×

วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี

วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “วัดคลองห้า” ตั้งอยู่เลขที่ 98 ริมฝั่งคลองประยูรศักดิ์ หมู่ 3 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่ 79 ไร่ 65 ตารางวา โฉนดเลขที่ 226 ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลองห้า ห่างจากตลาดรังสิต 13 กิโลเมตร ตามเส้นทางรังสิต-นครนายก บริเวณคลองหน้าวัดมีปลาสวายจำนวนมาก มีขนาดใหญ่ตัวละ 3- 5 กิโลกรัม แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวมาแวะให้อาหารปลาอยู่เสมอ

ประวัติเดิม เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2439 ร.ศ.115 ค.ศ.1896 จ.ศ.1258 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 1 ค่ำเดือน 4 มีพระปฏิบัติราชประสงค์ (นามมูลเลอร์ ชาวเยอรมัน) กับนางจีน ผู้เป็นภรรยา ขออนุญาตสร้างพระอาราม เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร และอนุญาตสร้างวัดได้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2439 ร.ศ. 1896 จ.ศ.1258 ตรงกับวันศุกร์ แรม 2 ค่ำเดือน 4 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2442 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 14 เมตร ยาว 22 เมตร ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

อนึ่งค่าก่อสร้างวัดมูลจินดารามในครั้งนั้น สิ้นเงินค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 24,850.00 บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยสี่สิบบาท) และยังได้สร้างเพิ่มเติมอีก โดยมีท่านพระครูธัญญเขตเขมากร อดีตเจ้าคณะจังหวัดธัญบุรี วัดเขียนเขต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2440 – 2448 รวมเป็นจำนวนเงิน 5,640 บาท (ห้าพันหกร้อยสี่สิบาท) 16 อัฐ รวมค่าก่อสร้างวัดนี้ทั้งสิ้น 30,480.00 บาท 16 อัฐ (สามหมื่นสี่ร้อยแปดสิบบาทสิบหกอัฐ)

ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2445 ร.ศ. 121 ค.ศ. 1902 จ.ศ. 1264 พระปฏิบัติราชประสงค์ได้ทำหนังสือขอถวายพระอารามหลวง เมื่อเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมืองธัญญบุรี พระองค์มีกระแสรับสั่งว่า การที่จะถวายรับเป็นวัดหลวงนั้น เป็นที่เกี่ยวข้องด้วยการบำรุง เช่น ต้องให้นิตยภัตรและกฐิน เป็นต้น วัดหลวงมีมากแล้วรัฐบาลไม่อยากให้รับ

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445 ร.ศ. 121 ค.ศ. 1902 จ.ศ. 1264 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำเดือน 4 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเมืองธัญญบุรี โดยทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (คือรัชกาลที่ 6) และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จโดยรถพระที่นั่งจากวังสวนดุสิตถึงสถานีรถไฟสามเสน ประทับรถพระที่นั่ง โดยมีรถไฟใช้ฝีจักรจูงรถพระที่นั่งออกจากสถานีรถไฟสามเสน เวลา 1 โมงเช้า ถึงสถานีรถไฟรังสิต เวลา 2 โมงเช้า ณ ที่นั้นมีพ่อค้าประชาชน ทั้งเมืองปทุมธานี เมืองธัญญบุรี และจังหวัดใกล้เคียง อาทิเช่น เมืองนครนายก ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯ มาคอยรับเสด็จกันมากมาย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งชื่อ “สมจิตรหวัง“ โดยมีเรือกลไฟลากจูงถึงเมืองธัญบุรีเมื่อเวลา 4 โมงเช้า เมื่อเรือพระที่นั่งเทียบท่าเมืองธัญบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชดำเนินไปประทับ ณ ห้องเจริญพระพุทธมนต์ ทรงจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัยและทรงศีล พอได้เวลา 5 โมงเช้า ได้พระฤกษ์แล้วทรงประกอบพิธีชักเชือกเปิดแพรคลุมป้ายชื่อเมือง เสร็จจากพระราชพิธีเปิดเมืองธัญญบุรีแล้ว เวลาบ่าย พระองค์ได้หยุดเรือพระที่นั่งที่หน้าสะพานฉนวนหน้าวัดมูลจินดาราม พระปฏิบัติราชประสงค์ ได้ลงมารับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเข้าประทับในอุโบสถ พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ เจ้าอธิการ อันดับคณะรามัญ ได้กระทำสังฆกรรมผูกพัทธสีมา พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลปิดทองลูกนิมิต กับทั้งเป็นองค์ประธานตัดลูกนิมิตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ซึ่งในสมัยนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะไปทรงจัดทำเกี่ยวกับเรื่องวัดก็เฉพาะอารามหลวงเท่านั้น

สำหรับนามวัดนั้น พระปฏิบัติราชประสงค์ ได้กราบบังคมขอพระราชทานนามวัดต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดมูลจินดาราม” โดยมีพระประสงค์ให้สอดคล้องกับท่านผู้มีจิตศรัทธาสร้างวัดคือ นายมูลเลอร์ (พระปฏิบัติราชประสงค์) และนางจีน ตั้งแต่นั้นมา

อนึ่ง ก่อนที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 400 บาท (ในสมัยนั้น) เพื่อช่วยในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์อีกด้วย

ภายในวัดมีเสนาสนะต่างๆ ดังนี้
อุโบสถ กว้าง 14 เมตรยาว 22 เมตร
กุฏิสงฆ์จำนวน 9 หลัง
อาคารเอนกประสงค์ 3 ชั้น
หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ ศาลาบำเพ็ญกุศล ฌาปนสถาน
แพให้อาหารปลาสวายหน้าวัด 2 หลัง
หอระฆัง หอกลอง

สิ่งสำคัญภายในวัด
พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัย พระพุทธโสธรจำลอง พระพุทธจักษุมงคลศาสดา (พระยืน)

สำหรับในด้านการศึกษาวัดมูลจินดารามได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2509 นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด ที่อ่านหนังสือพิมพ์ และโรงเรียนประชาบาล อนุบาลถึง มัธยมปีที่ 3 ตั้งอยู่ในที่ดินวัดเนื้อที่ 7 ไร่เศษ

ประวัติเจ้าอาวาส มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 6 รูปคือ
1. พระครูยิ้ม (ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.ใหนถึงใหน)
2. พระอาจารย์เรียง (ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.ใหนถึงใหน)
3. พระครูบม (ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.ใหนถึงใหน)
4. พระครูแข (ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.ใหนถึงใหน)
5. พระอธิการเลื่อน (ไม่ทราบว่าเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.ใหน แต่สิ้นสุดการเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2509
6. พระเทพวุฒาจารย์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ถึงปัจจุบัน


พิกัด GPS วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี:
14.007897,100.708528
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 2833 ครั้ง
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี

แผนที่ วัดมูลจินดาราม ปทุมธานีคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดมูลจินดาราม ปทุมธานี

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)