www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุดรธานี >> อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

 ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

 อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร
 เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"

ถ้ำ และเพิงหินต่างๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง "นางอุสา-ท้าวบารส"
 เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณลานหินเหล่านี้

 ภายในบริเวณอุทยานฯ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลของอุทยานฯ รวมทั้งแผนที่ และเส้นทางเดินเที่ยวชมบริเวณ
 เวลาเปิด-ปิด : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.
 อัตราค่าเข้าชม : นักท่องเที่ยว ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4225 1350-2

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานอุดรธานี 0 4232 5406-7
http://www.tourismthailand.org/udonthani

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 49035

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

ศูนย์บริการข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เมื่อจอดรถถึงอุทยานก็เดินเข้าไปศึกษาเส้นทางในการเดินที่นี่ ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ซึ่งตามเอกสารโบรชัวร์ของอุทยาน(ภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจพื้นที่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เมื่อปี 1972 พบโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ 68 แห่งซึ่ง 45 แห่งมีภาพเขียนโบราณ และส่วนที่มีลักษณะเป็นเป็นเพิงหิน 23 แห่งแบ่งออกเป็น 9 กลุ่มคือ กลุ่มโนนหินเกลี้ยง และถ้ำสูง (Nonhinklieng and Thamsoong) กลุ่มถ้ำดินแพง (Thamdinpiang) กลุ่มวัดพ่อตาและวัดลูกเขย (Wat Porta and Louk Koei) กลุ่มวัดประพุทธบาทบัวบก (Wat Phra Buddha Batha Buabhok) กลุ่มห้วยหินลาด (Huaihinlaad) กลุ่มโนนสาวเอ้ (Non Sao aei) กลุ่มห้วยดานใหญ่ (Huaidaanyai) กลุ่มพระพุทธบาทหลังเต่า (Phrabatlangtao) กลุ่มเจดีย์ราง-อุบโมง และถ้ำพระเสียง (Chadiraang-Oubmong and Tham Phra Siang) หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.finearts.go.th/th/ppark.php?Submit=Clear

แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท

แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สแกนมาจากโบรชัวร์ จะแสดงให้เห็นระยะทางในการเดิน มี 23 แห่งได้แก่
1.หอนางอุสา
2.ถ้ำช้าง
3.หีบศพพ่อตา
4.หีบศพท้าวบารส
5.หีบศพนางอุสา
6.วัดพ่อตา
7.ถ้ำพระ
8.กู่นางอุสา
9.บ่อน้ำนางอุสา
10.เพิงหินนกกระทา
11.ช้างเขานิพพาน
12. พระเสด็จ
13.ถ้ำวัว-ถำคน
14.ถ้ำฤาษี
15.ถ้ำปู่แจ
16.คอกม้าท้าวบารส
17.คอกม้าน้อย
18.วัดลูกเขย
19.ถ้ำพระเสียง
20. เจดีย์รางอุบโมง
21.ถ้ำดินแพง
22.พระพุทธบาทบัวบก
23.โนนสาวเอ้
ทั้งนี้หากอ่านออกเสียงเพี้ยนต้องขออภัยครับพยายามหาข้อมูลกันสุดๆ แต่มันเป็นภาษาอังกฤษ

ป้ายบอกทางในอุทยานประวัติศาสตร์

ป้ายบอกทางในอุทยานประวัติศาสตร์

ต้นไม้ขึ้นบนหิน

ต้นไม้ขึ้นบนหิน

ต้นง้าว

ต้นง้าว ง้าว งิ้วผา ง้าวป่า เป็นไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ดอกสีขาวครีมแกมม่วง ผลแห้งแตกรูปกระสวยหรือทรงกระบอกยาว เมล็ดรูปทรงกลมสีดำขนาดเล็กมีปุ๋ยสีขาวห่อหุ้มคล้ายเมล็ดฝ้าย เปลือกต้นผสมเปลือกต้นนุ่นต้มน้ำดื่มแก้อาหารเป็นพิษ

ทางเดินสู่คอกม้าน้อย

ทางเดินสู่คอกม้าน้อย เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท หรืออุทยานแห่งชาติต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักจะเหมือนกันหมด ตรงที่ต้นไม้แทบไม่มีใบเหลือบนต้น มองไปทางไหนก็มีแต่สีแดงๆ เหลืองๆ

คอกม้าน้อย

คอกม้าน้อย จากจุดเริ่มต้นเดินศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์หลายพันปี เดินตามทางมาเรื่อยๆ ประมาณ 200 เมตร จะเห็นลานหินกว้างตรงกลางมีหินที่ซ้อนกันอย่างประหลาด เรียกว่าคอกม้าน้อย แผ่นหินกว้างกว่า 4 เมตรวางอยู่บนฐานเล็กนิดเดียวอย่างไม่น่าเชื่อ

