×

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ประจวบคีรีขันธ์
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีพื้นที่ครอบคลุม กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง มีพื้นที่ประมาณ 969 ตารางกิโลเมตร สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเทือกเขาขวางตัวเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้น สัตว์ป่ายังมีชุกชุมเนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์ สัตว์ป่าโดยทั่วไปได้แก่ ช้างป่า กระทิง วัวแดง กวางป่าหมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่าง ฯลฯ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีสภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะของป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพรรณไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำลำธารของประจวบฯ คือแม่น้ำกุยบุรีและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด โดยได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติกุยบุรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2542 โดยป่ากุยบุรีเป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ที่ทรงเปลี่ยนแปลงไร่สับปะรดให้เป็นป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่านานาชนิดได้

นอกจากนี้ในป่ากุยบุรีแห่งนี้ยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงามและมีคุณค่าอีกมากมาย เช่น น้ำตกผ่าหมาหอน น้ำตกด่านมะค่า น้ำตกผ่าสวรรค์ และยังมีจุดชมช้างป่าโดยจะมีเจ้าหน้าที่พาเข้าไปชม นอกจากจะได้เห็นช้างแล้วยังจะได้เห็นสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ เช่นวัวกระทิง เก้งหม้อ ค่างแว่น ฯลฯ ที่ออกมาหาอาหารกินร่วมกันในช่วงเวลาเย็น ๆ อีกด้วยซึ่งเวลาที่จะได้พบเห็นสัตว์ป่าเหล่านี้จะเป็นเวลาประมาณ 16.00-18.00 น. โดยระยะห่างจากจุดชมช้างกับที่ทำการอุทยานจะห่างกันประมาณ 20 กิโลเมตร จะต้องเข้าไปโดยรถของเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ยังจะได้พบเห็นผีเสื้อ นก แมลงชนิดต่างรวมถึงพรรณไม้หลาย ๆ ชนิดที่หาชมได้ยาก รวมทั้งไม้จันทร์หอมที่ผ่านพระราชพิธีเพื่อนำไปทำพระโกฏของพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อีกด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะจัดทำเป็นเส้นทางเดินเท้าให้ผู้สนใจศึกษาธรรมชาติได้เข้าไปใช้ประโยชน์ เรียนรู้และเพลิดเพลินกับธรรมชาติรอบ ๆ ตัว โดยเส้นทางมีลักษณะเป็นกึ่งวงกลม และภายในอุทยานยังมีกิจกรรมให้สำหรับผู้ที่มากันเป็นหมู่คณะ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น การทำโป่งเทียม (อาหารสัตว์ป่า,ช้าง) กลุ่มประมาณ 60-100 คน ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท(ค่าอุปกรณ์) ,การปลูกพืชอาหารสัตว์ (ปลูกหญ้าให้สัตว์ป่า) ,ทำฝายชะลอน้ำ ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500บาท(ค่าอุปกรณ์) ,ปลูกต้นไม้ทำแนวกั้นช้างป่า รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 032-646292

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่

น้ำตกดงมะไฟ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำกุยบุรี น้ำตกดงมะไฟมีความสูงประมาณ 15 ชั้น ลักษณะเป็นแก่งหินแกรนิต มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ช่วงน้ำมากตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ชั้นที่สวยที่สุดตั้งแต่ชั้นที่ 8 ไปจนถึงชั้นที่ 15 โดยชั้นที่ 14 จะเป็นหน้าผาขนาดใหญ่มีน้ำตกไหลลงมายังแอ่งน้ำเบื้องล่าง มีความสูงประมาณ 10 เมตร นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เช่น เฟิร์น กล้วยไม้ มอส อีกทั้งยังเป็นจุดชมนกเงือกกรามช้างที่บินผ่านยอดไม้ไปมาคล้ายเสียงเครื่องบิน และมีต้นตะเคียนใหญ่อายุราว 200 ปีและมีต้นไทรโอบกอดเอาไว้บนกิ่ง ด้านบนมีเฟิร์นตระกูลข้าหลวงหลังลายและกล้วยไม้เกาะอยู่ และมีต้นมะไฟป่ากระจายอยู่เป็นจำนวนมากอันเป็นที่มาของชื่อน้ำตกนี้

น้ำตกผาหมาหอน เป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น ลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิร์น ปาล์ม หลากชนิด เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ และพักผ่อนหย่อนใจ

น้ำตกด่านมะค่า เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีความสูงของน้ำตกประมาณ 6-7 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 5 กม.

