www.touronthai.com

หน้าหลัก >> อุทัยธานี >> หุบป่าตาด

หุบป่าตาด

 หุบป่าตาด ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งนางาม เข้าทางเดียวกับกับเขาปลาร้า อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้ำนี้ถูกค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ จึงพบว่ามีต้นตาดเต็มไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึงเจาะปากถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าในปี พ.ศ. 2527 ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะที่นี่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกและมีพันธุ์ไม้หายาก อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประทุน และมีการจัดทำเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร

 ใช้เวลาเดินชมประมาณครึ่งชั่วโมง ถ้ำที่เป็นทางเดินเข้าหุบป่าตาดนั้นมืดสนิท เดินไม่นานจะถึงบริเวณปล่องขนาดใหญ่ที่แสงส่องลงมาได้และจะพบป่าตาด ให้ความรู้สึกเหมือนว่าได้มาอยู่ในโลกยุคดึกดำบรรพ์ นอกจากต้นตาดแล้วที่นี่ยังพบไม้หายากพันธุ์อื่น ๆ เช่น เต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก เป็นต้น ในบริเวณหุบเขานี้มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบและยังมีความชุ่มชื้นสูง แสงจะส่องถึงพื้นได้เฉพาะตอนเที่ยงวันเพราะมีเขาหินปูนสูงชันล้อมรอบ มีความร่มรื่นเหมาะแก่การเดินชมธรรมชาติ

การเตรียมตัวไปหุบป่าตาด ควรพกไฟฉายและยาทากันยุงไปด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน โทร. 05698 9128

การเดินทาง จากจังหวัดอุทัยธานี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านอำเภอหนองฉาง จากนั้นต่อด้วยทางหมายเลข 3438 ทางไปอำเภอลานสักอีก 21.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามทางลาดยางอีก 6 กิโลเมตร ก็จะถึงหุบป่าตาด ซึ่งเป็นทางเดียวกับทางไปเขาปลาร้า แต่อยู่ก่อนถึงเขาปลาร้าประมาณ 1 กิโลเมตร

ข้อมูลเพิ่มเติม:ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5652 0826, 0 5651 1915
http://www.tourismthailand.org/uthaithani

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 52135

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
เส้นทางสู่หุบป่าตาด

เส้นทางสู่หุบป่าตาด วิวเทือกเขาไม่สูงมากนักสลับกับทุ่งข้าวโพด ไร่อ้อย ท้องฟ้าที่สดใสทำให้เกิดภาพทิวทัศน์ที่สวยงาม

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงหุบป่าตาด

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงหุบป่าตาด เส้นทางสู่หุบป่าตาดยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ เช่นวัดถ้ำรัตนคีรี ซึ่งอยู่ติดกับเขามีบรรยากาศร่มรื่น

เขาวัดถ้ำรัตนคีรี

เขาวัดถ้ำรัตนคีรี เขาลูกโดดเดี่ยวท่ามกลางท้องทุ่งนี้เป็นที่ตั้งของวัดถ้ำรัตนคีรี ซึ่งเราใช้เครื่องนำทางชี้จุดหมายไปหุบป่าตาดแต่เครื่องนำทางพามาที่วัดแห่งนี้แทน จึงต้องกลับรถออกมาถามทางจากชาวบ้านและถ่ายรูปเขาลูกนี้ไว้

ตลาดนัดชาวบ้าน

ตลาดนัดชาวบ้าน ปากทางเลี้ยวเข้าวัดถ้ำรัตนคีรี มีตลาดเล็กๆ อยู่ มีร้านค้าไม่กี่ร้านเหมาะสมกับขนาดของชุมชนที่นี่ที่มีอยู่มากนัก อาหารการกินอย่างเรียบง่าย

ป้ายรับเสด็จ

ป้ายรับเสด็จ ห่างจากตลาดตรงเข้ามาตามทางสายหลักประมาณ 4 กิโลเมตรจะมีป้ายที่จัดไว้เพื่อรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนหุบป่าตาด