คอกม้าน้อย

คอกม้าน้อย เดินเข้ามาดูใกล้ๆ จะเห็นหินที่เป็นฐานของคอกม้าน้อยนี้มีสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะของหินที่อยู่ในบริเวณนี้

คอกม้าน้อย

คอกม้าน้อย อีกด้านหนึ่งของคอกม้าน้อยที่ทำให้เห็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่หินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งตั้งอยู่บนฐานเล็กๆ และมีช่องว่างทะลุอีกด้วย

คอกม้าท้าวบารส

คอกม้าท้าวบารส เดินจากคอกม้าน้อยมาอีกประมาณ 100 เมตรก็จะเห็นคอกม้าท้าวบารส ดูเหมือนกับว่าหินแผ่นบนอยู่บนฐานครึ่งหนึ่งและยื่นออกมานอกฐานครึ่งหนึ่งพอดี หากในสมัยโบราณที่มนุษย์ไม่รู้จักวิธีการสร้างบ้านอยู่จะสันนิษฐานว่ามนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำและเพิงหินแบบนี้ก็น่าเชื่อเป็นอย่างมาก เพราะสภาพอากาศที่มีแต่แดดร้อนหากไม่อยู่ในเพิงหินคงไม่ไหวแน่

ถ้ำฤาษี

ถ้ำฤาษี เดินต่อมาจากคอกม้าท้าวบารสมาอีกประมาณ 100 เมตร จะมีทางลาดๆ พอปีนขึ้นมาได้อยู่ตรงฐานถ้ำฤๅษี พอขึ้นมาได้แล้วก็จะเห็นมุมนี้ ในวันนี้มีสามเณรเดินศึกษาประวัติศาสตร์อย่างสนใจ

ภาพเขียนสีโบราณถ้ำวัว-ถ้ำคน

ภาพเขียนสีโบราณถ้ำวัว-ถ้ำคน มันเหมือนแรด หรืออะไรซักอย่าง ตามด้วยวัวตรงกลาง จากนั้นตัวขวาเหมือนไดโนเสาร์เลย ถ่ายรูปได้แต่ห้ามจับนะครับ เดี๋ยวเสียหาย ใต้สัตว์ต่างๆ ที่เราเห็นยังมีภาพอีกมากมายหลายภาพที่เริ่มจะลางเลือน มองเห็นคล้ายๆ รูปคน

ป้ายชี้ภาพเขียนสีโบราณ

ป้ายชี้ภาพเขียนสีโบราณ นี่ก็เป็นป้ายบอกนักท่องเที่ยวถึงภาพเขียน ขนาดของป้ายไม่ใหญ่มากต้องดูดีๆ หน่อยเดี๋ยวเดินเลยไป หรือไม่ได้เห็นภาพเขียนโบราณสมความตั้งใจที่มาที่นี่ ลูกศรของป้ายชี้ไปตรงที่มีภาพเขียนโบราณอยู่

ป้ายชี้ภาพเขียนสีโบราณ

ป้ายชี้ภาพเขียนสีโบราณ

ถ้ำปู่แจ

ถ้ำปู่แจ ภาพนี้ละครับที่กลัวว่าจะออกเสียงผิด เอาภาษาอังกฤษไปด้วยช่วยกันอ่านครับ Tham Poojae เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่น่าแปลกใจมาก หินก้อนบนเทียบขนาดกับฐานที่ตั้งอยู่มันช่างต่างกันมากและน่าจะหล่นลงมาตั้งนานแล้วแต่ก็ยังตั้งอยู่มาจนทุกวันนี้

คอกม้าน้อย

คอกม้าน้อย ผมเลือกที่จะเดินกลับครับ เพราะเวลามีน้อย เดินย้อนกลับมาทางเก่าเจอสามเณรมาศึกษาประวัติศาสตร์นั่งพักกันในนี้เหมือนมนุษย์ยุดหิน (ซึ่งคาดว่าจะอาศัยเพิงเหล่านี้เป็นที่พัก)

กู่นางอุสา

กู่นางอุสา เป็นรูปที่สแกนมาจากโบรชัวร์อีกรูปหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังให้ครบถ้วน กู่นางอุสาเป็นสถานที่ที่เด่นที่สุดแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทแห่งนี้

ถ้ำพระ

ถ้ำพระ เป็นเพิงหินประกอบด้วยก้อนหินขนาดใหญ่สองก้อนวางซ้อนกัน ยังคงเหลือ ภาพปฏิมากรรมสลักนูนสูง เรียงกันเป็นแถว คือ พระพุทธรูปนั่งในซุ้มคล้ายหน้าบันเทวรูปยืน พระพุทธรูปยืน พระพุทธรูปนั่ง หลายองค์มีสภาพชำรุดพระพักตร์หลุดหายไปส่วนใหญ่ แต่ยังคง ความสวยงามอยู่ อายุสมัยทวารวดี -ลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ เป็นรูปที่สแกนมาจากโบรชัวร์

