×

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ตั้งอยู่ที่ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง วัดแห่งนี้เดิมเป็นเพียงโรงเจขนาดเล็ก ต่อมาเจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่ กรุงเทพฯ ร่วมกับพุทธบริษัทไทย-จีน ได้พัฒนาเป็นวัดที่สมบูรณ์สวยงามในเนื้อที่รวม 12 ไร่ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างถึง 12 ปี จึงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯแทนพระองค์ ประกอบพิธีสมโภชเปิดวัดบรมราชากาญจนภิเษกอนุสรณ์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2551

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในยุคหมิง-ชิง โดยจำลองมาจากพระราชวังต้องห้ามในกรุงปักกิ่ง มีความสง่างามและมีรายละเอียดการตกแต่งที่ประณีตยิ่ง โดยทางวัดได้เชิญช่างฝีมือชั้นครูจากประเทศจีนมาดำเนินการก่อสร้างโดยตรง วิหารแต่ละหลังประดับด้วยลวดลายภาพเขียนสีพุทธศิลป์แบบจีนใช้สีน้ำเงิน แดงและทองเป็นหลัก ตามผนังและเพดานมีคาถา โอม มา นี ปะ หมี่ ฮง เป็นตัวอักษรสีทอง ที่เชื่อว่าขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ ได้ หลังคาวิหารมุงด้วยกระเบื้องเผาแบบจีน สีเหลืองเข้ม ที่ตรงมุมหลังคาทั้ง 4 มุมประดับด้วยรูปสัตว์มงคล ได้แก่ เทวดาขี่หงส์ มังกร สิงโต ม้าน้ำ ม้าเทวดา แพะเทวดาเขาเดียว กระทิงเทวดา ปลาเทวดาและนกเค้าแมว นอกจากนี้ รายรอบพระวิหารยังประดับด้วยหินแกะสลักต่าง ๆ มากมายซึ่งล้วนนำมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะอย่างยิ่งแก่การศึกษาพุทธศิลป์ของจีน

ภายในวัดประกอบด้วยอาคารหลัก ได้แก่

วิหารท้าวจตุโลกบาล เป็นที่ประดิษฐานของพระโพธิสัตว์และเทพต่าง ๆ ที่พิทักษ์ปกปักษ์พระพุทธศาสนา ด้านข้างวิหารเป็นหอกลอง และหอระฆัง

พระอุโบสถ เป็นอาคารหลังใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลาง ประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ คือ พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าหรือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระอมิตาภพุทธเจ้า และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีต แต่ละองค์ มีความสูงถึง 4.30 เมตร นับเป็นพระประธานแบบจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพุทธลักษณะที่เด่นเป็นสง่า พระพักตร์มีเมตตากรุณา ด้านข้างของพระประธานทั้งสองด้าน เป็นเสาขนาดใหญ่ มีกลอนอักษรจีน ตามผนังประดับด้วยแผ่นไม้สักแกะสลัก 7 ชิ้นเป็นเรื่องราวพระพุทธเจ้าในอดีต พระอรหันต์ และจตุมหาบรรพตหรือภูเขาศักดิ์สิทธิ์ 4 แห่ง ส่วนด้านนอกของพระอุโบสถมีเสมาเป็นศิลปะแบบจีนอยู่ทั้งสองด้าน

วิหารอวโลกิเตศวรสหัสกรสหัสเนตรมหาโพธิสัตว์ และวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ เป็นอาคารสองชั้นอยู่ด้านหลังถัดจากพระอุโบสถ ด้านล่างเป็นวิหารอวโลกิเตศวรสหัสกรสหัสเนตรมหาโพธิสัตว์ เมื่อขึ้นบันไดไปด้านบนจะเป็นวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ เป็นที่ประดิษฐานองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า พระอวโลกิเตศวร และพระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์ ตามผนังวิหารด้านในรายล้อมพระพุทธรูปเล็ก ๆ หนึ่งหมื่นพระองค์ วิหารแห่งนี้เปรียบเสมือนดินแดนสุขาวดี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลกมนุษย์ เชื่อกันว่าผู้ที่บำเพ็ญภาวนา จะได้ไปเกิด ณ ดินแดนสุขาวดีซึ่งมีแต่ความสุข

นอกจากนี้ยังมีอาคารอื่น ๆ อาทิ หอธรรม วิหารบูรพาจารย์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 18.00 น.

การเดินทาง
จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำเภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร หรือหากเดินทางจากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถเลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ ผ่านศูนย์เยาวชนเทศบาลไปยังวัดได้เช่นกัน

สิ่งอำนวยความสะดวก
มีจุดจำหน่ายของเซ่นไหว้ต่าง ๆ ลานจอดรถ ห้องสุขา บริเวณตลาดบางบัวทองซึ่งอยู่ใกล้กับวัดมีบริการร้านอาหารมากมาย

การติดต่อ
วัดพระบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ฯ ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง นนทบุรี 11110 โทรศัพท์ 0 2571 1155 หรือ 0 2920 2131 โทรสาร 0 2571 1155 เว็บไซต์ http://www.lengnoeiyi.com/viewpage.php?page_id=15


พิกัด GPS วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี:
13.913542,100.421127
กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
0/0 จาก 0 รีวิว
ผู้ชม 3444 ครั้ง 1 คน เช็คอินที่นี่
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

  แวะมาทำบุญวันตรุษจีน ขอบคุณภาพจากคุณ วิทยา ตั๋นเจริญ

31 มกราคม 2560

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

แผนที่ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรีคลิกที่นี่

×

วิธีใช้งาน touronthai mini

  ดูข้อมูลของรูปภาพกดที่รูปภาพนั้น

  ใต้รูปภาพจะมีปุ่มอยู่ 6 ปุ่ม
  • ปุ่มแรก คือ ปุ่มวิธีใช้ที่คุณเพิ่งกด
  • ปุ่มที่ 2 คือ ปุ่มแสดงข้อมูลของสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 3 คือ เส้นทางไปยังสถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 4 คือ ร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 5 คือ ที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
  • ปุ่มที่ 6 คือ โรงแรมที่อยู่ใกล้ๆ สถานที่ที่คุณกำลังดู
ขอบคุณที่เข้ามาชม touronthai mini หวังว่าเว็บของเราจะมีประโยชน์กับคุณ
insert_emoticon

Log in

สอบถามการใช้งาน/แจ้งปัญหาการใช้งาน
@touronthai

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

10 ที่เที่ยวใกล้ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

ร้านอาหารใกล้ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (เล่งเน่ยยี่2) นนทบุรี

*อยู่ในระหว่างการรวบรวมข้อมูล*
ร่วมส่งร้านโปรดของคุณให้ทุกคนรู้จักคลิก ..

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Access denied for user ''@'localhost' (using password: NO)