www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กรุงเทพมหานคร >> พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม

     พระที่นั่งอนันตสมาคม เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารหินอ่อนแบบเรเนอซองส์ ของประเทศอิตาลี ทั้งนี้มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รับรองแขกเมือง และประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน พระที่นั่งนี้สร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมของพระที่นั่งมีภาพเขียนเฟรสโกที่สวยงามมาก เป็นภาพเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบรมรราชวงศ์จักรี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-6 รวม 6 ภาพ พระที่นั่งอนันตสมาคมใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีรัฐพิธีต่างๆ และเคยใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภา ภายหลังจึงได้ย้ายการประชุมมายังรัฐสภาใหม่ซึ่งอยู่ด้านหลังของพระที่นั่ง ปัจจุบันนี้ ภายในพระที่นั่งมีการจัดแสดงผลงานชื้นเอกของโรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา หรือ นิทรรศการงานศิลป์แผ่นดิน ซึ่งเป็นผลงานที่ได้สร้างถวายเนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยสำคัญต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมผลงานของนักเรียนโรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา จำนวนหลายชื้น ทั้งผลงานขนาดเล็กและใหญ่

    เปิดให้เข้าชม เปิดทำการตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. ปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมเวลา ๑๕.๓๐ น.  ค่าเข้าชมคนละ 150 บาท (แต่งเครื่องแบบนักเรียน 75 บาท) การแต่งกาย ชุดสุภาพ ผู้หญิงสวมกระโปรง ไม่อนุญาติเสื้อไม่มีแขน 

    หมายเหตุ พระที่นั่งอานันตสมาคมจะทำการปิดเพื่อซ่อมแซม ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน โดยไม่มีกำหนด หลังจากซ่อมแซมแล้วจะเปิดให้เข้าชมได้ตามเดิม ส่วนของพิพิธภัณฑ์ส่วนหนึ่งจะนำไปจัดแสดงที่เกาะเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา

ข้อมูลเพิ่มเติม:โทร. 02 283 9411, 02 283 9185 http://www.artsofthekingdom.com/

แก้ไขล่าสุด 2017-09-24 11:34:44 ผู้ชม 42571

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม การเข้าชมพระที่นั่งอนันตสมาคม มีข้อกำหนดการเข้าชมเช่นเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์ คือการห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม สัตว์เลี้ยง กระเป๋าหรืออุปกรณ์ที่อาจปกปิดซุกซ่อนวัตถุอันตราย เข้าไป และห้ามถ่ายภาพภายในทั้งหมด ดังนั้นภายพระที่นั่งอนันตสมาคมจึงหาภาพชมได้ยากยิ่ง

    ประวัติความเป็นมา พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงวางศิลาพระฤกษ์ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 ในรัชมงคลสมัยที่ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 40 ปี สาเหตุสำคัญ ของการก่อสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมมี 2 ประการคือ

    ประการแรก ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า พระที่นั่งต่างๆในพระราชวังสวนดุสิต ซึ่งพระองค์โปรดให้สร้างขึ้น ณ ตำบลสามเสนคับแคบ ไม่กว้างขวางพอแก่การพระราชพิธีต่างๆ จึงเห็นควรให้ก่อสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่นี้

    ประการที่สอง พระราชมณเฑียรที่เรียกว่า "หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์" ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัย ของพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถจะบำรุงรักษาต่อไปได้ ครั้นจะสร้างขึ้นใหม่ สถานที่ในพระบรมมหาราชวังก็คับแคบ ด้วยสาเหตุ 2 ประการข้างต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงโปรดให้สร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่ทางทิศ ตะวันออกของพระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิต และโปรดให้นำชื่อท้องพระโรงเดิมในหมู่พระอภิเนาวนิเวศน์ที่เรียกชื่อว่า "พระที่นั่งอนันตสมาคม" มาใช้เรียกชื่อท้องพระโรงใหม่ในพระราชวังดุสิต รูปแบบทางสถาปัตยกรรมขององค์พระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น พระราชประสงค์เดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้สร้างในลักษณะของศิลปกรรมไทย แต่เนื่องจากในขณะนั้นมีช่างไทยที่ทำได้อยู่คนเดียว คือ พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) ซึ่งไม่อาจทำได้เสร็จบริบูรณ์ทันพระราชประสงค์ในการใช้งาน ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะนายช่างที่จะดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่ง ฯ โดยให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นผู้อำนวยการ พระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) เป็นผู้ช่วย ส่วนช่างชาวต่างประเทศได้ใช้ช่างชาวอิตาลีเป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญมี นายซี อาร์เลกรี นายอี ยีโกโล เป็นวิศวกร นายแอมตามาโย นายเอริโกตี เป็นสถาปนิก พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบทอดจากพระราชชนก และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างต่อตามพระราชประสงค์จนสร้างเสร็จบริบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2458 รวมเวลาในการก่อสร้าง 8 ปี สิ้นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 15 ล้านบาท