หอนางอุสา

หอนางอุสา เป็นภาพที่สแกนมาจากโบรชัวร์ ซึ่งเป็นภาพอยู่หน้าปก และยังอยู่บนสุดเมื่อคลิกเข้าไปใน เว็บของกรมศิลปากร

ถนนสู่วัดพระพุทธบาทบัวบก

ถนนสู่วัดพระพุทธบาทบัวบก จากลานจอดรถของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จะเดินทางไปพระพุทธบาทบัวบก มีถนนลาดยางสายเล็กๆ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ พอใกล้ถึงวัดจะเห็นป้ายนี้ ให้ลดความเร็วลงมากๆ เพราะทางจะแยกออกเป็น 2 เลน และมีก้อนหินขนาดเท่ารถหกล้อเป็นเกาะกลางถนน ทางเลี้ยวจะหักศอก อันตรายหากใช้ความเร็วสูงๆ

ณ ลานจอดรถวัดพระพุทธบาทบัวบก

ณ ลานจอดรถวัดพระพุทธบาทบัวบก สิ่งตั้งอยู่บริเวณลานจอดรถคือวิหารพระพุทธรูปปางนาคปรก และ องค์เจดีย์ซึ่งมีรอยพระพุทธบาทอยู่ภายใน

องค์เจดีย์พระพุทธบาทบัวบก

องค์เจดีย์พระพุทธบาทบัวบก สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

ทางเข้าองค์เจดีย์พระพุทธบาทบัวบก มีทางเดียวซึ่งอยู่ติดกับลานจอดรถ ในช่วงประเพณีไหว้พระพุทธบาทจะมีรถจอดอยู่เต็มไปหมด ถือเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวอุดรธานีและพื้นที่ใกล้เคียง

ทางขึ้นวิหาร

ทางขึ้นวิหาร ไปไหว้พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระเจดีย์องค์จำลอง

พระเจดีย์องค์จำลอง สร้างขึ้นมาใหม่มีขนาดเล็กลงแต่คงลักษณะเดิมและทำให้สวยงามยิ่งขึ้น

ในกำแพงพระธาตุเจดีย์พุทธบาทบัวบก

ในกำแพงพระธาตุเจดีย์พุทธบาทบัวบก จะเห็นพระพุทธรูปปางต่างๆ และพระสังกัจจายนที่หน้าประตูเจดีย์

รอยพระพุทธบาทบัวบกจำลอง

รอยพระพุทธบาทบัวบกจำลอง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร ที่ถูกสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ จากพระพุทธบาทบัวบกหากต้องการเดินชมโดนสาวเอ้ จะมีทางเดินระยะทางประมาณ 800 เมตร และเดินต่อไปยังพระพุทธบาทหลังเต่าได้

ถนนหน้าวัดพระพุทธบาทบัวบก

ถนนหน้าวัดพระพุทธบาทบัวบก เส้นทางกลับซึ่งเหมือนกับตอนมา มองเห็นหินขนาดใหญ่เป็นขอบทางทั้ง 2 ข้างและเกาะกลางถนนก็เป็นหินขนาดใหญ่ ตรงบริเวณนี้เป็นทางโค้งด้วยครับน่ากลัวมาก

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี
ธาราริน รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  15.94 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมวุฒิโชค น้ำโสม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  28.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ อพาร์ตเมนต์ 4 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 20 ตร.ม. – น้ำโสม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  29.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ อพาร์ตเมนต์ 4 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 20 ตร.ม. – น้ำโสม เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  29.64 km | แผนที่ | เส้นทาง
วิฬาร์วารี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  34.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านพักริมโขง รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  43.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
แม่โขง ธาราวดี 4 เบดรูม วิลลา
  49.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทอง พอ เงิน รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  50.81 km | แผนที่ | เส้นทาง
แม่โขง จีเวล เรสซิเดนซ์
  51.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
Bann Loft Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  52.32 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี
ถ้ำผาแดง น่าน
  18.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
ถ้ำสุวรรณคูหา หนองบัวลำภู
  25.58 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดถ้ำสุวรรณคูหา หนองบัวลำภู
  25.64 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยานแห่งชาตินายูงน้ำโสม อุดรธานี
  39.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดถ้ำศรีมงคล (วัดถ้ำดินเพียง) หนองคาย
  42.33 km | แผนที่ | เส้นทาง
แหล่งโบราณคดีภูผายา หนองบัวลำภู
  43.17 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดศรีชมภูองค์ตื้อ หนองคาย
  45.30 km | แผนที่ | เส้นทาง
น้ำตกวังน้ำมอก หนองคาย
  45.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
  46.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดอรัญบรรพต พระสุธรรมเจดีย์ หนองคาย
  47.63 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com