระทอง (วัดพระผุด)

วัดพระทอง (วัดพระผุด)

 วัดพระทอง (วัดพระผุด) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 21 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทาง แยกเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง" เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น จังซุ่ย เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น

 พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 07.00 น. – 17.00 น.

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานภูเก็ต 0 7621 1036 , 0 7621 2213
http://www.tourismthailand.org/phuket

แก้ไขล่าสุด 2016-05-20 20:34:13 ผู้ชม 29059

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
อุโบสถวัดพระทอง

อุโบสถวัดพระทอง การเดินทางสู่วัดพระทองนั้นไม่ยากหากเดินทางเข้าภูเก็ตจะต้องผ่านอำเภอถลาง ทางแยกวัดพระทองอยู่ซ้ายมือก่อนเข้าตัวเมืองถลางไม่มาก หรือเข้าทางถนนนาในก็ได้ (เดือนตุลาคม 2553 จะต้องเข้าทางถนนนาในเนื่องจากทางหลักเข้าวัดพระทองปิดซ่อมอยู่ครับคาดว่าจะเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน) ถ้าเข้าทางถนนนาในก็จะเห็นสนามเด็กเล่นและลานจอดรถด้านหน้าพระอุโบสถ ปกติพระอุโบสถไม่ได้เปิดให้เข้าชม จะเปิดเฉพาะวิหารพระทองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของอุโบสถ

อุโบสถวัดพระทอง

อุโบสถวัดพระทอง วัดพระทอง ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระผุดหรือวัดพระหล่อ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทองคำครึ่งพระองค์ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก โดยมีตำนานเล่าว่า เดิมบริเวณวัดเป็นที่เลี้ยงสัตว์ในเช้าวันหนึ่งมีเด็กชายได้นำควายไปเลี้ยงที่ทุ่งนา หาที่ผูกเชือกควายไม่ได้ก็เลยนำไปผูกกับหลักที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินหลังจากกลับมาถึงบ้านเด็กชายก็มีอาการเจ็บป่วยและตายลงในที่สุด และเมื่อไปดูควายที่ทุ่งนาก็เห็นควายนอนตายอยู่ ตอนกลางคืนพ่อของเด็กชายฝันเห็นถึงสาเหตุที่เด็กตายเพราะได้นำเชือกไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป จึงชักชวนชาวบ้านให้ไปขุดขึ้นมาบูชา แต่เกิดมหัศจรรย์มีตัวต่อแตนขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมากอาละวาดไล่ต่อยผู้ที่มาขุด และไม่ทำร้ายคนที่ไม่ขุด เจ้าเมืองทราบจึงให้สร้างหลังคาบังพระเกตุมาลาทองคำไว้

หลายปีต่อมามีชีปะขาวรูปหนึ่งมาพักที่เมืองถลางท่านกลัวจะมีคนตัดพระเกตุไปขาย จึงร่วมกับชาวบ้านช่วยกันเก็บเปลือกหอยมาเผาไฟทำปูนขาวกับทรายโบกปิดทับพระพุทธรูปเอาไว้ ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พม่าได้เข้ามาตีภาคใต้ของไทยและยึดเมืองถลางได้ ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับพม่า แต่ไม่สำเร็จ เกิดสิ่งมหัศจรรย์มีมดคันตัวเล็กๆ ขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมาก ทหารพม่าที่ถูกกัดก็เป็นไข้และล้มตายไปหลายร้อยคน พม่าที่เหลือจึงเอาไฟมาเผามด และได้พยายามขุดไปจนถึงพระศอ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็ยกทัพมาตีเมืองคืนจากพม่าได้

หลังจากนั้นหลวงพ่อสิงห์เดินทางมาจากเมืองสุโขทัยมาปักกรดที่เมืองถลาง ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างกุฏิ วิหารและอุโบสถ หลวงพ่อพระผุดเป็นพระประธานในอุโบสถ แต่ได้ก่อสวมหลวงพ่อพระผุดเฉพาะหน้าเท่านั้นให้สูงกว่าเดิมเพื่อสะดวกแก่กิจกรรมสงฆ์