สถานที่ท่องเที่ยวเขาปลาร้า

สถานที่ท่องเที่ยวเขาปลาร้า ตามเส้นทางสู่หุบป่าตาดสามารถตรงไปยังเขาปลาร้าซึ่งมียอดเขาเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม แต่ต้องเดินเท้าไปกลับใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง สำหรับทริปนี้ทำเวลาไม่ทันที่จะขึ้นไปยังเขาปลาร้าแต่ก็วางแผนที่จะได้กลับไปยังอุทัยธานีอีกครั้งเพื่อสำรวจให้ครบถ้วน

ใกล้ถึงหุบป่าตาด

ใกล้ถึงหุบป่าตาด ขับตามทางเข้ามาเรื่อยจะป้ายบอกทางเลี้ยวไปหุบป่าตาดถ้าเห็นวิวนี้ก็แสดงว่าใกล้ถึงแล้ว

ถึงแล้วหุบป่าตาด

ถึงแล้วหุบป่าตาด บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหุบป่าตาดมีพ่อค้าแม่ค้ามาขายเครื่องดื่ม หุบป่าตาดจะปิดไม่ให้เข้าหลังเวลาประมาณ 16.00 น. แต่เรามาถึงที่นี่แบบเฉียดฉิวมาก กำลังจะปิดพอดี แต่ก็ต้องขอให้เจ้าหน้าที่ส่งไกด์เด็กท้องถิ่นไปนำทางและเข้าชมเป็นกรณีพิเศษ การเที่ยวหุบป่าตาดเวลาที่เหมาะสมควรจะเป็น 10.00 น. - 12.00 น. เป็นช่วงเวลาที่แดดส่องแสงลงไปในหุบได้มากที่สุดของวัน และจะทำให้เห็นโพรงได้สวยงามจากประกายแวววับของหินในโพรง

ทางเดินเข้าหุบป่าตาด

ทางเดินเข้าหุบป่าตาด เมื่อได้ไกด์เด็กนำทางมา 2 คน คือโอมกับต๋อง เราก็ออกเดินทาง

ปากถ้ำสู่หุบป่าตาด

ปากถ้ำสู่หุบป่าตาด ทางเดินเที่ยวหุบป่าตาดจะต้องผ่านถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งภายในมืดมากระยะประมาณ 60 เมตร ต้องมีไฟฉายไป

ถ้ำหุบป่าตาด

ถ้ำหุบป่าตาด เดินมาได้พักหนึ่งก็เห็นแสงสว่างลอดเข้ามาจากปากถ้ำที่เพิ่งจะเดินผ่านเข้ามา ถ้ำนี้ถูกค้นพบโดยพระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 พระครูได้ปีนลงไปในหุบเขานี้ จึงพบว่ามีต้นตาดเต็มไปหมด (ต้นตาดเป็นไม้ดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม) จึงเจาะปากถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าในปี พ.ศ. 2527 ต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะที่นี่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แปลกและมีพันธุ์ไม้หายาก อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประทุน และมีการจัดทำเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร

เพดานถ้ำ

เพดานถ้ำ ถ้ำในหุบป่าตาดมีหินย้อยพอประมาณแต่ต้องใช้ไฟฉายถึงจะเห็น แต่สำหรับหินงอกมีไม่มากนักทำให้เดินได้สะดวกไม่ต้องกลัวเรื่องจะสะดุดมากนัก
จุดกำเนิดถ้ำหินปูน (Caves) ถ้ำที่เกิดในบริเวณเขา หินปูนเกิดจากการที่น้ำฝนตกลงไปกระทบกับหินปูนที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน (กรดคาร์บอนิค) น้ำฝนจะซึมเข้าไปในหินเป็นปูนตามแนวรอยแตกของหิน ซึ่งน้ำฝนที่มีสภาพเป็นกรดดังกล่าวนี้ค่อย ๆ ละลาย หินปูนเป็นระยะเวลานานจนกลายเป็นห้องโถงหรือถ้ำขนาดใหญ่