    ลักษณะและรูปแบบศิลปกรรม พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียน สมัยเรอเนสซองตัวอาคารทำด้วยหินอ่อนสีขาว มีริ้วลาย สีน้ำตาลแก่แกมหม่น ซึ่งสั่งซื้อมาจากเมืองคารารา ในประเทศอิตาลี เป็นอาคารสองชั้นมีโดมสูงใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีโดมเล็กๆ อีก 6 ยอด ขนาดของพระที่นั่งฯ ส่วนกว้างประมาณได้ 49.50 เมตร ยาว 112.50 เมตร และสูง 49.50 เมตร ชั้นบนของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นห้องโถงยาวประดับตกแต่งอย่างวิจิตรด้วยลวดลายแปลกตา ตั้งแต่เพดานซึ่งประกอบ ด้วยส่วนโค้งเชื่อมจากหัวเสาทั้งสองด้านเป็นระยะๆ เสาสร้างด้วยหินอ่อนทั้งต้นมีทั้งเสาแบบนูนเด่นและเสาแบบลอยตัว ที่หัวเสาสลักด้วย ลวดลายใบไม้อันสวยงาม ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เรียกว่า "แบบโครินเธียน" นอกจากนี้เหนือทวารที่จะผ่านแต่ละห้อง ยังตกแต่งด้วยรูปปั้นตุ๊กตาฝรั่งซึ่งเป็นศิลปะแบบโรมัน

พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม บนเพดานโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม มีศิลปกรรมที่น่าสนใจคือ ภาพเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ เป็นฝีมือเขียนภาพของ นายริกุลี่ ช่างเขียนชาวอิตาลี ส่วนภาพเขียนบนเพดานโดมของพระที่นั่งฯ เป็นภาพแสดงถึงพระราชกรณียกิจในเหตุการณ์สำคัญๆ ของพระมหากษัตริย์ไทยในพระบรมราชจักรีวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 กล่าว คือ

    เพดานโดมทางด้านทิศเหนือ เป็นภาพเหตุการณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยเมื่อยังดำรงพระยศ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากราชการทัพเมืองเขมร บรรดาพสกนิกรทั้งหลายพากันไปกราบบังคมทูลอัญเชิญ ให้ทรงรับราชสมบัติปกครองแผ่นดิน อันนับเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

    เพดานโดมด้านทิศตะวันออก ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับ ณ พระที่นั่งบุษบกมาลาที่มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาประสาท เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเมื่อปีพุทธศักราช 2454

    เพดานโดมด้านทิศใต้ ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอภัยทาน และทรงยกเลิกประเพณีทาสในประเทศไทยโดยสิ้นเชิง

    เพดานด้านใต้ของโดมทิศตะวันออก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ด้านหลังเป็นการก่อสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ที่ทรงพระราชดำริสร้างเพิ่มเติมให้สูง ใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนครหลวง

    เพดานโดมด้านทิศตะวันตก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับเบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์ แวดล้อมด้วยพระภิกษุและนักบวชต่างชาติศาสนานิกายต่างๆ ซึ่งได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ทั้งสองข้าง แสดงนัยแห่งพระราชจรรยา ที่ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา โดยไม่รังเกียจกีดกัน

