ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท. สำนักงานอุบลราชธานี 0 4524 3770 , 0 4525 0714
http://www.tourismthailand.org/ubonratchathani
การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก
พระเหลาเทพนิมิตร พระเหลาเทพนิมิตร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานในพระอุโบสถ องค์พระพุทธรูปประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงาม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งจัดอยู่ในพระพุทธรูปศิลปะลาวสกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21-22 สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไปเล็กน้อย เนื่องจากมีอิทธิพลของฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มากเป็นต้นว่าเค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้นสัดส่วนของพระเพลาและพระบาทซึ่งคล้ายคลึงกับที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปไม้ และสำริด ที่สร้างขึ้นระหว่างปลายพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 24
ประเพณีแห่พระบาง วัดพระเหลาเทพนิมิตร จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเดียวกันกับวันบุญกฐินสามัคคี เป็นงานประเพณีใหญ่ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ โดยยอดในปี 2564 มีสูงถึง กว่า 4 ล้านบาท ในพิธีแห่จะมีขบวนแห่องค์พระบางรอบหมู่บ้าน เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วแห่กลับมายังอุโบสถของวัด เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา
นอกเหนือจากขบวนแห่พระบาง จะมีการรำถวาย ในปีนี้มีการรำและการแสดงรวม 10 ชุดด้วยกัน ใช้เวลา 100 นาที
หอแจก วัดพระเหลาเทพนิมิตร อาคารเก่าแก่สำคัญของวัดคือหอแจก สร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2279 ปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ด้านข้างโบสถ์ และในวัดยังมีการสร้างหอพระบางเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบางให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะขอพร
ประเพณีแห่พระบาง วัดพระเหลาเทพนิมิตร พระบางของวัดพระเหลาเทพนิมิตร เป็นพระบางจำลอง (ต้นแบบพระบางคือองค์พระบางที่ประดิษฐานอยู่ ณ หลวงพระบาง ของลาว) เป็นพระพุทธรูปแสดงปางประทานอภัย พระพักตร์ค่อนข้างสั้นพระขนงโก่ง พระเนตรเอียงเหลือบต่ำขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็กเรียงเรียงติดกันแน่น พระเกตุมาลาใหญ่สอบขึ้นไปรับกับพระรัศมีซึ่งเป็นต่อมลายปล้องรูปกรวยคว่ำ ครองจีวรห่มคลุมแนวจีวรทิ้งชายลงใต้ข้อพระหัตถ์ทั้งสองข้างส่วนปลายแหลมโค้งเข้าด้านใน พาดทับขอบสบงทางด้านล่าง ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวไล่เลี่ยกันส่วนฐานโค้งเป็นฐานปัทม์ ทรงกลม ด้านบนสอบเข้าไปหาฐานหน้าพระดานสี่เหลี่ยมที่รองรับพระบาท หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม 90 เปอร์เซนต์) เนื้อทองสีดอกบวบ สูง 122 เซนติเมตร
จากพระพุทธลักษณะของพระบางองค์นี้ จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับพระบางองค์ต้นแบบที่สุด คือมีการสร้างเครื่องทรงถวายพระอีก เป็นมงกุฏ ทำจากแผ่นโลหะตัดเป็นลวดลายสำหรับสวมศีรษะ ลักษณะดังกล่าวไม่มีในพระบางอื่นๆ
อนึ่งที่บานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรองพระบาท มีจารึกอักษรธรรม ความว่า "สังกาษ 1183 เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ วัน 5 มหาเตย มีประสาทศรัทธาบุญภาคพรุทธรูป โชตนา ปญฺจาสฺสาสหงฺสนิพานปจฺจโย โหตุ"
สันนิษฐานว่าพระมหาเตยยน เป็นชื่อพระสงฆ์หรือผู้สร้างพระองค์นี้ เพื่อปัจจัยแก่พระนิพพาน และค้ำชูพระพุทธศาสนาตลอดห้าพันปี จากจารึกองค์พระสร้างเมื่อจุลศักราช 1183 ตรงกับ พ.ศ. 2364 โดยสันนิษฐานว่าเจ้านายสูงศักดิ์จากอาณาจักรลาว ได้นำพระบางองค์นี้มาถวายวัดพระเหลาเทพนิมิต ตลอดจนได้ปิดทองพระเหลาเทพนิมิต และปลูกต้นโพธิ์และต้นจันทน์ไว้ด้วย
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
0/0 จาก 0 รีวิว |
*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