หินย้อย คือตะกอนดำที่เกิดจากสารหินปูน หรือสารคาร์บอเนต เกิดจากน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรดไปละลายเนื้อหินปูนจนกลายเป็นสารแคลเซียมไบคาร์บอเนต ถ้ามีความเข้มข้นมาก ๆ ก็จะเกิดการตกผลึกหรือตกตะกอนเป็นแร่แคลไซด์ขึ้นมาใหม่ในรูปของหินงอก หินย้อย

จุดชมวิวหุบป่าตาด

จุดชมวิวหุบป่าตาด เมื่อทะลุออกมาจากถ้ำเดินต่อไปอีกหน่อยจะมีลานกว้างประมาณ 5-6 เมตรให้ยืนชมวิวป่าตาดได้ หุบป่าตาดเป็นป่าที่มีตาดอยู่ถึง 80% ของพื้นที่ในหุบ และอากาศมีความชื้นสูงเข้าไปไม่นานก็จะรู้สึกเหนียวตัวรวมทั้งกล้องด้วย

ทางเดินลงหุบป่าตาด

ทางเดินลงหุบป่าตาด เส้นทางจากถ้ำที่เพิ่งเดินมาอยู่ที่สูงในขณะที่พื้นที่ในหุบป่าตาดต่ำกว่าตรงนี้จึงได้มีการสร้างบันไดให้นักท่องเที่ยวเดินได้อย่างสะดวก

ทางเดินในหุบป่าตาด

ทางเดินในหุบป่าตาด บรรยากาศที่ควรจะเรียกว่าทึบมากกว่าร่มรื่นเพราะแสงแดดสามารถทะลุลงมาในหุบได้เพียงเล็กน้อย จึงเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวควรจะมาให้ตรงกับช่วงเวลา 10.00-12.00 หรือจะเป็น บ่าย 2 โมงก็ยังพอได้ มีเพียงกลุ่มเราที่มาผิดเวลาไปหน่อยแต่ก็ยังพอมองเห็นแม้จะถ่ายรูปลำบากขึ้นหน่อย

ไทร

ไทร นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร เป็นคำเรียกของไทรในป่าเนื่องมาจากไทรเกิดและเกาะกินอาหารและน้ำจากต้นไม้อื่นเพื่อเจริญเติบโต จนต้นไม้ที่ไทรเกาะนั้นตายไป แต่ไทรก็เป็นต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของสัตว์อื่นๆ ในป่าด้วยเช่นกัน

กิ้งกือมังกรสีชมพู

กิ้งกือมังกรสีชมพู สัตว์พันธุ์ใหม่ของโลกที่เพิ่งจะค้นพบได้ไม่นานปกติพบมากในหุบป่าตาดแห่งนี้ แต่วันนี้ไม่ค่อยออกมาให้เห็น สำหรับเจ้าตัวนี้ไม่ยอมอยู่นิ่งพยายามหนีไปซ่อนตัวได้ท่อนไม้จนถ่ายภาพออกมาเบลอเล็กน้อยแต่ก็พอที่จะให้เห็นภาพของสัตว์เจ้าถิ่นที่สำคัญขนาดนี้ได้

ตาด หรือ ต๋าว

ตาด หรือ ต๋าว ตาด หรือ ต๋าว Arenga pinrata *** : ARECACEAE เป็นพืชตระกูลปาล์มลำต้นสูงไม่มีกิ่งก้านสาขา มีข้อปล้อง มีหนามติดอยู่ตามข้างก้านใบ รูปใบมีทั้งใบเดี่ยวและใบประกอบ เมล็ดจะมีน้ำมัน ผลนำมาสังเคราะห์รับประทานได้แต่ต้นตาดไม่สูงเท่าปาล์มหรือหมาก ผลของตาดจะมีลักษณะคล้ายกับต้นลาน (หาดูรูปได้จากทริปทับลาน จ.นครราชสีมา ครับ) ตาดมีอายุประมาณ 15 ปี จึงออกดอกและจะติดผลเมื่อผลตาดร่วงลงมาจะเกิดเป็นตาดอ่อน ส่วนต้นตาดก็จะเหี่ยวตายไป