น้ำตกแพรกตะคร้อ น้ำตกขนาดใหญ่ มีลำธารไหลคดเคี้ยวไปตามป่าดงดิบ มีแก่งหินและวังน้ำกระจายอยู่ทั่วไป อยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่อุทยานแห่งขาติกุยบุรี ท้องที่อำเภอปราณบุรี ต่อกับอำเภอหัวหิน เป็นต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำปราณบุรี สายน้ำหลักของชาวปราณบุรี ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าทำให้น้ำตกแพรกตะคร้อมีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี วิวทิวทัศน์สวยงาม โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น มีทะเลหมอกงดงาม เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบธรรมชาติอันบริสุทธิ์ การเดินป่า ท่องธรรมชาติ ดูนก ชมผีเสื้อ พักค้างแรมด้วยเต๊นท์กลางป่า และมีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่ากระเหรี่ยงบ้านป่าหมาก บ้านแพรกตะคร้อ ที่ยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิม

การเดินทางเข้าถึงน้ำตกแพรกตะคร้อ มี 2 เส้นทาง ค่อนข้างสะดวกตลอดทั้งปี แต่ในช่วงฤดูฝนควรใช้ระ 4WD เนื่องจากถนนบางช่วงเป็นถนนดินและถนนลูกรัง ต้องขับรถขึ้นเขาสูงเป็นระยะๆ จากตัวอำเภอหัวหินไปตามเส้นทางน้ำตกป่าละอู ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร แยกซ้ายไปตามเส้นทางป่าละอู- แพรกตะคร้อ ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร ถึงบริเวณหมู่บ้านแพรกตะคร้อ จากอำเภอปราณบุรี ไปตามเส้นทางเข้าเขื่อนน้ำปราณบุรี แยกขาวไปตามเส้นทาง บ้านหนองยิงหมี วังจ้าว แพรกตะลุย แพรกตะคร้อ ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจหุบตะเคียน ประตูสู่น้ำตก

สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณน้ำตก สถานที่กางเต๊นท์ จำนวน 3 แห่งความจุรวมประมาณ 50 คน พร้อมห้องน้ำ ห้องสุขา เต๊นท์สำหรับ 2-3 คนพร้อมเครื่องนอนไว้บริการ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าศึกษาธรรมชาติ

น้ำตกผาสวรรค์ เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีชั้นน้ำตก 5 ชั้น น้ำตกชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่สวยที่สุด มีความสูงประมาณ 7 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กม.

จุดชมช้างป่า บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ กร.1 (ป่ายาง) และบริเวณใกล้เคียง เช่น หุบตาอู๋ เขาตาเพ้ง หุบกระชัง หุบมะกรูด และบริเวณป้ายโครงการฯ สามารถชมได้ในเวลา 16.00-18.00 น.ของทุกวัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 20 กม. โดยการเดินทางด้วยรถยนต์ จะต้องเข้าไปโดยรถของเจ้าหน้าที่นอกจากนี้ยังจะได้พบเห็นผีเสื้อ นก แมลงชนิดต่างรวมถึงพรรณไม้หลายๆ ชนิดที่หาชมได้ยาก รวมทั้งไม้จันทร์หอมที่ผ่านพระราชพิธีเพื่อนำไปทำพระโกฏของพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์อีกด้วย

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติกุยบุรีจัดเส้นทางเดินเท้าที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจศึกษาธรรมชาติได้เข้าไปใช้ประโยชน์ เรียนรู้และเพลิดเพลินกับธรรมชาติรอบตัวท่าน ท่านจะพบพรรณไม้หลากหลายชนิดที่หาชมได้ยาก นกนานาชนิด และโป่งธรรมชาติที่ช้างป่า สัตว์ป่าลงมาหากิน เส้นทางนี้มีลักษณะเป็นกึ่งวงกลม ทางเดินลาดชันขึ้นไปเรื่อยๆ บางครั้งเป็นที่ราบในระหว่างทางมีค่ายิ่งนัก เราเชื่อว่าท่านเป็นผู้หนึ่งที่รักธรรมชาติและตระหนักในคุณค่า ท่านจะได้รับความสุข ความเพลิดเพลิน และความรู้จากขุมปัญญาที่ไม่มีวันหมดของธรรมชาติ ณ ที่แห่งนี้

และภายในอุทยานยังมีกิจกรรมให้สำหรับผู้ที่มากันเป็นหมู่คณะ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น การทำโป่งเทียม (อาหารสัตว์ป่า,ช้าง) กลุ่มประมาณ 60-100 คน ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท(ค่าอุปกรณ์) ,การปลูกพืชอาหารสัตว์ (ปลูกหญ้าให้สัตว์ป่า) ,ทำฝายชะลอน้ำ ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500บาท(ค่าอุปกรณ์) ,ปลูกต้นไม้ทำแนวกั้นช้างป่า รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 032-646292

