www.touronthai.com

หน้าหลัก >> เชียงราย >> เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

 เวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งม่วน ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าประมาณ 16 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงสายเชียงราย-เชียงใหม่ แยกจากถนนสายวังเหนือ-แม่ขะจานประมาณ 200 เมตร เคยเป็นชุมชนโบราณและแหล่งผลิตเครื่องถ้วยที่สำคัญของดินแดนล้านนาในอดีต เนื่องจากดินที่ใช้ผลิตมีสีขาวนวล เนื้อละเอียด มีซากเตาทำเครื่องถ้วยโบราณอยู่หลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ เป็นเตาก่อด้วยอิฐ ลักษณะเป็นประทุนคล้ายกระดองเต่า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร โบราณวัตถุส่วนใหญ่ได้ถูกขุดค้นไปแล้ว ปัจจุบันชาวบ้านได้ตั้งกลุ่มผลิตเครื่องเคลือบเวียงกาหลงขึ้นเพื่ออนุรักษ์รูปแบบการทำเครื่องถ้วยดั้งเดิม และยังได้ผลิตเครื่องเคลือบรูปแบบใหม่เป็น จาน แก้วน้ำ และของตกแต่งบ้านต่าง ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม:การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเชียงราย โทร. 053 744 674
http://www.tourismthailand.org/chiangrai

แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 17490

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
หมู่บ้านอนุรักษ์เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

หมู่บ้านอนุรักษ์เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง เวียงกาหลงปัจจุบันเป็นชื่อของตำบลๆ หนึ่งในอำเภอเวียงป่าเป้าจังหวัดเชียงราย ซึ่งเดิมทีในอดีตหลายพันปีก่อนเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมล้ำค่าของล้านนา คือภูมิปัญญาการทำเครื่องเคลือบดินเผาที่ใหญ่ที่สุดของล้านนา มีเตาเผาจำนวนนับพันเตา ลักษณะเครื่องเคลือบที่มีจุดเด่นไม่เหมือนใคร วัฒนธรรมและความรู้เหล่านี้ได้ล่มสลายหายไปตามกาลเวลาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว จนเมื่อปี พ.ศ. 2525 มีกลุ่มพ่อค้าวัตถุโบราณและชาวบ้านขุดเอาเครื่องเคลือบดินเผามาขายจำนวนมาก จึงทำให้ สล่า (หมายถึงศิลปินภาษากลางใช้คำว่าอาจารย์) ทัน ธิจิตตัง ลุกขึ้นมากอบกู้เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลงให้ฟื้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเป็นมรดกชิ้นสำคัญทางวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป

สล่าทัน ธิจิตตัง มุ่งมั่นพากเพียรศึกษาหาความรู้เรื่องลวดลายเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงด้วยเวลา 18 ปี ลวดลายเหล่านี้แฝงไปด้วยคติแง่คิดมากมายหลายอย่าง โดยมีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาด้วยส่วนหนึ่ง บ้านสล่าทัน ธิจิตตัง ตั้งอยู่เลขที่ 97 หมู่ 3 บ้านทุ่งม่าน ต.เวียงกาหลง โทร. 089-8385874

บ้านสล่าทัน ธิจิตตัง

บ้านสล่าทัน ธิจิตตัง เมื่อเราเดินทางมาถึงที่นี่ สิ่งที่เราเห็นด้านหลังของป้ายไม้ก็คือบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงสองหลัง อยู่ใกล้กันมีรั้วเล็กๆ กั้น บ้านหลังที่สองคือบ้านสล่าทัน ทางเข้าใช้ประตูเดียวกับบ้านหลังแรก ด้านซ้ายมีซุ้มตั้งหม้อน้ำ หรือตุ่มไว้ต้อนรับแขก สิ่งพิเศษสุดอย่างหนึ่งก็คือ หม้อน้ำหรือตุ่มที่นี่ไม่ใช่แค่ดินเผา แต่เป็นเครื่องเคลือบที่เป็นลวดลายเอกลักษณ์ของเวียงกาหลงซึ่งลวดลายเหล่านี้มีอายุนับพันปีแล้ว

ถัดมาในรั้วบ้านมีศาลครูบา สำหรับไว้ครูบาอาจารย์ ภายในศาลหลังเล็กๆ ไม่เหมือนศาลพ่อปู่แม่ย่า ไม่มีตุ๊กตาใดๆ มีเพียงที่นอนเล็กๆ เตรียมไว้ ชาวล้านนาและศิลปินทุกแขนงเชื่อว่าทุกวิชาล้วนมีครู จะเป็นการดีที่ได้ไหว้ครู จึงมีศาลครูบาอยู่ในรั้วบ้าน

