ผู้เขียน หัวข้อ: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง  (อ่าน 4234 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะเพื่อนๆ ชาวทัวร์ออนไทยที่น่ารัก สงกรานต์นี้ มีที่ให้เล่นน้ำคลายร้อนมาฝากค่ะ รวบรวมมาทีละภาคกันเลยนะคะ

ใครที่ไม่ได้ไปต่างจังหวัด ในกรุงเทพและภาคกลางมีงานสงกรานต์คลายร้อนหลายที่ค่ะ

เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร
12 เม.ษ. 56 - 16 เม.ษ. 56
     
กิจกรรมสรงน้ำพระ การสาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การแสดงทางวัฒนธรรม กิจกรรมไหว้พระ ๙ วัดประจำรัชกาลและพระอารามหลวง
๑. วัดพระพระศรีรัตนศาสดาราม
๒. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
๓. วัดอรุณราชวราราม
๔. วัดกัลยาณมิตร
๕. วัดระฆังโฆสิตาราม
๖. วัดสุทัศเทพวราราม
๗. วัดบวรนิเวศวิหาร
๘. วัดสระเกศ
๙. วัดชนะสงคราม
๑๐. วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
๑๑. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
๑๒. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๓. วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก

สถานที่จัดงาน : กรุงเทพมหานคร

กองสร้างสรรค์กิจกรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 0-2250-5500 ต่อ 3470-3
กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2225 7612-5 www.songkran.net
 ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร
 02-250-5500 ต่อ 2991-5

ขอบคุณข้อมูลจาก http://songkran.tourismthailand.org/
ขอบคุณภาพจาก internet
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:45:54 PM »
งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2556(พระนครศรีอยุธยา)
13 เม.ษ. 56 - 16 เม.ษ. 56[/b]

สถานที่จัดงานรอบเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดทองบ่อ ตำบลเสากระโดง

กิจกรรม
  ทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร สรงน้ำพระพุทธรูปและพระนเรศวรมหาราช รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า การประกวดคุณย่ายังสาว-คุณยาย ยังสวย เล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง และชมประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ การแต่งกายแบบมอญ ร่วมทำบุญตักบาตรแบบมอญ สรงน้ำพระจากรางไม้ไผ่ ที่วัดทองบ่อ

ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐ ๓๕๒๔ ๖๐๗๖-๗ โทรสาร ๐ ๓๕๒๔ ๖๐๗๘
เว็บไซต์ : http://www.tourismthailand.org/ayutthaya
อีเมล์ : tatyutya@tat.or.th
ขอบคุณข้อมูลจาก http://songkran.tourismthailand.org/
ขอบคุณภาพจาก internet
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:47:21 PM »
เทศกาลสงกรานต์ถนนข้าวสาร(กรุงเทพมหานคร)
13 เม.ษ. 56 - 15 เม.ษ. 56

สถานที่จัดกิจกรรม : ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร
งานสงกรานต์ถนนข้าวสาร สนุกสนานเริงร่า อย่างมีสีสัน กับการเล่นน้ำสงกรานต์ ถนนที่เต็มไปด้วยหนุ่มสาววัยรุ่น ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาร่วมสนุกและคลายร้อนกันอย่างสร้างสรรค์
ข้อมูลการติดต่อ สำนักงานเขตดุสิต โทรศัพท์ 0 2243 5311-5

ขอบคุณข้อมูลจาก http://songkran.tourismthailand.org/
ขอบคุณภาพจาก internet
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:48:35 PM »
ประเพณีสงกรานต์ไทยมอญปากเกร็ด(นนทบุรี)
13 เม.ษ. 56 - 15 เม.ษ. 56

ชมการประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงสี เสียงจากศิลปิน นักร้อง ชมการละเล่นพื้นบ้านไทย มอญ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย
สถานที่จัดงาน : บริเวณหัวถนนแจ้งวัฒนะ(ท่าน้ำ) อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี

ขอบคุณข้อมูลจาก http://songkran.tourismthailand.org/
ขอบคุณภาพจาก internet
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:52:08 PM »
สงกรานต์พระประแดง(สมุทรปราการ)
19 เม.ษ. 56 - 21 เม.ษ. 56


