www.touronthai.com

หน้าหลัก >> ลพบุรี >> พระนารายณ์ราชนิเวศน์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2209 เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ณ เมืองลพบุรี แบ่งเป็นเขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน กำแพงพระราชวังก่ออิฐถือปูนมีใบเสมาเรียงรายบนสันกำแพงมีซุ้มประตูทั้งหมด 11 ประตู ประตูทางเข้าเป็นทรงจตุรมุขมีช่องทางเข้าโค้งแหลม ตรงจั่วซุ้มประตูตกแต่งลายกระจังปูนปั้นที่วิวัฒนาการมาจากดอกบัว ที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นในมีช่องเล็ก ๆ เจาะเป็นรูปโค้งแหลมคล้ายบัวเรียงเป็นแถวสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2399 เพื่อให้เป็นราชธานีชั้นใน และพระราชทานชื่อว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.ลพบุรี 036-770096-7
http://www.tourismthailand.org/lopburi

แก้ไขล่าสุด 2016-02-16 11:25:14 ผู้ชม 17227

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ


ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ เดินทางมาถึงบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จอดรถเรียบร้อยแล้วก็เดินเข้ามาที่ทางเข้าของกำแพงซึ่งมีป้ายแขวนไว้ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นอาคารหนึ่งในบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์

ม้านั่งพักผ่อนระหว่างเดิน

ม้านั่งพักผ่อนระหว่างเดิน เข้ามาภายในได้ไม่นานเราใช้เวลาในการถ่ายรูปที่ลานกว้างด้านหน้าหรือบริเวณพระราชฐานชั้นนอกกันจนเพลินก่อนที่จะเดินชมบริเวณรอบๆ กันต่อไปและเนื่องจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์มีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่เดินนานๆ เข้าก็เริ่มรู้สึกเมื่อยล้า จนต้องอาศัยร่มเงาต้นไม้และม้านั่งที่จัดไว้ให้ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์กระจายอยู่ทั่วไปเป็นจุดๆ แต่ระหว่างอาคารสำคัญๆ จะไม่มีม้านั่งให้ เราก็ต้องนั่งพักก่อนเพื่อที่จะเดินกันต่อไป

ท่อประปาดินเผา

ท่อประปาดินเผา เริ่มเดินเข้ามาภายในจะมีทางเดินทอดยาวไปยังเขตพระราชฐานชั้นใน โดยผ่านพระราชฐานชั้นนอกมีอาคารมากมายหลายหลังที่ชำรุดทรุดโทรมลงไปคงเหลือเพียงผนัง สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาเป็นอย่างมากอยู่กลางสนามหญ้ากว้างหน้าอาคารเหล่านั้นคือท่อประปาดินเผา จากข้อมูลหลักฐานในการสร้างพระที่นั่งและพระราชวังแห่งนี้มีการนำน้ำจากอ่างซับเหล็กมาใช้ โดยการจัดสรรน้ำใช้ท่อดินเผาเป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาลี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการสร้างคันดินกักน้ำและทำประตูเป็นช่องระบายน้ำแล้วส่งด้วยท่อดินเผานับว่าเป็นการประปาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

บริเวณพระราชฐานชั้นนอก

บริเวณพระราชฐานชั้นนอก อาคารหลายแห่งที่ปัจจุบันคงเหลือเพียงผนังบางส่วนกับฐานเป็นส่วนใหญ่ บนพื้นที่กว้างขวาง 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี พระนารายณ์โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231

สิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่สำคัญมากของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ก็คือถังเก็บน้ำ ด้านซ้ายของภาพครับ เป็นถังสำหรับเก็บน้ำที่ลำเลียงผ่านท่อดินเผามายังเมือง

จากตรงนี้จะเห็นแนวกำแพงสูงมีเสมาเรียงรายบนสันกำแพง และซุ้มประตูจตุรมุขที่สวยงามเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน ซึ่งต้องเดินจากตรงนี้ไปอีกไกลมากครับ

แนวกำแพงในพระนารายณ์ราชนิเวศน์

แนวกำแพงในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ รวมภาพแนวกำแพงสวยๆ รอบๆ บริเวณที่เราเดินผ่านเพื่อที่จะเข้าประตูไปยังเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน

ซุ้มประตู

ซุ้มประตู เป็นประตูขนาดใหญ่มากๆ หากได้ไปยืนเทียบเพื่อที่จะถ่ายรูปจะเป็นการยากมากที่จะถ่ายคนยืนอยู่ที่ประตูโดยให้เห็นยอดซุ้มประตู เมื่อยืนตรงกับซุ้มประตูหนึ่งใน 11 ประตู จะมองเห็นพระที่นั่งจันทรพิศาล ตามบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าเป็นหอประชุมองคมนตรีสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเมื่อพระราชวังร้างและปรักหักพัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้บูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ให้มีสภาพสมบูรณ์