ม่านหินย้อย

ม่านหินย้อย เป็นลักษณะของหินย้อยบริเวณผาหินที่สูงจากพื้นไม่มากนัก หินย้อยนี้จะมีลักษณะเป็นแผงๆ มองด้านข้างมีการเหลื่อมสลับกันคล้ายคลื่นของผ้าม่าน

ม่านหินย้อย

ม่านหินย้อย ด้วยความสวยงามของม่านหินย้อย เจ้าหน้าที่จึงได้นำเอาม้านั่งมาตั้งให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักหลังจากที่ได้เดินมาพอสมควร

รังแตน

รังแตน สัตว์อันตรายที่พบในหุบป่าตาด แตนจะมีการสร้างรังแบบคล้ายๆ ผึ้งแต่รังของแตนมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ทีมงานเราก็เสี่ยงตายไปถ่ายมา ส่วนไกด์เด็กก็เตรียมตัวที่จะวิ่งกันเต็มที่

โพรงหินหุบป่าตาด

โพรงหินหุบป่าตาด เป็นโพรงที่อยู่ตรงกลางหุบป่าตาด การเดินศึกษาธรรมชาติในป่าตาดมีระยะทางประมาณ 700 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ครึ่งชั่วโมง จะผ่านโพรงนี้ 2 ครั้ง ทั้งขาไปและขากลับ โพรงนี้ไม่ยาวมากนักมีแสงลอดเข้ามาทั้งสองผั่งของปากโพรง เป็นจุดไฮไลท์ของหุบป่าตาด ช่วง 10.00-12.00 แสงที่ส่องลงมาจะทำให้หินในโพรงมีประกายระยิบระยับสวยงาม บางจุดของโพรงมีน้ำหยดลงมากระทบหินในโพรง นักท่องเที่ยวหลายคนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพก็จะจับกล้องตรงน้ำหยดนี้เป็นชั่วโมง

ปอหูช้าง

ปอหูช้าง เป็นพืชที่กินแร่ธาตุจากหินเป็นอาหารเลี้ยงรากและลำต้น จนทำให้รากมีความแข็งแรงชอนทะลุหินได้ ไม่ใช้ดินในการเจริญเติบโต

เฟิร์นเกาะตาด

เฟิร์นเกาะตาด เฉพาะต้นตาดต้นนี้เท่านั้นที่แปลกประหลาดเห็นเฟิร์นขึ้นบนต้น

ยมป่า

ยมป่า เป็นพืชชนิดหนึ่งพบเห็นในหุบป่าตาด

ตาดอ่อน

ตาดอ่อน เมล็ดตาดเมื่อร่วงลงดินแล้วจะเกิดเป็นต้นอ่อน มองดูไม่เหมือนต้นตาดแลยซักนิด

ตาดกำลังโต

ตาดกำลังโต เมื่อเวลาผ่านไปต้นตาดอ่อนก็เจริญเติบโตขึ้นจนมีลักษณะเหมือนตาดต้นแม่มากขึ้น หากตาดอ่อนเกิดขึ้นในที่เดียวกันต้นตาดจะเบียดกันแน่นเหมือนอย่างที่เห็น

หินวาฬหินโลมา

หินวาฬหินโลมา เป็นก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายกับวาฬ (ก้อนใหญ่ๆ มีโหนกขึ้นมา) ส่วนที่ยื่นออกมาจากหินวาฬและดูคล้ายโลมา

หินที่ประทับ

หินที่ประทับ หินก้อนนี้เคยเป็นที่ประทับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งทรงเสด็จหุบป่าตาด เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543