ข้อมูลเพิ่มเติม
งานประเพณีสงกรานต์เมืองพระประแดงถือเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของชาวไทย เชื้อสายรามัญที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และได้รับการยกย่องให้เป็นงานประเพณีวัฒนธรรมระดับชาติ ร่วมชื่นชมความยิ่งใหญ่ของงานประเพณีสงกรานต์เมืองพระประแดง ด้วยขบวนแห่สาวงามนางสงกรานต์ขบวนแห่หนุ่มลอยชาย
ขบวนแห่หงส์ธงตะขาบ ขบวนนางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผชาติ การละเล่นสะบ้าของชาวไทยรามัญ การละเล่นพื้นบ้าน ประกวดหนุ่มลอยชาย การเล่นน้ำสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ

สถานที่จัดงาน : บริเวณสำนักงานเทศบาลเมืองพระประแดง จ.สมุทรปราการ
เทศบาลเมืองพระประแดง โทรศัพท์ 0 2463 4841
ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร 02-250-5500 ต่อ 2991-5

 สงกรานต์พระประแดง จะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในเทศกาลดังนี้

    1. ประเพณีส่งข้าวสงกรานต์
    การส่งข้าวสงกรานต์เป็นประเพณีที่คาดว่าจะได้รับอิทธิพลจากตำนานสงกรานต์ เมื่อตอนที่ท่านเศรษฐีนำเครื่องสังเวยไปบวงสรวงเทวดาที่ต้นไทรเพื่อขอบุตร ข้าวสงกรานต์นั้นเป็นการหุงข้าวแล้วแช่ลงในน้ำดอกมะลิบรรจุลงในหม้อดิน ส่วนกับข้าวนั้นก็จะเป็นอาหารเค็ม เช่นไข่เค็ม ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ของหวาน ได้แก่ถั่วดำต้มน้ำตาล กล้วยหักมุก แตงโม จัดวางใส่ถาดให้เท่ากับวัดที่จะไป สาวๆ ในหมู่บ้านก็จะรับข้าวสงกรานต์ไปส่งตามวัดต่าง ๆ ขากลับจะมีหนุ่ม ๆ มาคอยดักรดน้ำและเกี้ยวพาราสีตามวิสัยหนุ่มสาวทั่ว ๆ ไป

    2. ประเพณีสรงน้ำพระ - รดน้ำขอพรผู้ใหญ่และเล่นน้ำสงกรานต์
    ในช่วงท้ายของสงกรานต์ชาวมอญในพระประแดง จะมีประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป วัดที่มีพระพุทธรูปมากมายและสวยงามคือ วัดโปรดเกศเชษฐาราม ในตอนเย็นหนุ่มสาวก็จะพากันนำน้ำอบไปสรงน้ำพระพุทธรูปรอบวัด เมื่อเสร็จสิ้นจากการสรงน้ำพระพุทธรูปแล้วหนุ่มสาวก็จะพากันนำน้ำอบไปรดน้ำของพรผู้ใหญ่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่าง ๆ ออกมาเล่นสาดน้ำกับสาว ๆ ด้วยกริยาท่าทีที่สุภาพ รดแต่พองามและคุยกันตามประสาหนุ่มสาวตลอดทางที่เดินกลับบ้าน แต่ในปัจจุบันประเพณีนี้ก็ค่อย ๆ หายไปหลังจากที่พระประแดงมีการสัญจรคับคั่งไปด้วยรถยนต์