วิหารพระทอง

วิหารพระทอง เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 น. เป็นวิหารขนาดใหญ่พอสมควร

วิหารพระทอง

วิหารพระทอง

พระทอง(พระผุด)

พระทอง(พระผุด)

พระทอง(พระผุด)

พระทอง(พระผุด) ภายในวิหารพระทองนอกจากจะมีองค์พระผุดแล้ว ก็มีการสร้างพระผุดจำลองเพื่อให้ปิดทอง ส่วนองค์จริงนั้นจะมีการล้อมไว้และติดป้ายห้ามเข้าไปในบริเวณองค์พระผุดองค์จริง

พระประจำวันเกิด

พระประจำวันเกิด ในวิหารพระทองมีพระประจำวันเกิดประดิษฐานเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการสักการะเป็นสิริมงคลทั้งสองด้านของวิหาร

ด้านหน้าวิหารพระทอง

ด้านหน้าวิหารพระทอง แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานของความเชื่อชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนอย่างแยกกันไม่ออก

ประตูพระกำแพง

ประตูพระกำแพง ทำด้วยสแตนเลสทุกด้าน นอกจากนี้ประตูและหน้าต่างของอุโบสถก็มีการปิดด้วยสแตนเลสที่ทำด้วยลวดลายแบบเดียวกันทั้งหมดเพื่อความปลอดภัย

หอระฆัง

หอระฆัง

มณฑปอดีตเจ้าอาวาส

มณฑปอดีตเจ้าอาวาส ด้านหลังของอุโบสถมีการสร้างมณฑปอดีตเจ้าอาวาสวัดพระทองมีรูปเจ้าอาวาสเท่าที่จะมีการบันทึกไว้ได้ ส่วนรูปแรกๆ ย้อนขึ้นไปก็ไม่มีรูป มณฑปอดีตเจ้าอาวาสนี้จะเปิดเวลาเดียวกันกับวิหารพระทองคือ 8.00 น.

ภายในมณฑปอดีตเจ้าอาวาส

ภายในมณฑปอดีตเจ้าอาวาส ภายในประกอบด้วยโต๊ะหมู่บูชามีพระทองหรือพระผุดเป็นพระประธาน ด้านหลังมีรูปเจ้าอาวาส พร้อมช่วงเวลาที่ปกครองวัด นับย้อนขึ้นไปอีกหลายรูปที่ไม่มีรูป

อดีตเจ้าอาวาสวัดพระทอง

อดีตเจ้าอาวาสวัดพระทอง เรียงลำดับจากซ้ายไปขวาได้แก่พระครูวิตถารสมณวัตร์ อินฺทรตฺตโน (ฝรั่ง) เจ้าอาวาสวัดพระทองรูปที่ ๑๕ ชาตะ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๑๙ มรณะพฤศจิกายน ๒๕๐๑ , พระครูสุวรรณพุทธาภิบาล (สุขุม อิสิญาโณ) , พระอธิการอำไพ อมรทตฺโต

พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง

พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง เป็นอาคารขนาดใหญ่ในวัดพระทอง รวบรวมปูชนียวัตถุหลายอย่าง

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดพระทอง (วัดพระผุด) ภูเก็ต
วินดี เฮาส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.79 km | แผนที่ | เส้นทาง
Supalai Resort & Spa Phuket เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.80 km | แผนที่ | เส้นทาง
Luxury Seaview Villa at Naithon เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านเดี่ยว 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 120 ตร.ม. – อำเภอถลาง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.85 km | แผนที่ | เส้นทาง
เจพี เฮาส์ ภูเก็ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.45 km | แผนที่ | เส้นทาง
รัตนา เรสซิเดนซ์ ถลาง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
ลีฟ แอท ลอฟท์ อพาร์เทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.08 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านถลาง เรสซิเดนซ์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมธัญญปุระ สปอร์ตส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
เล ปาล์ม วอเตอร์ฟรอนต์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.43 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com