กากหมากตาฤๅษี

กากหมากตาฤๅษี กากหมากตาฤๅษี
ชื่อพื้นเมือง : กากหมากตาฤาษี (ตราด), กกหมากพาสี (ภาคเหนือ), ขนุนดิน (ภาคกลาง), ดอกกฤษณารากไม้ (ประจวบคีรีขันธ์), บัวผุด (ชุมพร), ว่านดอกดิน (สระบุรี), เห็ดหิน (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balanophora fungosa J.R. & G. Forst. ssp. indica (Arn.) B. Hansen
ชื่อวงศ์ : BALANOPHORACEAE
ลักษณะ : พืชสกุลเดียวกับกากหมาก มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกัน ต่างกันที่กากหมากตาฤาษีมักมีสีชมพูคล้ำจนถึงม่วงคล้ำ ใบเรียงเวียนรอบ จำนวน 10-20 ใบ กว้างมากที่สุดประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. ช่อดอกเพศผู้รูปรีถึงยาวรี ดอกเรียงชิดกัน ไม่เบี้ยว กลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ช่อดอกเพศเมียค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่กลับ ออกดอกระหว่างเดือนกันยายนถึงกุมภาพันธ์ พบออกดอกนอกฤดูกาลบ้าง แต่ไม่บ่อยนัก

http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/balanoph/bfuind_1.htm

เห็ดแชมเปญ

เห็ดแชมเปญ เห็ดถ้วยชมพู
ชื่อสามัญ Pink Born Cup
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tarzetta rosea [Rea] Dennis
วงค์ Pyronemataceae
ชื่อพ้อง Pustularia rosea Rea
ลักษณะ เป็นรูปถ้วย สีชมพูสด (อมส้มแดง) สีข้างในสด กว่าสีด้านนอก ก้านสีขาว ขนาดสั้น สูง 0.5-1.5 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.5 ซ.ม. เขตกระจายพันธุ์ ป่าในภาคใต้ของไทย และป่าดิบชื้น บริเวณที่มีความชื้นสูง ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว อยู่เป็นกลุ่มๆ ตามขอนไม้ที่ผุพัง
(ข้อมูล จากสาราณุกรม สำหรับเยาวชน เห็ดกินได้ เห็ดมีพิษ)

จุดชมวิวหุบป่าตาด

จุดชมวิวหุบป่าตาด หลังจากเดินศึกษาธรรมชาติกันมาพอสมควรแล้วก็ได้เวลาในการเดินกลับ จุดชมวิวหุบป่าตาดนี้ก็เป็นจุดสุดท้ายก่อนที่จะเดินผ่านถ้ำที่เชื่อมต่อระหว่างโลกภายนอกกับโลกดึกดำบรรพ์ของหุบป่าตาด

เรารักหุบป่าตาด

เรารักหุบป่าตาด รูปหัวใจวาดด้วยไฟฉายในถ้ำ กับพวกเด็กๆ ที่อาสาเป็นไกด์ให้ความรู้ต่างๆ มากมายแก่พวกเรา

Thailand Grand Invitation

Thailand Grand Invitation ยินดีต้อนรับสู่หุบป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ของไทย

เจ้าหน้าที่หุบป่าตาด

เจ้าหน้าที่หุบป่าตาด ขอขอบคุณสำหรับการทำงานล่วงเวลา (เป็นอย่างมาก ในการให้ข้อมูลกับทีมงานทัวร์ออนไทยมา ณ ที่นี้ครับ

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหุบป่าตาด

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหุบป่าตาด ปิดทำการพอดี แล้วเราก็เดินทางกลับเข้าตัวเมืองอุทัยธานีเพื่อร่วมประเพณีตักบาตรเทโววัดสังกัสรัตนคีรีกันต่อไป...

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ หุบป่าตาด อุทัยธานี
หุบป่าตาด โฮมสเตย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.43 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านภูผา เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  0.73 km | แผนที่ | เส้นทาง
Baan Chai Khao เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.01 km | แผนที่ | เส้นทาง
Ban Saensook Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  21.27 km | แผนที่ | เส้นทาง
ห้วยขาแข้ง คันทรีโฮม
  38.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
มารวยรีสอร์ท อุทัยธานี
  49.37 km | แผนที่ | เส้นทาง
Sawang Guesthouse เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  54.52 km | แผนที่ | เส้นทาง
ปลายฟ้า รีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล แอท บ้านไร่ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  56.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรมอวตาร มิราเคิลส์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  57.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
ซีทูยู โฮเทล อุทัยธานี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  60.91 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com