    3. ประเพณีแห่หงส์ – ธงตะขาบ
    หงส์นั้นเปรียบเทียบเสมือนสัญญลักณ์ของเมืองหงสาวดีอันเป็นดินแดนดั้งเดิมของชาวมอญตามตำนานเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ 8 ปี ได้เสด็จไปยังแคว้นต่าง ๆ วันหนึ่งทรงมาถึงภูเขาสุทัศนมรังสิต ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองสะเทิม ทรงเห็นเนินดินกลางทะเลมีหงส์คู่หนึ่งเล่นน้ำกันอยู่ พระองค์จึงทำนายว่าในกาลสืบไปข้างหน้า เนินดินที่หงส์ทองเล่นน้ำจะกลายเป็นมหานครชื่อว่า หงสาวดี คำสั่งสอนของพระพุทธองค์จะรุ่งเรืองขึ้นที่นี่ หลังจากเสด็จดับขันธ์ล่วงไปแล้วได้ 100 ปี ทะเลใหญ่นั้นก็เกิดตื้นเขินจนกลายเป็นแผ่นดินอันกว้างใหญ่ เมืองหงสาวดีจึงได้กำเนิดขึ้น ณ ดินแดนที่มีหงส์ทองเล่นน้ำอยู่นั้น ดังนั้นชาวมอญในหงสาวดีจึงใช้หงส์เป็นสัญญลักณ์ของประเทศตั้งแต่นั้นมา

    ตะขาบเป็นสัตว์ที่มีลำตัวยาว มีเขี้ยวเล็บที่มีพิษสามารถต่อสู้กับศัตรูที่จะมารุกรานได้ เปรียบเหมือนชาวมอญที่ไม่เคยหวาดหวั่นศัตรู ทุกอวัยะในตัวตะขาบนั้น ชาวมอญจะตีความออกมาเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น หนวด 2 เส้น หมายถึง สติ สัมปชัญญะ หาง 2 หาง หมายถึง ขันติ โสรัจจะ    เขี้ยว 2 เขี้ยว หมายถึง หิริ โอตัปปะ ตา 2 ข้าง หมายถึง บุพการี กตัญญูกตเวที    ลำตัว 22 ปล้อง หมายถึง สติปัฎฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 อิทธิบาท 4 นั่นหมายความว่า หากประเทศรามัญสามารถปกครองดูแลประชาราษฎร์ของตนได้เหมือนตะขาบแล้วไซร้ รามัญประเทศก็จะเจริญรุ่งเรืองและร่มเย็นไปอีกนานแสนนาน

    4. ประเพณีแห่นก – แห่ปลา
    ประเพณีแห่นก – แห่ปลา เกิดจากความเชื่อของชาวมอญที่ว่าการปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นการสะเดาะเคราะห์ให้แก่ตนเองทำให้มีอายุยืนยาว และเป็นประเพณีหนึ่งในเทศกาลสงกรานต์ที่จัดพร้อมกับขบวนแห่นางสงกรานต์ในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์พระประแดง (การแห่นกนั้นได้นำมาผนวกเข้าในภายหลังด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน) ซึ่งชาวมอญยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณีแห่นก – แห่ปลาในที่สุดเทศบาลเมืองพระประแดงพิจารณาเห็นว่าประเพณีแห่นก – แห่ปลา เป็นประเพณีที่ดีงามสมควรอนุรักษ์ไว้ จึงได้รับเป็นผู้สืบสานประเพณีนี้ โดยจัดให้มีขบวนแห่นก – แห่ปลา ในขบวนแห่นางสงกรานต์ทุกปีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

    5. ประเพณีแห่นางสงกรานต์
    ในวันท้ายวันสงกรานต์จะมีขบวนแห่นก - แห่ปลา แต่ละหมู่บ้านจะเชิญสาวเข้าร่วมขบวนแห่ โดยมอบให้ผู้ที่เป็นคนกว้างขวางรู้จักคนมาก นำหมากพลูจีบใส่พานไปเชิญสาวตามหมู่บ้านต่าง ๆ แล้วแต่จะกำหนดว่าหมู่บ้านใดจะเชิญสาวกี่คน ก็เตรียมหมากพลูไปเท่ากับจำนวนสาวที่ต้องการ สาวใดเมื่อได้รับหมากพลูไปแล้วเขาก็จะมาร่วมเข้าขบวน ส่วนการแต่งกายนั้นแล้วแต่จะสะดวก เมื่อสาวมาพร้อมกันแล้วผู้ที่มีหน้าที่คัดเลือกสาวงาม ก็พิจารณาดูว่าผู้ใดสวยที่สุดก็ให้เป็นนางสงกรานต์ในปีนั้น ต่อมาภายหลังได้มอบให้ผู้มีหน้าที่คัดเลือกสาวได้มองหาสาวที่สวยๆ ไว้แต่เนิ่นๆ ก่อน เมื่อใกล้วันสงกรานต์จะเชิญสาวที่หมายตาไว้นั้นให้เป็นนางสงกรานต์ส่วนคนอื่นๆ ก็ให้เป็นนางประจำปี หรือ นางฟ้าตามลำดับไป ซึ่งวิธีการนี้จะได้สาวงามซึ่งเป็นชาวพระประแดงที่แท้จริง ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้จัดให้มีการประกวดนางสงกรานต์ขึ้นเป็นครั้งแรก และได้ทำการประกวดติดต่อกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 จึงจัดให้มีการประกวดหนุ่มลอยชายควบคู่กับการประกวดนางสงกรานต์   