    เพดานด้านเหนือของโดมทิศตะวันออก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบ พระนครทางสถลมารค ฉากหลังเป็นภาพป้อมเผด็จดัสกร พระมหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพน ฯ และพระมหาปราสาทราชมณเฑียรใน พระบรมมหาราชวัง ซึ่งได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างและบูรณะให้สวยงามขึ้น ใต้โดมกลาง ซึ่งเป็นโดมใหญ่ที่สุดมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร" ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงมีพระราชดำริก่อสร้าง พระที่นั่งอนันตสมาคมที่เพดานนับจากใต้โดมตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลาง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร " สลับกับ "ว.ป.ร." อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ในส่วนกลางของพระที่นั่งอนันตสมาคม ใต้โดมกลางเป็นท้องโถงใช้ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ มีพระที่นั่งพุทตานกาญจนสิงหาสน์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตร นับแต่พระที่นั่งอนันตสมาคมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนอกจากเป็นสถานที่ใช้ประชุม รัฐสภาของชาติในวันที่ 28 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2517 แล้วยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย เช่น รัฐพิธีเปิดประชุมสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งแรกของรัฐสภา พระราชพิธีฉลองวันพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกๆ ปี พิธีเปิดประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ ในหลายๆ โอกาสอันนับว่า เป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในด้านศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ ทั้งเป็นเอกลักษณ์อันรุ่งโรจน์ขององค์กรนิติบัญญัติแห่งชาติ สะท้อนถึง สัญลักษณ์แห่งความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์ และวิวัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยที่ยาวนานนับจากอดีตกาล สืบทอดถึงปัจจุบัน และเชื่อมโยงต่อไปในอนาคต

* ที่มา http://kanchanapisek.or.th/ เรียบเรียงใหม่ * ที่มาของภาพ จากอี-เมล์ส่งต่อ

พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมรูปทรงม้า สถานที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งอนันตสมาคม

พระที่นั่งอนันตสมาคม

ระลึกถึงความหลังที่จะเก็บไว้ในความทรงจำตลอดกาล กับพระที่นั่งอนันตสมาคมในช่วงการแสดงแสง สี เสียง 4D หรือ 4 มิติ งาน "พ่อ" The GREATEST of the KINGS The GREETINGS of the LAND

พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในช่วงการแสดงแสง สี เสียง 4D หรือ 4 มิติ งาน "พ่อ" The GREATEST of the KINGS The GREETINGS of the LAND

รีวิว พระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพมหานคร


 ""

Akkasid Tom Wisesklin
2017-11-15 12:47:14


3/5 จาก 1 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพมหานคร
โคอ๊อป โดปา โฮสเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
บังกะโล 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 12 ตร.ม. – ข้าวสาร เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านเตปาบูติคเฮ้าส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.12 km | แผนที่ | เส้นทาง
ไฮบ้านเทเวท โฮเต็ล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.23 km | แผนที่ | เส้นทาง
Maneewan Service Apartment เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.44 km | แผนที่ | เส้นทาง
Shanti Lodge เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.48 km | แผนที่ | เส้นทาง
สิปป์ บูทิค เทเวศร์ โฮเทล เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.55 km | แผนที่ | เส้นทาง
เดอะ ระวีกัลยา แบงค็อก เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
Raweekanlaya Hotel เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.65 km | แผนที่ | เส้นทาง
One fitty villa with private pool เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  1.70 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ พระที่นั่งอนันตสมาคม กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น กรุงเทพมหานคร
  0.42 km | แผนที่ | เส้นทาง
ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร
  0.47 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร
  0.48 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์พระที่นั่งวิมานเมฆ กรุงเทพมหานคร
  0.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนสัตว์ดุสิต (เขาดินวนา) กรุงเทพมหานคร
  0.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
  0.88 km | แผนที่ | เส้นทาง
พิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย กรุงเทพมหานคร
  1.10 km | แผนที่ | เส้นทาง
หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
  1.49 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนจิตรดา
  1.63 km | แผนที่ | เส้นทาง
สนามแข่งม้าราชตฤณมัยสมาคม (นางเลิ้ง) กรุงเทพมหานคร
  1.83 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com