×

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ)

อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ

ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร

ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า ชั้นบาดาล เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร

เวลาเปิดให้เข้าชม
จันทร์ - เสาร์ เปิดให้เข้าชมเป็นรอบ 09.00 , 10.00 , 11.00 , 12.30 , 13.30 , 15.00 , 16.00 และ 17.00 น.
วันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์ เข้าชมได้ตามอัธยาศัย

ค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก (6-15 ปี) 100 บาท เด็กสมุทรปราการ 75 บาท ผู้สูงอายุ 100 บาท ชาวสมุทรปราการ 100 บาท
ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท
มี Audio Guide 3 ภาษา ไทย อังกฤษ จีน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2371 3135-6 โทรสาร. 0 2380 0304

การเดินทาง พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ผ่านแยกบางพลี ก่อนถึงแยกปากน้ำ ตั้งอยู่บริเวณซ้ายมือ รถโดยสารประจำทางธรรมดา สาย 25, 142, 365 และรถปรับอากาศสาย 102, 507, 511, 536
Tel. 0 2371 3135-6 Fax. 0 2380 0304
http://ancientcitygroup.net/erawan/

พิกัด GPS พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ:
13.628444,100.589089
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 2768 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ

แผนที่ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)