    6. การละเล่นพื้นเมืองการละเล่นสะบ้า (มอญ) (ว่อน – ฮะ – นิ)
    ในช่วงเวลาวันสงกรานต์ทุกปี ตามหมู่บ้านจะมีการแสดงสะบ้า หรือการละเล่นสะบ้าของหนุ่มสาว เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยรามัญ การละเล่นสะบ้ามีประมาณ 30 กว่าบท เป็นลีลาการแสดงพื้นเมือง การละเล่นสะบ้ามิใช่การเล่นพนันขันต่อแต่อย่างใด มีการเล่นในเวลากลางคืน บ่อนหนึ่ง ๆ จะมีสาวงามประจำบ่อนอย่างน้อย 7 คู่ อย่างมาก 10 คู่ บ่อนใช้ใต้ถุนเรือนหรือที่ว่างพอที่จะตกแต่งเป็นบ่อนสะบ้าได้ บ่อนจะต้องทุบดินให้เรียบแต่งบ่อนด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มีแสงสว่างมากพอปัจจุบันได้ใช้ไฟฟ้า (สมัยก่อนเราใช้ไฟตะเกียง หรือไฟใต้) ลูกสะบ้านั้นกลึงเป็นลูกกลมแบนเรียบ ทำด้วยเขาสัตว์ เช่น เขาวัว เขาควาย เงิน ทองเหลือง หรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ กาละเล่นสะบ้ามีหนุ่มฝ่ายหนึ่ง และสาวฝ่ายหนึ่งแสดงสลับกันไปตามลีลาของวิธีเล่นสะบ้าพื้นเมือง ซึ่งมีประมาณ 15 ถึง 30 ท่า เช่น ทิ่นเติง จั้งฮะยู อีมายยับ ตองเก้ม อะลอง เดิง เป็นต้น (โปรดชมการแสดง จะทราบวิธีดีขึ้น หรืออาจจะลงบ่อนแสดงด้วยตนเองก็ได้) การละเล่นสะบ้ายังคงเหลือยู่ที่พระประแดงเท่านั้น

    7. การละเล่นพื้นเมืองทะแยมอญ
    มอญเป็นชนชาติหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางดนตรีเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เมื่อประมาณ 20 ปีล่วงมาแล้ว ในเทศกาลสงกรานต์จะได้ยินเสียงเพลงทะแยมอญเสมอ โดยเฉพาะตามบ่อนสะบ้า แต่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกหรือถ่ายทอดไว้ให้คนรุ่นหลังสืบทอด ปัจจุบันวัฒนธรรมดังกล่าวจึงค่อย ๆ หายไปจากเมืองพระประแดง

    การเล่นทะแยมอญ คล้ายเพลงฉ่อยหรือลำตัดเป็นร้อยกรองชนิดหนึ่งคล้ายกับกลอนร่ายของไทยประเภทเพลง เนื้อร้องใช้ภาษามอญ เป็นบทไหว้ครู ชมนกชมไม้ เกี้ยวพาราสี ให้ศีลให้พรสำหรับผู้ใหญ่ ฝ่ายชายใช้เพลงเจื้อกมั่ว ฝ่ายหญิงใช้เพลงโป้ดแซ่ เครื่องดนตรีประกอบการแสดงมี 5 ชนิด คือ ซอสามสาย (มอญ) จะเข้ ขลุ่ย เปิงบาง ฉิ่ง การแต่งกายชุดรามัญ (ชายชุดลอยชาย หญิงชุดมอญ)