พอเดินขึ้นเรือนไม้จะมีกระติกน้ำร้อน มีชา กาแฟ เตรียมไว้ให้ ข้างกระติกน้ำร้อนก็เป็นแก้วเครื่องเคลือบลวดลายแบบเดียวกันเรียงอยู่หลายใบ มองไปในบ้านตรงประตูเข้าห้องนอน จะมีลวดลายที่สเก็ตซ์เอาไว้เหมือนกับเป็นกระดาษเขียน ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก ลวดลายเหล่านี้น่าจะเป็นพยัญชนะที่ใช้กันในยุคนั้นที่สล่าทันรวบรวมได้ จากการไปสเกตซ์มาจากเครื่องเคลือบที่ขุดพบในพื้นที่

สล่าทัน ธิจิตตัง

สล่าทัน ธิจิตตัง เอาละดูรอบบ้านพอเป็นพิธี จากนี้ไปสล่าทันจะอธิบายเรื่องราวผลงานการค้นคว้าลวดลายเครื่องเคลือบดินเผาที่ท่ารวบรวมไว้จำนวนมากมาย จนได้รับรางวัล ปราชญาพญ๋าดีศรีล้านนา ในปี 2553 อาจารย์นั่งอยู่ที่โต๊ะในบ้าน ค่อยๆ หยิบเครื่องเคลือบด้วยมือซ้ายมาเรียงกัน ท่านบอกว่าท่านเป็นคนถนัดขวา แต่ทุกวันนี้ต้องทำงานด้วยมือซ้ายข้างเดียว เพราะท่านเป็นอัมพาตครึ่งซีกเมื่อหลายปีก่อน แต่ยังคงทำสิ่งที่ท่านรัก สิ่งที่ท่านค้นพบนอกจากจะเป็นเรื่องราวที่มาของลวดลายต่างๆ ท่านยังได้ศึกษาลึกลงไปถึงกระบวนการเคลือบ สารที่ใช้เคลือบ เนื้อดิน ว่าทำไมเครื่องเคลือบเวียงกาหลงจึงได้บางและเบาถึงขนาดนี้ นั่นเป็นเพราะว่าดินเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของลาวาภูเขาไฟมาก่อน เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิดแผ่นดินเกิดการยกตัวขึ้น เวียงกาหลงที่อยู่ทางใต้ของเมืองเชียงรายแต่สายน้ำกลับไหลย้อนขึ้นไป เมื่อดินเหล่านี้เคยผ่านความร้อนสูงมาก่อนจึงสามารถทำเครื่องดินเผาได้บางกว่าดินที่อื่น

สล่าทัน ธิจิตตัง อธิบายที่มาของลวดลาย

สล่าทัน ธิจิตตัง อธิบายที่มาของลวดลาย เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลงเพียงชิ้นเดียวสามารถประกอบด้วยลวดลายมากมายอยู่บนนั้น ไม่ว่าจะเป็นลายดาวดึงส์ ลายภพภูมิต่างๆ สกิทาคามี อนาคามี เป็นต้น ลายสามกิ่ว คือวิกฤตและโอกาส ขึ้น-ลงสามรอบก็จบช่วง 1 ชีวิต และกล่าวถึงทางสายกลาง ลายสัตว์มงคล สัตว์โชคลาภ ปลาตะเพียน , มังกร สัตว์แห่งอำนาจ และ หงส์ สัตว์แห่งบารมี เป็นต้น ส่วนอีกลายก็เป็นลายกล้วยกล้วยหมูหมู มีรูปหมูกับกล้วย ตัวหนังสือคำว่า "กล้วยกล้วยหมูหมู ดูดีมีแต่รุ่งเรือง" อยู่ตรงขอบ แสดงให้เห็นว่าเรื่องทุกอย่างที่ง่ายๆ เรื่องกล้วยๆ หมูๆ งานชิ้นนี้เป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่พบในเครื่องเคลือบเวียงกาหลง

ส่วนลวดลายที่เกี่ยวกับศาสนาอย่างลึกซึ้ง ได้แก่ลาย ปัญจมฌาน พระอริยเจ้าตรัสรู้ ด้วยฌาณทั้งห้า คือ ศิลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ ปัญญาสมบูรณ์ เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ปฏิบัติเหตุสมบูรณ์