พระที่นั่งพิมานมงกุฏ

พระที่นั่งพิมานมงกุฏ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ สร้างในสมัยรัชการที่ 4 ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์เชื่อมติดกันประกอบด้วยพระที่นั่งอักษรศาสตราคม พระที่นั่งไชยศาสตรากรเดิมคงเป็นที่เก็บศาสตราวุธ พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย ใช้เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน ส่วนที่เรียกว่าพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ชั้นสามเป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชั้นกลางเป็นห้องเสวยพระกระยาหาร ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหมู่พระที่นั่งองค์นี้ เป็นแบบตะวันตก หลังคาพระที่นั่ง แต่เดิมมุงด้วยกระเบื้องมีลอนคล้ายเก๋งจีน แล้วมุงด้วยกระเบื้องธรรมดาในภายหลัง พระที่นั่งพิมานมงกุฎเป็นที่จัดแสดงศิลปโบราณวัตถุ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะชั้นที่ 3 เป็นห้องที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2467 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นที่พระที่นั่งจันทรพิศาล เรียกว่าลพบุรีพิพิธภัณฑ์สถาน ต่อมาปี พ.ศ. 2504 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ปัจจุบันมีการขยายห้องจัดแสดงมาถึงพระที่นั่งพิมานมงกุฎ มีสิ่งน่าสนใจดังนี้

ชั้นที่ 1 จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3,500-4,000 ปี เช่น ภาชนะดินเผารูปวัว โครงกระดูกมนุษย์ ขวานหิน ขวานสำริด จารึกโบราณ เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย พระพิมพ์ที่พบตามกรุในลพบุรี รูปเคารพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โบราณวัตถุสมัยทวารวดี ฯลฯ

ชั้นที่ 2 จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในลพบุรี เช่น ทับหลังแกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระพุทธรูปสมัยลพบุรีแบบต่างๆ เครื่องถ้วยกระเบื้องทั้งของจีน และไทย เป็นต้น

ชั้นที่ 3 เป็นห้องบรรทมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จัดแสดงฉลองพระองค์ เครื่องแก้ว และภาชนะที่มีตราประจำพระองค์

ทิมดาบ สร้างสมัยรัชการที่ 4 เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์

พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธรูปปางนาคปรก อยู่บริเวณใกล้ๆ กับพระที่นั่งจันทรพิศาล ประดิษฐานอยู่บนฐานก่อด้วยอิฐ ด้านข้างพระพุทธรูปทั้งสองข้างมีเทวรูป

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลาง จุดเด่นหนึ่งของพระที่นั่งพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทนี้คือช่องประตูและช่องหน้าต่าง ที่สูงใหญ่มากๆ เราได้ไปยืนเทียบกับขนาดของช่องหน้าต่าง 3 ช่องให้เห็นกันชัดๆ ครับ ทางเดินขึ้น-ลงพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ อยู่ทางด้านซ้ายมือของรูปนี้ เป็นบันไดขึ้นไปสูงพอสมควร

มุมมองจากช่องหน้าต่าง

มุมมองจากช่องหน้าต่าง เมื่อเข้ามาอยู่ภายในของพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทแล้วลองยืนใกล้ๆ ขอบช่องหน้าต่างมองย้อนกลับไปที่พระที่นั่งพิมานมงกุฏหมู่ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งจะเห็นพระที่นั่งจันทรพิศาลซ้อนอยู่ด้านหลัง

ภายในพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท

ภายในพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งองค์หนึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นกลางของ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2209

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรง มียอดแหลมทรงมณฑป ศิลปกรรมแบบไทยผสมผสานกับฝรั่งเศส ประตูและหน้าต่างท้องพระโรงด้านหน้าทำเป็นรูปโค้งแหลมแบบฝรั่งเศส ส่วนตัวมณฑปด้านหลังทำประตูหน้าและหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์แบบไทย ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร เป็นที่เสด็จออกเพื่อมีปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้าในท้องพระโรงตอนหน้า

ผนังภายในท้องพระโรงประดับด้วยกระจกเงา ซึ่งโปรดให้คนไปจัดซื้อมาจากประเทศฝรั่งเศส ดาวเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมประดับลายดอกไม้ทองคำและแก้วผลึก
ผนังด้านนอกพระที่นั่งตรงมณฑปชั้นล่าง เจาะเป็นช่องเล็กๆ รูปโค้งแหลมคล้ายบัว สำหรับตั้งตะเกียงในเวลากลางคืน เช่นเดียวกับที่ซุ้มประตูและกำแพงพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน ซึ่งมีช่องสำหรับวางตะเกียง ประมาณ 2,000 ช่อง

ซุ้มประตูด้านข้างพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท

ซุ้มประตูด้านข้างพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท หลังจากเข้าชมภายในพระที่นั่งแล้วก็เดินออกมาผ่านซุ้มประตูขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนซุ้มอื่นๆ ที่เราผ่านเข้ามา จากซุ้มประตูนี้จะเป็นทางผ่านเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นใน ผ่านซุ้มประตูนี้ไปเป็นทางลาดลงค่อนข้างชันครับแตกต่างจากซุ้มอื่นๆ ที่เป็นทางเดินราบธรรมดา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท และอาคารในเขตพระราชฐานชั้นกลางมีการยกพื้นที่ค่อนข้างสูง

ทางเดินลาดลงเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน

ทางเดินลาดลงเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน การก่อสร้างทางเดินขึ้นลงพระที่นั่งทำเป็นทางลาดต่อจากซุ้มประตู ทางเดินนี้จะเป็นทางเดินเข้าชมบริเวณพระราชฐานชั้นใน ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในเขตพระราชฐานชั้นในของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีพระที่นั่งเพียงพระองค์เดียว คือพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2231

ปัจจุบันพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ชำรุดไปมากเหลือเพียงฐานเท่านั้นครับ

ซุ้มประตูกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์

ซุ้มประตูกำแพงพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของพระนารายณ์ราชนิเวศน์คือที่ซุ้มประตูกำแพงภายในเขตพระราชฐานต่างๆ เจาะเป็นช่องเล็กๆ รูปโค้งแหลมคล้ายบัว เป็นช่องสำหรับวางตะเกียงในเวลากลางคืนประมาณ 2,000 ช่อง เมื่อเดินทะลุซุ้มประตูออกมาก็จะเป็นอาคารซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐานอื่นๆ ภาพขวาเป็นโรงช้างหลวง มีทั้งหมด 10 โรงด้วยกันและช้างที่ยืนโรงอยู่คงเป็นช้างทรงของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือเจ้านาย

ตึกพระเจ้าเหา

ตึกพระเจ้าเหา ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่าคงเป็นหอพระประจำพระราชวัง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในตึก ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้อาจมีชื่อว่า พระเจ้าเหา จึงเป็นที่มาของชื่อตึกแห่งนี้

อาณาบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์

อาณาบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พื้นที่ที่กว้างใหญ่และอาคารน้อยใหญ่มากมายที่เดินชมทั้งวันก็อาจจะยังไม่ทั่วถึงหากเดินศึกษารายละเอียดของอาคารและเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วย

ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ

ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่กลางอุทยานซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ ภายในคูน้ำมีน้ำพุพุ่งเรียงรายได้ ระยะยาว 20 แห่ง สมเด็จพระนารายณ์ฯได้พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. 2228 และ พ.ศ. 2230

ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศพระนารายณ์ราชนิเวศน์

ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศพระนารายณ์ราชนิเวศน์ คูน้ำล้อมรอบตึกเป็นจุดเด่นของอาคารหลังนี้แม้ว่าจะเหลือผนังเพียงด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น แต่ก็แสดงให้เห็นว่าอาคารหลังนี้มีขนาดใหญ่มาก มีช่องหน้าต่างน้อยใหญ่หลายช่อง

สิบสองท้องพระคลัง

สิบสองท้องพระคลัง สิบสองท้องพระคลัง สันนิษฐานว่าเป็นคลังเก็บสินค้าหรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการเลี้ยงตึกแขกเมือง สิบสองท้องพระคลังจึงสร้างเป็นแนวยาวด้านข้างของตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ โดยมีคูน้ำคั่นอยู่ระหว่างอาคารสิบสองท้องพระคลังกับตึกดังกล่าว

สุดเขตพระราชฐาน

สุดเขตพระราชฐาน หลังจากเดินตามเส้นทางภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ผ่านไปนานกว่า 1 ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาเข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์ เพราะบริเวณของพระนารายณ์ราชนิเวศน์กว้างขวางกว่าที่คิดไว้ ตอนนี้เราเดินมาสุดที่กำแพงด้านที่เราจอดรถไว้แล้ว และได้เวลาในการเดินทางกลับ จบภาพบริเวณสิบสองท้องพระคลังไว้เป็นภาพสุดท้ายสำหรับการนำเที่ยวที่นี่ครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
http://th.wikipedia.org/wiki/พระนารายณ์ราชนิเวศน์

รีวิว พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี


 ""

รุจิรา แจ้งแสงทอง
2018-05-19 13:22:23


4/5 จาก 1 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี
บ้านเดี่ยว 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 110 ตร.ม. – ใจกลางเมืองลพบุรี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.28 km | แผนที่ | เส้นทาง
Noom Guesthouse เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ ลิตเติ้ล ลพบุรี วิลเลจ
  0.79 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้าน 4 ห้องนอน 5 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 70 ตร.ม. – บ้านดู่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
วินด์เซอร์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.95 km | แผนที่ | เส้นทาง
ท่ากระยาง บราส อาร์ติซาน สเตย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.97 km | แผนที่ | เส้นทาง
Thakrayang Brass Artisan Stay Guesthouse เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.98 km | แผนที่ | เส้นทาง
Pannara Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  4.22 km | แผนที่ | เส้นทาง
ราวันด้ารีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  5.22 km | แผนที่ | เส้นทาง
kaewhouse - Home stay เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  6.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี
  0.06 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
  0.08 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดกวิศรารามราชวรวิหาร ลพบุรี
  0.31 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ ลพบุรี
  0.38 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเชิงท่า ลพบุรี
  0.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเสาธงทอง ลพบุรี
  0.40 km | แผนที่ | เส้นทาง
เทวสถานปรางค์แขก ลพบุรี
  0.53 km | แผนที่ | เส้นทาง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ลพบุรี
  0.55 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านหลวงวิชาเยนทร์ ลพบุรี
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี
  0.67 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com