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษมถึงหลักกิโลเมตรที่ 290 (ก่อนถึงที่ว่าการอำเภอกุยบุรีประมาณ 3 กิโลเมตร) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3217 ผ่านบ้านยางชุม เป็นเส้นทางลาดยางประมาณ 18 กม. เข้าโครงการเขื่อนเก็บน้ำยางชุม เลี้ยวซ้ายก่อนถึงโครงการฯ ไปตามทางเข้าหมู่บ้านย่านซื่อจนสุดหมู่บ้านประมาณ 10 กม. เลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 2 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (ระยะทางจากกุยบุรีถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 30 กิโลเมตร)

ทางอุทยานฯ ทางอุทยานมีบ้านพักไว้บริการ 2 หลัง ภายในมี 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ มีห้องโถงและห้องครัว พักได้หลังละ 6 คน ราคา 1,800/1คืน หากผู้ใดต้องการสัมผัสกับธรรมชาติ ทางอุทยานได้จัดสถานที่กางเต๊นท์ไว้บริการโดยค่าธรรมเนียมสำหรับบุคคลที่นำเต็นท์มาเอง เต็นท์ละ 30 บาท/คืน/หลัง หากไม่มีเต็นท์และเครื่องนอน อุทยานมีไว้บริการดังนี้ เต็นท์ ขนาด 2 คน 150 บาท/หลัง/ คืน,เต็นท์สำหรับ 4 คน 300 บาท/หลัง/คืน,ถุงนอน 30 บาท/ถุง/คืน ผ้าห่ม 20 บาท/ผืน/คืน หมอน 10 บาท/ใบ/คืน

ค่าธรรมเนียมในการเข้าชมอุทยานกุยบุรี ผู้ใหญ่ 200 บาท, เด็ก 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ตู้ ปณ.10 ปณจ.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77150

ติดต่อ กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านรวมไทย หรือ Kuiburinaturetour นำชมวิถีชีวิตชาวไร่สับปะรดในพื้นที่ ดูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และสังเกตการณ์ชีวิตช้างป่า รวมบริการรถรับส่งจากที่ทำการอุทยานฯและมัคคุเทศก์ท้องถิ่น สอบถามรายละเอียด โทร. 08 5290 7436 อีเมล์ chang_kuiburi@hotmail.com

กิจกรรมในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ทางอุทยานจัดเส้นทางเดินเท้าที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจศึกษาธรรมชาติได้เข้าไปใช้ประโยชน์ เรียนรู้และเพลิดเพลินกับธรรมชาติ รอบ ๆ ตัว ภายในอุทยานมีพรรณไม้หลากหลายชนิดที่หาชมได้ยาก นกนานาชนิด และโป่งธรรมชาติที่ช้างป่า สัตว์ป่าลงมาหากินเส้นทางนี้มีลักษณะเป็นกึ่งวงกลม ทางเดินลาดชันขึ้นไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ทางอุทยานยังได้จัดทำกิจกรรมสำหรับผู้ที่เดินทางมาเที่ยวยังอุทยาน มีการทำโป่งเทียม (อาหารช้าง)โดยสามารถนำอุปกรณ์มาเอง หรือจะให้ทางอุทยานเตรียมให้ก็ได้ โดยจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500 บาท,การทำเขื่อนชะลอน้ำ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,500 บาท, การปลูกพืชอาหารสัตว์ หากท่านที่ต้องการพบภาพความประทับใจของสัตว์นานาชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันในป่ากุยบุรีก็จะต้องเดินทางไปยังจุดชมช้างป่าโดยจุดนี้จะไม่ได้พบเพียงแค่ช้างเท่านั้นแต่ท่านยังจะพบกับฝูงวัวกระทิงและสัตว์ป่าชนิดต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากโดยการเดินทางไปยังจุดชมช้างป่านั้นจะต้องเดินทางด้วยรถยนต์จากอุทยานประมาณ 20 ก.ม. โดยสองข้างทางจะเต็มไปด้วยธรรมชาติ ขุนเขาและวิถีชีวิตของผู้คนในชนบทการเดินทางไปชมช้างและสัตว์ป่านั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของอุทยานเป็นผู้พาไปที่ป่ากุยบุรีแห่งนี้เป็นโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพลิกฟื้นไร่สับปะรดให้เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้เช่นปัจจุบัน


พิกัด GPS อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์:
12.148307,99.753182
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 1596 ครั้ง

แผนที่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์คลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)