ส่วนงานที่อาจารย์กำลังชี้อยู่นี้เป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ห้าพระองค์พร้อมกับตอบคำถามว่า ทำไมที่เวียงกาหลงจึงมีเครื่องเคลือบดินเผาที่ลวดลายกล่าวถึงศาสนามากมายขนาดนี้ นั่นก็เพราะว่า ตำนานกล่าวถึงเวียงกาหลงว่า พระโพธิสัตว์เมื่อปฐมกัลป์ได้ปฏิสนธิในครรภ์พระมารตาแม่พญากาเผือก อันเป็นที่มาของชื่อ เวียงกาหลง จนทุกวันนี้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ลองค้นใน Google คำว่า พระเจ้าห้าพระองค์กับเวียงกาหลง รับรองว่าเจออย่างแน่นอน

เครื่องเคลือบเวียงกาหลง

เครื่องเคลือบเวียงกาหลง รอบๆ ห้องโถงในบ้านจะมีตู้วางเครื่องเคลือบดินเผามากมายหลายลายเรียงรายกันอยู่สนใจชิ้นไหนสอบถามท่านอาจารย์ทัน จะได้อธิบายถึงที่มาของลายนั้น อันไม่ใช่ลวดลายที่แสดงถึงความงดงามเพียงอย่างเดียว ลาดลายเหล่านี้มีภูมิปัญญาความรู้มากมายแฝงอยู่ทั้งสิ้น เมื่อค้นพบลวดลายเหล่านี้แล้วอาจารย์ได้สอนความรู้ เหล่านี้แก่คนที่สนใจจนมีศิษย์มากมาย พอศิษย์ได้วิชาความรู้ก็ไม่ได้ออกไปไหน กลับมาตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์เครื่องเคลือบเวียงกาหลงขึ้นจนทุกวันนี้

อาจารย์ยังเล่าด้วยว่า จากการศึกษาค้นคว้าอยู่ 18 ปี ได้พบชื่อตัวเองปรากฏอยู่ก้นจานเครื่องเคลือบอายุพันปีด้วย เป็นเหตุให้สล่าทัน ธิจิตตัง เชื่อเรื่องราวของภพชาติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อีกด้วย

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

หลังจากที่ฟังสล่าทันบรรยายเรื่องราวของเครื่องเคลือบเวียงกาหลงมาแล้ว ตอนนี้เราจะเข้าไปดูวิธีการทำเครื่องเคลือบเหล่านี้ที่ลูกศิษย์ของท่านมาช่วยกันสร้างหมู่บ้านอนุรักษ์เครื่องเคลือบเวียงกาหลงขึ้นมา บริเวณนี้เป็นเหมือนโรงงานดินเผาเล็กๆ แต่ใช้เตาไฟฟ้าสมัยใหม่ อาจารย์เล่าถึงเตาเผาที่ขุดพบที่มีอายุพันปีมาแล้วว่าไม่มีเครื่องวัดอุณหภูมิแต่ใช้วิธีทางธรรมชาติในการควบคุมเตาเผา เป็นภูมิปัญญาที่น่าอัศจรรย์จริงๆ ในโรงงานเครื่องเคลือบดินเผาจะมีพื้นที่สำหรับปั้น เคลือบ เผา เขียนลาย ทั้งหมดนี้ใช้วิธีเดียวกับที่ค้นคว้าจากเครื่องเคลือบโบราณ และเป็นที่น่าสังเกตุว่า ทุกกระบวนการไม่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วนรายละเอียดนั้นคงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมกันเองนะครับ ผมไม่ลงลึกขนาดนั้น

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ เครื่องเคลือบดินเผาเวียงกาหลง เชียงราย
ม่อนธารธรรม รีสอร์ท รักในหลวง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  2.76 km | แผนที่ | เส้นทาง
ดร.ลี ฟาร์ม สเตย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  12.18 km | แผนที่ | เส้นทาง
ภูฟ้าธารา รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  16.68 km | แผนที่ | เส้นทาง
ฟูลเฮาส์ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  17.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
สตูดิโอ บ้าน 1 ห้องน้ำส่วนตัว ขนาด 3 ตร.ม. – บ้านโป่ง เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  19.13 km | แผนที่ | เส้นทาง
ภูมิธาดา โฮมสเตย์ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  29.78 km | แผนที่ | เส้นทาง
Make yourself at home guest house เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  39.54 km | แผนที่ | เส้นทาง
ชลาไมย รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  52.69 km | แผนที่ | เส้นทาง
แฮปปี้ เฮาส์ แอดเวนเจอร์แลนด์
  52.87 km | แผนที่ | เส้นทาง
Baan Porn Romyen เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  53.85 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com