    ทะแยมอญ ใช้ร้องในโอกาสอันเป็นมงคล เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายรามัญที่อาศัยอยู่ในเมืองพระประแดง(ชาวปากลัด) การเล่นทะแยมอญกล่อมบ่อนสะบ้าในเทศกาลสงกรานต์ เป็นการร้องโต้ตอบกันในเชิงเกี้ยวพาราสีระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง โดยมีการรำประกอบ การเคลื่อนไหวของผู้รำเน้นหนักที่มือ และในวันท้ายวันสงกรานต์ก็จะมีการแสดงทะแยมอญร่วมในขบวนแห่นก – แห่ปลา เป็นประจำทุกปี ซึ่งปัจจุบันได้เลือนหายไปเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง

    8. ประเพณีการกวนกาละแม (กวันฮะกอ) ของดีเมืองพระประแดง
    เมื่อถึงเทศกาลประเพณีสงกรานต์ของชาวมอญปากลัด ชาวมอญจะทำความสะอาดบ้านเรือนแต่ เนิ่น ๆ และทำขนมที่มอญเรียกว่า “กวันฮะกอ” แปลเป็นภาษาไทยว่า “ขนมกวน” ประกอบด้วย ข้าวเหนียว น้ำตาลมะพร้าว กะทิ กวนให้เข้ากันจนเหนียว คนไทยเรียกว่า “กาละแม” คนมอญ ก็เรียก “กาละแม” ด้วย เมื่อถึงวันสงกรานต์ คนมอญจะนำอาหารไปทำบุญที่วัด ตอนเย็นจะพากันไปรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพนับถือ บรรดาสาว ๆ ตามหมู่บ้านจะนำขนมกาละแมไปส่งตามญาติ หรือผู้ที่เคารพนับถือในต่างตำบล และชอบที่จะไปส่งไกลบ้านตน (ซึ่งความจริงทุกบ้านก็กวนกาละแมถือว่าเป็นโอกาสได้เยี่ยมเยียน พบปะกัน) ตอนเย็นจะพากันไปสรงน้ำพระที่วัดโปรดเกศเชษฐาราม หนุ่มๆ ที่คอยสาวๆ อยู่จะพากันรดน้ำสาวๆ เป็นที่สนุกสนานเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะพบกันได้ในงานสำคัญนี้ พอตกกลางคืนจะมีการเล่นสะบ้าตามประเพณีตามหมู่บ้านของตนและการเล่นสะบ้านี้จะมีขนม “กวันฮะกอ” เตรียมไว้ให้รับประทานด้วยปัจจุบันนี้ประเพณียังคงมีอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ

    วันสงกรานต์พระประแดง เป็นวันสงกรานต์ของชาวรามัญที่สนุกสนานมากและเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยทั่วไปทุกที่ จะมีผู้มาร่วมเล่นน้ำในวันสงกรานต์พระประแดงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจัดภายหลังจากสงกรานต์อื่นๆ (ถัดจากวันสงกรานต์ไทยไปหนึ่งอาทิตย์) จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือ การมีขบวนแห่นางสงกรานต์ พร้อมด้วยขบวนแห่นก – แห่ปลา ที่ยิ่งใหญ่สวยงามตระการตาที่หลายหน่วยงาน / หมู่บ้านร่วมกันจัดขึ้น สงกรานต์พระประแดงนั้น เป็นที่สนุกสนานยิ่งนักเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วประเทศ ถึงความยิ่งใหญ่และความสวยงามตระการตาของขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนสาวรามัญ–หนุ่มลอยชาย ที่ยังคงรักษาประเพณีเก่าๆ ไว้อย่างมั่นคงตลอดถึงเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ และชุดลอยชาย ซึ่งท่านผู้สนใจควรจะได้ไปชมด้วยตนเอง ซึ่งชาวพระประแดงได้รักษาประเพณีไว้โดยเคร่งครัดตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:55:50 PM »
งานประเพณีสงกรานต์สุพรรณบุรี ประจำปี 2556
11 เม.ษ. 56 - 14 เม.ษ. 56


