www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุดรธานี >> พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

 ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

    ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ

    ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ

    การเดินทาง ไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสะดวกมาก เนื่องจากอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 55 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ

    เวลาเปิด-ปิด : พิพิธภัณฑ์ฯเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4220 8340

1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง 

ที่อยู่: ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี 41320

วันจันทร์: (วันหยุดชดเชย) ปิดทำการ

เปิดทำการ วันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 8:30–16:00น

2.หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน 

เปิดทำการทุกวัน เวลา 8:30–16:30

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์:042-208340,042-235191,

042-235190,042-235001,096-4566927

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.สำนักงานอุดรธานี 0 4232 5406-7
http://www.tourismthailand.org/udonthani

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 74379

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
ทางแยกบ้านเชียง

ทางแยกบ้านเชียง จากตัวเมืองอุดรธานีมุ่งหน้าตามทางหลวงหมายเลข 22 มุ่งหน้าอำเภอสว่างแดนดิน ผ่านแยกไฟแดงอำเภอบ้านดุงมาเล็กน้อยจะมีทางแยกซ้าย เป็นทางคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4 ช่องทาง มีป้ายยินดีต้อนรับสู่บ้านเชียงตรงเข้าไปตามถนนสายนี้ประมาณ 8 กิโลเมตรก็ถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

แหล่งอารยธรรม ๕๐๐๐ ปี บ้านเชียง

แหล่งอารยธรรม ๕๐๐๐ ปี บ้านเชียง ถึงจุดนี้ป้ายที่ก่อสร้างให้ดูเหมือนเก่า มีเครื่องปั้นดินเผาวางกองกันไว้ให้เข้าถึงบรรยากาศบ้านเชียง

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 บ้านเชียง

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 บ้านเชียง แม้แต่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านก็มีการประดับหน้าบ้านเป็นเครื่องปั้นดินเผาลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง

ของที่ระลึกบ้านเชียง

ของที่ระลึกบ้านเชียง ถนนสายหน้าพิพิธภัณฑ์ มีการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากบ้านเชียงแทบทุกหลังคาเรือน

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ก่อนที่จะเข้าไปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงจะพาเดินชมรอบๆ ตามถนนด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์มีพื้นที่กว้างติดถนนเป็นแนวยาวชาวบ้านในพื้นที่จึงเปิดร้านจำหน่ายของที่ระลึกต่างๆ ซึ่งมีเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ที่รู้จักกันไปทั่วโลกของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี

ร้านอาหารใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ร้านอาหารใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง รอบๆ บริเวณนี้มีร้านอาหารอยู่ไม่มากนัก ส่วนมากเป็นอาหารตามสั่งและข้าวกล่อง

ป้ายร้านอาหารตามสั่ง

ป้ายร้านอาหารตามสั่ง และแม้จะเป็นร้านอาหารตามสั่ง ร้านของชำ ก็ยังมีการวางของที่ระลึกบ้านเชียงร่วมจำหน่าย ในจำนวนนี้มีบ้านบางหลังเปิดให้พักแบบโฮมสเตย์ด้วย

ทางเข้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

ทางเข้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง เดินผ่านเข้าประตูไปได้เลยครับ การเก็บค่าเข้าชมจะเก็บที่ในอาคารของพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อำเภอหนองหาน อนุสรณ์สถานที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 เพื่อจัดแสดงหลักฐานที่ได้จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและสถานที่ใกล้เคียงได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำจากหิน เหล็กและสำริด โครงกระดูกของมนุษย์และสัตว์ต่างๆ และหลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของการอยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่องกว่า 5000 ปีมาแล้ว ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดี บ้านเชียงจึงได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกอันดับที่ 359 เมื่อ ธันวาคม 2535

การแสดงภายในอาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้จัดแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บ้านเชียงในอดีต โดยจัดแสดงโบราณวัตถุและหลักฐานที่ได้มาจากการขุดค้นพบ เช่นโลหะ ภาชนะดินเผาพร้อมทั้งนิทรรศการบ้านเชียงยุคสำริดที่สาบสูญ และบ้านเชียงวันนี้ ที่จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่เครื่องมือ เครื่องใช้ ศิลปะพื้นบ้านของคนบ้านเชียงในปัจจุบันคือ ชาวไทพวน

อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นอาคารหนึ่งที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงอยู่ภายใน รวมทั้งประวัติความเป็นการ การขุดค้นพบเครื่องปั้นดินเผา แหล่งโบราณคดีต่างๆ
ระเบียบปฏิบัติการเข้าชมพิพิธภัณฑ์
1.ไม่นำกระเป๋า ถุง ย่าม หรือสิ่งใดๆ ที่อาจบรรจุ ปกคลุมปิดบัง หรือซ่อนเร้นสิ่งของในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ เข้าไปในอาคารจัดแสดง โบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ
2.ไม่นำอาวุธ วัตถุระเบิด วัตถุเชื้อเพลิงหรือสารเคมีอันจะก่อให้เกิดอันตรายเข้าไปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
3.ไม่จับต้องหรือหยิบฉวย หรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุด หรือเสียหายแก่โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งของที่จัดตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
4.ไม่ขีด เขียน หรือทำให้ปรากฎด้วยประการใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุด หรือเสียหายแก่โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งของที่จัดตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
5.ไม่สูบบุหรี่ ภายในอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ เว้นแต่สถานที่ที่จัดไว้ให้สำหรับสูบบุหรี่
6.ไม่กระทำการใดๆ ในสถานที่เขต พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อันเป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่เสื่อมเสียต่อศิลธรรมอันดี หรือลบหลู่ดูหมิ่นศาสนา และวัฒนธรรม หรือก่อความรำคาญแก่ผู้เข้าชมอื่นๆ
7.ไม่ถ่ายรูปหรือบันทึกภาพ หรือเขียนรูปโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หรือสิ่งของที่จัดแสดงไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้น
8.ไม่กระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความชำรุด เสียหาย หรือก่อให้เกิดความสกปรก และไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยแก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
9.ไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในอาคารจัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ

อาคารสำนักงาน

อาคารสำนักงาน

มรดกโลกบ้านเชียง

มรดกโลกบ้านเชียง สัญลักษณ์ของการได้รับความคุ้มครองมรดกโลกของแหล่งโบราณดคีบ้านเชียง

ศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์

ศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์ ขุนเชียงสวัสดิ์ (พรมมา แก้ววิเชียร) มีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ.2410-2472 เคยดำรงตำแหน่งกำนันตำบลบ้านเชียงในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้รับการยกย่องจากทางราชการและประชาชนทั่วไปว่าเป็นผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่มีความฉลาดรอบรู้ ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความกล้าหาญในการปราบปรามโจร ผู้ร้าย รวมทั้งเป็นผู้นำชาวบ้านเชียงในการช่วยการพัฒนาถนนหนทางสัญจร และปรับปรุงแหล่งน้ำโดยเฉพาะบึงนาคำให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเพียงพอต่อการบริโภคและอุปโภคของประชาชนตลอดทั้งปี ตลอดจนได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านเชียงได้รับการศึกษาอย่างเป็นระบบขึ้นเป็นครั้งแรก โดยร่วมบริจาคทั้งกำลังทรัพย์และสละกำลังแรงงานร่วมกับชาวบ้านเชียงในการก่อสร้างอาคารเรียนและองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเรียนการสอน "โรงเรียนบ้านเชียง (ประชาเชียงเชิด)" ด้วยการอุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ส่งผลให้ชุมชนบ้านเชียงมีความสงบสุขร่มเย็นมาจนตราบเท่าถึงปัจจุบัน

ด้วยคุณงามความดีและชื่อเสียงที่ได้กระทำไว้ภายหลังจากขุนเชียงสวัสดิ์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2474 ชาวบ้านเชียงจึงพร้อมใจกันสร้างศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์ขึ้นบริเวณริมบึงนาคำเพื่อผลในการให้ดวงวิญญาณของท่านได้ช่วยปกป้อง คุ้มครอง ดูแลรักษา และดลบันดาลให้ชาวบ้านเชียงและผู้มาเยือนประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป และต่อมาจึงได้ย้ายเข้ามาตั้งในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อันเป็นที่ตั้งในปัจจุบันพร้อมทั้งปรับปรุงให้มีลักษณะรูปแบบเรือนไทยพวนย่อส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับบ้านเรือนของชาวบ้านเชียงที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทพวน ที่อพยพมาจากเมืองเชียงขวางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

อาคารกัลยาณิวัฒนา

อาคารกัลยาณิวัฒนา เป็นอาคารที่เชื่อมต่อกันกับอาคารสมเด็จพระศรินครินทราบรมราชชนนี

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อุดรธานี
โรงแรมราชิกา แกรนด์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  9.75 km | แผนที่ | เส้นทาง
เชียงคำ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  10.82 km | แผนที่ | เส้นทาง
Moai Homeplace เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  30.84 km | แผนที่ | เส้นทาง
หนองหาน แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  33.74 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมประกายทอง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  33.80 km | แผนที่ | เส้นทาง
โฮม เคบิน เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.82 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมโสภา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  38.03 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชวนธนปัญญารีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  38.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
เฟลม ทรี วิลลา
  40.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
กรีนเก็คโค เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  43.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง อุดรธานี
เที่ยวเมืองเครื่องปั้นชุมชนบ้านเชียง
  0.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
โบสถ์ดอกบัวกลางน้ำ วัดสันติวนาราม (วัดป่าดงไร่)
  6.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดสระมณี บ้านผักตบ
  39.44 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
  44.66 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทะเลบัวแดงท่าดอนคง อุดรธานี
  44.82 km | แผนที่ | เส้นทาง
ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ผาผักหวาน สกลนคร
  45.36 km | แผนที่ | เส้นทาง
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก สกลนคร
  45.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทะเลบัวแดง บ้านเดียม อุดรธานี
  49.08 km | แผนที่ | เส้นทาง
ทะเลบัวแดงบ้านแชแล
  51.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดถ้ำสุมณฑาภาวนา (วัดผาสุการาม)
  51.95 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com