ขอเชิญเที่ยวงาน
"อัศจรรย์วันสงกรานต์สุพรรณบุรี ปี 2556"
11 – 14 เมษายน 2556
ณ บริเวณถนนเณรแก้วด้านใต้ ฝั่งตะวันตก

   จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี หน่วยงานราชการ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี หอการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี และองค์กรเอกชน กำหนดจัดงานประเพณีสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2556 ในระหว่างวันที่ 11 – 14 เมษายน 2556 ณ บริเวณถนนเณรแก้วด้านใต้ ฝั่งตะวันตก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามให้คงอยู่สืบไป อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรี ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ได้รับรู้ถึงประเพณีไทย และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ ภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การออกร้านจำหน่ายอาหารอร่อยและของดีเมืองสุพรรณบุรี การแสดงของศิลปินนักร้อง ตลอดการจัดงาน

ตื่นเต้นสนุกสนานกับการอนุรักษ์ความเป็นไทย

   ได้ความเป็นศิริมงคล เล่นน้ำสงกรานต์เมืองสุพรรณบุรีต้อนรับวันปีใหม่ไทย ตื่นเต้นกับขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ประจำชาติพันธุ์ต่างๆที่มีถิ่นอาศัยใน 10 อำเภอ ยิ่งใหญ่งามตากับเทพบุตรสุดหล่อและเทพีสงกรานต์สุดสวยสวมชุดประจำชาติพันธุ์ สนุกสนานกับมนต์เสน่ห์แห่งเมืองนักร้องนักดนตรีลูกทุ่ง รำวงย้อนยุคกับวงแคนประยุกต์ชาติพันธุ์ไทยเวียงบ้านดอนคา และไทยทรงดำบ้านดอนมะเกลือ ดื่มด่ำกับอาหารการกินของชาติพันธุ์ต่างๆ สดใสกับชุดการแสดงดารานักร้องนักแสดงลูกหลานคนสุพรรณบุรี ตลอดการจัดงาน วันที่ 11-14 เมษายน 2556

อัศจรรย์เป็นสิริมงคลกับสรงน้ำพระรับพร
   รับน้ำมนต์ จากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อพระใหญ่ วัดสารภี พระพุทธรูปประจำเมืองสุพรรณบุรี และน้ำพุทธมนต์เกจิดัง เช่น หลวงพ่อดี วัดพระรูป หลวงพ่อเจริญ วัดหนองนา หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อสมบุญ วัดลำพันบอง (โต ใหญ่ เจริญ ดี อิ่ม บุญ) หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์นำไปเข้าพิธีปลุกเสก เพื่อใช้ประพรมผู้มาร่วมงานประเพณีสงกรานต์เมืองสุพรรณบุรี และให้เป็นน้ำม่านน้ำตกมงคลแก่ทุกๆท่าน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณบุรี
 

วันที่ 11 เมษายน 2556 กิจกรรมในงานประกอบด้วย
เวลา 19.00 – 22.30 น.
- การแสดงทางด้านวัฒนธรรม / การแสดงศิลปินนักร้อง / การแสดง
วงดนตรีลูกทุ่งนักเรียน (รองชนะเลิศลำดับที่ 2 การประกวดงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ ปี 2556)

วันที่ 12 เมษายน 2556 กิจกรรมในงานประกอบด้วย
เวลา 19.00 – 22.30 น.
– การแสดงทางด้านวัฒนธรรม / การ
แสดงมายากล Neo Magic / การแสดงศิลปินนักร้อง / การ
แสดงวงดนตรีลูกทุ่งนักเรียน (รองชนะเลิศลำดับที่ 1
การประกวดงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ ปี 2556)

วันที่ 13 เมษายน 2556 กิจกรรมในงานประกอบด้วย
เวลา 16.00 น.
- ขบวนแห่หลวงพ่อโตทองคำ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี
ขบวนแห่มหาสงกรานต์ จากหน่วยงานราชการ และอำเภอทุกอำเภอ ณ บริเวณหน้าที่ว่า
การอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
เวลา 16.30 น.
- เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนนพระพันวษา ถึงสี่แยกเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมื่นหาญ ถึงสี่แยกเณรแก้ว เลี้ยวซ้ายไปจอดให้ประชาชนได้ชมริมคันคลองส่งน้ำถนนเณรแก้ว
เวลา 18.30 – 20.30 น.
- พิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2556 / การประกวดเทพีสงกรานต์ และการแสดงศิลปินนักร้อง

วันที่ 14 เมษายน 2556 กิจกรรมในงานประกอบด้วย
เวลา 19.00 – 22.30 น.
- การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งนักเรียน (ชนะเลิศการประกวดงาน
อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ปี 2556) / การแสดง “จำอวดหน้าม่าน” จากรายการคุณพระช่วย
นำโดย น้าโย่ง น้าพวง และน้านง / การแสดงวงดนตรีลูกทุ่งนักเรียน (ต่อ)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทร 0 3553 5380
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี
โทร. 0 3553 6030 , 0 3553 5789 , 0 3553 6189

ที่มา http://www.tatsuphan.net/Sactivity26.html
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 09, 2013, 12:58:45 PM »
ประเพณีสงกรานต์ ภาคกลาง ประจำปี 2556(สิงห์บุรี)
13 เม.ษ. 56 - 15 เม.ษ. 56

" ปารุปะนัง และประเพณีสงกรานต์จักรสีห์ ประจำปี2556 "ขึ้น

ในระหว่างวันที่ 13- 15 เมษายน 2556 ที่บริเวณวัดพระนอน

จักรสีห์วรวิหาร และบริเวณชุมชนบ้านจักรสีห์



โดยในงานจะมีพิธีกวนข้าวทิพย์ พีธีตีข้าว

บิณฑ์ พีธีห่มผ้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ พิธีสรงน้ำพระและพิธี

ปารุปะนัง ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านจักรสีห์ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ จนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำถิ่นของชาวบ้าน

จักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี


สถานที่จัดงาน : ณ  วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร 
อำเภอเมือง    จังหวัดสิงห์บุรี
วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร  โทร.  (036)  521-478,520-251
ขอบคุณข้อมูลจาก http://songkran.tourismthailand.org/
ขอบคุณภาพจาก internet
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 10, 2013, 12:57:37 PM »
ประเพณีสงกรานต์ อุทยาน ร.2(สมุทรสงคราม)
13 เม.ษ. 56 - 15 เม.ษ. 56

การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การสรงน้ำพระ กิจกรรมวัฒนธรรมพื้นบ้าน  การบรรเลงดนตรีไทยเยาวชนเมืองแม่กลอง
 การบรรเลงดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็ง การบรรเลงแตรวงไทย การแสดงละครชาตรีโบราณ การแห่กลองยาว การแสดงหุ่นกระบอก

ข้อมูลการติดต่อ ททท.สำนักงานสมุทรสงคราม
อุทยาน ร.2 โทร.0-3475-1666, 0-3475-176

งานสงกรานต์ใกล้เคียง
- 9-11 เม.ย.56 งานประเพณีสงกรานต์ ก่อพระเจดีย์ทราย ณ วัดปากสมุทร
- 12-20 เม.ย.56 งานนมัสการและสรงน้ำหลวงพ่อบ้านแหลม ณ วัดเพชรสมุทรฯ
- 13-14 เม.ย.56 งานประเพณีกวนกาละแมรามัญ ณ วัดศรัทธาธรรม
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย

ออฟไลน์ jai

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,354
  • คะแนน: +0/-0
  • เที่ยวเพื่อชาติ.....ชัยโย
    • touronthai.com
Re: เที่ยวงานสงกรานต์ทั่วไทย กรุงเทพและภาคกลาง
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: เมษายน 13, 2013, 11:17:34 AM »
เล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ ขอให้สนุกสนานชุ่มฉ่ำกันถ้วนหน้านะคะ ปลอดเหล้าปลอดภัย แล้วอย่าลืมรดน้ำขอพรผู้ใหญ่สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนะคะ
เที่ยวเพื่อชาติ.........ชัยโย